ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ุท ”             ผลการค้นหาพบมากกว่า  80  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 80
กกุธานที แม่น้ำที่พระอานนท์ทูลเชิญเสด็จพระพุทธเจ้าให้ไปเสวยและสรงชำระพระกาย ในระหว่างเดินทางไปเมืองกุสินารา ในวันปรินิพพาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 80
กฐิน ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือไม้แบบสำหรับขึงเพื่อตัดเย็บจีวร;
       ในทางพระวินัยใช้เป็นชื่อเรียกสังฆกรรมอย่างหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาแล้ว เพื่อแสดงออกซึ่งความสามัคคีของภิกษุที่ได้จำพรรษาอยู่ร่วมกัน โดยให้พวกเธอพร้อมใจกันยกมอบผ้าผืนหนึ่งที่เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งในหมู่พวกเธอ ที่เป็นผู้มีคุณสมบัติสมควร แล้วภิกษุรูปนั้นนำผ้าที่ได้รับมอบไปทำเป็นจีวร (จะทำเป็นอันตรวาสก หรืออุตตราสงค์ หรือสังฆาฏิก็ได้ และพวกเธอทั้งหมดจะต้องช่วยภิกษุนั้นทำ)
       ครั้นทำเสร็จแล้ว ภิกษุรูปนั้นแจ้งให้ที่ประชุมสงฆ์ซึ่งได้มอบผ้าแก่เธอนั้นทราบเพื่ออนุโมทนา เมื่อสงฆ์คือที่ประชุมแห่งภิกษุเหล่านั้นอนุโมทนาแล้ว ก็ทำให้พวกเธอได้สิทธิพิเศษที่จะขยายเขตทำจีวรให้ยาวออกไป (เขตทำจีวรตามปกติ ถึงกลางเดือน ๑๒ ขยายต่อออกไปถึงกลางเดือน ๔);
       ผ้าที่สงฆ์ยกมอบให้แก่ภิกษุรูปหนึ่งนั้น เรียกว่า ผ้ากฐิน (กฐินทุสสะ);
       สงฆ์ผู้ประกอบกฐินกรรมต้องมีจำนวนภิกษุอย่างน้อย ๕ รูป;
       ระยะเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ประกอบกฐินกรรมได้ มีเพียง ๑ เดือน ต่อจากสิ้นสุดการจำพรรษา เรียกว่า เขตกฐิน คือตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒
       ภิกษุผู้กรานกฐินแล้ว ย่อมได้อานิสงส์ ๕ ประการ (เหมือนอานิสงส์การจำพรรษา ดู จำพรรษา) ยืดออกไปอีก ๔ เดือน (ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔) และได้โอกาสขยายเขตจีวรกาลออกไปตลอด ๔ เดือนนั้น
       คำถวายผ้ากฐิน
       แบบสั้นว่า : อิมํ, สปริวารํ, กฐินจีวรทุสฺสํ, สงฺฆสฺส, โอโณชยาม. (ว่า ๓ จบ)
       แปลว่า ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ผ้ากฐินจีวรกับทั้งบริวารนี้แก่พระสงฆ์
       แบบยาวว่า : อิมํ, ภนฺเต, สปริวารํ, กฐินจีวรทุสฺสํ, สงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, สงฺโฆ, อิมํ สปริวารํ, กฐินทุสฺสํ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, ปฏิคฺคเหตฺวา จ, อิมินา ทุสฺเสน, กฐินํ, อตฺถรตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย.
       แปลว่า ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้ากฐินจีวรกับทั้งบริวารนี้แก่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐินกับทั้งบริวารนี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย ครั้นรับแล้ว จงกรานกฐินด้วยผ้านี้ เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญฯ

กฐินทาน การทอดกฐิน, การถวายผ้ากฐิน คือการที่คฤหัสถ์ผู้ศรัทธาหรือแม้ภิกษุสามเณร นำผ้าไปถวายแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาแล้ว ณ วัดใดวัดหนึ่ง เพื่อทำเป็นผ้ากฐิน เรียกสามัญว่า ทอดกฐิน (นอกจากผ้ากฐินแล้วปัจจุบันนิยมมีของถวายอื่นๆ อีกด้วยจำนวนมาก เรียกว่า บริวารกฐิน)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 80
กตญาณ ปรีชากำหนดรู้ว่าได้ทำกิจเสร็จแล้ว คือ
       ทุกข์ ควรกำหนดรู้ได้ รู้แล้ว
       สมุทัย ควรละ ได้ละแล้ว
       นิโรธ ควรทำให้แจ้ง ได้ทำให้แจ้งแล้ว
       มรรค ควรเจริญ ได้เจริญ คือปฏิบัติหรือทำให้เกิดแล้ว
       (ข้อ ๓ ในญาณ ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 80
กตัญญูกตเวที ผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้วและตอบแทน แยกออกเป็น ๒ คือ
           กตัญญู รู้คุณท่าน
           กตเวที ตอบแทนหรือสนองคุณท่าน;
       ความกตัญญูกตเวทีว่าโดยขอบเขต แยกได้เป็น ๒ ระดับ คือ
           กตัญญูกตเวทีต่อบุคคลผู้มีคุณความดีหรืออุปการะต่อตนเป็นส่วนตัว อย่างหนึ่ง
           กตัญญูกตเวทีต่อบุคคลผู้ได้บำเพ็ญคุณประโยชน์หรือมีคุณความดีเกื้อกูลแก่ส่วนรวม เช่นที่พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพระพุทธเจ้าโดยฐานที่ได้ทรงประกาศธรรมยังหมู่ชนให้ตั้งอยู่ในกุศลกัลยาณธรรม เป็นต้น อย่างหนึ่ง
       (ข้อ ๒ ในบุคคลหาได้ยาก ๒)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 80
กปิสีสะ ไม้ที่ทำเป็นรูปหัวลิง ในวันที่พระพุทธเจ้าจะปรินิพพาน พระอานนทเถระยืนเหนี่ยวไม้นี้ร้องไห้ เสียใจว่าตนยังไม่สำเร็จพระอรหัต พระพุทธเจ้าก็จักปรินิพพานเสียแล้ว

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 80
กรวดน้ำ ตั้งใจอุทิศบุญกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับ พร้อมไปกับหลั่งรินน้ำเป็นเครื่องหมาย และเป็นเครื่องรวมกระแสจิตที่ตั้งใจอุทิศนั้นให้แน่วแน่;
       เริ่มรินน้ำเมื่อพระองค์หัวหน้าเริ่มสวดยถา รินน้ำหมดพร้อมกับพระหัวหน้าสวดยถาจบ และพระทั้งหมดเริ่มสวดพร้อมกัน จากนั้นวางที่กรวดน้ำลงแล้วประนมมือรับพรต่อไป;
       คำกรวดน้ำอย่างสั้นว่า “อิทํ โน ญาตีนํ โหตุ”
           แปลว่า “ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่....(ออกชื่อผู้ล่วงลับ) และญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าเถิด”
       จะต่ออีกก็ได้ว่า “สุขิตา โหนฺตุ ญาตโย”
           แปลว่า “ขอญาติทั้งหลายจงเป็นสุขเถิด”

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 80
กรานกฐิน ขึงไม้สะดึง คือเอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึงที่ไม้สะดึง เย็บเสร็จแล้วบอกแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ร่วมใจกันยกผ้าให้ในนามของสงฆ์เพื่ออนุโมทนา ภิกษุผู้เย็บจีวรเช่นนั้นเรียกว่า ผู้กราน
       พิธีทำในบัดนี้คือ ภิกษุซึ่งจำพรรษาครบ ๓ เดือนในวัดเดียวกัน (ต้องมีจำนวน ๕ รูปขึ้นไป) ประชุมกันในอุโบสถ พร้อมใจกันยกผ้ากฐินให้แก่ภิกษุรูปหนึ่งในหมู่พวกเธอ ภิกษุรูปนั้นทำกิจตั้งแต่ ซัก กะตัด เย็บ ย้อม ให้เสร็จในวันนั้น ทำพินทุกัปปะอธิษฐานเป็นจีวรครองผืนใดผืนหนึ่งในไตรจีวร แล้วบอกแก่ภิกษุสงฆ์ผู้ยกผ้าให้ เพื่ออนุโมทนา และภิกษุสงฆ์นั้นได้อนุโมทนาแล้ว เรียกว่า กรานกฐิน
       ถ้าผ้ากฐินเป็นจีวรสำเร็จรูป กิจที่จะต้อง ซัก กะ ตัด เย็บย้อม ก็ไม่มี
       (กราน เป็นภาษาเขมร แปลว่า ขึง คือทำให้ตึง กฐิน เป็นภาษาบาลี แปลว่า ไม้สะดึง กรานกฐินก็คือขึงไม้สะดึง คือเอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึงที่ไม้สะดึง)
       เขียน กราลกฐิน บ้างก็มี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 80
กังขาวิตรณวิสุทธิ ความบริสุทธิ์ด้วยหมดสงสัยในนามรูป คือ กำหนดรู้ปัจจัยแห่งนามรูปได้ว่า เพราะอะไรเกิดนามรูปจึงเกิด เพราะอะไรดับ นามรูปจึงดับ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 80
กัจจายนปุโรหิต ปุโรหิตชื่อกัจจายนะ เป็นปุโรหิตของพระเจ้าจัณฑปัชโชติ กรุงอุชเชนี
       ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า บรรลุพระอรหัตแล้วขออุปสมบท
       มีชื่อในพระศาสนาว่า พระมหากัจจายนะ
       พระพุทธเจ้าทรงยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะในทางอธิบายความของคำย่อให้พิสดาร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 80
กัญจนา เจ้าหญิงแห่งเทวทหนครเป็นมเหสีของพระเจ้าสีหนุ ผู้ครองนครกบิลพัสดุ์ เป็นพระชนนีของพระเจ้าสุทโธทนะ เป็นพระอัยยิกาของเจ้าชายสิทธัตถะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 80
กัณฑกสามเณร ชื่อสามเณรรูปหนึ่งในครั้งพุทธกาล ผู้กล่าวตู่พระธรรม เป็นต้นเหตุให้พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทที่ ๑๐ แห่งสัปปาณกวรรคในปาจิตติยกัณฑ์ และทรงให้สงฆ์นาสนะเธอเสีย
       เขียนเป็น กัณฏกะ ก็มี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 80
กัปปิยะ สมควร, ควรแก่สมณะบริโภค, ของที่สมควรแก่ภิกษุบริโภคใช้สอย
       คือพระพุทธเจ้าอนุญาตให้ภิกษุให้หรือฉันได้
       เช่น ข้าวสุก จีวร ร่ม ยาแดง เป็นกัปปิยะ
       แต่สุรา เสื้อ กางเกง หมวก น้ำอบ ไม่เป็นกัปปิยะ
       สิ่งที่ไม่เป็นกัปปิยะ เรียกว่า อกัปปิยะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 80
กัมมารหะ ผู้ควรแก่กรรม คือบุคคลที่ถูกสงฆ์ทำกรรม
       เช่น ภิกษุที่สงฆ์พิจารณาทำปัพพาชนียกรรม คฤหัสถ์ที่ถูกสงฆ์ดำเนินการคว่ำบาตร เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 80
กัลปนา
       1. ที่หรือสิ่งอื่นซึ่งเจ้าของอุทิศผลประโยชน์ให้แก่วัด
       2. ส่วนบุญที่ผู้ทำอุทิศให้แก่ผู้ตาย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 80
กัลลวาลมุตตคาม ชื่อหมู่บ้าน อยู่ในแคว้นมคธ
       พระโมคคัลลานะอุปสมบทได้ ๗ วัน ไปทำความเพียรจนอ่อนใจ นั่งโงกงวงอยู่
       พระพุทธเจ้าเสด็จไปเทศนาโปรด จนได้สำเร็จพระอรหัตที่หมู่บ้านนี้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 80
กัสสปะ
       1. พระนามพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอดีต ดู พระพุทธเจ้า ๕
       2. ชื่อของพระมหากัสสปเถระเมื่อเรียกตามโคตร ท่านมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า ปิปผลิ หรือ ปิปผลิมาณพ
       3. หมายถึงกัสสป ๓ พี่น้อง คยากัสสปะ เป็นนักบวชประเภทชฎิล ถือลัทธิบูชาไฟ เป็นที่เคารพนับถือของชาวราชคฤห์ ภายหลังได้เป็นพระอรหันต์พร้อมกันทั้ง ๓ พี่น้องและบริวารหนึ่งพัน ด้วยได้ฟังเทศนาอาทิตตปริยายสูตร จากพระพุทธเจ้า

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 80
กายมุทุตา ความอ่อนโยนแห่งนามกาย,
       ธรรมชาติทำนามกาย คือ เจตสิกทั้งหลายให้นุ่มนวลอ่อนละมุน
       (ข้อ ๑๒ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 80
การก ผู้กระทำกรรมได้ตามพระวินัย มี ๓ คือ สงฆ์ คณะ และ บุคคล เช่น ในการทำอุโบสถ
       ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปเรียก สงฆ์ สวดปาฏิโมกข์ได้
       ภิกษุ ๒ หรือ ๓ รูป เรียก คณะ ให้บอกความบริสุทธิ์ได้
       ภิกษุรูปเดียวเรียกว่า บุคคล ให้อธิษฐาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 80
กาลทาน ทานที่ให้ตามกาล, ทานที่ให้ได้เป็นครั้งคราวภายในระยะเวลาที่กำหนด ไม่ใช่ให้ได้ตลอดเวลา
       เช่น การถวายผ้ากฐิน การถวายผ้าอาบน้ำฝน เป็นต้น
       ซึ่งทายกจะถวายได้ตามกำหนดเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตเท่านั้น ก่อนหรือเลยเขตกำหนดไปทำไม่ได้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  20 / 80
กาลามสูตร สูตรหนึ่งในคัมภีร์ติกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระพุทธเจ้าตรัสสอนชนชาวกาลามะแห่งเกสปุตตนิคมใน แคว้นโกศล ไม่ให้เชื่อถืองมงายไร้เหตุผล ตามหลัก ๑๐ ข้อ คือ
       อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา,
           ด้วยการถือสืบๆ กันมา,
           ด้วยการเล่าลือ,
           ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์,
           ด้วยตรรก,
           ด้วยการอนุมาน,
           ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล,
           เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีของตน,
           เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าเชื่อ,
           เพราะนับถือว่าท่านสมณะนี้ เป็นครูของเรา;
       ต่อเมื่อใด พิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละหรือถือปฏิบัติตามนั้น
       เรียกอีกอย่างว่า เกสปุตติยสูตร หรือเกสปุตตสูตร.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  21 / 80
กาสี แคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นแห่งชมพูทวีป มีนครหลวงชื่อพาราณสี ในสมัยพุทธกาล กาสีได้ถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นโกศลแล้ว

แสดงผลการค้น ลำดับที่  22 / 80
กาฬสิลา สถานที่สำคัญแห่งหนึ่งในแคว้นมคธ อยู่ข้างภูเขาอิสิคิลิ พระนครราชคฤห์
       ณ ที่นี้ พระพุทธเจ้าเคยทำนิมิตโอภาสแก่พระอานนท์
       และเป็นที่ที่พระโมคคัลลานะ ถูกคนร้ายซึ่งรับจ้างจากพวกเดียรถีย์ไปลอบฆ่าด้วยการทุบตีจนร่างแหลก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  23 / 80
กาฬุทายี อำมาตย์ของพระเจ้าสุทโธทนะ
       เป็นสหชาติและเป็นพระสหายสนิทของพระโพธิสัตว์ เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์
       พระเจ้าสุทโธทนะส่งไปทูลเชิญพระศาสดาเพื่อเสด็จมากรุงกบิลพัสดุ์
       กาฬุทายีไปเฝ้าพระศาสดาที่กรุงราชคฤห์ได้ฟังพระธรรมเทศนาบรรลุพระอรหัตตผล อุปสมบทเป็นภิกษุแล้ว ทูลเชิญพระศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จกรุงกบิลพัสดุ์
       ท่านได้รับยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะในบรรดาผู้ทำตระกูลให้เลื่อมใส

แสดงผลการค้น ลำดับที่  24 / 80
กิจจญาณ ปรีชากำหนดรู้กิจที่ควรทำในอริยสัจ ๔ แต่ละอย่าง
       คือรู้ว่า
           ทุกข์ ควรกำหนดรู้
           สมุทัย ควรละ
           นิโรธ ควรทำให้แจ้ง
           มรรค ควรทำให้เจริญ คือควรปฏิบัติ
       (ข้อ ๒ ในญาณ ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  25 / 80
กิจในอริยสัจ ข้อที่ต้องทำในอริยสัจ ๔ แต่ละอย่าง คือ
       ปริญญา กำหนดรู้ เป็นกิจในทุกข์
       ปหานะ การละ เป็นกิจในสมุทัย
       สัจฉิกิริยา การทำให้แจ้งหรือการบรรลุ เป็นกิจในนิโรธ
       ภาวนา การเจริญคือปฏิบัติบำเพ็ญ เป็นกิจในมรรค

แสดงผลการค้น ลำดับที่  26 / 80
กิมพิละ เจ้าศากยะองค์หนึ่ง ออกบวชพร้อมกับพระอนุรุทธะ ได้สำเร็จอรหัต และเป็นมหาสาวกองค์หนึ่งในจำนวน ๘๐

แสดงผลการค้น ลำดับที่  27 / 80
กิเลส สิ่งที่ทำใจให้เศร้าหมอง, ความชั่วที่แฝงอยู่ในความรู้สึกนึกคิด ทำให้จิตใจขุ่นมัวไม่บริสุทธิ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  28 / 80
กีสาโคตมี พระเถรีสำคัญองค์หนึ่ง
       เดิมเป็นธิดาคนยากจนในพระนครสาวัตถี แต่ได้เป็นลูกสะใภ้ของเศรษฐีในพระนครนั้น นางมีบุตรชายคนหนึ่ง
       อยู่มาไม่นานบุตรชายตาย นางมีความเสียใจมาก อุ้มบุตรที่ตายแล้วไปในที่ต่างๆ เพื่อหายาแก้ให้ฟื้น จนได้ไปพบพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงสอนด้วยอุบายและทรงประทานโอวาท นางได้ฟังแล้วบรรลุโสดาปัตติผล บวชในสำนักนางภิกษุณี
       วันหนึ่งนั่งพิจารณาเปลวประทีปที่ตามอยู่ในพระอุโบสถ ได้บรรลุพระอรหัต
       ได้รับยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะในทางทรงจีวรเศร้าหมอง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  29 / 80
กุณฑธานะ พระเถระผู้เป็นมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรพราหมณ์ในพระนครสาวัตถี เรียนจบไตรเพทตามลัทธิพราหมณ์
       ต่อมา เมื่อสูงอายุแล้ว ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า เกิดความเลื่อมใสจึงบวชในพระพุทธศาสนา
       ตั้งแต่นั้นมา ก็มีรูปหญิงคนหนึ่งติดตามตัวตลอดเวลา จนกระทั่งได้บรรลุพระอรหัต รูปนั้นจึงหายไป
       ท่านได้รับยกย่องจากพระศาสดาว่า เป็นเอตทัคคะในการถือเอาสลากเป็นปฐม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  30 / 80
กุมมาส ขนมสด คือขนมที่เก็บไว้นานเกินไปจะบูด
       เช่น ขนมด้วง ขนมครก ขนมถ้วย ขนมตาล เป็นต้น
       พระพุทธเจ้า หลังจากเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยาก็เสวยข้าวสุกและกุมมาส

แสดงผลการค้น ลำดับที่  31 / 80
กุสาวดี ชื่อเก่าของเมืองกุสินารา นครหลวงของแคว้นมัลละ เมื่อครั้งเป็นราชธานีของพระเจ้ามหาสุทัศน์ จักรพรรดิครั้งโบราณ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  32 / 80
กุสินารา เมืองหลวงแห่งหนึ่งของแคว้นมัลละ (อีกแห่งหนึ่งคือ ปาวา)
       สมัยพุทธกาล กุสินารา เป็นเมืองเล็กๆ มีมัลลกษัตริย์เป็นผู้ปกครอง พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานที่เมืองนี้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  33 / 80
กูฏทันตสูตร สูตรหนึ่งในคัมภีร์ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค สุตตันตปิฎก
       พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่กูฏทันตพราหมณ์ ผู้กำลังเตรียมพิธีบูชายัญ ว่าด้วยวิธีบูชายัญตามความหมายในแบบของพระพุทธศาสนา ซึ่งไม่ต้องมีการฆ่าฟันเบียดเบียนสัตว์ มีแต่การเสียสละทำทาน และการทำความดีอื่นๆ
       เริ่มด้วยการตระเตรียมพิธีโดยจัดการบ้านเมืองให้สงบเรียบร้อยก่อนตามธรรมวิธี มีการส่งเสริมกสิกรรม พาณิชยกรรม สัมมาชีพ และบำรุงส่งเสริมข้าราชการที่ดี ซึ่งจะทำให้ประชาชนขวนขวาย ขะมักเขม้นในหน้าที่การงานของตนๆ จนบ้านเมืองมีความเกษมปลอดภัย พลเมืองมีความสุข ราชทรัพย์บริบูรณ์ดีแล้ว จึงกระทำพิธีบูชายัญ ด้วยการบริจาคทรัพย์ทำทานเป็นต้น
       ผลของพระธรรมเทศนานี้ คือ กูฏทันตพราหมณ์ล้มเลิกพิธีบูชายัญของตน ปล่อยสัตว์ทั้งหลาย และประกาศตนเป็นอุบาสก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  34 / 80
เกตุมาลา รัศมีซึ่งเปล่งอยู่เหนือพระเศียรของพระพุทธเจ้า

แสดงผลการค้น ลำดับที่  35 / 80
โกณฑัญญะ พราหมณ์หนุ่มที่สุดในบรรดาพราหมณ์ ๘ คน ผู้ทำนายลักษณะของพระสิทธัตถกุมาร
       ต่อมาออกบวชตามปฏิบัติพระสิทธัตถะ ขณะบำเพ็ญทุกรกิริยา เป็นหัวหน้าพระปัญจวัคคีย์
       ฟังพระธรรมเทศนาธัมมจักกัปปวัตตนสูตรแล้วได้ดวงตาเห็นธรรม ขอบรรพชาอุปสมบท เป็นปฐมสาวกของพระพุทธเจ้า
       มีชื่อเรียกกันภายหลังว่า พระอัญญาโกณฑัญญะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  36 / 80
โกนาคมน์ พระนามพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอดีต
       ดู พระพุทธเจ้า ๕

แสดงผลการค้น ลำดับที่  37 / 80
โกลิตะ ชื่อเดิมของพระมหาโมคคัลลานะ เรียกตามชื่อหมู่บ้านที่เกิด (โกลิตคาม) เพราะเป็นบุตรของตระกูล หัวหน้าในหมู่บ้านนั้น
       สมัยเมื่อเข้าไปบวชเป็นปริพาชกในสำนักของสัญชัยก็ยังใช้ชื่อว่า โกลิตะ
       ต่อมาภายหลัง คือเมื่อบวชในพระพุทธศาสนา จึงเรียกกันว่า โมคคัลลานะหรือพระมหาโมคคัลลานะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  38 / 80
โกลิยชนบท แคว้นโกลิยะ หรือดินแดนของกษัตริย์โกลิยวงศ์ เป็นแคว้นหนึ่งในชมพูทวีป
       ครั้งพุทธกาลมีนครหลวงชื่อ เทวทหะ และรามคาม
       บัดนี้อยู่ในเขตประเทศเนปาล

แสดงผลการค้น ลำดับที่  39 / 80
โกลิยวงศ์ ชื่อวงศ์กษัตริย์ข้างฝ่ายพระพุทธมารดา ที่ครองกรุงเทวทหะ;
       พระสิริมหามายา พุทธมารดา และพระนางพิมพา ชายาของเจ้าชายสิทธัตถะ เป็นเจ้าหญิงฝ่ายโกลิยวงศ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  40 / 80
โกศล ๒- ชื่อแคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้น แห่งชมพูทวีป โกศลเป็นแคว้นใหญ่มีอำนาจมากในสมัยพุทธกาล
       กษัตริย์ผู้ครองแคว้นมีพระนามว่า พระเจ้าปเสนทิโกศล มีนครหลวงชื่อ สาวัตถี
       บัดนี้เรียก Sahet-Mahet

แสดงผลการค้น ลำดับที่  41 / 80
โกสัมพิกขันธกะ ชื่อขันธกะที่ ๑๐ (สุดท้าย) แห่งคัมภีร์มหาวรรค วินัยปิฎก ว่าด้วยเรื่องภิกษุชาวเมืองโกสัมพีทะเลาะวิวาทกัน จนเป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษาในป่ารักขิตวัน ตำบลปาริไลยกะ
       ในที่สุด พระภิกษุเหล่านั้นถูกมหาชนบีบคั้นให้ต้องกลับปรองดองกัน บังเกิดสังฆสามัคคีอีกครั้งหนึ่ง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  42 / 80
ุททกาปีติ ปีติเล็กน้อย, ความอิ่มใจอย่างน้อย เมื่อเกิดขึ้นทำให้ขนชัน น้ำตาไหล
       (ข้อ ๑ ในปีติ ๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  43 / 80
เขต
       1. แดนที่กันไว้เป็นกำหนด เช่น นา ไร่ ที่ดิน แคว้น เป็นต้น
       2. ข้อที่ภิกษุระบุถึงเพื่อลาสิกขา เช่น พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  44 / 80
เขมา พระเถรีมหาสาวิการูปหนึ่ง ประสูติในราชตระกูลแห่งสาคลนครในมัททรัฐ
       ต่อมาได้เป็นพระอัครมเหสีของพระเจ้าพิมพิสาร มีความมัวเมาในรูปสมบัติของตน ได้ฟังพระพุทธเจ้าแสดงพระธรรมเทศนาเรื่องราคะ และการกำจัดราคะ พอจบพระธรรมเทศนาก็ได้บรรลุพระอรหัต แล้วบวชเป็นภิกษุณี
       ได้รับยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะในทางมีปัญญามาก และเป็นอัครสาวิกาฝ่ายขวา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  45 / 80
คณปูรกะ ภิกษุผู้เป็นที่ครบจำนวนในคณะนั้นๆ
       เช่น สังฆกรรมที่ต้องมีภิกษุ ๔ รูป หรือยิ่งขึ้นไป เป็นผู้ทำ
       ยังขาดอยู่เพียงจำนวนใดจำนวนหนึ่ง มีภิกษุอื่นมาสมบท ทำให้ครบองค์สงฆ์ ในสังฆกรรมนั้นๆ
       ภิกษุที่มาสมทบนั้น เรียกว่า คณปูรกะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  46 / 80
คยา จังหวัดที่พระพุทธเจ้าเคยเสด็จเมื่อครั้งโปรดนักบวชชฎิล และได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนาอาทิตตปริยายสูตรที่ตำบลคยาสีสะในจังหวัดนี้
       ปัจจุบันตัวเมืองคยาอยู่ห่างจากุทธคยา สถานที่ตรัสรู้พระพุทธเจ้าประมาณ ๗ ไมล์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  47 / 80
คยาสีสะ ชื่อตำบล ซึ่งเป็นเนินเขาแห่งหนึ่งในจังหวัดคยา
       พระพุทธเจ้าเทศนาอาทิตตปริยายสูตร โปรดภิกษุสงฆ์ปุราณชฎิลทั้งหมดให้สำเร็จพระอรหัตที่ตำบลนี้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  48 / 80
ครุ เสียงหนัก ได้แก่ ทีฆสระ คือ อา อี อู เอ โอ และสระที่มีพยัญชนะสะกด ซึ่งเรียกว่า สังโยค
       เช่น พุทฺโธ โลเก อุปฺปนฺโน
       คู่กับ ลหุ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  49 / 80
ครุธรรม ธรรมอันหนัก, หลักความประพฤติสำหรับนางภิกษุณีจะพึงถือเป็นเรื่องสำคัญอันต้องปฏิบัติด้วยความเคารพไม่ละเมิดตลอดชีวิต มี ๘ ประการ คือ
       ๑. ภิกษุณีแม้บวชร้อยพรรษาแล้ว ก็ต้องกราบไหว้ภิกษุแม้บวชวันเดียว
       ๒. ภิกษุณีจะอยู่ในวัดที่ไม่มีภิกษุไม่ได้
       ๓. ภิกษุณีต้องไปถามวันอุโบสถและเข้าไปฟังโอวาทจากภิกษุทุกกึ่งเดือน
       ๔. ภิกษุณีอยู่จำพรรษาแล้วต้องปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่ายโดยสถานทั้ง ๓ คือ โดยได้เห็น โดยได้ยิน โดยรังเกียจ (รังเกียจหมายถึง ระแวงสงสัยหรือประพฤติกรรมอะไรที่น่าเคลือบแคลง)
       ๕. ภิกษุณีต้องอาบัติหนัก ต้องประพฤติมานัตในสงฆ์ ๒ ฝ่าย (คือ ทั้งภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์) ๑๕ วัน
       ๖. ภิกษุณีต้องแสวงหาอุปสัมปทาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย เพื่อนางสิกขมานา
       ๗. ภิกษุณีไม่พึงด่าไม่พึงบริภาษภิกษุไม่ว่าจะโดยปริยายใดๆ
       ๘. ไม่ให้ภิกษุณีว่ากล่าวภิกษุแต่ภิกษุว่ากล่าวภิกษุณีได้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  50 / 80
คว่ำบาตร การที่สงฆ์ลงโทษอุบาสก ผู้ปรารถนาร้ายต่อพระรัตนตรัย โดยประกาศให้ภิกษุทั้งหลายไม่คบด้วย
       คือไม่รับบิณฑบาต ไม่รับนิมนต์ ไม่รับไทยธรรม
       คู่กับ หงายบาตร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  51 / 80
คัคคภิกษุ ชื่อภิกษุรูปหนึ่งในครั้งพุทธกาล เคยเป็นบ้า และได้ต้องอาบัติหลายอย่างในระหว่างเวลานั้น ภายหลังหายเป็นบ้าแล้ว ได้มีผู้โจทว่า เธอต้องอาบัตินั้นๆ ในคราวที่เป็นบ้าไม่รู้จบ
       พระพุทธองค์จึงได้ทรงมีพุทธานุญาตให้ระงับอธิกรณ์ด้วย อมูฬหวินัย เป็นครั้งแรก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  52 / 80
คันธกุฎี “กุฎีอบกลิ่นหอม”,
       ชื่อเรียกพระกุฎีที่ประทับของพระพุทธเจ้า
       เช่น พระคันธกุฎีที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างถวายที่พระเชตวัน ในนครสาวัตถี เป็นต้น
       พระกุฎีที่ประทับของพระพุทธเจ้าพระองค์อื่นๆ ก็เรียกว่า คันธกุฎี เช่นเดียวกัน
       (เช่น ขุ.อป. ๓๒/๑๘/๘๕; ๑๗๒/๒๗๒; ๓๓/๑๓๑/๒๒๐)
       อย่างไรก็ตาม คำเรียกที่ประทับของพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันว่าคันธกุฎีนั้น มีใช้แต่ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถาลงมา (ไม่มีในพระไตรปิฎก)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  53 / 80
คันธาระ ชื่นแคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นใหญ่แห่งชมพูทวีป ตั้งอยู่แถบลุ่มแม่น้ำสินธูตอนเหนือ ตรงกับแคว้นปัญจาบภาคเหนือในปัจจุบัน นครหลวง ชื่อตักสิลา เป็นนครที่รุ่งเรืองด้วยศิลปวิทยาต่างๆ แคว้นคันธาระอยู่ติดกันกับแคว้นกัษมีระ (เขียนอย่างสันสกฤตเป็นกัศมีระ) หรือแคชเมียร์
       พระราชาผู้ปกครองคันธาระในสมัยพุทธกาล มีพระนามว่าปุกกุสาติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  54 / 80
คาถา
       1. คำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง ในภาษาบาลี
           คู่กับ ไวยากรณ์ 2.
               คาถาหนึ่งๆ มี ๔ บาท เช่น
           อาโรคฺยปรมา ลาภา สนฺตุฏฺฐี ปรมํ ธนํ
           วิสฺสาสปรมา ญาติ นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ ฯ
       2. พุทธพจน์ที่เป็นคาถา (ข้อ ๔ ในนวังคสัตถุศาสน์)
       3. ในภาษาไทย บางทีใช้ในความหมายว่า คำเสกเป่าที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์ อย่างที่เรียกว่าคาถาอาคม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  55 / 80
คารวะ ความเคารพ, ความเอื้อเฟือ, ความใส่ใจมองเห็นความสำคัญที่จะต้องปฏิบัติต่อสิ่งนั้นๆ ให้ถูกต้องเหมาะสม มี ๖ อย่างคือ
       ๑. ุทฺธคารวตา ความเคารพในพระพุทธเจ้า
       ๒. ธมฺมคารวตา ความเคารพในพระธรรม
       ๓. สงฺฆคารวตา ความเคารพในพระสงฆ์
       ๔. สิกฺขาคารวตา ความเคารพในการศึกษา
       ๕. อปฺปมาทคารวตา ความเคารพในความไม่ประมาท
       ๖. ปฏิสนฺถารคารวตา ความเคารพในปฏิสันถาร คือ การต้อนรับปราศรัย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  56 / 80
คุณของพระรัตนตรัย คุณของรัตนะ ๓ คือ
       ๑. พระพุทธเจ้า รู้ดีรู้ชอบด้วยพระองค์เองก่อนแล้วทรงสอนผู้อื่นให้รู้ตามด้วย
       ๒. พระธรรม เป็นหลักแห่งความจริงและความดีงาม ย่อมรักษาผู้ปฏิบัติตามไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว
       ๓. พระสงฆ์ ปฏิบัติชอบตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว สอนผู้อื่นให้กระทำตามด้วย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  57 / 80
โคดม, โคตมะ ชื่อตระกูลของพระพุทธเจ้า
       มหาชนเรียกพระพุทธเจ้าตามพระโคตรว่า พระโคดม พระโคตมะ หรือ พระสมณโคดม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  58 / 80
โคตมกเจดีย์ ชื่อเจดียสถานแห่งหนึ่ง อยู่ทางทิศใต้ของเมืองเวสาลี เป็นที่ที่พระพุทธเจ้าเคยประทับหลายครั้ง และเคยทรงทำนิมิตโอภาสแก่พระอานนท์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  59 / 80
โคตมโคตร ตระกูลโคตมะ เป็นชื่อตระกูลของพระพุทธเจ้า

แสดงผลการค้น ลำดับที่  60 / 80
โคตมนิโครธ ตำบลที่พระพุทธเจ้าเคยทำนิมิตโอภาสแก่พระอานนท์ อยู่ที่พระนครราชคฤห์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  61 / 80
ฆนิโตทนะ กษัตริย์ศากยวงศ์ เป็นพระราชบุตรองค์ที่ ๕ ของพระเจ้าสีหนุ เป็นพระอาองค์ที่ ๔ ของพระเจ้าสุทโธทนะ เป็นพระเจ้าอาของพระพุทธเจ้า

แสดงผลการค้น ลำดับที่  62 / 80
โฆสิตาราม ชื่อวัดสำคัญในกรุงโกสัมพี ครั้งพุทธกาล พระพุทธเจ้าเคยประทับหลายครั้ง
       เช่น คราวที่ภิกษุชาวโกสัมพีแตกกัน เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  63 / 80
จตุราริยสัจ อริยสัจ ๔ ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
       ดู อริยสัจ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  64 / 80
จริต ความประพฤติ, พื้นนิสัย หรือพื้นเพแห่งจิตของคนทั้งหลายที่หนักไปด้านใดด้านหนึ่ง แตกต่างกันไปคือ
       ๑. ราคจริต ผู้มีราคะเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางรักสวยรักงาม มักติดใจ)
       ๒. โทสจริต ผู้มีโทสะเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางใจร้อนขี้หงุดหงิด)
       ๓. โมหจริต ผู้มีโมหะเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางเหงาซึม งมงาย)
       ๔. สัทธาจริต ผู้มีศรัทธาเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางน้อมใจเชื่อ)
       ๕. ุทธิจริต ผู้มีความรู้เป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางคิดพิจารณา)
       ๖. วิตกจริต ผู้มีวิตกเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางคิดจับจดฟุ้งซ่าน)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  65 / 80
จักกวัตติสูตร ชื่อสูตรที่ ๓ แห่งทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค พระสุตตันตปิฎก
       พระพุทธเจ้าตรัสสอนภิกษุทั้งหลายให้พึ่งตน คือพึ่งธรรม ด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ซึ่งจะทำให้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ดำเนินอยู่ในแดนของตนเองที่สืบมาแต่บิดา จะมีแต่ความดีงามเจริญขึ้นไม่เปิดช่องให้แก่มาร เช่นเดียวกับพระเจ้าจักรพรรดิที่ทรงประพฤติตามหลักจักรวรรดิวัตร อันสืบกันมาแต่บรรพชนของพระองค์ ย่อมทำให้จักรรัตนะบังเกิดขึ้นมาเอง,
       จักรวรรดิวัตร นั้นมี ๔ ข้อใหญ่ ใจความว่า
           ๑. พระเจ้าจักรพรรดิเป็นธรรมาธิปไตย และจัดการคุ้มครองป้องกันโดยชอบธรรม แก่ชนทุกหมู่เหล่าในแผ่นดิน ตลอดไปถึงสัตว์ที่ควรสงวนพันธุ์ทั้งหลาย
           ๒. มิให้มีการอันอธรรมเกิดขึ้นในแผ่นดิน
           ๓. ปันทรัพย์เฉลี่ยให้แก่ผู้ไร้ทรัพย์
           ๔. ปรึกษาสอบถามการดีชั่ว ข้อควรและไม่ควรประพฤติ กะสมณพราหมณ์ ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ อยู่เสมอ;
       จักรวรรดิวัตร ๔ ข้อนี้ บางทีจัดเป็น ๕ โดยแยกข้อ ๑. เป็น ๒ ข้อ คือ เป็นธรรมาธิปไตย ถือธรรมเป็นใหญ่อย่างหนึ่ง กับจัดการคุ้มครองป้องกันอันชอบธรรม อย่างหนึ่ง, นอกจากนั้น สมัยต่อมา อรรถกถาจัดแบ่งซอยออกไป และเพิ่มเข้ามาอีก รวมเป็น ๑๒ ข้อ เรียกว่า จักรวรรดิวัตร ๑๒ ;
       พระสูตรนี้ถือว่าเป็นคำสอนแสดงหลักวิวัฒนาการของสังคมตามแนวจริยธรรม กล่าวถึงหลักการปกครอง และหลักความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจกับจริยธรรม;
       เรื่อง พระศรีอารยเมตไตรย ก็มีต้นเค้ามาจากพระสูตรนี้;
       ดู จักรวรรดิวัตร ๑๒

แสดงผลการค้น ลำดับที่  66 / 80
จักขุ ตา ของพระพุทธเจ้า มี ๕ คือ มังสจักขุ ทิพพจักขุ ปัญญาจักขุ ุทธจักขุ สมันตจักขุ (ดูที่คำนั้นๆ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  67 / 80
จักษุทิพย์ ตาทิพย์ คือดูอะไรเห็นได้หมด ดู ทิพพจักขุ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  68 / 80
จิตตคฤหบดี ชื่ออุบาสกคนหนึ่ง มีศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา
       ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในบรรดาอุบาสกธรรมกถึก;
       ท่านผู้นี้เคยถูกภิกษุชื่อสุธรรมด่า เป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติปฏิสาราณียกรรม คือการลงโทษภิกษุผู้ด่าว่าคฤหัสถ์ที่ไม่มีความผิด ด้วยการให้ไปขอขมาเขา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  69 / 80
จิตตมุทุตา ความอ่อนแห่งจิต, ธรรมชาติทำจิตให้นมนวลอ่อนละมุน
       (ข้อ ๑๓ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  70 / 80
จิตตวิสุทธิ ความหมดจดแห่งจิต คือได้ฝึกอบรมจิตจนเกิดสมาธิพอเป็นบาทฐานแห่งวิปัสสนา
       (ข้อ ๒ ในวิสุทธิ ๗)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  71 / 80
จีวร ผ้าที่ใช้นุ่งห่มของพระในพระพุทธศาสนาผืนใดผืนหนึ่งก็ได้ ในจำนวน ๓ ผืนที่เรียกว่า ไตรจีวร
       คือผ้าทาบ (สังฆาฏิ) ผ้าห่ม (อุตราสงค์) และผ้านุ่ง (อันตรวาสก);
       แต่ในภาษาไทย นิยมเรียกเฉพาะผ้าห่มคืออุตราสงค์ ว่า จีวร
       ดู ไตรจีวร ด้วย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  72 / 80
จีวรกาล ฤดูกาลจีวร, ฤดูถวายผ้าแก่พระสงฆ์
       ดู จีวรกาลสมัย

จีวรกาลสมัย สมัยหรือคราวที่เป็นฤดูถวายจีวร;
       งวดหนึ่ง สำหรับภิกษุที่มิได้กรานกฐิน ตั้งแต่แรมค่ำหนึ่งเดือน ๑๑ ถึงเพ็ญเดือน ๑๒ (คือเดือนเดียว),
       อีกงวดหนึ่ง สำหรับภิกษุที่ได้กรานกฐินแล้ว ตั้งแต่แรมค่ำหนึ่งเดือน ๑๑ ไปจนหมดฤดูหนาว คือถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๔ (รวม ๕ เดือน)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  73 / 80
จีวรนิทหกะ ผู้เก็บจีวร คือ ภิกษุที่สงฆ์สมมติให้เป็นเจ้าหน้าที่เก็บจีวรรักษาจีวร
       เป็นตำแหน่งหนึ่งในบรรดาเจ้าอธิการแห่งจีวร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  74 / 80
จีวรปฏิคคาหก ผู้รับจีวร คือ ภิกษุที่สงฆ์สมมติให้เป็นเจ้าหน้าที่รับจีวร
       เป็นตำแหน่งหนึ่งในบรรดาเจ้าอธิการแห่งจีวร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  75 / 80
จีวรภาชก ผู้แจกจีวร คือ ภิกษุที่สงฆ์สมมติให้เป็นเจ้าหน้าที่แจกจีวร,
       เป็นตำแหน่งหนึ่งในบรรดาเจ้าอธิการแห่งจีวร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  76 / 80
จุตูปปาตญาณ ปรีชารู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย,
       มีจักษุทิพย์มองเห็นสัตว์กำลังจุติบ้าง กำลังเกิดบ้าง มีอาการดีบ้าง เลวบ้างเป็นต้น ตามกรรมของตน
       เรียกอีกอย่างว่า ทิพพจักขุ
       (ข้อ ๒ ในญาณ ๓ หรือวิชชา ๓, ข้อ ๗ ในวิชชา ๘, ข้อ ๕ ในอภิญญา ๖)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  77 / 80
จุนทะ พระเถระผู้ใหญ่ชั้นมหาสาวก เป็นน้องชายของพระสารีบุตร
       เคยเป็นอุปัฏฐากของพระพุทธองค์ และเป็นผู้นำอัฐิธาตุของพระสารีบุตรจากบ้าน เกิดที่ท่านปรินิพพานมาถวายแด่พระพุทธองค์ที่พระเชตวัน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  78 / 80
จุนทกัมมารบุตร นายจุนทะ บุตรช่างทอง เป็นชาวเมืองปาวา
       ผู้ถวายภัตตาหารครั้งสุดท้ายแก่พระพุทธเจ้า ในเช้าวันปรินิพพาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  79 / 80
จุลวรรค ชื่อคัมภีร์อันเป็นหมวดหนึ่งแห่งพระวินัยปิฎก ซึ่งมีทั้งหมด ๕ หมวด คือ อาทิกัมม์ ปาจิตตีย์ มหาวรรค จุลวรรค บริวาร ;
       คัมภีร์จุลวรรค มี ๑๒ ขันธกะ คือ
           ๑. กัมมขันธกะ ว่าด้วยเรื่องนิคหกรรม
           ๒. ปาริวาสิกขันธกะ ว่าด้วยวัตรของภิกษุผู้อยู่ปริวาส ผู้ประพฤติมานัต และผู้เตรียมจะอัพภาน
           ๓. สมุจจยขันธกะ ว่าด้วยระเบียบปฏิบัติต่างๆ ในการประพฤติวุฏฐานวิธี
           ๔. สมถขันธกะ ว่าด้วยการระงับอธิกรณ์
           ๕. ุททกวัตถุขันธกะ ว่าด้วยข้อบัญญัติปลีกย่อยจำนวนมาก เช่น การปลงผม ตัดเล็บ ไม้จิ้มฟัน ของใช้ต่างๆ เป็นต้น
           ๖. เสนาสนขันธกะ ว่าด้วยเรื่องเสนาสนะ
           ๖. สังฆเภทขันธกะ ว่าด้วยสังฆเภทและสังฆสามัคคี
           ๘. วัตตขันธกะ ว่าด้วยวัตรต่างๆ เช่น อาคันตุกวัตร เป็นต้น
           ๙. ปาติโมกขัฏฐปนขันธกะ ว่าด้วยระเบียบในการงดสวดปาฏิโมกข์ในเมื่อภิกษุมีอาบัติติดตัวมาร่วมฟังอยู่
           ๑๐. ภิกขุนีขันธกะ ว่าด้วยเรื่องภิกษุณีเริ่มแต่ประวัติการอนุญาตให้มีการบวชครั้งแรก
           ๑๑. ปัญจสติกขันธกะ ว่าด้วยเรื่องสังคายนาครั้งที่ ๑
           ๑๒. สัตตสติกขันธกะ ว่าด้วยสังคายนาครั้งที่ ๒ (พระไตรปิฎกเล่ม ๖-๗);
       ต่อจาก มหาวรรค

แสดงผลการค้น ลำดับที่  80 / 80
จุฬามณีเจดีย์ พระเจดีย์ที่บรรจุพระจุฬาโมลี (มวยผม) ของพระพุทธเจ้าในดาวดึงสเทวโลก
       อรรถกถาเล่าว่า เมื่อพระโพธิสัตว์เสด็จออกบรรพชาเสด็จข้ามแม่น้ำอโนมาแล้วจะอธิษฐานเพศบรรพชิต ทรงตัดมวยพระเกศาขว้างไปในอากาศ พระอินทร์นำผอบแก้วมารองรับเอาไปประดิษฐานในพระเจดีย์จุฬามณี
       ต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ในขณะแจกพระบรมสารีริกธาตุ พระอินทร์ได้มานำเอาพระทาฐธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) ข้างขวาที่โทณพราหมณ์ซ่อนไว้ในผ้าโพกศีรษะ ใส่ผอบทอง นำไปบรรจุในจุฬามณีเจดีย์ด้วย


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ุท&detail=on
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%D8%B7&detail=on


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]