ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์
๓. วิปรีตกถา (๔๕)
ว่าด้วยญาณวิปริต
[๔๒๔] สก. ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ วิปริตได้ใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. ความวิปลาสในสภาวธรรมที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยงมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ความวิปลาสในสภาวธรรมที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ฯลฯ ที่เป็นอนัตตา ว่าเป็นอัตตา ฯลฯ ที่ไม่งามว่างามได้มีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ วิปริตได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ญาณเป็นอกุศลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๒๔/๒๐๙) @ เพราะมีความเห็นว่า ผู้ที่เจริญปฐวีกสิณโดยเพ่งนิมิตของปฐวีจนเกิดญาณขึ้น ญาณนั้นชื่อว่าวิปริต เพราะรู้ @เพียงนิมิตของปฐวี ไม่ใช่ตัวปฐวีโดยตรง ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ญาณนั้นไม่ชื่อว่าวิปริตญาณ @ที่ชื่อว่าวิปริต เพราะเห็นผิดจากความเป็นจริง เช่น เห็นสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๒๔/๒๐๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๕๕}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค]

๓. วิปรีตกถา (๔๕)

สก. เป็นกุศลมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากญาณเป็นกุศล ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ญาณของผู้เข้าสมาบัติ ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ วิปริตได้” สก. ความวิปลาสในสภาวธรรมที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง และความวิปลาสนั้น เป็นอกุศลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ วิปริตได้ และญาณนั้น เป็นอกุศลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ความวิปลาสในสภาวธรรมที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ฯลฯ ที่เป็นอนัตตาว่า เป็นอัตตา ฯลฯ ที่ไม่งามว่างาม และความวิปลาสนั้นเป็นอกุศลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ วิปริตได้ และญาณนั้น เป็นอกุศลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๔๒๕] สก. ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ วิปริตได้ และญาณ นั้นเป็นอกุศลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ความวิปลาสในสภาวธรรมที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง และความวิปลาสนั้นเป็น อกุศลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๕๖}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค]

๓. วิปรีตกถา (๔๕)

สก. ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ วิปริตได้ และญาณนั้น เป็นอกุศลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ความวิปลาสในสภาวธรรมที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ฯลฯ ที่เป็นอนัตตาว่า เป็นอัตตา ฯลฯ ที่ไม่งามว่างาม และความวิปลาสนั้นเป็นกุศลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๔๒๖] สก. ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ วิปริตได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. หากพระอรหันต์เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ท่านก็ไม่ควรยอมรับ ว่า “ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ วิปริตได้” สก. ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ วิปริตได้ พระอรหันต์พึง เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ความวิปลาสของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ความวิปลาสของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สัญญาวิปลาส จิตตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาสของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สัญญาวิปลาส จิตตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาสของพระอรหันต์ไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๕๗}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค]

๓. วิปรีตกถา (๔๕)

สก. หากสัญญาวิปลาส จิตตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาสของพระอรหันต์ไม่มี ท่าน ก็ไม่ควรยอมรับว่า “ความวิปลาสของพระอรหันต์มีอยู่” [๔๒๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ วิปริต” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. ปฐวีกสิณย่อมปรากฏแก่ผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นดิน ล้วนๆ ใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. ดังนั้น ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์จึงวิปริต สก. ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ วิปริตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ดินมีอยู่ และบางคนที่เข้าปฐวีกสิณจากดินก็มีอยู่มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากดินมีอยู่ และบางคนที่เข้าปฐวีกสิณจากดินก็มีอยู่ ท่านก็ไม่ควร ยอมรับว่า “ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ วิปริตได้” สก. ดินมีอยู่ และญาณของผู้เข้าปฐวีกสิณจากดิน วิปริตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. นิพพานมีอยู่ แต่ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีนิพพานเป็นอารมณ์จากนิพพาน ก็วิปริตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณ เป็นอารมณ์ วิปริตได้”
วิปรีตกถา จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๕๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๔๕๕-๔๕๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=37&siri=65              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=37&A=9987&Z=10067                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1035              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1035&items=11              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=4705              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1035&items=11              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=4705                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv5.3/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :