ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก  หนังสือธรรมะ
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
มิลินทปัญหา
โฆรสรวรรค ที่ ๑
             สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นธรณี มีพระราชโองการตรัสถามพระนาคเสนต่อไปว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา ที่พระผู้เป็นเจ้าว่าองค์แห่งลามีเสียงพิลึกอย่าง ๑ นั้นเป็น การใด              พระนาคเสนจึงวิสัชนาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ ธรรมดาว่าลานั้นมิได้เลือกที่นอน จะเป็นกองแห่งหยากเยื่อก็ดี เป็นถนน ๔ แพร่งก็ดี เป็นหัว ตะแลงแกงก็ดี ที่ประตูก็ดี กองแกลบก็ดี ที่ใดๆ ที่ไม่ว่า ลานอนได้สิ้น และลานั้นไม่นอน มากนักและนานนักด้วย ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้าก็มิได้เลือกที่นอนเหมือนกัน จะ เป็นหญ้าลาด ใบไม้ลาดและเพียงตั่งอย่างไรไม่ว่า จมฺมกฺขนฺธํ ปตฺถริตฺวา ลาดลงซึ่งจัมมักขันธ์ แล้วก็จำวัดมิได้เลือก มหาราช ขอถวายพระพร นี่แหละเป็นองค์อัน ๑ แห่งลา ยุติด้วยพระ พุทธฎีกาที่สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสไว้ว่า              กลิงฺครูปมา ภิกฺขเว เอตรหิ มม สาวกา วิหรนฺติ อปฺปมตฺตา อาตาปิโน ปธานสฺมึ ดังนี้              มีใจความว่า ดูรานะภิกษุทั้งหลาย อันว่าสาวกแก่งตถาคตนี้ทำกายดุจท่อนไม่ท่อนฟืน ิมิได้ประมาท เพียรที่จะบรรเทาราคะให้ขาดจากสันดานดังนี้ อนึ่ง พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรก็ ได้กล่าวไว้ว่า                           ปลฺลงฺเกน นิสินฺนสฺส ชณฺณุเก นาภิ ภวิสฺสติ                           อลํ ผาสุวิหาราย ปหิตตฺสฺส ภิกฺขุโน              ความว่า ธรรมดาพระโยคาวจรภิกษุ จะต้องคู้บัลลังก์นั่งขัดสมาธิมีสะดือจดเข่าอยู่ ไม่ควรจะเห็นแก่ความสบาย ตั้งพากเพียรทำจิตให้เป็นสมาธิ ดังนี้ ขอถวายพระพร              พระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากรจึงถามพระนาคเสนว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสน ผู้ปรีชา ที่พระผู้เป็นเจ้าว่า องค์แห่งไก่ ๕ ประการนั้น เป็นดังฤๅเล่า              พระนาคเสนจึงวิสัชนาว่า มหาราช ขอถวายพระพร ธรรมดาไก่ ยังเช้ามืดอยู่ ย่อมไม่ ลงดินกินอาหาร ฉันใด พระโยคาวจรก็เอาเยี่ยงไก่นั้น รุ่งเช้าก็กวาดลานพระเจดีย์ ตั้งไว้ซึ่งน้ำใช้ และน้ำฉันแล้ว อาบน้ำชำระซึ่งกายให้บริสุทธิ์แล้ว บูชาไหว้นบเคารพพระเจดีย์ และเที่ยวไหว้ พระภิกษุที่เป็นผู้เฒ่าแล้วก็กลับเข้าสู่ที่สงัด นี้จัดเป็นองค์แห่งไก่เป็นปฐม              ปุน จ ปรํ ประการหนึ่ง ครั้นรุ่งสว่างแล้ว ไก่ก็ลงดินเที่ยวหากินฉันใด พระโยคาวจร เจ้าก็ทำฉันนั้น เที่ยวโคจรบิณฑบาตในโคจรคามเป็นบ้านที่ตนเคยไปก็ดี มิเคยไปก็ดี ดุจไก่อัน เที่ยวหากินนั้น นี่จัดเป็นองค์แห่งไก่คำรบ ๒              ปุน จ ปรํ อีกประการหนึ่ง มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร ไก่นั้นจะกิน อาหาร ย่อมใช้ตีนเขี่ยแล้วจิกกิน ฉันใด พระโยคาวจรเจ้าก็ทำดุจไก่ จะฉันจังหันย่อมพิจารณา เสียก่อนทุกคำด้วยบทว่า เวน ทวาย น มทาย น มณฺฑนาย น วิภูสนาย ฯลฯ ผาสุวิหาโร จาติ ดังนี้              มีความว่า บิณฑบาตนี้ เรามิได้ฉันเพื่อจะเล่นจะมัวเมาและประดับร่างกายให้อ้วนพี สวยงาม ฉันเพียงจะให้กายอันนี้ดำรงตั้งอยู่ จะได้ประพฤติพรหมจรรย์ต่อไป และจะบรรเทา เวทนาเก่าเสีย มิให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น และให้กายเป็นไปได้นานเท่านั้น ดังนี้ นี่แหละเป็นองค์ แห่งไก่คำรบ ๓ ยุติด้วยพระพุทธฎีกาที่สมเด็จพระบรมโลกกุตรมาจารย์ผู้ประเสริฐตรัสไว้ว่า                                        กนฺตาเร ปุตฺตมํสํว อกฺขสฺสพฺภญฺชนํ ยถา                                        เอวํ อาหริ อาหารํ ยาปนตฺถนฺนมุจฉิโต              มีใจความว่า พระโยคาวจรภิกษุ ย่อมพิจารณาเห็นปรากฏเหมือนบุคคลที่บริโภคเนื้อ แห่งบุตรในทางกันดาร และเห็นดุจหนึ่งว่าน้ำมันสำหรับหยอดเพลา ไม่เป็นผู้มัวเมา ฉันบิณฑ- บาตเพื่อจะให้กายดำรงอยู่สืบชีวิตต่อไปดังนี้ ขอถวายพระพร              ปุน จ ปรํ อีกประการหนึ่งเล่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร กุกฺกุโฏ อันว่าไก่ สจกฺขุโก ถึงจะประกอบด้วยจักษุอันผ่องใสสว่าง แลดูในกลางวันเห็นได้ถนัด แต่ครั้นถึงเวลาราตรีมืดค่ำลง ไก่นั้นก็งวยงงมีตาฝ้ามืดไปดุจตาบอด ยถา มีครุวนาฉันใด พระโย- คาวจรเจ้า ก็พึงทำเป็นตามืดดุจไก่นั้น จะอยู่ในป่าก็ดี จะเที่ยวไปในโคจรคาม คือเที่ยวบิณฑบาต นั้นก็ดี พึงสำรวมอินทรีย์ อย่าได้ยินดีในรูปเสียงกลิ่นรสและสัมผัส อันเป็นที่ตั้งแห่งความ กำหนัดยินดี พึงประพฤติดุจตามืดหูหนักและคนใบ้ ไม่พึงถือนิมิต ไม่พึงถืออนุพยัญชนะในรูป เป็นต้น ว่างามว่าดี มหาราช ขอถวายพระพร นี่จัดเป็นองค์แห่งไก่คำรบ ๔ ยุติด้วยคาถา ภาษิตที่พระกัจจายนเถระกล่าวไว้ว่า                                        จกฺขุมสฺส ยถา อนฺโธ โสตวา พธิโร ยถา                                        ชิวฺหมสฺส ยถา มูโค พลวา ทุพฺพโลริว                                        อถ อตฺเถ สมุปฺปนฺเน สเยถ ปุตฺตสายิกํ มีความว่า ธรรมดาพระโยคาวจรเจ้า มีจักษุอันเห็นก็พึงเป็นตาบอดตามืด มีหูอันได้ ยินก็พึงทำกิริยาดูเหมือนคนหูหนวก มีลิ้นเจรจาไว้พึงทำดุจเป็นใบ้ มีกำลังเรี่ยวแรงก็พึงทำกิริยา ดูเหมือนคนทุพพลภาพ ครั้นมีเรื่องราวบังเกิดขึ้นก็พึงนอนเสียดังหนึ่งว่ามารดาอันกกลูกให้นอน ฉะนั้น ดังนี้ ขอถวายพระพร              ปุน จ ปรํ อีกประการหนึ่งเล่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ ธรรมดาไก่ ถึงบุคคลจะปาขว้างด้วยไม้ค้อนก้อนดินประการใด จะมิให้ไก่นั้นเข้ารัง ให้ลืมรังเสีย ไก่นั้นจะได้ทิ้งรังของตนหามิได้ พระโยคาวจรเจ้าก็เหมือนกัน จะทำซึ่งจีวรกรรมก็ดี ทำซึ่ง นวกรรมก็ดี สำแดงซึ่งอุทเทสและปริปุจฉา คือเรียนบาลีและอรรถกถาก็ดี โยนิโสมนสิกาโร น วิชฺชหิตพฺโพ กระทำไว้ในใจเนืองๆ นั้น ท่านไม่พึงละพึงวางเลย ดุจไก่อันบุคคลขว้างด้วยไม้ ค้อนก้อนดิน ก็มิได้ลืมละซึ่งรังของตนนั้น มหาราช ขอถวายพระพร นี่แหละเป็นองค์แห่งไก่ คำรบ ๕ ยุติด้วยพระพุทธฎีกาที่สมเด็จพระบรมโลกุตตมาจารย์ผู้ประเสริฐ ตรัสพระสัทธรรม- เทศนาได้ว่า              โกจิ ภิกฺขเว ภิกฺขุโน โคจโร สโก เมตฺติโก วิสโย ยทิยํ จตฺตาโร สติปฏฺฐานา              มีความว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเป็นโคจรเป็นที่อยู่ของตน และเป็น อารมณ์ของภิกษุผู้เป็นโยคาวจร ก็คือสติปัฏฐานทั้ง ๔ ประการดังนี้              อนึ่งแล พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรก็กล่าวไว้ว่า                                        ยถา สมฺมโต กุกฺกุโฏ สกเคหํ น ชหติ                                        ภกฺขาภกฺขํ วิชานาติ อตฺตโน วุตฺติกปฺปนํ                                        ตเถว พุทฺธปุตฺเตน อปฺปมตฺเตน สาสนํ                                        กทาจิ น วิชฺชหิตพฺพํ มนสิการวตฺตนํ              มีความว่า ธรรมดาไก่ย่อมไม่ทิ้งรังตามวิสัยถือเป็นมั่นคง และไก่นั้นรู้จักสิ่งที่เป็น อาหารและมิใช่อาหารเลี้ยงชีวิตของตน ยถา มีครุวนาฉันใด อันว่าพุทธบุตรแห่งพระโลกุตตมา- จารย์ก็มิได้ประมาทซึ่งพระศาสนา ที่มีพระพุทธฎีกาตรัสไว้ และจะได้ละเสียลืมเสียซึ่ง มนสิการนั้นหามิได้ ตถาเอว มีอุปมาเหมือนไก่อันมิได้ลืมรังนั้นดังนี้ ขอถวายพระพร              สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร มีพระราชโองการตรัสถามต่อไปว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้าผู้ปรีชาเฉลิมปราชญ์ ที่พระผู้เป็นเจ้าว่า องค์แห่งกระแตอย่าง ๑ นั้นเป็นประการใด พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ขอถวายพระพร ธรรมดาว่ากระแต เมื่อเห็น ศัตรูมาก็พองหางของอาตมาให้ใหญ่สู่รบกับศัตรูนั้นไม่ถอยหนี ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคา วจรเจ้า เมื่อเขาใกล้ซึ่งกิเลส ก็พึงพองหางกระทำให้ใหญ่กว้าง คือตั้งไว้ซึ่งพระสติปัฏฐาน ๔ สู้ รบด้วยกิเลสทั้งปวง เอวํเอว มีอุปไมยเหมือนกระแตฉะนั้น มหาราช ดูรานะบพิตรพระราช สมภาร นี่แหละเป็นองค์อัน ๑ แห่งกระแต ยุติด้วยกระแสเทศนาที่พระจุลปันถกเถรเจ้า กล่าวไว้ว่า                                        ยถา กิเลเส อุปคเต สามญฺญคุณวิธํสเน                                        สติปฏฺฐานมงฺคฏฺเฐน หญฺญติ โส ปุนปฺปุนํ              มีความว่า เมื่อใดกิเลส อันเป็นเครื่องกำจัดสามัญคุณเข้ามาใกล้ พระพุทธบุตรผู้โยคา- วจรเจ้า ย่อมสู้รบขับไล่กิเลสเหล่านั้นแล้วๆ เล่าๆ ด้วยหางกล่าวคือพระสติปัฏฐาน ดังนี้ ขอ ถวายพระพร              สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร มีพระราชโองการตรัสถามต่อไปว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา ที่พระผู้เป็นเจ้าว่าองค์แห่งแม่เสือเหลืองอัน ๑ นั้นเป็นประการใด              พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรผู้มีศักดิ์อัครกษัตริย์อันประเสริฐ ธรรมดาแม่เสือเหลืองนั้น ย่อมมีครรภ์แต่หนเดียว จะมีบ่อยๆ นั้นหามิได้ ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้า ก็กลัวภัยในวัฏสงสาร ไม่ปรารถนาที่ว่าจะเกิดต่อไป ตั้งใจมนสิการว่า จะไม่ ถือปฏิสนธิในภพอื่นอีกดังนี้ มหาราช ขอถวายพระพร นี่แหละเป็นองค์อัน ๑ แห่งแม่เสือ เหลือง ยุติด้วยกระแสพระพุทธฎีกาที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในธนิยโคปาลกสูตร ในสุตตนิบาตว่า                                                     อุสโภริว เฉตฺวา พนฺธนานิ                                                     นาโค ปูติลตํ ปทาลยิตฺวา                                                     นาหํ ปุน อุเปสฺสํ คพฺภเสยฺยํ                                                     อถ เจ ปตฺถยสิ วสฺสเทว              มีความว่า ธรรมดาโคอุสุภราชอันบุคคลผูกไว้ ทำลายเถาวัลย์ที่ผูกไว้ให้ขาดหนีไปได้แล้ว มิได้ปรารถนาจะมาสู่ที่ผูกนั้นอีกเล่า มีครุวนาฉันใด เราก็ทำลายกิเลสที่เป็นเครื่องผูกรักได้แล้ว ก็มิได้เข้าบังเกิดในครรภ์อีกเลย ดูกรวัสสเทวะ ถ้าท่านปรารถนา ก็จะได้สำเร็จดังมโนรถดังนี้ ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร มีพระราชโองการตรัสถามต่อไปว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชาญาณ ที่พระผู้เป็นเจ้าว่า องค์แห่งพ่อเสือเหลือง ๒ ประการนั้น เป็น อย่างไรเล่า พระผู้เป็นเจ้า              พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรผู้ประเสริฐ ธรรมดาพ่อเสือ เหลืองนั้น เร้นซ่อนอยู่ในที่ลับคอยจับกินซึ่งหมู่เนื้อ ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้า ก็พึงส้องเสพอยู่ในอรัญญิกประเทศรุกขมูลเสนาสนะซอกคีรีคูหา และพุ่มไม้สุสานประเทศป่าช้า กอหญ้ากองฟางและในอัพโภกาสอันแจ้งอันสงัด เป็นที่ปราศจากเสียงสกุณนิกร บำเพ็ญ ภาวนาไปจนได้ซึ่งวสีมีความชำนาญในอภิญญา ๖ เอวเมว มีอุปไมยดังพ่อเสือเหลืองอันเร้น ซ่อนอยู่ในที่ลับคอยจับกินซึ่งเนื้อนั้น มหาราช ขอถวายพระพร นี้แหละเป็นองค์อัน ๑ แห่ง พ่อเสือเหลือง ยุติด้วยคำอันพระธัมมสังคาหกเถรเจ้าทั้งหลายกล่าวไว้ว่า                           ยถาปิ ทีปิโก นาม นิลิยิตฺวา คณฺหติ มิเค                           ตเถวายํ พุทฺธปุตฺโต ยุตฺตโยโค วิปสฺสโก                           อรญฺญํ ปวิสิตฺวาน คณฺหาติ ผลมุตฺตมํ              มีความว่า อันว่าพ่อเสือเหลืองซ่อนเร้นอยู่ในที่ลับคอยจับเนื้อกินเป็นภักษา ยถา มี ครุวนาฉันใด พระพุทธบุตรผู้ประอบความเพียรเรียนวิปัสนา เข้าไปสู่ป่าแล้ว ย่อมถือเอาซึ่ง ผลอันล้ำเลิศอุดมได้ ตถา เอว มีอุปไมยเหมือนพ่อเสือเหลืองนั้นดังนี้ ขอถวายพระพร              ปุน จ ปรํ มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ ประการหนึ่ง ธรรมดา ว่าพ่อเสือเหลืองนั้น เมื่อจับเนื้อ ถ้าแลเนื้อนั้นล้มลงข้างซ้าย ย่อมไม่กิน ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้าก็มิได้บริโภคอาหารอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เกิดด้วยกายวิญญัติอันจัดเป็นมิจฉา ชีวะ ซึ่งสมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาตรัสติเตียน และเกิดแต่อเนสนกรรมต่างๆ เอวเมว มี อุปไมยดังพ่อเสือเหลืองไม่กินเนื้อที่ล้มข้างซ้ายฉะนั้น มหาราช ขอถวายพระพร นี่แหละเป็น องค์แห่งพ่อเสือเหลือง เป็นคำรบ ๒ ยุติด้วยคำอันพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถรเจ้ากล่าวไว้ว่า                                        วจีวิญฺญตฺติวิปฺผารา อุปฺปนฺนํ มธุปายสํ                                        สเจ ภุตฺโต ภเวยฺยาหํ อาชีโว ครหิโต มม                                        ยทิปิ เม อนฺตคุณํ นิกฺขมิตฺวา พหิ จเร                                        เนว ภินฺเทยฺยมาชีวํ จชมาโนปิ ชีวิตํ มีความว่า ข้าพเจ้าจะได้ฉันมธุปายาสที่เกิดขึ้นเพราะเปล่งวจีวิญญัตินั้น หามิได้ เพราะ ถ้าว่าจะฉัน พึงเป็นผู้มีอาชีวะอันบัณฑิตพึงติเตียน ถึงมาตรว่าไส้จะไหลออกมาภายนอกข้าพเจ้า ก็จะสู้เสียสละชีวิต จะไม่ทำลายอาชีวะให้เสียไปเป็นอันขาด ดังนี้              อนึ่ง พระอุปเสนวังคันตบุตรก็ได้กล่าวไว้ว่า                                        ยทิปิ เม อนฺตตคุณํ นิกฺขมิตฺวา พหิ จเร                                        เนว ภินฺเทยฺยมาชีวํ จเรยฺยาหํ อเนสนํ              มีความว่า แม้มาตรว่าไส้ของข้าพเจ้าจะไหลออกมาภายนอก ข้าพเจ้าจะได้ประพฤติ อเนสนกรรมทำลายอาชีวะนั้น เป็นอันว่าหามิได้ ดังนี้ ขอถวายพระพร              สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร มีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า แต่พระนาคเสนผู้ปรีชา ที่พระผู้เป็นเจ้าว่า องค์แห่งเต่ามี ๕ ประการนั้น เป็นอย่างไรเล่า              พระนาคเสนจึงถวายวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมาภาร ผู้เป็นเอกอัครกษัตริย์อันประเสริฐ ธรรมดาเต่านั้นย่อมอาศัยอยู่แต่ในน้ำ ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้าก็แผ่เมตตาจิตอันเยือกเย็น ตั้งใจให้เป็นประโยชน์แก่สัตว์โลกทั้งปวง มิได้มี พยาบาทอาฆาตจองเวร สถิตอยู่ในพรหมวิหาร ปานดังเต่าอันอาศัยอยู่ในน้ำนั้น นี่แหละเป็น องค์แห่งเต่าเป็นปฐม              ปุน จ ปรํ อีกประการหนึ่งเล่า มหาราช ขอถวายพระพร ธรรมดาเต่านั้น จมอยู่ในน้ำ โผล่ศีรษะขึ้นมา ถ้าเป็นอะไรเข้า ก็กลับจมลงไป ด้วยคิดจะมิให้ใครเห็นตน ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้า เมื่อกิเลสเข้าใกล้แล้ว ก็พึงจมลงในกลางสระ คืออารมณ์ ด้วยคิดจะมิให้ กิเลสเห็นอาตมา เอวเมว มีอุปไมยเหมือนเต่าอันกลัวคนจะเห็นฉะนั้น นี่แหละเป็นองค์แห่งเต่า คำรบ ๒              ปุน จ ปรํ อีกประการหนึ่งเล่า มหาราช ขอถวายพระพร อันว่าเต่านั้น ครั้นขึ้นมา จากน้ำแล้ว ไม่เห็นสัตว์อะไรก็ตามกายอยู่ที่ชายตลิ่งลาด ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้า ก็พึงนำจิตออกจากอิริยาบถนั่งนอนและเดินแล้วตากไว้ในพระสัมมัปปธาน ปานดุจเต่าตากตัว ที่ตลิ่งลาดนั้น นี่แหละเป็นองค์แห่งเต่าคำรบ ๓              ปุน จ ปรํ อีกประการหนึ่งเล่า มหาราช ขอถวายพระพร ธรรมดาเต่าย่อมขุดแผ่น ิิดินลงมุดซ่อนอยู่ในที่อันสงัด ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้า ก็พึงละเสียซึ่งลาภสักการะ และคำสรรเสริญ แล้วพึงเข้าไปอยู่ในป่าและคีรีคูหาหุบห้วย อันเงียบสงัดเป็นที่วิเวก ปานดุจ เต่าขุดดินซ่อนตัวอยู่ฉะนั้น นี่แหละเป็นองค์แห่งเต่าคำรบ ๔ ยุติด้วยคำที่พระอุปเสนวังคันต- บุตรกล่าวไว้ว่า                                        วิวิตฺตํ อปฺปนิคฺโฆสํ พาลมิคนิเสวิตํ                                        เสเว เสนาสนํ ภิกฺขุ ปฏิสลฺลานการณา              มีความว่า ภิกษุผู้เป็นโยคาวจร พึงเสพเสนาสนะอันสงัดปราศจากเสียงกึกก้อง เป็นที่ อยู่อาศัยแห่งพาลมฤคทั้งหลาย เพราะมุ่งหมายจะหลีกออกเร้น ดังนี้              ปุน จ ปรํ อีกประการหนึ่งเล่า มหาราช ขอถวายพระพร ธรรมดาเต่าเมื่อเที่ยวไปได้ เห็นมนุษย์และสัตว์เหล่าใด หรือได้ยินเสียงอันใดอันหนึ่ง ก็หดเข้าซึ่งอวัยวะทั้ง ๕ คือเท้า ๔ และศีรษะ ๑ สเก กปาเล ในกระดองของตน มีความขวนขวายน้อย หยุดนิ่งอยู่รักษากายของ อาตมา ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้าก็นิ่งอยู่ไม่กระทบกระทั่งอารมณ์ทั้ง ๖ ประการ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดยินดี สำรวมระวัง ทวารทั้ง ๖ และสะกดไว้ซึ่งใจมีสติสัมปชัญญะรักษาสมณธรรมของอาตมาอยู่ ปานดังเต่าอัน รักษากายหดอวัยวะเข้านั้น นี่แหละเป็นองค์แห่งเต่าคำรบ ๕ ยุติด้วยกระแสพระพุทธฎีกา ที่ สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสไว้ในกุมมูปมสูตร สังยุตตินิกายว่า                                                      กุมฺโมว องฺคามิ สเก กปาเล                                                      สโมทหํ ภิกฺขุ มโน วิตกฺเก                                                      อนิสฺสิโต อญฺญมเหฐยาโน                                                      ปรินิพฺพุโต นูปวเทยฺย กญฺจิ              มีความว่า ภิกษุผู้เป็นพระโยคาวจร พึงประคองซึ่งใจมิให้ตกอยู่ในวิตก และเป็นผู้ไม่ติด ไปด้วยตัณหาและทิฐิ มิได้เบียดเบียนผู้อื่น เป็นผู้ดับสนิท ไม่กล่าวข้อนขอดติเตียนใคร ปานดัง เต่าอันรักษาตัวหดหัวและเท้าอยู่ในกระดองของตนนั้นดังนี้ ขอถวายพระพร              สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร มีพระราชโองการตรัสถามต่อไปว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชาญาณ ที่พระผู้เป็นเจ้าว่า องค์แห่งปี่ประการ ๑ นั้น เป็นอย่างไรเล่า              พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรผู้ประเสริฐ ธรรมดาปี่ย่อม อนุโลมไปตามลมปากที่บุคคลเป่า มิได้แตกแพร่ไปในที่อื่น ยถา มีครุนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้า ก็ปฏิบัติอนุโลมตามนวังคสัตถุศาสนา ที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าพุทธเจ้าตรัสไว้ ตั้งอยู่ใน อนวัชกรรมอันสมควร แสวงหาสมณธรรม ปานดังเสียงปี่อันมิได้แตกไปฉะนั้น นี่แหละเป็นองค์ อัน ๑ แห่งปี่ ยุติด้วยคำที่พระราหุลเถรเจ้ากล่าวไว้ว่า                                        นวงฺเค ชินวจเน อนุโลมยิตฺวาน สพฺพทา                                        กปฺปิเย อนวชฺชสฺมึ ฐตฺวา วายมถุตฺตรึ              มีความว่า ภิกษุผู้โยคาวจร พึงอนุโลมพระพุทธวจนะมีองค์ ๙ ประการ อย่าให้ แตกออกไปทุกวันทุกเวลา ตั้งอยู่แต่ในอนวัชกรรมอันเป็นกัปปิยะสมควรหาโทษมิได้ กระทำ ความเพียรให้ภิยโยภาวะยิ่งขึ้นไป ดังนี้ ขอถวายพระพร              สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร มีพระราชโองการตรัสถามต่อไปว่า ภนฺเต นาคเสน ้ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชาญาณ ที่พระผู้เป็นเจ้าว่าองค์แห่งแหล่งปืนประชาการ ๑ นั้น เป็นอย่างไร เล่า              พระนาคเสนจึงถวายวิสัชนาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภารผู้ ประเสริฐ ธรรมดาว่าแหล่างปืนคือรางปืนนั้น ย่อมอนุโลมตามลำปืน ตราบเท่าที่สุดปลายปืน มิได้ขัดขวางแนบเนียนดี ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้าก็พึงปฏิบัติเคารพต่อกัน ตามที่ เป็นพระเถระและภิกษุใหม่หรือปานกลาง เร่งคารวะเคารพย่าให้กระด้างกระเดื่อง เคืองแค้น พึงอนุโลมดุจรางปืนอันอนุโลมตามลำปืนนั้น นี่แหละเป็นองค์อัน ๑ แห่งแหล่งปืน ยุติด้วยพระ พุทธฎีกา ที่สมเด็จพระบรมโลกนาถเจ้าตรัสไว้ ในวิธุรปุณณกชาดกว่า                           จาโปว นูน เม ธีโร วํโสว อนุโลมยํ                           ปฏิโลมํ น วตฺเตยฺย สโรว ชวตี วเส              มีความว่า วงศ์ของเราเป็นปราชญ์ ประพฤติเป็นอนุโลมเที่ยงตรงมาดุจรางปืน จะได้ ประพฤติเป็นปฏิโลมหามิได้ ดุจลูกปืนอันเล่นตรงไปตามรางปืนฉะนั้น ดังนี้ ขอถวายพระพร              สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นกษัตริย์ มีพระราชโองการตรัสถามต่อไปว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา ที่พระผู้เป็นเจ้าว่าองค์แห่งกามี ๒ ประการนั้น เป็นอย่างไร              พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูกรบพิตรผู้ประเสริฐ ธรรมดาว่ากาย่อมจะ จับอยู่ที่เดียว เหลียวแลไปแลมามีความรังเกียจไปรอบตัวกลัวภัย ยถา มีครุวนาฉันใด พระโย- คาวจรเจ้าพึงมีสติสำรวมอินทรีย์ รักษาทวารทั้ง ๖ ตั้งใจระวังตัวกลัวภัย อย่าให้กิเลสเกิดใน ทวารทั้ง ๖ ได้ มีสติรักษาใจกลัวภัยโดยรอบคอบดุจกาฉะนั้น นี่เป็นองค์แห่งกาเป็นปฐม ปุน จ ปรํ อีกประการหนึ่งเล่า มหาราช ขอถวายพระพร ธรรมดากาเมื่อได้ของกิน สิ่งใดไว้ กุณปํ วา คือซากศพก็ดี อุจฺฉิฏฺฐํ วา คือ อาหารอันเป็นเดนก็ดี ย่อมร้องเรียกญาติ ของตนให้มากิน ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้าเมื่อได้ลาภสักการะอันเป็นธรรมดา อนฺต- มโส โดยอย่างต่ำแต่พอบาตรของตนนั้น ก็พึงแจกไปแก่เพื่อนพรหมจารีอันมีศีล ดุจกาอันร้อง เรียกญาติของอาตาฉะนั้น นี่แหละเป็นองค์แห่งกาคำรบ ๒ ยุติด้วยคำอันพระธรรมเสนาบดี สารีบุตรเถรเจ้า กล่าวไว้ว่า                                        สเจ เม อุปนาเมนฺติ ยถาสทฺธํ ตปสฺสิโน                                        สพฺเพสํ วิภชฺชิตฺวาน ตโต ภุญฺเชมิ โภชนํ              มีใจความว่า ถ้าแลมีทายกทายิกาผู้ประกอบด้วยศรัทธาจะนำเอาอาหารมาถวายแก่ข้า สารีบุตร ผู้ประพฤติธรรมนี้ ข้าผู้ชื่อว่าสารีบุตรนี้ ก็จะแบ่งซึ่งอาหารนั้น แจกจ่ายถวายในแก่ผู้มี ศีลให้ทั่วกัน แล้วจึงจะบริโภคอาหารต่อภายหลัง ดังนี้ ขอถวายพระพร              สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสถามต่อไปว่า ภนฺเต นาค- เสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา ที่พระผู้เป็นเจ้าว่า องค์แห่งวานรามี ๒ ประการนั้น เป็นอย่างไร              พระนาคเสนจึงถวายวิสัชนาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร ผู้เป็น อัครกษัตริย์อันประเสริฐ ธรรมดาวานรจะอาศัยอยู่ในที่ใด ก็ย่อมอยู่ที่โอกาสต้นไม้ใหญ่ ประกอบด้วยกิ่งก้านสาขาที่อาจเร้นซ่อนอยู่ได้ เพราะวานรนั้นกลัวภัย ยถา มีครุวนาฉันใด พระ โยคาวจรเจ้าจะอยู่ที่ใดก็พึงดูสพรหมจารี ประเพณีที่มีกุศลเจตนามีหิริ มีศีลและกัลยาณธรรม เป็นพหูสูต ทรงธรรม กล่าวคำพึงรัก ควรจะเคารพตามถ้อยคำควรจะรู้ด้วยดี และชักชวนให้ เกิดอุตสาหะ นี่แหละพระโยคาวจรเจ้าคบหาซึ่งกัลยาณมิตรดังนี้ ได้แล้วจึงอาศัยอยู่ ดุจวานรอัน อาศัยอยู่ที่ไม้ใหญ่ฉะนั้น นี่แหละเป็นองค์แห่งวานรเป็นปฐม              ปุน จ ปรํ อีกประการหนึ่งเล่า วานรจะเที่ยวไปในไม้อันใด จะเข้าอยู่ในที่ไม้อันใด ครั้น สนธยาย่ำราตรีแล้ว วานรก็นอนอยู่ที่ประเทศต้นไม้นั้น ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้า เมื่อเที่ยวเข้าไปในป่าอันใด ครั้นย่ำสนธยาราตรีแล้ว พึงยืนและเดินจงกรมนั่งนอนจำวัดที่ป่านั้น และมิได้วางเสียซึ่งพระสติปัฏฐาน นี่แหละเป็นองค์แห่งวานร เป็นคำรบ ๒ ยุติด้วยคำที่พระ ธรรมเสนาดีสารีบุตรเจ้ากล่าวไว้ว่า                           จงกรมนฺโตปิ ติฏฺฐนฺโต นิสชฺชํ สยเนน วา                           ปวเน โสภติ ภิกฺขุ ปวนนฺเตว วณฺณิโต มีความว่า พระโยคาวจรเจ้า จะยืนก็ดี จะเดินจงกรมก็ดี หรือนั่งนอนก็ดี ในป่ากว้าง ย่อมงามนักหนา ภิกษุควรจะชื่นชมยินดีป่าอันกว้างนั้น ดังนี้ ขอถวายพระพร
จบโฆรสวรรคที่ ๑ แต่เพียงนี้
             ในที่สุดวรรคนี้ พระคันถรจนาจารย์จัดผูกอุทานคาถากล่าวหัวข้อบทมาติกา ที่แสดง มาแล้วข้างต้นนั้นไว้ว่า                           โฆรสโร จ กุกฺกุโฏ กลนฺทโท ทีปินี ทีปิโก                           กุมฺโม วํโส จ จาโป จ วายโส อถ มกฺกโฏ              มีใจความว่า องค์แห่งลามีเสียอันพิลึก องค์แห่งไก่ องค์แห่งกระแต องค์แห่งแม่เสือ เหลือง องค์แห่งพ่อเสือเหลือง องค์แห่งเต่า องค์แห่งปี่ องค์แห่งแหล่งปืน องค์แห่งกา องค์แห่ง วานร เหล่านี้ ท่านจัดเป็นวรรคอันหนึ่ง ดังนี้แล้ว

             เนื้อความมิลินทปัญหา หน้าที่ ๕๑๐ - ๕๑๙. http://84000.org/tipitaka/milin/milin.php?i=185              สารบัญมิลินทปัญหา http://84000.org/tipitaka/milin/milin.php?i=0#item_185

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]