บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
หมวด ๖ ว่าด้วยความไม่เคารพเป็นต้น [๙๘๘] ความไม่เคารพมี ๖. ความเคารพมี ๖. วินีตวัตถุมี ๖ สามีจิกรรมมี ๖. สมุฏฐานอาบัติมี ๖. อาบัติมีอันตัดเป็นวินัยกรรมมี ๖. ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๖. การทรง วินัยมีอานิสงส์ ๖. สิกขาบทที่ว่าด้วยอย่างยิ่งมี ๖ ภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวร ๖ ราตรี. จีวรมี ๖ ชนิด. น้ำย้อมมี ๖. ชนิด อาบัติเกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจามี ๖ อาบัติเกิดแต่วาจากับจิต มิใช่กายมี ๖. อาบัติเกิดแต่กายวาจาและจิตมี ๖. กรรมมี ๖. มูลแห่งวิวาทมี ๖. มูลแห่งการโจท มี ๖. สาราณียธรรมมี ๖. ผ้าอาบน้ำฝนยาว ๖ คืบพระสุคต จีวรพระสุคตกว้าง ๖ คืบพระสุคต. นิสัยระงับจากพระอาจารย์มี ๖. อนุบัญญัติในการอาบน้ำมี ๖. ภิกษุถือเอาจีวรที่ทำค้างไว้แล้วหลีก ไป เก็บเอาจีวรที่ทำค้างแล้วหลีกไป.ว่าด้วยองค์ ๖ แห่งพระอุปัชฌาย์ [๙๘๙] ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๖ ควรให้อุปสมบท ควรให้นิสัย ควรให้สามเณร อุปัฏฐาก คือ :- เป็นผู้ประกอบด้วยกองศีล ของพระอเสขะ ๑ เป็นผู้ประกอบด้วยกองสมาธิ ของพระอเสขะ ๑ เป็นผู้ประกอบด้วยกองปัญญา ของพระอเสขะ ๑ เป็นผู้ประกอบด้วยกองวิมุตติ ของพระอเสขะ ๑ เป็นผู้ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ ของพระอเสขะ ๑ เป็นผู้มีพรรษาสิบ หรือมีพรรษาเกินสิบ ๑. ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๖ ควรให้อุปสมบท ควรให้นิสัย ควรให้สามเณร อุปัฏฐาก คือ:- เป็นผู้ประกอบด้วยกองศีลของพระอเสขะด้วยตน และชักชวนผู้อื่นในกองศีลของ พระอเสขะ ๑ เป็นผู้ประกอบด้วยกองสมาธิของพระอเสขะด้วยตน และชักชวนผู้อื่นในกองสมาธิ ของพระอเสขะ ๑ เป็นผู้ประกอบด้วยกองปัญญาของพระอเสขะด้วยตน และชักชวนผู้อื่นในกองปัญญา ของพระอเสขะ ๑ เป็นผู้ประกอบด้วยกองวิมุตติของพระอเสขะด้วยตน และชักชวนผู้อื่นในกองวิมุตติ ของพระอเสขะ ๑ เป็นผู้ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะของพระอเสขะด้วยตน และชักชวนผู้อื่น ในกองวิมุตติญาณทัสสนะของพระอเสขะ ๑. เป็นผู้มีพรรษาสิบ หรือมีพรรษาเกินสิบ ๑. ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๖ ควรให้อุปสมบท ควรให้นิสัย ควรให้สามเณร อุปัฏฐาก คือ มีศรัทธา ๑ มีความละอาย ๑ มีความเกรงกลัวบาป ๑ ปรารภความเพียร ๑ มี สติตั้งมั่น ๑ มีพรรษาสิบ หรือมีพรรษาเกินสิบ ๑. ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๖ ควรให้อุปสมบท ควรให้นิสัย ควรให้สามเณร อุปัฏฐาก คือ ไม่มีศีลวิบัติในอธิศีล ๑ ไม่มีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร ๑ ไม่มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ ๑ เป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก ๑ มีปัญญา ๑ มีพรรษาสิบ หรือมีพรรษาเกินสิบ ๑. ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๖ ควรให้อุปสมบท ควรให้นิสัย ควรให้สามเณร อุปัฏฐาก คือ อาจพยาบาลเอง หรือสั่งให้ผู้อื่นพยาบาลอันตวาสิกหรือสิทธิวิหาริกผู้อาพาธ ๑ อาจระงับเองหรือวานผู้อื่นให้ช่วยระงับความกระสันอันเกิดขึ้นแล้ว ๑ อาจบรรเทาเองหรือวานผู้ อื่นให้ช่วยบรรเทาความเบื่อหน่ายอันเกิดขึ้นโดยธรรม ๑ รู้จักอาบัติ ๑ รู้จักวิธีออกจากอาบัติ ๑ มีพรรษาได้สิบ หรือมีพรรษาเกินสิบ ๑ ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๖ ควรให้อุปสมบท ควรให้นิสัย ควรให้สามเณร อุปัฏฐาก คือ อาจฝึกปรืออันเตวาสิก หรือสัทธิวิหาริกในสิกขาอันเป็นส่วนอภิสมาจาร ๑ อาจแนะนำอันเตวาสิกหรือสัทธิวิหาริกในสิกขาเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ๑ อาจแนะนำ ในธรรมอันยิ่งขึ้นไป ๑ อาจแนะนำในวินัยอันยิ่งขึ้นไป ๑ อาจเปลื้องทิฏฐิผิดอันเกิดขึ้นแล้วโดย ธรรม ๑ มีพรรษาได้สิบ หรือมีพรรษาเกินสิบ ๑. ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๖ ควรให้อุปสมบท ควรให้นิสัย ควรให้สามเณร อุปัฏฐาก คือ รู้อาบัติ ๑ รู้สิ่งมิใช่อาบัติ ๑ รู้อาบัติเบา ๑ รู้อาบัติหนัก ๑ จำปาติโมกข์ทั้งสอง ได้ดีโดยพิสดาร จำแนกดี สวดคล่องแคล่ว วินิจฉัยถูกต้องโดยสูตร โดยอนุพยัญชนะ ๑ มี พรรษาได้สิบ หรือมีพรรษาเกินสิบ ๑.ว่าด้วยงดปาติโมกข์ [๙๙๐] งดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรมมี ๖. งดปาติโมกข์เป็นธรรมมี ๖.หมวด ๖ จบ ----------------------------------------------------- หัวข้อประจำหมวด [๙๙๑] อคารวะ ๑ คารวะ ๑ วินีตวัตถุ ๑ สามีจิกรรม ๑ สมุฏฐานอาบัติ ๑ สิกขาบทมีการตัดเป็นวินัยกรรม ๑ อาการ ๑ อานิสงส์ ๑ สิกขาบทว่าด้วยอย่างยิ่ง ๑ อยู่ปราศ ๖ ราตรี ๑ จีวร ๑ น้ำย้อม ๑ อาบัติเกิดแต่กายกับจิต ๑ วาจากับจิต ๑ กายวาจาและจิต ๑ กรรม ๑ มูลแห่งวิวาท ๑ มูลแห่งการโจท ๑ ด้านยาว ๑ ด้านกว้าง ๑ นิสัยระงับ ๑ อนุบัญญัติ ๑ ถือเอาจีวรที่ทำค้าง ๑ เก็บเอาจีวรที่ทำค้าง ๑ อเสขธรรม ๑ ชักชวนผู้อื่นในอเสขธรรม ๑ มี ศรัทธา ๑ อธิศีล ๑ พยาบาลผู้อาพาธ ๑ ฝึกปรือในอภิสมาจาร ๑ รู้อาบัติ ๑ งดปาติโมกข์ไม่ เป็นธรรม ๑ งดปาติโมกข์เป็นธรรม ๑.หัวข้อประจำหมวด ๖ จบ ----------------------------------------------------- เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๘ บรรทัดที่ ๘๒๘๗-๘๓๕๒ หน้าที่ ๓๑๖-๓๑๘. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=8&A=8287&Z=8352&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=8&A=8287&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=8&siri=81 ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=988 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=8&A=6846 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=10606 The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=8&A=6846 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=10606 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_8 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr7/en/brahmali#pli-tv-pvr7:81.0 https://suttacentral.net/pli-tv-pvr7/en/horner-brahmali#Prv.7.6.1
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]