ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ปริวาร
๔. ปิณฑปาตวรรค(สักกัจจวรรค)
สิกขาบทที่ ๑
[๑๕๓] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันบิณฑบาตโดยไม่เคารพ ฯลฯ ในสิกขาบทที่ ๑ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๒
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันบิณฑบาตมองดูไปที่นั้นๆ ฯลฯ ในสิกขาบทที่ ๒ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๑๐๗}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๑. กัตถปัญญัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๔. ปิณฑปาตวรรค

สิกขาบทที่ ๓
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันบิณฑบาตเจาะลงในที่นั้นๆ ฯลฯ ในสิกขาบทที่ ๓ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๔
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อฉันเฉพาะแกงมาก ฯลฯ ในสิกขาบทที่ ๔ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๕
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อฉันบิณฑบาตขยุ้มลงแต่ยอด ฯลฯ ในสิกขาบทที่ ๕ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๖
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อใช้ข้าวสุกกลบแกงหรือกับข้าว ฯลฯ ในสิกขาบทที่ ๖ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๗
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่เป็นไข้ ออกปากขอแกงหรือ ข้าวสุกมาฉันส่วนตัว ณ ที่ไหน ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี ถาม : ทรงปรารภใคร ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ถาม : เพราะเรื่องอะไร ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุฉัพพัคคีย์ออกปากขอแกงบ้าง ข้าวสุกบ้างมาฉันส่วนตัว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๑๐๘}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๑. กัตถปัญญัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๕. กพฟวรรค

ในสิกขาบทที่ ๗ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๒) เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๘
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ มุ่งตำหนิ มองดูบาตรของภิกษุ เหล่าอื่น ฯลฯ ในสิกขาบทที่ ๘ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๙
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ทำคำข้าวให้ใหญ่เกิน ฯลฯ ในสิกขาบทที่ ๙ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๐
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ทำคำข้าวให้ยาว ฯลฯ ในสิกขาบทที่ ๑๐ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
ปิณฑปาตวรรคที่ ๔ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๑๐๗-๑๐๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=8&siri=20              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=8&A=2058&Z=2153                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=197              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=8&item=197&items=10              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=8&item=197&items=10                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu8              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr1.1/en/brahmali#pli-tv-pvr1.1:272.0 https://suttacentral.net/pli-tv-pvr1.1/en/horner-brahmali#Prv.1.1:Bu-Sk.31



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :