ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ูป ”             ผลการค้นหาพบ  73  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 73
กุลุปกะ, กุลูปกะ “ผู้เข้าถึงสกุล”,
       พระที่คุ้นเคยสนิท ไปมาหาสู่ประจำของตระกูล, พระที่เขาอุปถัมภ์และเป็นที่ปรึกษาประจำของครอบครัว

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 73
จุตูปปาตญาณ ปรีชารู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย,
       มีจักษุทิพย์มองเห็นสัตว์กำลังจุติบ้าง กำลังเกิดบ้าง มีอาการดีบ้าง เลวบ้างเป็นต้น ตามกรรมของตน
       เรียกอีกอย่างว่า ทิพพจักขุ
       (ข้อ ๒ ในญาณ ๓ หรือวิชชา ๓, ข้อ ๗ ในวิชชา ๘, ข้อ ๕ ในอภิญญา ๖)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 73
ฐานานุรูป สมควรแก่ตำแหน่ง, สมควรแก่เหตุที่จะเป็นได้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 73
ติสรณคมนูปสัมปทา อุปสมบทด้วยไตรสรณคมน์
       เป็นวิธีบวชพระที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระสาวกบวชกุลบุตรในครั้งต้นพุทธกาล ต่อมาเมื่อทรงอนุญาตการอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรมแล้ว ก็ทรงอนุญาตการบวชด้วยไตรสรณคมน์นี้ ให้เป็นวิธีบวชสามเณรสืบมา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 73
ตุมพสตูป พระสถูปบรรจุทะนานทองที่ใช้ตวงแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ โทณพราหมณ์เป็นผู้สร้าง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 73
ถูปารหบุคคล บุคคลผู้ควรแก่สถูป คือ บุคคลที่ควรนำกระดูกบรรจุสถูปไว้บูชา มี ๔ คือ
       ๑. พระพุทธเจ้า
       ๒. พระปัจเจกพุทธเจ้า
       ๓. พระอรหันตสาวก
       ๔. พระเจ้าจักรพรรดิ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 73
เทวรูป รูปเทวดาที่นับถือ ตามลัทธิที่นับถือเทวดา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 73
เทวรูปนาคปรก เทวรูปลักษณะคล้ายพระพุทธรูปนาคปรก แต่ภายในนาคปรกนั้นเป็นเทวรูป ไม่ใช่พระพุทธรูป ที่เทวสถานเมืองลพบุรีมีมาก เป็นของลัทธิพราหมณ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 73
ธรรมปฏิรูป ธรรมปลอม, ธรรมที่ไม่แท้, ธรรมเทียม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 73
นามรูป นามธรรม และรูปธรรม
       นามธรรม หมายถึง สิ่งที่ไม่มีรูป คือรู้ไม่ได้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย แต่รู้ได้ด้วยใจ
           ได้แก่เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
       รูปธรรม หมายถึง สิ่งที่มีรูป สิ่งที่เป็นรูป
           ได้แก่รูปขันธ์ทั้งหมด

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 73
นามรูปปริจเฉทญาณ ญาณกำหนดแยกนามรูป,
       ญาณหยั่งรู้ว่าสิ่งทั้งหลายเป็นแต่เพียงนามและรูป และกำหนดจำแนกได้ว่าสิ่งใดเป็นรูป สิ่งใดเป็นนาม
       (ข้อ ๑ ในญาณ ๑๖)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 73
นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ ญาณกำหนดจับปัจจัยแห่งนามรูป,
       ญาณหยั่งรู้ที่กำหนดจับได้ซึ่งปัจจัยแห่งนามและรูป โดยอาการที่เป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาท เป็นต้น
       (ข้อ ๒ ในญาณ ๑๖)
       เรียกกันสั้นๆ ว่า ปัจจัยปริคคหญาณ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 73
นิวรณูปกิเลส โทษเครื่องเศร้าหมองคือนิวรณ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 73
ปฏิรูป สมควร, เหมาะสม, ปรับปรุงให้สมควร;
       ถ้าอยู่ท้ายในคำสมาสแปลว่า “เทียม” “ปลอม” “ไม่แท้”
       เช่น สัทธรรมปฏิรูป แปลว่า “สัทธรรมเทียม” หรือ “ธรรมปลอม”

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 73
ปฏิรูปเทสวาสะ อยู่ในประเทศอันสมควร,
       อยู่ในถิ่นที่เหมาะ หมายถึงอยู่ในถิ่นเจริญ มีคนดี มีนักปราชญ์
       (ข้อ ๑ ในจักร ๔, ข้อ ๔ ในมงคล ๓๘)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 73
ประสาทรูป รูปคือประสาท

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 73
ปริจเฉทรูป รูปที่กำหนดเทศะ ได้แก่ อากาสธาตุ หรืออากาศ คือ ช่องว่าง เช่น ช่องว่างในส่วนต่างๆ ของร่างกาย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 73
ปัจฉิมิกา วันเข้าพรรษาหลัง ได้แก่ วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๙;
       อีกนัยหนึ่งท่านสันนิษฐานว่า เป็นวันเข้าพรรษาในปีที่มีอธิกมาส (เดือน ๘ สองหน);
       เทียบ ปุริมิกา, ปุริมพรรษา

ปัจฉิมิกาวัสสูปนายิกา วันเข้าพรรษาหลัง; ดู ปัจฉิมิกา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 73
ปิยรูป สาตรูป สภาวะที่น่ารักน่าชื่นใจ มุ่งเอาส่วนที่เป็นอิฏฐารมณ์ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งตัณหามี ๑๐ หมวดๆ ละ ๖ อย่าง คือ
       อายตนะภายใน ๖
       อายตนภายนอก ๖
       วิญญาณ ๖
       สัมผัส ๖
       เวทนา ๖
       สัญญา ๖
       สัญเจตนา ๖ มีรูปสัญเจตนา เป็นต้น
       ตัณหา ๖ มีรูปตัณหา เป็นต้น
       วิตก ๖ มีรูปวิตกเป็นต้น
       วิจาร ๖ มีรูปวิจาร เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  20 / 73
พุทธรูป รูปพระพุทธเจ้า

แสดงผลการค้น ลำดับที่  21 / 73
ภยตูปัฏฐานญาณ ปรีชาหยั่งเห็นสังขารปรากฏโดยอาการเป็นของน่ากลัว เพราะสังขารทั้งปวงนั้นล้วนแต่จะต้องแตกสลายไป ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้น
       (ข้อ ๓ ในวิปัสสนาญาณ ๙)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  22 / 73
ภาวรูป รูปที่เป็นภาวะแห่งเพศ
       มี ๒ คือ อิตถีภาวะ ความเป็นหญิง และ ปุริสภาวะ ความเป็นชาย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  23 / 73
ภิกขุนูปัสสยะ สำนักนางภิกษุณี, เขตที่อยู่อาศัยของภิกษุณีซึ่งเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในวัด

แสดงผลการค้น ลำดับที่  24 / 73
ภูตรูป ดู มหาภูต

แสดงผลการค้น ลำดับที่  25 / 73
มหาภูต ธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม;
       ดู มหาภูตรูป

มหาภูตรูป รูปใหญ่, รูปต้นเดิม คือ ธาตุ ๔ ได้แก่ ปฐวี อาโป เตโช และวาโย;
       ดู ธาตุ ๔

