บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
ปุณณกปัญหาที่ ๓ [๔๒๗] ปุณณกมาณพทูลถามปัญหาว่า ข้าพระองค์มีความต้องการด้วยปัญหา จึงมาเฝ้าพระองค์ผู้ไม่มี ความหวั่นไหว ผู้ทรงเห็นรากเหง้ากุศลและอกุศล สัตว์ ทั้งหลายผู้เกิดเป็นมนุษย์ในโลกนี้ คือ ฤาษี กษัตริย์ พราหมณ์ เป็นอันมาก อาศัยอะไร จึงบูชายัญแก่เทวดา ทั้งหลาย ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ ขอพระองค์จงตรัสบอกความข้อนั้นแก่ข้าพระองค์เถิด ฯ พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า ดูกรปุณณกะ สัตว์ทั้งหลายผู้เกิดเป็นมนุษย์เหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นอันมากใน โลกนี้ คือ ฤาษี กษัตริย์ พราหมณ์ ปรารถนาความเป็น มนุษย์เป็นต้น อาศัยของมีชรา จึงบูชายัญแก่เทวดา ทั้งหลาย ฯ ป. สัตว์ทั้งหลายผู้เกิดเป็นมนุษย์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นอันมาก ในโลกนี้ คือ ฤาษี กษัตริย์ พราหมณ์ บูชายัญแก่เทวดา ทั้งหลาย ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้นิรทุกข์ สัตว์ทั้งหลายผู้ เกิดเป็นมนุษย์เหล่านั้น เป็นคนไม่ประมาทในยัญ ข้ามพ้น ชาติและชราได้บ้างแลหรือ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ ขอทูลถามพระองค์ ขอพระองค์ตรัสบอกความข้อนั้นแก่ ข้าพระองค์เถิด ฯ พ. ดูกรปุณณกะ สัตว์ทั้งหลายผู้เกิดเป็นมนุษย์เหล่านั้น ย่อม มุ่งหวัง ย่อมชมเชย ย่อมปรารถนา ย่อมบูชา ย่อมรำพัน ถึงกาม ก็เพราะอาศัยลาภ เรากล่าวว่า สัตว์เหล่านั้นประกอบ การบูชา ยังเป็นคนกำหนัดยินดีในภพ ไม่ข้ามพ้นชาติและชรา ไปได้ ฯ ป. ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ถ้าหากว่าสัตว์เหล่านั้นผู้ประกอบการ บูชา ไม่ข้ามพ้นชาติและชราไปได้ด้วยยัญญวิธีทั้งหลายไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ใครเล่าในเทวโลกและมนุษยโลก ข้ามพ้น ชาติและชราไปได้ในบัดนี้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ ขอทูลถามพระองค์ ขอพระองค์จงตรัสบอกความข้อนั้นแก่ ข้าพระองค์เถิด ฯ พ. ดูกรปุณณกะ ผู้ใดไม่มีความหวั่นไหว (ดิ้นรน) ในโลก ไหนๆ เพราะได้พิจารณาเห็นธรรมที่ยิ่งและหย่อนในโลก ผู้นั้นสงบแล้ว ไม่มีความประพฤติชั่วอันจะทำให้มัวหมอง ดุจควันไฟ ไม่มีกิเลสอันกระทบจิต หาความ (ปรารถนา) หวังมิได้ เรากล่าวว่า ผู้นั้นข้ามพ้นชาติและชราไปได้ แล้ว ฯจบปุณณกมาณวกปัญหาที่ ๓ เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๑๑๐๒๒-๑๑๐๕๙ หน้าที่ ๔๗๖-๔๗๘. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=11022&Z=11059&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=285 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=427 ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [427] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=25&item=427&items=1 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=29&A=9827 The Pali Tipitaka in Roman :- [427] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=25&item=427&items=1 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=29&A=9827 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_25 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i424-e.php#sutta4 https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/snp/snp.5.03.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/snp/snp.5.03.irel.html https://suttacentral.net/snp5.4/en/mills https://suttacentral.net/snp5.4/en/anandajoti https://suttacentral.net/snp5.4/en/sujato
บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]