ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
             [๑๓๘๐] 	เราเป็นผู้ต้องการบุญ ได้มีจิตเลื่อมใสประพฤติพรหมจรรย์อยู่เพียง ๗ วัน
                          เท่านั้น ต่อจากนั้นมา แม้เราจะไม่มีความใคร่บรรพชา ก็ได้ประพฤติ
                          พรหมจรรย์ของเราอยู่ได้ถึง ๕๐ ปีกว่า ด้วยความสัจนี้ ขอความสวัสดี
                          จงมีแก่ยัญญทัตตกุมาร พิษจงคลาย ยัญญทัตตกุมาร จงรอดชีวิตเถิด.
             [๑๓๘๑] 	เพราะเหตุที่เราเห็นแขกในเวลาที่มาถึงบ้าน เพื่อจะพักอยู่ บางครั้งไม่
                          พอใจจะให้เลย แม้สมณพราหมณ์ผู้เป็นพหูสูต ก็ไม่ทราบความไม่พอใจ
                          ของเรา แม้เราไม่ประสงค์จะให้ก็ให้ได้ ด้วยความสัจนี้ ขอความสวัสดี
                          จงมีแก่ยัญญทัตตกุมาร พิษจงคลาย ยัญญทัตตกุมาร จงรอดชีวิตเถิด.
             [๑๓๘๒] 	ลูกรัก อสรพิษที่ออกจากโพรงกัดเจ้านั้น มีเดชมาก ไม่เป็นที่รักของ
                          แม่ในวันนี้เลย อสรพิษนั้นกับบิดาของเจ้า ไม่แปลกอะไรกันเลย ด้วย
                          ความสัจนี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ยัญญทัตตกุมาร พิษจงคลาย ยัญญ-
                          ทัตตกุมาร จงรอดชีวิตเถิด.
             [๑๓๘๓] 	ก็นักพรตทั้งหลายเป็นผู้สงบระงับ ฝึกฝนตนแล้ว ย่อมเว้นรอบ นอก
                          จากท่านกัณหะแล้วที่จะเป็นผู้ทนฝืนใจ ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่มีเลย
                          ดูกรท่านทีปายนะ ท่านเกลียดชังอะไร จึงสู่ฝืนใจประพฤติพรหมจรรย์
                          อยู่ได้.
             [๑๓๘๔] 	บุคคลออกบวชด้วยศรัทธาแล้ว กลับเข้าบ้านอีก เป็นคนเหลวไหล
                          เป็นคนกลับกลอก เราเกลียดต่อถ้อยคำเช่นนี้ จึงสู้ฝืนใจ ประพฤติ
                          พรหมจรรย์อยู่ นี้เป็นฐานะที่วิญญูชนสรรเสริญ และเป็นฐานะของ
                          สัตบุรุษทั้งหลาย เราเป็นผู้กระทำบุญด้วยเหตุนี้แหละ.
             [๑๓๘๕] 	ท่านเลี้ยงสมณะ พราหมณ์และคนเดินทาง ให้อิ่มหนำสำราญด้วยข้าว
                          และน้ำ เรือนของท่าน บริบูรณ์ด้วยข้าวและน้ำเป็นเหมือนบ่อน้ำ เออ
                          ก็ท่านเกลียดต่อถ้อยคำอะไร แม้ไม่ประสงค์ ก็ให้ทานนี้ได้?
             [๑๓๘๖] 	มารดาบิดาและปู่ย่าตายายของดิฉัน เป็นผู้มีศรัทธา เป็นทานบดี รู้ความ
                          ประสงค์ของผู้ขอ ดิฉันอนุวัตรตามธรรมเนียมของตระกูลนั้น กำหนดใจ
                          ไว้ว่า อย่าได้เป็นคนตัดธรรมเนียมแห่งตระกูลนี้เสียเลย ดิฉันเกลียด
                          ถ้อยคำเช่นนี้ แม้ไม่ประสงค์ก็ให้ทานนี้ได้.
             [๑๓๘๗] 	ดูกรนางผู้มีร่างกายงาม เรานำเจ้าผู้ยังเป็นสาวน้อย ฯ ยังไม่มีปัญญา
                          สามารถที่จะจับจ่ายมาแต่ตระกูลญาติ แม้เจ้าไม่ได้แสดงความไม่รักใคร่เรา
                          เจ้าปฏิบัติเราเว้นจากความรักใคร่ เออก็นางผู้เจริญ การที่เจ้าอยู่ร่วมกับ
                          เราเห็นปานนี้ได้ เพราะเหตุอะไร?
             [๑๓๘๘] 	ตั้งแต่ไหนแต่ไรมา อันภรรยาที่มีสามีบ่อยๆ มิได้มีอยู่ในตระกูลนี้
                          ดิฉันได้อนุวัตรตามธรรมเนียมของตระกูลนั้น กำหนดใจไว้ว่า ขออย่า
                          ให้เป็นคนตัดธรรมเนียมของตระกูลในภายหลังเลย ดิฉันเกลียดต่อถ้อย
                          คำเช่นนี้ แม้ไม่ประสงค์ก็ปฏิบัติท่านได้.
             [๑๓๘๙] 	ดูกรท่านมัณฑัพยะ วันนี้ดิฉันพูดถ้อยคำที่ไม่ควรจะพูด ขอท่านจงอด
                          โทษถ้อยคำนั้นให้แก่ดิฉัน เพราะเหตุแห่งบุตรเถิด สิ่งอื่นอะไรๆ ใน
                          โลกนี้ ที่จะรักยิ่งไปกว่าบุตรมิได้มี ยัญญทัตตกุมารของเรานี้รอดชีวิตแล้ว.
จบ มัณฑัพยชาดกที่ ๖.
๗. นิโครธชาดก
ว่าด้วยการคบคนดี

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ บรรทัดที่ ๕๖๕๑-๕๖๙๑ หน้าที่ ๒๕๙-๒๖๑. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=27&A=5651&Z=5691&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=27&siri=444              ศึกษาอรรถกถาชาดกนี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1380              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [1380-1390] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=27&item=1380&items=11              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=39&A=9199              The Pali Tipitaka in Roman :- [1380-1390] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=27&item=1380&items=11              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=39&A=9199              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_27              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ja444/en/rouse

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :