บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] [๑๐] [๑๑] [๑๒] [๑๓] [๑๔] [๑๕] หน้าต่างที่ ๓ / ๑๕. จริงอยู่ ในกาลใด พระเถระทั้ง ๕๐๐ มีพระมหากัสสป เป็นต้น ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว มีปัญญาอัน รุ่งเรืองเหล่านั้น ครั้นสังคายนาพระสัทธรรม และยังพระสัทธรรมให้รุ่งเรืองในที่ทั้งปวง แล้ว ดำรงอยู่จนถึงที่สุดแห่งชีวิต ไม่มีอาลัย สิ้นเชื้อดับไป เหมือนประทีปดับไปฉะนั้น. [ภิกษุชาววัชชีบุตรแสดงวัตถุ ๑๐ ประการ]
๑- วิ. จุลฺ. เล่ม ๗/ข้อ ๖๓๐/หน้า ๓๙๖ พระราชาทรงพระนามว่า กาฬาโศก ผู้เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุสูนาค ได้ทรงเป็นฝักฝ่ายของพวกภิกษุวัชชีบุตรเหล่านั้นแล้ว. [พระยสเถระได้ทราบเรื่องภิกษุวัชชีบุตรแสดงวัตถุ ๑๐ ประการ] ดังได้ยินมาว่า ท่านพระยสกากัณฑกบุตรพักอยู่ที่กูฏาคารศาลา ในป่ามหาวันใกล้เมืองไพศาลีนั้น. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวเมืองไพศาลี ใส่น้ำให้เต็มถาดทองสัมฤทธิ์แล้วตั้งไว้ในท่ามกลางสงฆ์ในวันอุโบสถนั้น กล่าวแนะนำอุบาสกอุบาสิกาชาวเมืองไพศาลี ผู้มาแล้วๆ อย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ ท่านทั้งหลายจงถวายรูปิยะแก่สงฆ์ กหาปณะหนึ่งก็ได้, กึ่งกหาปณะก็ได้, บาทหนึ่งก็ได้, มาสกหนึ่งก็ได้, กิจของสงฆ์ที่ต้องทำด้วยบริขาร จักมีดังนี้.๑- ____________________________ ๑- วิ. จุลฺ. เล่ม ๗/ข้อ ๖๓๐/หน้า ๓๙๖ คำทั้งปวงควรเล่าจนถึงคำว่า ก็วินัยสังคีตินี้ได้มีภิกษุ ๗๐๐ รูป ไม่หย่อนไม่เกิน, เพราะฉะนั้น วินัยสังคีตินี้ท่านจึงเรียกว่า สัตตสติกา. ก็ภิกษุล้านสองแสนรูปซึ่งท่านพระยสกากัณฑกบุตรชักชวนได้ประชุมกันในสันนิบาตนี้. วัตถุ ๑๐ ประการเหล่านั้น ท่านพระเรวตะเป็นผู้ถาม พระสัพพกามีเถระเป็นผู้วิสัชนาพระวินัย วินิจฉัยเสร็จในท่ามกลางภิกษุเหล่านั้น, อธิกรณ์เป็นอันระงับเสร็จแล้ว. [คัดเลือกพระเถระทำทุติยสังคายนาได้ ๗๐๐ รูป] สังคีติใดในโลก ท่านเรียกว่า สัตตสตสังคีติ เพราะ พระเถระ ๗๐๐ รูปทำ, และเรียกว่า ทุติย- สังคีติ เพราะเทียบสังคีติที่ทำก่อน. สังคีตินี้ทำอยู่ ๘ เดือนจึงสำเร็จ ด้วยประการฉะนี้. ก็แลสังคีตินี้นั้น อันพระเถระเหล่าใดร้อยกรองไว้แล้ว บรรดาพระเถระเหล่านั้น พระเถระที่ปรากฏ#- คือ พระสัพพกามี ๑ พระสาฬหะ ๑ พระ เรวตะ ๑ พระขุชชโสภิตะ ๑ พระยสะ ๑ พระสาณสัมภูตะ ๑ เหล่านี้ เป็นสัทธิวิหาริก ของพระอานนทเถระ เคยเห็นพระตถาคต พระสุมนะ ๑ พระวาสภคามี ๑, ๒ รูปนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นสัทธิวิหาริกของ พระอนุรุทธะ เคยเห็นพระตถาคต ก็แล พระเถระทั้งหลายผู้ทำสังคายนาครั้งที่ ๒ ทุกๆ รูปเป็นผู้ปลงภาระแล้ว เสร็จกิจแล้ว หาอาสวะมิได้ ดังนี้แล. ____________________________ #-ฎีกาสารัตถทีปนี เป็น เตสุ วิสฺสุตา ๑/๑๗๒. แม้ในอรรถโยชนาก็เป็นเช่นนี้. จบทุติยสังคีติเท่านี้ ----------------------------------------------------- เรื่องระหว่างทุติยตติยสังคายนา ในปีที่ ๑๘ ต่อจาก ๑๐๐ ปีแต่ปีนี้ไป พระราชาทรงพระนามว่าพระเจ้าธรรมาโศกจะทรงอุบัติขึ้นในพระนครปาฏลีบุตร ครอบครองราชสมบัติในชมพูทวีปทั้งสิ้น ท้าวเธอจักทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา แล้วจักยังลาภและสักการะเป็นอันมากให้เป็นไป, ในครั้งนั้น พวกเดียรถีย์ผู้ปรารถนาลาภและสักการะจักบวชในพระศาสนา แล้วแสดงทิฏฐิของตน เสนียดใหญ่จักเกิดขึ้นในพระศาสนา ด้วยอาการอย่างนี้. [ติสสมหาพรหมจักแก้ความเสื่อมพระศาสนาในอนาคต] พระเถระทั้งหลายเหล่านั้น ครั้นเห็นแล้วจึงได้มีความดำริดังนี้ว่า ถ้าพวกเราพึงทำความอุตสาหะ เพื่อต้องการให้พรหมนั่นเกิดในมนุษยโลกไซร้, พรหมนั่นก็จักถือปฏิสนธิในเรือนของโมคคลีพราหมณ์แน่นอน, และต่อจากนั้นก็จักถูกเล้าโลมด้วยมนต์แล้วออกบวช, ครั้นติสสทารกนั้นบวชแล้วอย่างนี้ เล่าเรียนพระพุทธพจน์ทั้งสิ้น เป็นผู้ได้บรรลุปฏิสัมภิทา จักย่ำยีพวกเดียรถีย์ วินิจฉัยอธิกรณ์นั้นแล้ว เชิดชูพระศาสนา. [พวกพระเถระไปเชิญติสสมหาพรหมให้มาเกิดในมนุษยโลก] [ติสสมหาพรหมรับปฏิญญามาเกิดในมนุษยโลก] พระเถระทั้งหลายพิจารณากิจที่ควรทำนั้นในพรหมโลกเสร็จแล้วก็พากันกลับมาอีก. [พวกพระเถระลงทัณฑกรรมแก่พระสิคควะและพระจัณฑวัชชี] พระเถระทั้งหลายจึงกล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส พวกท่านหาได้เป็นผู้ร่วมคิดของพวกเราในอธิกรณ์นี้ไม่, เพราะเหตุนั้น ทัณฑกรรมนี้จงมีแก่พวกท่าน คือ ท้าวมหาพรหมชื่อติสสะจักถือปฏิสนธิในเรือนของโมคคลีพราหมณ์, บรรดาท่านทั้งสอง รูปหนึ่งจงชักนำท้าวติสสมหาพรหมนั้นมาบวช, รูปหนึ่งจงให้เรียนพระพุทธพจน์ ดังนี้ พระเถระแม้เหล่านั้นทุกๆ รูป มี พระสัพพกามีเป็นต้น เป็นผู้มีฤทธิ์มาก รุ่งเรืองแล้วในโลก ดำรงอยู่จนตลอดอายุ แล้วก็ปรินิพพาน เหมือนกองไฟลุกโชติช่วง ดับไปแล้วฉะนั้น พระเถระชื่อแม้เหล่านั้น สิ้นอาสวะแล้ว ถึงความเป็นผู้ชำนาญ แตกฉานในปฏิสัมภิทา ครั้นทำทุติยสังคายนา ชำระพระศาสนาให้หมดจด ทำเหตุเพื่อ ความเจริญแห่งพระสัทธรรม แม้ในอนาคต แล้ว ก็เข้าถึงอำนาจแห่งความเป็นผู้ไม่เที่ยง ธีรชนทราบความที่สังขารเป็นของไม่เที่ยง เป็นของลามก ก้าวล่วงได้โดยยากอย่างนี้ แล้ว ก็ควรพากเพียร เพื่อบรรลุอมตบทที่ เป็นบทยั่งยืน ดังนี้แล. พรรณนาทุติยสังคีติเป็นอันจบลงแล้วโดยอากาศทั้งปวง ด้วยลำดับคำเพียงเท่านี้. เริ่มเรื่องตติยสังคายนา [ติสสมหาพรหมเกิดในมนุษยโลก] [พราหมณ์ผู้บิดาของติสสมหาพรหมพบพระสิคควเถระ] พระเถระ. เออ รูปได้ไปแล้ว พราหมณ์! พราหมณ์. ท่านได้อะไรบ้างหรือ? พระเถระ. เออ ได้ พราหมณ์! พราหมณ์นั้นไปถึงเรือแล้วถามว่า ใครได้ให้อะไรๆ แก่บรรพชิตนั้นบ้างหรือ? พวกชนในเรือนตอบว่า ไม่ได้ให้อะไรๆ. [โมคคลีพราหมณ์คอยจับมุสาของพระเถระ] พระเถระพูดว่า พราหมณ์ ในเรือนของท่าน ข้าพเจ้าไม่ได้แม้เพียงคำพูดว่า นิมนต์โปรดข้างหน้าเถิด ดังนี้ ถึง ๗ ปี วานนี้ได้เพียงคำพูดว่า นิมนต์โปรดข้างหน้าเถิด เมื่อเป็นเช่นนั้น ข้าพเจ้าจึงได้พูดอย่างนี้ หมายเอาการปฏิสันถารนั่น. [โมคคลีพราหมณ์เลื่อมใสในพระเถระ] [พระสิคควเถระเริ่มสนทนาปราศรัยกับติสสมาณพ] พระเถระดำริว่า บัดนี้เป็นกาลที่จะให้มาณพบวชได้ และเราก็มาที่นี้นานแล้ว, ทั้งการพูดจาอะไรๆ กับมาณพก็มิได้เกิดขึ้น, เอาเถิด บัดนี้การพูด (กับมาณพนั้น) จักเกิดขึ้นได้ เพราะอาศัยบัลลังก์ (ของเขา) ด้วยอุบายอย่างนี้. ท่านจึงไปเรือน (ของมาณพนั้น) แล้วอธิษฐานให้อาสนะอะไรๆ อย่างอื่นในเรือนนั้นไม่ปรากฏ ยกเว้นแต่บัลลังก์ของมาณพ. คนในเรือนของพราหมณ์เห็นพระเถระแล้ว เมื่อไม่เห็นที่นั่งอะไรๆ อย่างอื่น ก็ได้ปูลาดบัลลังก์ของมาณพ ถวายพระเถระ. พระเถระก็นั่งบนบัลลังก์. ฝ่ายมาณพแลก็กลับมาจากเรือนของอาจารย์ ในขณะนั้นนั่นเอง เห็นพระเถระนั่งอยู่บนบัลลังก์ของตน ก็โกรธ เสียใจ จึงพูดว่า ใครให้ปูบัลลังก์ของข้าพเจ้าแก่สมณะ? พระเถระทำภัตกิจเสร็จแล้ว เมื่อมาณพมีความดุร้ายสงบลงแล้ว จึงได้พูดอย่างนี้ว่า ดูก่อนมาณพ ก็ท่านรู้มนต์อะไรๆ บ้างหรือ? มาณพเรียนว่า ข้าแต่บรรพชิตผู้เจริญ ในเวลานี้ เมื่อกระผมไม่รู้มนต์, คนอื่นใครเล่าจึงจักรู้ได้ ดังนี้แล้ว ก็ (ย้อน) ถามพระเถระว่า ก็ท่านเล่ารู้มนต์หรือ? พระเถระพูดว่า จงถามเถิด มาณพ ท่านถามแล้ว อาจจะรู้ได้. [ติสสมาณพถามปัญหากับพระเถระ] พระเถระ แม้ตามปกติก็เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งไตรเพท และบัดนี้ก็ได้บรรลุปฏิสัม มาณพเรียนว่า ข้าแต่บรรพชิตผู้เจริญ จงถามเถิด ขอรับกระผมจักแก้. ____________________________ ๑- นิฆัณฑุศาสตร์ ว่าด้วยชื่อสิ่งของมีต้นไม้เป็นต้น. ๒- เกษฺภศาสตร์ ว่าด้วยกิริยาเป็นประโยชน์แก่กวี. ๓- อิติหาส ชื่อหนังสือว่าด้วยพงศาวดารยืดยาว มีภารตยุทธเป็นต้น อันกล่าวประพันธ์ไว้แต่กาลก่อน. [พระสิคควเถระถามปัญหากับมาณพ] มาณพไม่สามารถจะกำหนด (ข้อปัญหา) ทั้งเบื้องบนหรือเบื้องต่ำได้ จึงเรียนถามว่า ข้าแต่บรรพชิตผู้เจริญ นี้ชื่อมนต์อะไร? พระเถระ นี้ชื่อพุทธมนต์ มาณพ! มาณพ. ท่านผู้เจริญ ก็ท่านอาจให้พุทธมนต์นี้ แก่กระผมได้ไหม? พระเถระ. อาจให้แก่บุคคลผู้ถือบรรพชาอย่างที่เราถือ มาณพ! ____________________________ ๑- อภิ. ยมก. เล่ม ๓๙/ข้อ ๑ [ติสสมาณพขออนุญาตมารดาบิดาบวชเพื่อเรียนมนต์] คราวนั้น มารดาบิดาของเขาสำคัญอยู่ว่า ลูกของเราแม้บวชแล้วจงเรียนมนต์เถิด ครั้นเรียนแล้ว ก็จักกลับมาบ้านอีก ดังนี้ จึงอนุญาตว่า จงเรียนเถิด ลูก! พระเถระบอกกรรมฐาน คืออาการ ๓๒ ก่อนแล้วให้เด็กบรรพชา. ติส [พระเถระส่งสามเณรติสสะไปยังสำนักพระจัณฑวัชชีเถระ] ลำดับนั้น พระเถระก็พูดกะสามเณรนั้นว่า มาเถิด สามเณร เธอจงไปยังสำนักของพระเถระ เรียนเอาพระพุทธพจน์เถิด จงถามถึงความไม่มีโรคตามคำสั่งของเรา, และจงเรียนอย่างนี้ว่า พระอุปัชฌายะ (ของกระผม) ส่งกระผมมายังสำนักของใต้เท้า ขอรับ เมื่อท่านถามว่า พระอุปัชฌายะของเธอชื่ออะไร? พึงเรียนว่า ชื่อพระสิคควะขอรับ เมื่อท่านถามว่า ข้าพเจ้าชื่ออะไร? พึงเรียนอย่างนี้ว่า พระอุปัชฌายะของกระผม รู้จักชื่อของใต้เท้าขอรับ! [สามเณรติสสะไปอยู่ในสำนักของพระจัณฑวัชชีเถระ] พระเถระถามว่า สามเณร เธอมาจากไหน? สามเณร. พระอุปัชฌายะส่งกระผมมายังสำนักของใต้เท้า ขอรับ! พระเถระ. พระอุปัชฌายะของเธอ ชื่ออะไร? สามเณร. ชื่อพระสิคควเถระ ขอรับ! พระเถระ. ข้าพเจ้าชื่ออะไร? สามเณร. พระอุปัชฌายะของกระผมรู้จักชื่อของใต้เท้า ขอรับ! พระเถระ. จงเก็บบาตรและจีวรเสีย ในบัดนี้เถิด. สามเณร. ดีละ ขอรับ! [สามเณรติสสะปฏิบัติกิจวัตรตามระเบียบพระวินัย] พระเถระปัดกวาดสถานที่ที่สามเณรกวาดซ้ำอีก เทน้ำนั้นทิ้งแล้วนำน้ำอื่นมาไว้ และนำไม้ชำระฟันนั้นออกไปเสีย แล้วถือเอาไม้ชำระฟันอื่น. พระเถระทำอยู่อย่างนี้ถึง ๗ วัน ในวันที่ ๗ จึงถาม (สามเณร) ซ้ำอีก. สามเณรก็เรียนท่านซ้ำอีก เช่นกับที่กล่าวมาแล้วในก่อนนั้นแล. [พระจัณฑวัชชีเถระให้สามเณรติสสะเรียนพระพุทธพจน์] สามเณรเรียนว่า เพื่อประสงค์จะเรียนพระพุทธพจน์ ขอรับ! พระเถระสั่งว่า เธอจงเรียนในบัดนี้เถิด สามเณร จึงเริ่มให้เรียนพระพุทธพจน์ ตั้งแต่วันรุ่งขึ้นไป. [สามเณรติสสะเรียนพระพุทธพจน์พร้อมทั้งอรรถกถา] ฝ่ายพระโมคคลีบุตรติสสเถระเจริญกรรมฐานแล้วบรรลุเป็นพระอรหันต์ ในสมัยต่อมา บอกสอนพระธรรมและพระวินัยแก่ภิกษุเป็นอันมาก. [พระราชประวัติของพระเจ้าอโศกมหาราช] [พระราชอำนาจแผ่ไปเบื้องบนเบื้องต่ำประมาณ ๑ โยชน์] พระราชาทรงมีพระศรัทธาเกิดแล้วในพระศาสนา ได้ทรง (แบ่ง) น้ำ ๘ หม้อจากน้ำดื่ม ๑๖ หม้อ ที่พวกเทวดานำมาจากสระอโนดาตวันละ ๘ หาบ ถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ ถวายแก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้ทรงพระไตรปิฎกประมาณ ๖๐ รูป (วันละ) ๒ หม้อ, พระราชทานแก่พระนางอสันธิมิตตาผู้เป็นพระอัคร กิจคือการชำระพระทนต์และการชำระฟันทุกๆ วัน ของพระราชา พระมเหษี อนึ่ง เทวดาทั้งหลายนำมะขามป้อมที่เป็นพระโอสถ สมอที่เป็นพระโอสถ และมะม่วงสุกที่มีสีเหมือนทอง ซึ่งสมบูรณ์ด้วยกลิ่นและรส มาถวายแด่พระราชาพระองค์นั้นทุกๆ วันเหมือนกัน ยังได้นำพระภูษาทรง พระภูษาห่ม เบญจพรรณ ผ้าเช็ดพระหัตถ์ที่มีสีเหลือง. และน้ำทิพยบานจากสระฉัททันต์มาถวายทุกวันเหมือนอย่างนั้น. ส่วนพญานาคทั้งหลายก็นำเครื่องพระสุคนธ์สำหรับสนานพระเศียร พระสุคนธ์สำหรับไล้พระวรกาย ผ้ามีสีคล้ายดอกมะลิ ที่มิได้ทอด้วยด้าย เพื่อเป็นพระภูษาห่ม และยาหยอดพระเนตรที่มีค่ามาก จากนาคพิภพมาถวายแด่พระราชาพระองค์นั้นทุกๆ วันเช่นกัน. นกแขกเต้าทั้งหลายก็คาบข้าวสาลีเก้าพันเกวียนที่เกิดเอง ในสระฉัททันต์นั่นแล มาถวายทุกๆ วัน. หนูทั้งหลายก็เกล็ดข้าวเหล่านั้นให้หมดแกลบและรำ. ข้าวสารที่หักแม้เมล็ดเดียวก็ไม่มี. ข้าวสารนี้แล ถึงความเป็นพระกระยาหารเสวยแห่งพระราชา ในที่ทุกสถาน. ตัวผึ้งทั้งหลายก็ทำน้ำผึ้ง. พวกหมีก็ผ่าฟืนที่โรงครัว. พวกนกการเวกก็บินมาร้องส่งเสียงอย่างไพเราะ ทำพลีกรรมถวายแด่พระราชา. [พระเจ้าอโศกรับสั่งพญากาฬนาคเนรมิตพระพุทธรูปให้ดู] เชิญท่านกระทำพระรูปของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงยังจักร คือพระสัทธรรม ทอดพระเนตรพระพุทธรูปอันพญานาคนามว่า กาฬะ นั้นเนรมิตแล้ว ประหนึ่งว่าพื้นน้ำอันประดับแล้วด้วยดอกกมล อุบล และปุณฑริกซึ่งแย้มบาน ปานประหนึ่งว่าแผ่นฟ้าอันพราวพรายด้วยความระยิบระยับด้วยการพวยพุ่งแห่งข่ายรัศมีของกลุ่มดารา เพราะความที่พระพุทธรูปนั้นทรงมีพระสิริด้วยพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ ประดับแล้วด้วยอนุพยัญชนะ ๘๐ ประการซึ่งบังเกิดแล้วด้วยอำนาจแห่งบุญ อันพรรณรายทั่วพระ ____________________________ #- องค์การศึกษาแผนกบาลีแปลสอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๐๕ [พระเจ้าอโศกไม่ทรงเลื่อมใสนักบวชนอกศาสนา] ____________________________ ๑- ปาสัณฑะ คือ ลัทธิที่ถือผิด หรือเจ้าลัทธิผู้ถือผิด แปลตามรูปศัพท์ว่า ๑- ลัทธิขว้างบ่วง คือ บ่วงคล้องจิตสัตว์ มีอยู่ ๒ ชนิด คือ ตัณหาปาสะ ๑- บ่วงคือตัณหา ๑ ทิฏฐิปาสะ บ่วงคือทิฏฐิ ๑. ได้ยินว่า พระเจ้าพินทุสารพระชนกของพระราชาพระองค์นั้น ได้ทรงนับถือพวกพราหมณ์. ท้าวเธอได้ทรงตั้งนิตยภัตไว้แก่พวกพราหมณ์และแก่ตาปะขาวและปริพาชกเป็นต้น ผู้ถือลัทธิปาสัณฑะอันเป็นของประจำชาติพราหมณ์มีประมาณหกแสนคน. แม้พระเจ้าอโศกก็ทรงถวายทานที่พระชนกให้เป็นไปแล้วในภายในบุรีของพระองค์เหมือนอย่างนั้น ในวันหนึ่ง ได้ประทับยืนอยู่ที่สีหบัญชร ได้ทอดพระเนตรเห็นพวกพราหมณ์เหล่านั้นผู้กำลังบริโภค (อาหาร) ด้วยมารยาทที่เหินห่างจากความสงบเรียบร้อย ไม่มีความสำรวมอินทรีย์ ทั้งไม่ได้รับฝึกหัดอิริยาบถ (กิริยามารยาท) จึงทรงดำริว่า การที่เราใคร่ครวญเสียก่อนแล้วให้ทานเช่นนี้ในเขตที่เหมาะสมจึงควร ครั้นทรงดำริอย่างนี้แล้ว จึงตรัสเรียกพวกอำมาตย์ว่า ไปเถิด พนาย พวกท่านจงนำสมณะและพราหมณ์ของตนๆ ผู้สมมติกันว่าดี มายังภายในพระราชวัง เราจักถวายทาน. พวกอำมาตย์ทูลรับพระราชโองการว่า ดีละ พระเจ้าข้า แล้วก็ได้นำนักบวชนอกศาสนามีตาปะขาว ปริพาชก อาชีวกและนิครนถ์เป็นต้นนั้นๆ มาแล้วทูลว่า ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ท่านเหล่านี้เป็นพระอรหันต์ของข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. เวลานั้น พระราชาทรงรับสั่งให้ปูลาดอาสนะทั้งสูงและต่ำไว้ภายในพระราชวัง แล้วรับสั่งว่า เชิญเข้ามาเถิด จึงทรงเชิญพวกนักบวชผู้มาแล้วๆ ว่า เชิญนั่งบนอาสนะที่สมควรแก่ตนๆ เถิด ดังนี้. บรรดานักบวชเหล่านั้น บางพวกนั่งบนตั่งภัทรบิฐ บางพวกก็นั่งบนตั่ง เมื่อกาลเวลาล่วงไปอยู่อย่างนั้น วันหนึ่ง พระเจ้าอโศกประทับยืนอยู่ที่สีห [ประวัตินิโครธสามเณร] แก้ว่า นิโครธนี้เป็นพระโอรสของสุมนราชกุมาร ผู้เป็นพระเชษฐโอรสของพระเจ้าพินทุสาร. ในเรื่องนั้นมีอนุปุพพีกถาดังต่อไปนี้ :- ดังได้สดับมาว่า ในเวลาที่พระเจ้าพินทุสาร (ผู้พระชนก) ทรงทุพพลภาพนั่นแล (ทรงพระประชวรหนัก) อโศกกุมารได้สละราชสมบัติในกรุงอุชเชนีที่ตนได้แล้ว เสด็จกลับมายึดเอาพระนครทั้งหมดไว้ในเงื้อมมือของตน แล้วได้จับสุมนราชกุมารไว้. ในวันนั้นเอง พระเทวีชื่อสุมนา ของสุมนราชกุมารได้ทรงพระครรภ์แก่เต็มที่แล้ว. พระนางสุมนาเทวีนั้นปลอมเพศหนี เดินมุ่งไปสู่บ้านคนจัณฑาลแห่งใดแห่งหนึ่งในที่ไม่ไกล ได้ทรงสดับเสียงของเทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้นนิโครธแห่งใดแห่งหนึ่ง ในที่ไม่ไกลจากเรือนของหัวหน้าหมู่บ้านคนจัณฑาล ซึ่งกล่าวเชิญอยู่ว่า ข้าแต่พระแม่เจ้าสุมนา ขอจงเสด็จเข้ามาทางนี้เถิด ก็ได้เสด็จเข้าไปใกล้เทวดานั้น. เทวดาได้นิรมิตศาลาหลังหนึ่งด้วยอานุภาพของตน แล้วได้ถวายว่า ขอพระแม่เจ้าจงประทับอยู่ที่ศาลาหลังนี้เถิด. พระเทวีนั้นได้เสด็จเข้าไปสู่ศาลาหลังนั้นแล้ว. ในวันที่พระนางเสด็จเข้าไปถึงนั่นเอง ก็ประสูติพระโอรส. เพราะเหตุที่พระโอรสนั้นอันเทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้นนิโครธรักษาไว้ พระนางเทวีนั้นจึงทรงขนานพระนามว่า นิโครธ. หัวหน้าหมู่บ้านคนจัณฑาลได้สำคัญพระเทวีนั้น เป็นดุจธิดาแห่งนายของตน ตั้งแต่วันที่ตนได้พบเห็น จึงได้ตั้งข้อปฏิบัติประจำไว้. พระราชธิดาได้ประทับอยู่ ณ สถานที่นั้นสิ้น ๗ ปี. ฝ่ายนิโครธกุมารก็มีชนมายุได้ ๗ ปีแล้ว. [นิโครธกุมารบวชสำเร็จเป็นพระอรหันต์พระชนม์ ๗ ปี] วันหนึ่ง นิโครธสามเณรนั้นได้ชำระร่างกายแต่เช้าตรู่ ทำอาจาริยวัตรและอุปัชฌายวัตรเสร็จแล้ว ถือเอาบาตรและจีวร คิดว่า เราจะไปยังประตูเรือนของโยมมารดา แล้วก็ออกไป. ก็นิวาสสถานแห่งโยมมารดาของนิโครธสามเณรนั้น ต้องเดินเข้าไปยังพระนคร ทางประตูด้านทิศทักษิณ ผ่านท่ามกลางพระนครไปออกทางประตูด้านทิศปราจีน. ก็โดยสมัยนั้น พระเจ้าอโศกธรรมราชทรงเสด็จจงกรมอยู่ที่สีหบัญชร ผินพระพักตร์ไปทางทิศปราจีน. ขณะนั้นเอง นิโครธสามเณรผู้มีอินทรีย์สงบ มีใจสงบ ทอดสายตาดูประมาณชั่วแอก เดินไปถึงพระลานหลวง. เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงได้กล่าวไว้ว่า วันหนึ่ง พระเจ้าอโศกประทับยืนอยู่ที่สีหบัญชร ได้ทอดพระเนตรเห็นนิโครธสามเณร ผู้ฝึกฝนคุ้มครองตน มีอินทรีย์สงบ สมบูรณ์ด้วยอิริยาบถ กำลังเดินผ่านไปทางพระลานหลวง ดังนี้. [พระเจ้าอโศกทรงเลื่อมใสนิโครธสามเณร] ชนแม้ทั้งหมดนี้มีจิตฟุ้งซ่าน มีส่วนเปรียบเหมือนมฤคที่วิ่งพล่านไป, ส่วนทารกคนนี้ไม่มีจิตฟุ้งซ่าน, การมองดู การเหลียวดู การคู้แขน และการเหยียดแขนของเขางามยิ่งนัก, ภายในของทารกคนนี้น่าจักมีโลกุตรธรรมแน่นอน ดังนี้ พร้อมกับการทอดพระเนตรเห็นของพระราชานั่นเอง พระหฤทัยก็เลื่อมใสในสามเณร, ความรักก็ได้ตั้งขึ้น. ถามว่า เพราะเหตุไร? แก้ว่า เพราะได้ยินว่า แม้ในกาลก่อน ในเวลาทำบุญ นิโครธสามเณรนี้ได้เป็นพ่อค้าผู้เป็นพี่ชายใหญ่ของพระราชา. สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ความรักนั้นย่อมเกิดเพราะเหตุ ๒ อย่าง คือ เพราะการอยู่ร่วมกันในภพก่อน ๑ เพราะการ เกื้อกูลกันในปัจจุบัน ๑ เหมือนอุบลและปทุม เป็นต้นที่เหลือ เมื่อเกิดในน้ำย่อมเกิดได้เพราะ อาศัยเหตุ ๒ ประการ คือน้ำและเปือกตมฉะนั้น.๑- ____________________________ ๑- ขุ. ชา. เล่ม ๒๗/ข้อ ๓๒๔/หน้า ๙๑ [พระเจ้าอโศกมหาราชรับสั่งให้นิมนต์สามเณรเข้ามา] สามเณรได้เดินไปตามปกติของตนนั่นเอง. พระราชาตรัสว่า ท่านทราบอาสนะที่ควรแล้ว นิมนต์นั่งเถิด. สามเณรนั้นเหลียวดูข้างโน้นข้างนี้แล้วคิดว่า บัดนี้ ไม่มีภิกษุเหล่าอื่น จึงเดินเข้าไปใกล้บัลลังก์ ซึ่งยกเศวตฉัตรกั้นไว้ แล้วแสดงอาการแด่พระราชา เพื่อต้องการให้ทรงรับบาตร. พระราชาทรงทอดพระเนตรเห็นสามเณรนั้นกำลังเดินเข้าไป ใกล้บัลลังก์นั่นแล จึงทรงดำริว่า วันนี้เอง สามเณรรูปนี้จักเป็นเจ้าของราชมณเฑียรนี้ในบัดนี้. สามเณรถวายบาตรที่พระหัตถ์พระราชา แล้วขึ้นนั่งบนบัลลังก์. พระราชาทรงน้อมถวายอาหารทุกชนิดคือข้าวต้ม ของควรเคี้ยวและข้าวสวย ที่เขาเตรียมไว้เพื่อประโยชน์แก่พระองค์ (แก่สามเณรนั้น). สามเณรรับอาหารพอยังอัตภาพของตนให้เป็นไปเท่านั้น. [พระเจ้าอโศกมหาราชตรัสถามข้อธรรม] สามเณรถวายพระพรว่า มหาบพิตร อาตมภาพย่อมรู้โดยเอกเทศ (เท่านั้น). พระราชาทรงรับสั่งว่า พ่อเณร ขอจงแสดงโอวาทที่พ่อเณรรู้นั้นแก่โยมบ้าง. สามเณรทูลรับว่า ได้มหาบพิตร ดังนี้แล้ว ได้กล่าวอัปปมาทวรรคในธรรมบท ตามสมควรแด่พระราชา เพื่อประโยชน์แก่การอนุโมทนา. พระราชาพอได้ทรงสดับว่า ความไม่ประมาท เป็นทางไม่ตาย. ความประมาท เป็นทางแห่งความตาย.๑- ดังนี้เป็นต้น ก็ทรงรับสั่งว่า พ่อเณร จงยังธรรมเทศนาที่ข้าพเจ้าได้รู้แล้วให้จบไว้ก่อน ดังนี้. ____________________________ ๑- ขุ. ธ. เล่ม ๒๕/ข้อ ๑๒/หน้า ๑๘ [พระเจ้าอโศกมหาราชถวายนิตยภัตสามเณรเป็นทวีคูณ] สามเณรถวายพระพรว่า มหาบพิตร อาตมภาพ จะถวายธุวภัตเหล่านั้น แก่พระอุปัชฌายะ (ของอาตมภาพ). พระราชาตรัสถามว่า พ่อเณร ผู้ที่ชื่อว่าอุปัชฌายะนี้ ได้แก่คนเช่นไร? สามเณรถวายพระพรว่า มหาบพิตร ผู้ที่เห็นโทษน้อยใหญ่ แล้วตักเตือนและให้ระลึก ชื่อว่าพระอุปัชฌายะ. พระราชาทรงรับสั่งว่า พ่อเณร โยมจะถวายภัต ๘ ที่ แม้อื่นอีกแก่พ่อเณร. สามเณรถวายพระพรว่า มหาบพิตร อาตมภาพจะถวายภัตเหล่านั้นแก่พระอาจารย์ (ของอาตมภาพ). พระราชาตรัสถามว่า พ่อเณร ผู้ที่ชื่อว่าพระอาจารย์นี้ ได้แก่คนเช่นไร? สามเณรถวายพระพรว่า มหาบพิตร ผู้ที่ให้อันเตวาสิกและสิทธิวิหาริก ตั้งอยู่ในธรรมที่ควรศึกษาในพระศาสนานี้ ชื่อว่าพระอาจารย์. พระราชาทรงรับสั่งว่า ดีละ พ่อเณร โยมจะถวายภัต ๘ ที่ แม้อื่นอีกแก่พ่อเณร. สามเณรถวายพระพรว่า มหาบพิตร อาตมภาพจะถวายภัตเหล่านั้นแก่พระภิกษุสงฆ์. พระราชาตรัสถามว่า พ่อเณร ผู้ที่ชื่อว่าภิกษุสงฆ์นี้ ได้แก่คนเช่นไร? สามเณรถวายพระพรว่า มหาบพิตร บรรพชาและอุปสมบทของอาจารย์และอุปัชฌายะของอาตมภาพ และบรรพชาของอาตมภาพ อาศัยหมู่ภิกษุใด หมู่ภิกษุนั้น ชื่อว่าภิกษุสงฆ์. พระราชาทรงพอพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง แล้วทรงรับสั่งว่า พ่อเณร โยมจะถวายภัต ๘ ที่แม้อื่นอีกแก่พ่อเณร. สามเณรทูลรับว่า ดีละ ในวันรุ่งขึ้นได้พาเอาภิกษุ ๓๒ รูป เข้าไปยังภายในพระราชวัง ฉันภัตตาหาร. [พระเจ้าอโศกมหาราชถวายนิตยภัตแก่ภิกษุหกแสนรูป] ฝ่ายพระนิโครธเถระก็ให้พระราชาพร้อมทั้งบริษัทดำรงอยู่ในไตรสรณคมน์และเบญจศีล ทำให้เป็นผู้มีความเลื่อมใสไม่หวั่นไหว ด้วยความเลื่อมใสอย่างปุถุชน แล้วให้ดำรงมั่นอยู่ในพระพุทธศาสนา. ____________________________ ๑- พระนิโครธเถระ ก็คือนิโครธสามเณรนั่นเอง. [พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างวัดและเจดีย์ ๘๔,๐๐๐ แห่ง] ได้ยินว่า ในวันหนึ่ง พระราชาทรงถวายมหาทานที่อโศการาม ประทับนั่งอยู่ในท่ามกลางพระภิกษุสงฆ์ ซึ่งนับได้ประมาณหกแสนรูป ทรงปวารณาสงฆ์ด้วยปัจจัย ๔ แล้วตรัสถามปัญหานี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ชื่อว่าพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว มีประมาณเท่าไร? พระสงฆ์ถวายพระพรว่า มหาบพิตร ชื่อว่าพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วนั้น ว่าโดยองค์ มีองค์ ๙ ว่าโดยขันธ์ มี ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์. พระราชาทรงเลื่อมใสในพระธรรม แล้วทรงรับสั่งว่า เราจักบูชาพระธรรมขันธ์แต่ละขันธ์ด้วยวิหารแต่ละหลังๆ ดังนี้ ในวันเดียวเท่านั้นได้ทรงสละพระราชทรัพย์ถึง ๙๖ โกฏิ แล้วได้ทรงบังคับพวกอำมาตย์ว่า ไปเถิดพนาย พวกท่านเมื่อให้สร้างวิหารในนครแต่ละนคร จงให้สร้างพระวิหาร ๘๔,๐๐๐ หลังไว้ในพระนคร ๘๔,๐๐๐ นครเถิด ดังนี้ ส่วนพระองค์เองได้ทรงเริ่มการงานเพื่อประโยชน์แก่อโศกมหาวิหาร ในอโศการาม. พระสงฆ์ได้ให้พระเถระชื่อว่าอินทคุตตเถระ ผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก สิ้นอาสวะแล้ว เป็นนวกัมมาธิฏฐายี.๑- พระเถระได้ยังการงานที่ยังไม่สำเร็จนั้นๆ ให้แล้วเสร็จด้วยอานุภาพของตน. พระเถระได้ให้การสร้างพระวิหารสำเร็จลง ๓ ปี แม้ด้วยอานุภาพอย่างนั้น. ____________________________ ๑- นวกัมมาธิฏฐายี คือผู้ดูแลควบคุมงานก่อสร้างใหม่. [พระเจ้าอโศกมหาราชทรงทำการฉลองพระวิหาร] ล่วงไป ๗ วันแต่การฉลองพระวิหารนั้น พระราชาแวดล้อมด้วยหมู่เสนามีองค์ ๔ นับได้หลายแสนซึ่งแต่งตัวด้วยเครื่องอลังการทุกอย่าง เสด็จเที่ยวชมพระนคร ที่มหา ก็ภิกษุที่ประชุมกันในขณะนั้นมีประมาณ ๘๐ โกฏิ. ก็แลพวกนางภิกษุณีมีประมาณเก้าล้านหกแสน. บรรดาภิกษุเหล่านั้น เฉพาะภิกษุผู้เป็นพระขีณาสพนับได้ประมาณแสนรูป. ภิกษุขีณาสพเหล่านั้นได้มีความวิตกข้อนี้ว่า ถ้าพระราชาจะพึงทอดพระเนตรเห็นอธิการ (ทาน [พระเจ้าอโศกมหาราชทอดพระเนตรเห็นทั่วทั้งชมพูทวีป] ท้าวเธอเมื่อทอดพระเนตรดูสมบัตินั้น ก็ทรงประกอบด้วยปีติปราโมทย์อย่างโอฬาร ทรงพระดำริว่า ก็มีอยู่หรือที่ปีติปราโมทย์เห็นปานนี้ เคยเกิดขึ้นแก่ใครๆ อื่นบ้าง? จึงตรัสถามภิกษุสงฆ์ว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ในพระศาสนาของพระทศพลโลกนาถเจ้าของเราทั้งหลาย มีใครบ้างได้สละบริจาคอย่างมากมาย การบริจาคของใครเล่ายิ่งใหญ่. ภิกษุสงฆ์ได้มอบการวิสัชนาปัญหาที่พระราชาตรัสถาม ให้เป็นหน้าที่ของท่านโมคคลีบุตรติสสเถระ. พระเถระถวายพระพรว่า มหาบพิตร ขึ้นชื่อว่าผู้ถวายปัจจัย ในพระศาสนาของพระทศพลเช่นกับพระองค์ ในเมื่อพระตถาคตเจ้าแม้ยังทรงพระชนม์อยู่ ไม่มีใครเลย พระองค์เท่านั้นทรงมีการบริจาคยิ่งใหญ่. [พระเจ้าอโศกยังไม่เป็นทายาทแห่งพระศาสนา] ลำดับนั้น ท้าวเธอจึงตรัสถามภิกษุสงฆ์ว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ โยมเป็นทายาทแห่งพระศาสนา หรือยังหนอ? ในลำดับนั้น ท่านพระโมคคลีบุตรติสสเถระฟังพระราชดำรัสนี้แล้ว เมื่อเล็งเห็นอุปนิสัยสมบัติแห่งพระมหินท์ผู้เป็นพระโอรส (ของท้าวเธอ) จึงดำริว่า ถ้าพระกุมารนี้จักทรงผนวชไซร้ พระศาสนาก็จักเจริญอย่างยิ่ง จึงถวายพระพรเรื่องนี้กะพระราชาว่า มหาบพิตร ผู้ที่จะเป็นทายาทแห่งพระศาสนา หาใช่ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ไม่ ก็อีกอย่างหนึ่งแล ผู้ถวายปัจจัยเช่นนั้น ย่อมถึงความนับว่า ปัจจัยทายก หรือว่า ผู้อุปัฏฐาก (เท่านั้น) มหาบพิตร แท้จริง แม้ผู้ใดพึงถวายปัจจัยกองตั้งแต่แผ่นดินขนาดจดถึงพรหมโลก แม้ผู้นั้นก็ยังไม่ถึงความนับว่า เป็นทายาทในพระศาสนาได้. [ผู้ที่ให้บุตรบวชชื่อว่าได้เป็นทายาทแห่งพระศาสนา] พระเถระถวายพระพรว่า มหาบพิตร บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งจะเป็นผู้มั่งคั่งก็ตาม จะเป็นผู้ยากจนก็ตาม ให้บุตรผู้เป็นโอรสของตนบวช (ในพระศาสนา) มหาบพิตร บุคคลนี้ ท่านเรียกว่าเป็นทายาทแห่งพระศาสนา. เมื่อพระโมคคลีบุตรติสสเถระถวายพระพรอย่างนั้นแล้ว พระเจ้าอโศกธรรมราชทรงพระดำริว่า ได้ยินว่า เราแม้ทำการบริจาคเห็นปานนี้แล้ว ก็ยังไม่ถึงความเป็นทายาทแห่งพระศาสนาได้เลย ทรงปรารถนาความเป็นทายาทในพระศาสนาอยู่ จึงทรงทอดพระเนตรเหลียวดู ข้างโน้นและข้างนี้ ได้ทอดพระเนตรเห็นพระมหินทกุมาร (ผู้เป็นพระราชโอรสของพระองค์) ซึ่งประทับยืนอยู่ในที่ไม่ไกล. ครั้นทอดพระเนตรเห็นแล้ว ท้าวเธอก็ทรงพระรำพึงดังนี้ว่า เราประสงค์จะสถาปนาพระกุมารองค์นี้ไว้ในตำแหน่งอุปราช จำเดิมแต่เวลาติสสกุมารผนวชแล้ว ก็จริงอยู่ ถึงอย่างนั้น การบรรพชาแลเป็นคุณชาติอุดมกว่าตำแหน่งอุปราชเสียอีก. ลำดับนั้น ท้าวเธอจึงทรงรับสั่งกะพระกุมารว่า พ่อ ลูกจะสามารถบวชได้ไหม? พระกุมาร แม้ตามปกติ จำเดิมแต่เวลาพระติสสกุมารทรงผนวชแล้ว ก็มีพระประสงค์อยากจะผนวชอยู่ทีเดียว พอได้ทรงสดับพระราชดำรัสก็เกิดพระปราโมทย์เป็นอย่างยิ่ง แล้วกราบทูลว่า ขอเดชะสมมติเทพ หม่อมฉันจะบวช ทูลกระหม่อมทรงพระบรมราชานุญาตให้กระหม่อมฉันบวชแล้ว จะได้เป็นทายาทในพระศาสนา. ก็โดยสมัยนั้นแล แม้พระนางสังฆมิตตา พระราชธิดา (ของท้าวเธอ) ก็ประทับยืนอยู่ในสถานที่นั้นเอง. พระกุมารทรงพระนามว่า อัคคิพรหม ผู้เป็นพระสวามีของพระนางสังฆมิตตานั้นแล ก็ได้ผนวชร่วมกับพระติสสกุมารผู้เป็นอุปราชแล้ว. พระราชาทอดพระเนตรเห็นพระนางสังฆมิตตานั้นแล้ว จึงรับสั่งว่า แม่ แม้ลูกสามารถจะบวชได้ไหม? พระนางทูลตอบว่า ดีละ ทูลกระหม่อมพ่อ หม่อมฉันสามารถ. พระราชาทรงขอบใจพระราชโอรสและธิดาแล้ว มีพระราชหฤทัยเบิกบาน จึงตรัสพระดำรัสนี้กะพระภิกษุสงฆ์ว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายจงให้ทารกเหล่านี้บวช แล้วกระทำให้โยมเป็นทายาทในพระศาสนาเถิด. พระสงฆ์รับพระราชดำรัสแล้ว ก็ให้พระกุมารบรรพชา โดยมีพระโมคคลีบุตร ได้ยินว่า คราวนั้น พระกุมารมีพระชนมายุได้ ๒๐ ปีบริบูรณ์. พระมหินทเถระได้บรรลุพระอรหัตเวลาอุปสมบท เวลาที่พระโอรสและพระธิดาทั้ง ๒ องค์ผนวช พระราชาทรงอภิเษกครองราชย์ได้ ๖ ปี. ภายหลังตั้งแต่เวลาที่ทรงผนวชแล้ว พระมหินทเถระก็ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมและพระวินัย อยู่ในสำนักพระอุปัชฌายะของตนนั่นเอง ได้เรียนเอาเถรวาททั้งหมด พร้อมทั้งอรรถกถา ที่ท่านสงเคราะห์ด้วยพระไตรปิฎก ซึ่งขึ้นสู่สังคีติทั้ง ๒ คราว จบในภายใน ๓ พรรษา แล้วได้เป็นปาโมกข์ (หัวหน้า) ของพวกภิกษุประมาณ ๑,๐๐๐ รูป ผู้เป็นอันเตวาสิกแห่งอุปัชฌายะของตน. คราวนั้น พระเจ้าอโศกธรรมราชทรงอภิเษกครองราชย์ได้ ๙ ปี. [พระเจ้าอโศกทรงตั้งมูลนิธิถวายสงฆ์ห้าแสน] พระราชาทรงทราบความเป็นไปนั้นแล้ว ได้ทรงทำสักการะแก่พระเถระ แล้วทรงรับสั่งว่า ขึ้นชื่อว่า เมื่อเราครองราชย์อยู่ พวกภิกษุยังหาปัจจัยได้ยากอย่างนี้ แล้วทรงรับสั่งให้สร้างสระโบกขรณีไว้ที่ประตูทั้ง ๔ แห่งพระนคร ให้บรรจุเต็มด้วยเภสัชถวายไว้. ได้ยินว่าสมัยนั้นเครื่องบรรณาการตั้งห้าแสน เกิดขึ้นแก่พระราชาทุกวันๆ คือ ที่ประตูทั้ง ๔ แห่งพระนคร ปาตลีบุตรสี่แสน ที่สภาหนึ่งแสน ครั้งนั้น พระราชาทรงสละถวายท่านนิโครธเถระ วันละหนึ่งแสน หนึ่งแสนเพื่อต้องการทรงบูชาด้วยวัตถุมีของหอมและดอกไม้เป็นต้นที่พุทธเจดีย์ หนึ่งแสนเพื่อต้องการทรงบูชาพระธรรม คือทรงน้อมถวายแสนนั้น เพื่อประโยชน์แก่ปัจจัย ๔ แก่พวกภิกษุผู้ทรงธรรมเป็นพหูสูต แสนหนึ่งถวายภิกษุสงฆ์ ถวายอีกแสนหนึ่งเพื่อประโยชน์แก่เภสัชที่ประตูทั้ง ๔ ด้าน. ลาภและสักการะอันโอฬาร เกิดแล้วในพระศาสนาด้วยอาการอย่างนี้. .. อรรถกถา มหาวิภังค์ ปฐมภาค เวรัญชกัณฑ์ |