แสดงผลการค้น ลำดับที่  26 / 73
มาตรา กิริยากำหนดประมาณ, เครื่องวัดต่างๆ เช่นวัดขนาด จำนวน เวลา ระยะทางเป็นต้น,
       มาตราที่ควรรู้ ดังนี้
มาตราเวลา
๑๕ หรือ ๑๔ วัน เป็น ๑ ปักษ์
๒ ปักษ์ เป็น ๑ เดือน
๔ เดือน เป็น ๑ ฤดู
๓ ฤดู เป็น ๑ ปี
       (๑๔ วัน คือ ข้างแรมเดือนขาด, ๑๒ เดือนตั้งแต่เดือนอ้ายมีชื่อดังนี้;
           มาคสิรมาส, ปุสสมาส, มาฆมาส, ผัคคุณมาส, จิตตมาส, เวสาขมาส, เชฏฐมาส, อาสาฬหมาส, สาวนมาส, ภัททปทมาส หรือโปฏฐปทมาส, อัสสยุชมาส หรือปฐมกัตติกมาส, กัตติกามาส;
       ฤดู ๓ คือ
           เหมันต์ ฤดูหนาว เริ่มเดือนมาคสิระ ของเราเป็นแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒,
           คิมหะ ฤดูร้อน เริ่มเดือนจิตตะ ของเราเป็นแรม ๑ ค่ำ เดือน ๔,
           วัสสานะ ฤดูฝน เริ่มเดือนสาวนะ ของเราเป็นแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘)
มาตราวัด
๗ เมล็ดข้าว เป็น ๑ นิ้ว
๑๒ นิ้ว เป็น ๑ คืบ
๒ คืบ เป็น ๑ ศอก
๔ ศอก เป็น ๑ วา
๒๕ วา เป็น ๑ อุสภะ
๘๐ อุสภะ เป็น ๑ คาวุต
๔ คาวุต เป็น ๑ โยชน์
หรือ
๔ ศอก เป็น ๑ ธนู
๕๐๐ ธนู เป็น ๑ โกสะ
๔ โกสะ เป็น ๑ คาวุต
๔ คาวุต เป็น ๑ โยชน์
มาตราตวง
๔ มุฏฐิ (กำมือ) เป็น ๑ กุฑวะ (ฟายมือ)
๒ กุฑวะ เป็น ๑ ปัตถะ (กอบ)
๒ ปัตถะ เป็น ๑ นาฬี (ทะนาน)
๔ นาฬี เป็น ๑ อาฬหก
มาตรารูปิยะ
๕ มาสก เป็น ๑ บาท
๔ บาท เป็น ๑ กหาปณะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  27 / 73
มิตตปฏิรูป, มิตตปฏิรูปก์ คนเทียมมิตร, มิตรเทียม ไม่ใช่มิตรแท้ มี ๔ พวก ได้แก่
       ๑. คนปอกลอก มีลักษณะ ๔ คือ
           ๑. คิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว
           ๒. ยอมเสียน้อยโดยหวังจะเอาให้มาก
           ๓. ตัวมีภัย จึงมาช่วยทำกิจของเพื่อน
           ๔. คบเพื่อนเพราะเห็นแก่ประโยชน์ของตัว
       ๒. คนดีแต่พูด มีลักษณะ ๔ คือ
           ๑. ดีแต่ยกของหมดแล้วมาปราศรัย
           ๒. ดีแต่อ้างของยังไม่มีมาปราศรัย
           ๓. สงเคราะห์ด้วยสิ่งหาประโยชน์มิได้
           ๔. เมื่อเพื่อนมีกิจ อ้างแต่เหตุขัดข้อง
       ๓. คนหัวประจบ มีลักษณะ ๔ คือ
           ๑. จะทำชั่วก็เออออ
           ๒. จะทำดีก็เออออ
           ๓. ต่อหน้าสรรเสริญ
           ๔. ลับหลังนินทา
       ๔. คนชวนฉิบหาย มีลักษณะ ๔ คือ
           ๑. คอยเป็นเพื่อนดื่มน้ำเมา
           ๒. คอยเป็นเพื่อนเที่ยวกลางคืน
           ๓. คอยเป็นเพื่อนเที่ยวดูการเล่น
           ๔. คอยเป็นเพื่อนไปเล่นการพนัน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  28 / 73
ราชูปถัมภ์ การที่พระราชาทรงเกื้อกูล อุดหนุน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  29 / 73
ราชูปโภค เครื่องใช้สอยของพระราชา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  30 / 73
รูป
       1. สิ่งที่จะต้องสลายไปเพราะปัจจัยต่างๆ อันขัดแย้ง, สิ่งที่เป็นรูปร่างพร้อมทั้งลักษณะอาการของมัน, ส่วนร่างกาย
           จำแนกเป็น ๒๘ คือมหาภูต หรือธาตุ ๔ และอุปาทายรูป ๒๔ (=รูปขันธ์ในขันธ์ ๕)
       2. อารมณ์ที่รู้ได้ด้วยจักษุ, สิ่งที่ปรากฏแก่ตา (ข้อ ๑ ในอารมณ์ ๖ หรือในอายตนะภายนอก ๖)
       3. ลักษณนาม ใช้เรียกพระภิกษุสามเณร เช่น ภิกษุรูปหนึ่ง สามเณร ๕ รูป;
           ในภาษาพูดบางแห่งนิยมใช้ องค์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  31 / 73
รูปกัมมัฏฐาน กรรมฐานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  32 / 73
รูปกาย ประชุมแห่งรูปธรรม, กายที่เป็นส่วนรูป โดยใจความได้แก่รูปขันธ์หรือร่างกาย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  33 / 73
รูปฌาน ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์มี ๔ คือ
       ๑. ปฐมฌาน ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ
           วิตก(ตรึก)
           วิจาร(ตรอง)
           ปีติ(อิ่มใจ)
           สุข(สบายใจ)
           เอกัคคตา(จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง)
       ๒. ทุติยฌาน ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ คือ ปีติ, สุข, เอกัคคตา
       ๓. ตติยฌาน ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ สุข, เอกัคคตา
       ๔. จตุตถฌาน ฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ คือ อุเบกขา, เอกัคคตา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  34 / 73
รูปตัณหา ความอยากในรูป

แสดงผลการค้น ลำดับที่  35 / 73
รูปธรรม สิ่งที่มีรูป, สภาวะที่เป็นรูป;
       คู่กับ นามธรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  36 / 73
รูปนันทา พระราชบุตรีของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางปชาบดีโคตมี เป็นพระกนิฏฐภคินีต่างพระมารดาของพระสิทธัตถะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  37 / 73
รูปพรรณ เงินทองที่ทำเป็นเครื่องใช้หรือเครื่องประดับ, ลักษณะ, รูปร่าง และสี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  38 / 73
รูปพรหม พรหมในชั้นรูปภพ, พรหมที่เกิดด้วยกำลังรูปฌาน มี ๑๖ ชั้น;
       ดู พรหมโลก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  39 / 73
รูปภพ โลกเป็นที่อยู่ของพวกรูปพรหม; ดู พรหมโลก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  40 / 73
รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรม คือติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน หรือในรูปธรรมอันประณีต
       (ข้อ ๖ ในสังโยชน์ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  41 / 73
รูปวิจาร ความตรองในรูป เกิดต่อจากรูปวิตก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  42 / 73
รูปวิตก ความตรึกในรูป เกิดต่อจากรูปตัณหา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  43 / 73
รูปสัญเจตนา ความคิดอ่านในรูป เกิดต่อจากรูปสัญญา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  44 / 73
รูปสัญญา ความหมายรู้ในรูป เกิดต่อจากจักขุสัมผัสสชาเวทนา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  45 / 73
รูปัปปมาณิกา ผู้ถือรูปเป็นประมาณ คือ พอใจในรูป ชอบรูปร่างสวยสง่างาม ผิวพรรณหมดจดผ่องใส เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  46 / 73
รูปารมณ์ อารมณ์คือรูป, สิ่งที่เห็นได้ด้วยตา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  47 / 73
รูปาวจร ซึ่งท่องเที่ยวไปในรูป, อยู่ในระดับจิตชั้นรูปฌาน, ระดับที่มีรูปธรรมเป็นอารมณ์, เนื่องในรูปภพ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  48 / 73
รูปิยสังโวหาร การแลกเปลี่ยนด้วยรูปิยะ, การซื้อขายด้วยเงินตรา,
       ภิกษุกระทำ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ (โกสิยวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๙)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  49 / 73
รูปียะ, รูปิยะ เงินตรา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  50 / 73
วัฏฏูปัจเฉท ความเข้าไปตัดเสียซึ่งวัฏฏะ
       (เป็นไวพจน์ของวิราคะ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  51 / 73
วัสสูปนายิกา วันเข้าพรรษา; ดู จำพรรษา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  52 / 73
วิปัสสนูปกิเลส อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา,
       สภาพน่าชื่นชม แต่ที่แท้เป็นโทษเครื่องเศร้าหมองแห่งวิปัสสนาซึ่งเกิดแก่ผู้ได้วิปัสสนาอ่อนๆ ทำให้เข้าใจผิดว่าตนบรรลุมรรคผลแล้ว จึงไม่ดำเนินก้าวหน้าต่อไปในวิปัสสนาญาณ มี ๑๐ คือ
       ๑. โอภาส แสงสว่าง
       ๒. ปีติ ความอิ่มใจ
       ๓. ญาณ ความรู้
       ๔. ปัสสัทธิ ความสงบกายและจิต
       ๕. สุข ความสบายกาย สบายจิต
       ๖. อธิโมกข์ ความน้อมใจเชื่อ
       ๗. ปัคคาหะ ความเพียรที่พอดี
       ๘. อุปัฏฐาน สติชัด
       ๙. อุเบกขา ความวางจิตเป็นกลาง
       ๑๐. นิกันติ ความพอใจ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  53 / 73
ศาสนูปถัมภก ผู้ทะนุบำรุงศาสนา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  54 / 73
สตูป สิ่งก่อสร้างสำหรับบรรจุของควรบูชา
       นิยมเรียก สถูป

แสดงผลการค้น ลำดับที่  55 / 73
สถูป สิ่งก่อสร้างซึ่งก่อไว้สำหรับบรรจุของควรบูชา เป็นอนุสรณ์ที่เตือนใจให้เกิดปสาทะและกุศลธรรมอื่นๆ
       เช่น พระบรมสารีริกธาตุ อัฐิแห่งพระสาวก หรือกระดูกแห่งบุคคลที่นับถือ
       (บาลี: ถูป, สันสกฤต: สฺตูป);
       ดู ถูปารหบุคคล

แสดงผลการค้น ลำดับที่  56 / 73
สมณสารูป ความประพฤติอันสมควรของสมณะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  57 / 73
สัทธรรมปฏิรูป สัทธรรมปลอม, สัทธรรมเทียม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  58 / 73
สัปปุริสูปัสสยะ คบสัตบุรุษ, คบคนดี, ได้คนดีเป็นที่พึ่งอาศัย
       (ข้อ ๒ ในจักร ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  59 / 73
สัปปุริสูปสังเสวะ คบสัตบุรุษ, คบคนดี, คบท่านที่ประพฤติชอบด้วยกายวาจาใจ, เสวนาท่านผู้รู้ผู้ทรงคุณ
       (ข้อ ๑ ในวุฑฒิ ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  60 / 73
สาตรูป รูปเป็นที่ชื่นใจ; ดู ปิยรูป

แสดงผลการค้น ลำดับที่  61 / 73
สารูป เหมาะ, สมควร;
       ธรรมเนียมควรประพฤติในเวลาเข้าบ้าน, เป็นหมวดที่ ๑ แห่งเสขิยวัตร มี ๒๖ สิกขาบท

แสดงผลการค้น ลำดับที่  62 / 73
สูปะ แกง; คู่กับ พยัญชนะ 2.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  63 / 73
อนุรูป สมควร, เหมาะสม, พอเพียง, เป็นไปตาม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  64 / 73
อรูป ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ ได้แก่ อรูปฌาน, ภพของสัตว์ผู้เข้าถืออรูปฌาน,
       ภพของอรูปพรหม มี ๔ คือ
           ๑. อากาสานัญจายตนะ (กำหนดที่ว่างหาที่สุดมิได้ เป็นอารมณ์)
           ๒. วิญญาณัญจายตนะ (กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้ เป็นอารมณ์)
           ๓. อากิญจัญญายตนะ (กำหนดภาวะที่ไม่มีอะไรๆ เป็นอารมณ์)
           ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ (ภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  65 / 73
อรูปฌาน ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ มี ๔;
       ดู อรูป

แสดงผลการค้น ลำดับที่  66 / 73
อรูปพรหม พรหมผู้เข้าถึงอรูปฌาน, พรหมไม่มีรูป, พรหมในอรูปภพ มี ๔;
       ดู อรูป

แสดงผลการค้น ลำดับที่  67 / 73
อรูปภพ โลกเป็นที่อยู่ของพรหมไม่มีรูป;
       ดู อรูป

แสดงผลการค้น ลำดับที่  68 / 73
อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม, ความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน, ความปรารถนาในอรูปภพ
       (ข้อ ๗ ในสังโยชน์ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  69 / 73
อรูปาวจร ซึ่งท่องเที่ยวไปในอรูปภพ, ยังเกี่ยวข้องอยู่กับอรูปธรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  70 / 73
อวินิพโภครูป “รูปที่แยกออกจากกันไม่ได้”, รูปที่มีอยู่ด้วยกันเป็นประจำเสมอไป อย่างขาดมิได้เลยในสิ่งที่เป็นรูปทุกอย่าง
       กล่าวคือ ในสิ่งที่เป็นรูปทุกอย่าง แม้แต่ปรมาณูที่เล็กที่สุดก็จะต้องมีรูปธรรมชุดนี้อยู่เป็นอย่างน้อย, คุณสมบัติพื้นฐานที่มีอยู่เป็นประจำในวัตถุ,
       มี ๘ อย่าง คือ
           ปฐวี (ภาวะแผ่ขยายหรือรองรับ)
           อาโป (ภาวะเอิบอาบเกาะกุม)
           เตโช (ภาวะร้อน)
           วาโย (ภาวะเคลื่อนไหวเคร่งตึง)
           วัณณะ (สี)
           คันธะ (กลิ่น)
           รสะ (รส)
           โอชา (อาหารรูป);
       ใน ๘ อย่างนี้ ๔ อย่างแรกเป็นมหาภูตรูป หรือธาตุ ๔, ๔ อย่างหลังเป็นอุปาทายรูป

แสดงผลการค้น ลำดับที่  71 / 73
อังคารสตูป พระสถูปที่บรรจุพระอังคาร ซึ่งโมริยกษัตริย์สร้างไว้ที่เมืองปิปผลิวัน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  72 / 73
อุปัสสยะของภิกษุณี ส่วนที่อยู่ของภิกษุณีตั้งอยู่ในอาวาสที่มีภิกษุอยู่ด้วย แต่อยู่โดยเอกเทศ ไม่ปะปนกับภิกษุ;
       เรียกตามศัพท์ว่า ภิกขุนูปัสสยะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  73 / 73
อุปาทายรูป รูปอาศัย, รูปที่เกิดสืบเนื่องจากมหาภูตรูป,
       อาการของมหาภูตรูป ตามหลักฝ่ายอภิธรรมว่า มี ๒๔ คือ
       ก. ประสาท หรือ ปสาทรูป ๕ ได้แก่
           จักขุ ตา, โสต หู, ฆานะ จมูก, ชิวหา ลิ้น, กาย
       ข. โคจรรูป หรือ วิสัยรูป (รูปที่เป็นอารมณ์) ๕ ได้แก่
           รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
           (โผฏฐัพพะ ไม่นับเข้าจำนวน เพราะตรงกับปฐวี เตโช วาโย ซึ่งเป็นมหาภูตรูป)
       ค. ภาวรูป ๒ ได้แก่
           อิตถีภาวะ ความเป็นหญิง และ
           ปุริสภาวะ ความเป็นชาย
       ง. หทัยรูป ๑ คือ หทัยวัตถุ หัวใจ
       จ. ชีวิตรูป ๑ คือ ชีวิตินทรีย์ ภาวะที่รักษารูปให้เป็นอยู่
       ฉ. อาหารรูป ๑ คือ กวฬิงการาหาร อาหารที่กินเกิดเป็นโอชา
       ช. ปริจเฉทรูป ๑ คือ อากาศธาตุ ช่องว่าง
       ญ. วิญญัติรูป ๒ คือ
           กายวิญญัติ ไหวกายให้รู้ความ
           วจีวิญญัติ ไหววาจาให้รู้ความ คือพูดได้
       ฎ. วิการรูป ๕ อาการดัดแปลงต่างๆ ได้แก่
           ลหุตา ความเบา,
           มุทุตา ความอ่อน,
           กัมมัญญตา ความควรแก่งาน,
           (อีก ๒ คือ วิญญัติรูป ๒ นั่นเอง ไม่นับอีก)
       ฏ. ลักขณรูป ๔ ได้แก่
           อุปจยะ ความเติบขึ้นได้,
           สันตติ สืบต่อได้,
           ชรตา ทรุดโทรมได้,
           อนิจจตา ความสลายไม่ยั่งยืน
       (นับโคจรรูปเพียง ๔ วิการรูป เพียง ๓ จึงได้ ๒๔);
       ดู มหาภูต ด้วย


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ูป
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%D9%BB


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]