ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
             [๓๗๒] ครั้งนั้น พระเจ้าแผ่นดินมคธอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ทรง
ตระเตรียมจตุรงคินีเสนา ยกไปรุกรานพระเจ้าปเสนทิโกศลถึงแคว้นกาสี ฯ
             พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ทรงสดับข่าวว่า พระเจ้าแผ่นดินมคธอชาตศัตรู
เวเทหิบุตร ทรงตระเตรียมจตุรงคินีเสนา ยกมารุกรานเราถึงแคว้นกาสี ฯ
             ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงทรงจัดจตุรงคินีเสนา ยกออกไปต่อสู้
พระเจ้าแผ่นดินมคธอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ป้องกันแคว้นกาสี ฯ
             ครั้งนั้น พระเจ้าแผ่นดินมคธอชาตศัตรู เวเทหิบุตร กับพระเจ้าปเสน-
*ทิโกศลทรงทำสงครามกันแล้ว แต่ในสงครามครั้งนั้นพระเจ้าปเสนทิโกศลทรง
ชำนะพระเจ้าแผ่นดินมคธอชาตศัตรู เวเทหิบุตร และทรงจับพระองค์เป็นเชลย
ศึกได้ ฯ
             [๓๗๓] ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลได้มีพระดำริว่า ถึงแม้พระเจ้า
แผ่นดินมคธอชาตศัตรู เวเทหิบุตรนี้ จะประทุษร้ายเราผู้มิได้ประทุษร้าย แต่เธอก็ยัง
เป็นพระภาคิไนยของเรา อย่ากระนั้นเลย เราควรยึดพลช้างทั้งหมด ยึดพลม้า
ทั้งหมด ยึดพลรถทั้งหมด ยึดพลเดินเท้าทั้งหมดของพระเจ้าแผ่นดินมคธอชาตศัตรู
เวเทหิบุตร แล้วปล่อยพระองค์ไปทั้งยังมีพระชนม์อยู่เถิด ฯ
             ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงยึดพลช้างทั้งหมด ทรงยึดพลม้า
ทั้งหมด ทรงยึดพลรถทั้งหมด ทรงยึดพลเดินเท้าทั้งหมด ของพระเจ้าแผ่นดิน
มคธอชาตศัตรู เวเทหิบุตร แล้วทรงปล่อยพระองค์ไปทั้งยังมีพระชนม์อยู่ ฯ
             [๓๗๔] ครั้งนั้น เวลาเช้า ภิกษุเป็นจำนวนมาก นุ่งห่มแล้ว ถือบาตร
และจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตไปในพระนครสาวัตถี
แล้ว ในเวลาปัจฉาภัต กลับจากบิณฑบาตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ครั้นแล้วก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
             ภิกษุเหล่านั้น นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระโอกาส พระเจ้าแผ่นดินมคธ
อชาตศัตรู เวเทหิบุตร ทรงตระเตรียมจตุรงคินีเสนา ยกมารุกรานพระเจ้าปเสนทิ-
*โกศลถึงแคว้นกาสี พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ทรงสดับข่าวว่า พระเจ้าแผ่นดินมคธ
อชาตศัตรู เวเทหิบุตร ทรงตระเตรียมจตุรงคินีเสนา ยกมารุกรานเราถึงแคว้นกาสี
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงทรงจัดจตุรงคินีเสนา
ยกออกไปต่อสู้พระเจ้าแผ่นดินมคธอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ป้องกันแคว้นกาสี
ครั้งนั้น พระเจ้าแผ่นดินมคธอชาตศัตรู เวเทหิบุตรกับพระเจ้าปเสนทิโกศล ทรง
ทำสงครามกันแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่ในสงครามครั้งนั้น พระเจ้าปเสน-
*ทิโกศลทรงชำนะพระเจ้าแผ่นดินมคธอชาตศัตรู เวเทหิบุตร และทรงจับพระองค์
เป็นเชลยศึกได้ด้วย ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลได้มีพระดำริว่า ถึงแม้พระเจ้า
แผ่นดินมคธอชาตศัตรู เวเทหิบุตรนี้ จะประทุษร้ายเราผู้มิได้ประทุษร้าย แต่เธอ
ก็ยังเป็นพระภาคิไนยของเรา อย่ากระนั้นเลยเราควรยึดพลช้างทั้งหมด ยึดพลม้า
ทั้งหมด ยึดพลรถทั้งหมด ยึดพลเดินเท้าทั้งหมด ของพระเจ้าแผ่นดินมคธอชาตศัตรู
เวเทหิบุตร แล้วปล่อยพระองค์ไปทั้งยังมีพระชนม์อยู่เถิด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงยึดพลช้างทั้งหมด ทรงยึดพลม้าทั้งหมด ทรง
ยึดพลรถทั้งหมด ทรงยึดพลเดินเท้าทั้งหมด ของพระเจ้าแผ่นดินมคธอชาตศัตรู
เวเทหิบุตร แล้วทรงปล่อยพระองค์ไปทั้งยังมีพระชนม์อยู่ ฯ
             [๓๗๕] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้วจึงได้ทรง
ภาษิตพระคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า
                          บุรุษจะแย่งชิงเขาได้ ก็ชั่วกาลที่การแย่งชิงของเขายังพอสำเร็จ
                          ได้ แต่เมื่อใด คนเหล่าอื่นย่อมแย่งชิง ผู้แย่งชิงนั้น ย่อม
                          ถูกเขากลับแย่งชิงเมื่อนั้น ฯ
                          เพราะว่า คนพาลย่อมสำคัญว่า เป็นฐานะตราบเท่าที่บาป
                          ยังไม่ให้ผล แต่บาปให้ผลเมื่อใด คนพาลย่อมเข้าถึงทุกข์
                          เมื่อนั้น ฯ
                          ผู้ฆ่าย่อมได้รับการฆ่าตอบ ผู้ชำนะย่อมได้รับการชนะตอบ
                          ผู้ด่าย่อมได้รับการด่าตอบ และผู้ขึ้งเคียดย่อมได้รับความ
                          ขึ้งเคียดตอบ ฉะนั้น เพราะความหมุนเวียนแห่งกรรม ผู้แย่ง
                          ชิงนั้น ย่อมถูกเขากลับแย่งชิงคืน ฯ
ธีตุสูตรที่ ๖

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๒๖๙๕-๒๗๔๗ หน้าที่ ๑๑๙-๑๒๑. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=2695&Z=2747&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=15&siri=126              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=372              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [372-376] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=15&item=372&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=3843              The Pali Tipitaka in Roman :- [372-376] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=15&item=372&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=3843              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i354-e.php#sutta5 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn03/sn03.015.than.html https://suttacentral.net/sn3.15/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :