ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค]

๒. อเสกขญาณกถา (๔๔)

๒. อเสกขญาณกถา (๔๔)
ว่าด้วยญาณของพระอเสขะ
[๔๒๑] สก. พระเสขะมีญาณของพระอเสขะได้ใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. พระเสขะย่อมรู้เห็นธรรมของพระอเสขะ เข้าถึงธรรมของพระอเสขะที่ตน เห็น รู้ ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องด้วยกายอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระเสขะไม่รู้ ไม่เห็นธรรมของพระอเสขะ ไม่เข้าถึงธรรมของพระอเสขะ ที่ตนไม่เห็น ไม่รู้ ไม่ทำให้แจ้งแล้ว ไม่ถูกต้องด้วยกายอยู่มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากพระเสขะไม่รู้ ไม่เห็นธรรมของพระอเสขะ ไม่เข้าถึงธรรมของ พระอเสขะที่ตนไม่เห็น ไม่รู้ ไม่ทำให้แจ้งแล้ว ไม่ถูกต้องด้วยกายอยู่ ท่านก็ไม่ ควรยอมรับว่า “พระเสขะมีญาณของพระอเสขะได้” สก. พระอเสขะมีญาณของพระอเสขะได้ พระอเสขะย่อมรู้ ย่อมเห็นธรรมของ พระอเสขะ ย่อมเข้าถึงธรรมของพระอเสขะที่ตนเห็น รู้ ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้อง ด้วยกายอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระเสขะมีญาณของพระอเสขะได้ พระเสขะย่อมรู้ ย่อมเห็นธรรมของ พระอเสขะ ย่อมเข้าถึงธรรมของพระอเสขะที่ตนเห็น รู้ ทำให้แจ้ง ถูกต้องด้วยกายอยู่ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๒๑/๒๐๙) @ เพราะมีความเห็นว่า พระเสขะมีญาณของพระอเสขะได้ เช่น ท่านพระอานนท์ ซึ่งเป็นเพียงพระเสขะ แต่รู้ @เรื่องของอเสขะได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๒๑/๒๐๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๕๓}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค]

๒. อเสกขญาณกถา (๔๔)

[๔๒๒] สก. พระเสขะมีญาณของพระอเสขะ พระเสขะไม่รู้ ไม่เห็นธรรมของ พระอเสขะ ไม่เข้าถึงธรรมของพระอเสขะที่ตนไม่เห็น ไม่รู้ ไม่ทำให้แจ้งแล้ว ไม่ถูกต้องด้วยกายอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอเสขะมีญาณของพระอเสขะ พระอเสขะไม่รู้ ไม่เห็นธรรมของ พระอเสขะ ไม่เข้าถึงธรรมของพระอเสขะที่ตนไม่เห็น ไม่รู้ ไม่ทำให้แจ้งแล้ว ไม่ถูกต้องด้วยกายอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระเสขะมีญาณของพระอเสขะได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. โคตรภูบุคคลมีญาณในโสดาปัตติมรรคได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล มีญาณในโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล มีญาณในอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๔๒๓] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระเสขะมีญาณของพระอเสขะได้” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. ท่านพระอานนท์ยังเป็นพระเสขะรู้ว่า พระผู้มีพระภาคทรงมีพระคุณอันยิ่ง พระสารีบุตรเถระ พระมหาโมคคัลลานเถระ ต่างก็มีคุณอันยิ่งมิใช่หรือ สก. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๕๔}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค]

๓. วิปรีตกถา (๔๕)

ปร. หากท่านพระอานนท์ยังเป็นพระเสขะรู้ว่า พระผู้มีพระภาคทรงมีพระ คุณอันยิ่ง พระสารีบุตรเถระ พระมหาโมคคัลลานเถระ ต่างก็มีคุณอันยิ่ง ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระเสขะก็มีญาณของพระอเสขะได้”
อเสกขญาณกถา จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๔๕๓-๔๕๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=37&siri=64              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=37&A=9936&Z=9986                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1030              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1030&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=4694              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1030&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=4694                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv5.2/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :