บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๕. ปารายนวรรค]
๓. ปุณณกมาณวกปัญหา
๓. ปุณณกมาณวกปัญหา๑- ว่าด้วยปัญหาของปุณณกมาณพ [๑๐๕๐] (ปุณณกมาณพทูลถามดังนี้) ข้าพระองค์มีปัญหาจะทูลถาม จึงมาเฝ้าพระองค์ ผู้ไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว ผู้มีปกติเห็นมูล ฤๅษี มนุชะ กษัตริย์ และพราหมณ์จำนวนมากในโลกนี้ อาศัยอะไร จึงพากันบูชายัญ๒- แก่เทวดาทั้งหลาย ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น ขอพระองค์ตรัสตอบปัญหาแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด [๑๐๕๑] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ปุณณกะ) ฤๅษี มนุชะ๓- กษัตริย์ และพราหมณ์จำนวนมากในโลกนี้ พากันบูชายัญแก่เทวดาทั้งหลาย ปุณณกะ ชนเหล่านั้นหวังความเป็นอย่างนี้๔- อาศัยชราจึงพากันบูชายัญ [๑๐๕๒] (ปุณณกมาณพทูลถามดังนี้) ฤๅษี มนุชะ กษัตริย์ และพราหมณ์จำนวนมากในโลกนี้ พากันบูชายัญแก่เทวดาทั้งหลาย ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้นิรทุกข์ ชนเหล่านั้นเป็นผู้ไม่ประมาทแล้วในการบูชายัญ ได้ข้ามพ้นชาติและชราบ้างไหม @เชิงอรรถ : @๑ ดูเทียบ ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๖๘-๗๓/๑๔-๑๕ @๒ ยัญ ในที่นี้หมายถึงไทยธรรม ได้แก่ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ข้าว น้ำ ผ้า ยาน @พวงดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก เครื่องประทีป (ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๑๒/๘๘) @๓ มนุชะ คือผู้ที่เกิดจากพระมนู (ขุ.ม.อ. ๑/๒๖) @๔ หวังความเป็นอย่างนี้ หมายถึงปรารถนาการบังเกิดเป็นมนุษย์ เป็นเทพ เป็นต้น (ขุ.สุ.อ. ๒/๑๐๕๑/๔๓๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๗๔๙}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๕. ปารายนวรรค]
๓. ปุณณกมาณวกปัญหา
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทูลถามปัญหานั้น ขอพระองค์โปรดตรัสตอบปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด [๑๐๕๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ปุณณกะ) ชนเหล่านั้นหวัง ชื่นชม มุ่งหวัง จึงพากันบูชายัญ เพราะอาศัยลาภจึงมุ่งหวังกาม เรากล่าวว่า ชนเหล่านั้นผู้ประกอบการบูชายัญ เป็นผู้กำหนัดยินดีในภพ ข้ามพ้นชาติและชราไปไม่ได้ [๑๐๕๔] (ปุณณกมาณพทูลถามดังนี้) ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ถ้าชนเหล่านั้นผู้ประกอบการบูชายัญ ข้ามพ้นชาติและชราไปไม่ได้ด้วยยัญทั้งหลาย ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ เมื่อเป็นเช่นนี้ ใครเล่าในเทวโลกและมนุษยโลกข้ามชาติและชราได้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น ขอพระองค์โปรดตรัสตอบปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด [๑๐๕๕] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ปุณณกะ) เรากล่าวว่า บุคคลใดไม่มีความหวั่นไหวในโลกไหนๆ เพราะทราบชัดฝั่งนี้และฝั่งโน้น๑- ในโลก บุคคลนั้นเป็นผู้สงบ ปราศจากควัน๒- ไม่มีทุกข์ ไม่มีความหวัง ชื่อว่า ข้ามชาติและชราได้แล้ว๓-ปุณณกมาณวกปัญหาที่ ๓ จบ @เชิงอรรถ : @๑ ฝั่งนี้และฝั่งโน้น ในที่นี้หมายถึงอัตภาพของตนและอัตภาพของผู้อื่น (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๒/๑๑๔, @ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๑๗/๑๐๔) @๒ ควัน หมายถึงความประพฤติชั่วทางกาย วาจา และใจ (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๒/๑๑๔, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๑๗/๑๐๕) @๓ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๓๒/๑๘๕, องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๔๑/๗๐, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๑๗/๑๐๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๗๕๐}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๗๔๙-๗๕๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=285 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=11022&Z=11059 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=427 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=427&items=1 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=29&A=9827 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=427&items=1 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=29&A=9827 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i424-e.php#sutta4 https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/snp/snp.5.03.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/snp/snp.5.03.irel.html https://suttacentral.net/snp5.4/en/mills https://suttacentral.net/snp5.4/en/anandajoti https://suttacentral.net/snp5.4/en/sujato
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]