ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๑

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๑๐. สังฆเภทสิกขาบท นิทานวัตถุ

๑๐. สังฆเภทสิกขาบท
ว่าด้วยการทำสงฆ์ให้แตกกัน
เรื่องพระเทวทัต
[๔๐๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น พระเทวทัตเข้าไปหาพระโกกาลิกะ พระกฏโมรกติสสกะ พระขัณฑเทวีบุตร และพระสมุทททัตถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้ว ได้กล่าวกับท่านเหล่านั้นดังนี้ว่า “มาเถิด ท่านทั้งหลาย พวกเราจะทำลายสงฆ์ ทำลายจักร๑- ของพระสมณโคดม” เมื่อพระเทวทัตกล่าวอย่างนี้ พระโกกาลิกะได้กล่าวกับพระเทวทัตดังนี้ว่า “พระสมณโคดม มีฤทธานุภาพมาก ทำอย่างไร พวกเราจึงจะทำลายสงฆ์ ทำลาย จักรของพระสมณโคดมได้เล่า”
วัตถุ ๕ ประการ
พระเทวทัตกล่าวว่า “มาเถิดท่านทั้งกลาย พวกเราจะเข้าไปเฝ้าพระ สมณโคดมแล้วทูลขอวัตถุ ๕ ประการ ว่า ‘พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคตรัส สรรเสริญความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการน่า เลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยประการต่างๆ วัตถุ ๕ ประการ เหล่านี้ก็เป็นไปเพื่อความมักน้อยความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการ น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยประการต่างๆ ข้าพระพุทธเจ้า ขอประทานวโรกาส ดังนี้ ๑. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่ป่าตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดเข้าบ้าน ภิกษุรูปนั้นมีโทษ ๒. ภิกษุทั้งหลายควรเที่ยวบิณฑบาตตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดยินดีกิจนิมนต์ ภิกษุรูปนั้นมีโทษ @เชิงอรรถ : @ ทำลายสงฆ์ คือ ทำสงฆ์ให้แตกจากกัน ทำลายจักร คือ ทำลายหลักคำสอน (จกฺกเภทายาติ อาณา- @เภทาย, วิ.อ. ๒/๔๑๐/๑๐๘, จกฺกเภทนฺติ สาสนเภทํ วชิร. ฏีกา ๓๔๓/๖๘๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๔๔๑}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๑๐. สังฆเภทสิกขาบท นิทานวัตถุ

๓. ภิกษุทั้งหลายควรถือผ้าบังสุกุลตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดยินดีผ้าคหบดี ภิกษุรูปนั้นมีโทษ ๔. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่โคนไม้ตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดอาศัยที่มุงที่บัง ภิกษุ รูปนั้นมีโทษ ๕. ภิกษุทั้งหลายไม่ควรฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดฉันปลาและเนื้อ ภิกษุรูปนั้นมีโทษ’ พระสมณโคดมจะไม่ทรงอนุญาตวัตถุ ๕ ประการนี้แน่ พวกเราจักใช้วัตถุ ๕ ประการนี้ชักชวนให้ประชาชนเชื่อถือ” ท่านเหล่านั้นปรึกษากันว่า “พวกเราสามารถ ที่จะใช้วัตถุ ๕ ประการเหล่านั้นทำลายสงฆ์ ทำลายจักรของพระสมณโคดมได้ เพราะยังมีพวกมนุษย์ที่เลื่อมใสในการปฏิบัติปอนๆ” ครั้งนั้น พระเทวทัตพร้อมด้วยบริษัทได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วจึงถวายบังคมแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร กราบทูลว่า “พระองค์ผู้เจริญ พระ ผู้มีพระภาคตรัสสรรเสริญความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการน่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยประการต่างๆ วัตถุ ๕ ประการเหล่านี้ก็เป็นไปเพื่อความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการน่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยประการต่างๆ ข้า พระพุทธเจ้าขอประทานวโรกาส ดังนี้ ๑. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่ป่าตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดเข้าบ้าน ภิกษุรูปนั้นมีโทษ ๒. ภิกษุทั้งหลายควรเที่ยวบิณฑบาตตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดยินดีกิจนิมนต์ ภิกษุรูปนั้นมีโทษ ๓. ภิกษุทั้งหลายควรถือผ้าบังสุกุลตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดยินดีผ้าคหบดี ภิกษุรูปนั้นมีโทษ ๔. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่โคนไม้ตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดอาศัยที่มุงที่บัง ภิกษุ รูปนั้นมีโทษ ๕. ภิกษุทั้งหลายไม่ควรฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดฉันปลาและ เนื้อ ภิกษุรูปนั้นมีโทษ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๔๔๒}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๑๐. สังฆเภทสิกขาบท นิทานวัตถุ

พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า “อย่าเลยเทวทัต ภิกษุรูปใดปรารถนาก็จงอยู่ป่า เถิด ภิกษุรูปใดปรารถนาก็จงอยู่ในละแวกบ้านเถิด ภิกษุรูปใดปรารถนาก็จงเที่ยว บิณฑบาตเถิด ภิกษุรูปใดปรารถนาก็จงยินดีกิจนิมนต์เถิด ภิกษุรูปใดปรารถนาก็จง ถือผ้าบังสุกุลเถิด ภิกษุรูปใดปรารถนาก็จงยินดีผ้าคหบดีเถิด เราอนุญาตถือ เสนาสนะตามโคนไม้ ๘ เดือนเท่านั้น เราอนุญาตปลาและเนื้อที่บริสุทธิ์ด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ (๑) ไม่ได้เห็น (๒) ไม่ได้ยิน (๓) ไม่ได้นึกสงสัย” ครั้งนั้น พระเทวทัตร่าเริงดีใจว่า พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาตวัตถุ ๕ ประการเหล่านี้ พร้อมกับบริษัท ลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำ ประทักษิณแล้วจากไป [๔๑๐] สมัยนั้น พระเทวทัตพร้อมกับบริษัทเข้าไปยังกรุงราชคฤห์ ใช้วัตถุ ๕ ประการชักชวนให้ประชาชนเชื่อถือด้วยกล่าวว่า “พวกเราเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดม ทูลขอวัตถุ ๕ ประการว่า ‘พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคตรัสสรรเสริญความมัก น้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการน่าเลื่อมใส การไม่สะสม การ ปรารภความเพียร โดยประการต่างๆ วัตถุ ๕ ประการเหล่านี้ก็เป็นไปเพื่อความมัก น้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการน่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยประการต่างๆ ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานวโรกาส ดังนี้ ๑. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่ป่าตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดเข้าบ้าน ภิกษุรูปนั้นมีโทษ ๒. ภิกษุทั้งหลายควรเที่ยวบิณฑบาตตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดยินดีกิจนิมนต์ ภิกษุรูปนั้นมีโทษ ๓. ภิกษุทั้งหลายควรถือผ้าบังสุกุลตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดยินดีผ้าคหบดี ภิกษุรูปนั้นมีโทษ ๔. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่โคนไม้ตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดอาศัยที่มุงที่บัง ภิกษุ รูปนั้นมีโทษ ๕. ภิกษุทั้งหลายไม่ควรฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดฉันปลาและ เนื้อ ภิกษุรูปนั้นมีโทษ’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๔๔๓}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๑๐. สังฆเภทสิกขาบท พระบัญญัติ

แต่พระสมณโคดมไม่ทรงอนุญาตวัตถุ ๕ ประการเหล่านั้น พวกเราจง สมาทานประพฤติตามวัตถุ ๕ ประการเหล่านี้เถิด” บรรดาประชาชนเหล่านั้น พวกที่ไม่ศรัทธา ไม่เลื่อมใส มีความรู้ไม่ดี กล่าวว่า “พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้ ประพฤติกำจัดกิเลส ประพฤติเคร่งครัด ส่วน พระสมณโคดมมักมาก ดำริเพื่อความมักมาก” ส่วนพวกมีศรัทธา เลื่อมใส เป็นบัณฑิต เฉลียวฉลาด มีความรู้ดี ก็ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระเทวทัตจึงเพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อ ทำลายจักรของพระผู้มีพระภาคเล่า” ภิกษุทั้งหลายได้ยินประชาชนตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มัก น้อย ฯลฯ จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระเทวทัตจึงเพียร พยายามเพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายจักรเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิพระเทวทัต โดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามพระเทวทัตว่า “เทวทัต ทราบว่าเธอเพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อ ทำลายจักร จริงหรือ” พระเทวทัตทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาค พุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั้นไม่สมควร ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงเพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายจักรเล่า โมฆบุรุษ การกระทำ อย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยก สิกขาบทนี้ขึ้นแสดง ดังนี้
พระบัญญัติ
[๔๑๑] ก็ ภิกษุใดเพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง หรือถือ ยกย่องยืนยันอธิกรณ์อันเป็นเหตุทำให้แตกแยกกัน ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลาย พึงว่ากล่าวตักเตือนอย่างนี้ว่า “ท่านอย่าเพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อม เพรียง หรือถือยกย่องยืนยันอธิกรณ์อันเป็นเหตุทำให้แตกแยกกัน ท่าน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๔๔๔}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๑๐. สังฆเภทสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

จงพร้อมเพรียงกับสงฆ์ เพราะสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง ปรองดอง ไม่วิวาท มีอุทเทส เดียวกัน ย่อมอยู่ผาสุก” และภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือนอย่างนี้ ยังยกย่องอยู่อย่างนั้น ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสน์จนครบ ๓ ครั้งเพื่อให้สละเรื่องนั้น ถ้าเธอกำลังถูกสวดสมนุภาสน์กว่าจะครบ ๓ ครั้ง สละ เรื่องนั้นได้ นั่นเป็นการดี ถ้าเธอไม่สละ เป็นสังฆาทิเสส
เรื่องพระเทวทัต จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๑๒] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ที่ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ ชื่อว่า ผู้พร้อมเพรียง คือ สงฆ์ผู้มีสังวาสเสมอกัน อยู่ในสีมาเดียวกัน คำว่า เพียรพยายามเพื่อทำลาย คือ แสวงหาพวก รวมกันเป็นหมู่ โดยมุ่ง หมายว่า ทำอย่างไร ภิกษุเหล่านี้จะแตกกันแยกกัน แบ่งเป็นพวก คำว่า หรือ...อธิกรณ์อันเป็นเหตุทำให้แตกแยกกัน ได้แก่ เรื่องทำให้แตกกัน ๑๘ อย่าง๑- @เชิงอรรถ : @ เรื่องทำให้แตกกัน ๑๘ อย่าง คือ (๑) แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม (๒) แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม @(๓) แสดงอวินัยว่าเป็นวินัย (๔) แสดงวินัยว่าเป็นอวินัย (๕) แสดงสิ่งที่พระตถาคตไม่ได้ตรัสไว้ @(๖) แสดงสิ่งที่พระตถาคตได้ตรัสไว้ว่าไม่ได้ตรัสไว้ (๗) แสดงสิ่งที่พระตถาคตไม่ทรงประพฤติมา @(๘) แสดงสิ่งที่พระตถาคตทรงประพฤติมาว่าไม่ทรงประพฤติมา (๙) แสดงสิ่งที่พระตถาคตไม่ทรงบัญญัติไว้ @ว่าทรงบัญญัติไว้ (๑๐) แสดงสิ่งที่พระตถาคตทรงบัญญัติไว้ว่าไม่ทรงบัญญัติไว้ (๑๑) แสดงอาบัติว่าไม่ใช่อาบัติ @(๑๒) แสดงสิ่งที่ไม่ใช่อาบัติว่าเป็นอาบัติ (๑๓) แสดงอาบัติเบาว่าเป็นอาบัติหนัก (๑๔) แสดงอาบัติหนักว่า @เป็นอาบัติเบา (๑๕) แสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่าเป็นอาบัติไม่มีส่วนเหลือ (๑๖) แสดงอาบัติไม่มีส่วนเหลือว่า @เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ (๑๗) แสดงอาบัติชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ (๑๘) แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า @เป็นอาบัติชั่วหยาบ (วิ.ป. ๘/๓๑๔/๒๔๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๔๔๕}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๑๐. สังฆเภทสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

คำว่า ถือ คือ ยึดเอา คำว่า ยกย่อง คือ แสดง คำว่า ยืนยัน คือ ไม่กลับคำ คำว่า ภิกษุนั้น ได้แก่ ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ คำว่า อันภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ อันภิกษุเหล่าอื่น อธิบายว่า ภิกษุผู้ได้เห็น ผู้ได้ยินพึงว่ากล่าวตักเตือนภิกษุผู้เพียรพยายาม เพื่อทำลายสงฆ์นั้นว่า “ท่านอย่าเพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง หรือ อย่าถือยกย่องยืนยันอธิกรณ์อันเป็นเหตุทำให้แตกแยกกัน ท่านจงพร้อมเพรียง กับสงฆ์ เพราะสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง ปรองดอง ไม่วิวาท มีอุทเทสเดียวกัน ย่อมอยู่ ผาสุก” พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ ๒ พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ ๓ ถ้า เธอสละได้ นั่นเป็นการดี ถ้าเธอไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลายทราบแล้วไม่ ว่ากล่าวตักเตือน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงคุมตัวมาสู่ท่ามกลาง สงฆ์ ว่ากล่าวตักเตือนว่า “ท่านอย่าเพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง หรืออย่าถือยกย่องยืนยันอธิกรณ์อันเป็นเหตุทำให้แตกแยกกัน ท่านจงพร้อมเพรียง กับสงฆ์ เพราะสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง ปรองดอง ไม่วิวาท มีอุทเทสเดียวกัน ย่อมอยู่ ผาสุก” พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ ๒ พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ ๓ ถ้า เธอสละได้ นั่นเป็นการดี ถ้าเธอไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ สงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์เธอ
วิธีสวดสมนุภาสน์ และกรรมวาจาสวดสมนุภาสน์๑-
ภิกษุทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุนั้นอย่างนี้ คือ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึง ประกาศให้สงฆ์ทราบว่า [๔๑๓] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้เพียรพยายามเพื่อ ทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง ภิกษุนั้นไม่ยอมสละเรื่องนั้น ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วก็พึงสวด สมนุภาสน์ภิกษุชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น นี่เป็นญัตติ @เชิงอรรถ : @ การสวดสมนุภาสน์ คือ สงฆ์ตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปสวดประกาศห้ามภิกษุไม่ให้ถือรั้นการอันมิชอบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๔๔๖}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๑๐. สังฆเภทสิกขาบท บทภาชนีย์

ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้เพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ผู้ พร้อมเพรียง ภิกษุนั้นไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสน์เธอเพื่อให้สละเรื่องนั้น ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการสวดสมนุภาสน์ภิกษุชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย ท่านรูป นั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้าก็กล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้เพียรพยายาม เพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง ภิกษุนั้นไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสน์เธอเพื่อ ให้สละเรื่องนั้น ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการสวดสมนุภาสน์ภิกษุชื่อนี้เพื่อให้สละ เรื่องนั้นเสีย ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง ภิกษุชื่อนี้ สงฆ์สวดสมนุภาสน์เพื่อให้สละเรื่องนั้นแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะ ฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งเป็นมติอย่างนี้ [๔๑๔] จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส เมื่อเธอต้องอาบัติ สังฆาทิเสส อาบัติทุกกฏ(ที่ต้อง) เพราะญัตติ อาบัติถุลลัจจัย(ที่ต้อง) เพราะกรรม วาจา ๒ ครั้ง ย่อมระงับไป คำว่า เป็นสังฆาทิเสส ความว่า สำหรับอาบัตินั้น สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาส ฯลฯ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกว่า “เป็นสังฆาทิเสส”
บทภาชนีย์
[๔๑๕] กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ไม่สละ ต้อง อาบัติสังฆาทิเสส กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ไม่สละ ต้องอาบัติ สังฆาทิเสส กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๔๔๗}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๑๐. สังฆเภทสิกขาบท อนาปัตติวาร

กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๔๑๖] ๑. ภิกษุผู้ยังไม่ถูกสวดสมนุภาสน์ ๒. ภิกษุผู้ยอมสละ ๓. ภิกษุวิกลจริต ๔. ภิกษุผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ๕. ภิกษุผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ๖. ภิกษุต้นบัญญัติ
สังฆเภทสิกขาบทที่ ๑๐ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๔๔๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๔๔๑-๔๔๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=1&siri=53              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=1&A=18423&Z=18603                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=590              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=1&item=590&items=10              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=2371              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=1&item=590&items=10              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=2371                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu1              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-ss10/en/brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :