บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] [๑๐] [๑๑] [๑๒] [๑๓] [๑๔] [๑๕] หน้าต่างที่ ๖ / ๑๕. [พระนางอนุฬาเทวีทรงมีพระประสงค์จะบวช] [พระราชาส่งทูตไปยังชมพูทวีป] อริฏฐอำมาตย์กราบทูลว่า อาจ สมมติเทพ ถ้าพระองค์จักทรงอนุญาตให้หม่อมฉันบวช. พระราชาตรัสว่า ไปเถิดพ่อ เจ้านำพระเถรีมาแล้ว จงบวชเถิด. อำมาตย์นั้นถือเอาพระราชสาสน์และเถรสาสน์แล้วไปยังท่าเรือชื่อชัมพุโกล ฝ่ายพระนางอนุฬาเทวีแล พร้อมด้วยหญิงสาว ๕๐๐ คน [ทูตถวายพระราชสาสน์และเถรสาสน์] อริฏฐอำมาตย์ ครั้นทูลถวายเถรสาสน์แล้วเข้าเฝ้าพระเถรีสังฆมิตตา กราบ พระนางอนุฬาเทวี พระชายาของพระกนิษฐภาดาแห่งพระเจ้าเทวานัมปิยดิส พร้อมกับหญิงสาว ๕๐๐ คน และหญิงชาววัง ๕๐๐ คน มีความประสงค์จะบวช นัยว่าพระแม่เจ้าจงมาให้พระนางอนุฬาเทวีนั้นบวช. ในทันใดนั้นนั่นเอง พระเถรีนั้นรีบด่วนไปยังราชสำนัก แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่มหาบพิตร พระมหินทเถระ หลวงพี่ของหม่อมฉันส่งข่าวมาอย่างนี้ว่า ได้ยินว่า พระนางอนุฬาเทวี พระชายาของพระกนิษฐภาดาแห่งพระราชา พร้อมด้วยหญิงสาว ๕๐๐ คนและหญิงชาววัง ๕๐๐ คน มีความประสงค์จะบวช คอยท่าการมาของหม่อมฉันอยู่ ข้าแต่มหาราช หม่อมฉันปรารถนาจะไปยังเกาะตัมพปัณณิทวีป. พระราชาตรัสว่า แน่ะแม่ พระมหินทเถระแม้ผู้เป็นลูกของเราและสุมนสาม พระเถรีทูลว่า ข้าแต่มหาราช คำของหลวงพี่แห่งหม่อมฉันหนักแน่น แม้พระนางอนุฬาขัตติยานีอันสตรีพันคนแวดล้อมแล้วมุ่งหน้าต่อบรรพชา รอคอยหม่อมฉันอยู่ หม่อมฉันจะต้องไป มหาบพิตร! พระราชาตรัสว่า แม่ ถ้าเช่นนั้น เจ้าเชิญต้นมหาโพธิ์ไปด้วยเถิด. [พระเจ้าอโศกตั้งพระทัยจะส่งต้นมหาโพธิ์ไปเกาะลังกาอยู่ก่อน] แก้ว่า ได้ทราบว่า พระราชาทรงมีพระประสงค์จะส่งต้นมหาโพธิ์ไปยังเกาะ อำมาตย์นั้นกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ มีภิกษุบัณฑิตเป็นอันมาก. พระราชาทรงสดับคำนั้นแล้ว รับสั่งให้ตระเตรียมภัต เพื่อภิกษุสงฆ์ ในที่สุดภัตกิจได้ตรัสถามพระสงฆ์ว่า ท่านผู้เจริญ ต้นมหาโพธิ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ควรไปยังเกาะลังกาหรือไม่หนอ? พระสงฆ์มอบให้เป็นภาระของพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ. พระเถระถวายพระพรว่า ต้นมหาโพธิ์ควรไปยังเกาะลังกาแท้ มหาบพิตร ดังนี้แล้ว ได้ทูลบอกมหาอธิษฐาน ๕ ข้อของพระผู้มีพระภาคเจ้า. [มหาอธิษฐาน ๕ ข้อของพระผู้มีพระภาคเจ้า] คือได้ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบรรทมบนพระแท่นปรินิพพาน ได้ทรงอธิษฐานว่า เพื่อต้อง [วิสสุกรรมเทพบุตรปลอมตัวเป็นช่างเนรมิตกระถางทอง] พระราชาตรัสว่า พ่อ เจ้านั่นแหละ ทราบและจงทำให้ได้ขนาด. เขารับว่า ดีละ สมมติเทพ ข้าพระองค์จักกระทำจึงถือทองเอามือลูบคลำ ด้วยอานุภาพของตน นิรมิตกระถางทอง วัดโดยรอบประมาณ ๙ ศอก สูง ๕ ศอก กว้าง ๓ ศอก หนา ๘ นิ้ว ขอบปากมีขนาดเท่าโคนงวงช้าง. [พระราชาพร้อมด้วยเสนาเสด็จไปยังต้นมหาโพธิ์] พระราชาทรงเห็นปาฏิหาริย์นั้นเกิดพระปีติปราโมทย์ ตรัสแก่ภิกษุสงฆ์ว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเห็นปาฏิหาริย์นี้แล้วยินดีจะบูชาต้นมหาโพธิ์ ด้วยราชสมบัติในทวีป จึงได้ถวายการอภิเษก. [พระราชาทรงทำสัตยาธิษฐาน] พระราชาทรงกำหนดตัดรอยขีดอื่นๆ อีก ๙ แห่งในระยะต่อๆ ไป แต่ละ ๓ องคุลี. ราก ๙๐ รากงอกเป็นปุ่มคล้ายต่อมน้ำออกจากรอยขีดแม้เหล่านั้น รอยละ ๑๐ ราก. รากใหญ่ ๑๐ รากแรกงอกออกมาประมาณ ๔ นิ้ว. ราก ๙๐ รากแม้นอกนี้ ก็งอกเกี่ยวประสานกัน คล้ายตาข่ายขวัญโค. พระราชาประทับยืนอยู่เหนือสุดตั่งรัตนบิฐนั่นแล ทอดพระเนตรเห็นปาฏิหา ภิกษุจำนวนหลายพันรูป ก็ได้ซ้องสาธุการ. ราชเสนาทั้งสิ้นก็ได้บันลือกันอึงมี่. ธงผ้าที่ยกขึ้นไว้ตั้งแสนธง ได้โบกสะบัดพริ้ว. พวกทวยเทพตั้งต้นภุมมัฏฐกเทวดา ได้ให้สาธุการเป็นไป จนกระทั่งถึงเหล่าเทพพรหมกายิกา. เมื่อพระราชาทอดพระเนตรเห็นปาฏิหาริย์นี้ มีพระวรกายอันปีติถูกต้องหาระหว่างมิได้ ประทับยืนประคองอัญชลีอยู่นั่นแล, ต้นมหาโพธิ์ก็ได้ประดิษฐานอยู่ในกระถางทอง ด้วยจำนวนรากตั้งร้อย. รากใหญ่ ๑๐ รากได้หยั่งลงจดพื้นกระถางทอง. รากที่เหลือ ๙๐ รากก็เจริญงอกงามขึ้นโดยลำดับ หยั่งลงแช่อยู่ในเปือกตมที่ผสมด้วยของหอม. เมื่อต้นมหาโพธิ์ สักว่าประดิษฐานอยู่ในกระถางทองอย่างนั้นแล้ว มหาปฐพีก็หวั่นไหว. เหล่าเภรีของทวยเทพบันลือลั่นไปในอากาศ. ความโกลาหลเป็นอันเดียวกัน ตั้งแต่พื้นปฐพีจนถึงพรหมโลกได้กึกก้องเป็นอันเดียวกัน เพราะความโน้มเอนไปมาแห่งเหล่าบรรพต เพราะเสียงสาธุการแห่งทวยเทพ เพราะการทำเสียงหิงๆ แห่งเหล่ายักษ์ เพราะการกล่าวชมเชยแห่งพวกอสูร เพราะการปรบมือแห่งพวกพรหม เพราะความคำรามแห่งหมู่เมฆ เพราะความร้อนแห่งหมู่สัตว์สี่เท้า เพราะความขันกู่แห่งเหล่าปักษี (และ) เพราะความว่องไวเฉพาะตนๆ แห่งพนักงานตาลาวจรดนตรีทั้งปวง. ฉัพพรรณรังสีพวยพุ่งออกจากแต่ละผลในกิ่งทั้ง ๕ แล้วก็พุ่งขึ้นไปจนถึงพรหมโลกเหมือนทำจักรวาลทั้งสิ้น ให้ติดเนื่องกันดุจกลอนเรือนแก้ว ฉะนั้น. [กิ่งต้นมหาโพธิ์ลอยขึ้นไปอยู่บนท้องฟ้า ๗ วัน] พระราชาทอดพระเนตรเห็นต้นมหาโพธิ์แล้ว มีพระปรีดาปราโมทย์อันปาฏิ ในวันปวารณาเดือนกัตติกาต้น เวลาเย็น ต้นมหาโพธิ์ก็ประดิษฐานอยู่ในกระถางทองก่อน. หลังจากนั้นมา พระราชาทรงยับยั้งอยู่ตลอดสัปดาห์ที่มหาโพธิ์อยู่ในกลีบเมฆ และสัปดาห์ที่พระราชทานอภิเษก จึงเสด็จเข้าไปสู่พระนครปาตลีบุตร ในวันอุโบสถ แห่งกาฬปักษ์โดยวันเดียวเท่านั้น, ในวันปาฏิบท (แรมค่ำหนึ่ง) แห่งชุณหปักษ์ของเดือนกัตติกา ทรงพักต้นมหาโพธิ์ไว้ที่โคนต้นสาละใหญ่ด้านปราจีนทิศ. [ต้นมหาโพธิ์แตกหน่อออกใหม่] พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงหมายถึงต้นโพธิ์ที่นำมาจากมหาโพธิมณฑลแล้วชำไว้ที่นครปาตลีบุตร โดยนัยดังกล่าวมานี้ จึงตรัส (กะพระนางสังฆมิตตาเถรี) ว่า แม่ ถ้าเช่นนั้นขอให้ลูกรับเอาต้นมหาโพธิ์ไปด้วยเถิด. พระนางสังฆมิตตาเถรีนั้นทูลรับว่า สาธุ. [พระเจ้าอโศกทรงตั้งตระกูลต่างๆ ไว้เพื่อรักษาต้นมหาโพธิ์] ฝ่ายพระองค์เองเสด็จออกจากพระนคร ข้ามดงชื่อวิชฌาฏวี แล้วเสด็จไปถึงท่าชื่อตามพลิตตี ตลอด ๗ วัน โดยลำดับ. ในระหว่างทาง พวกทวยเทพ นาคและมนุษย์ ได้พากันบูชาต้นมหาโพธิ์อย่างมโหฬาร. ฝ่ายพระราชาทรงพักต้นมหาโพธิ์ไว้ที่ริมฝั่งสมุทร ๗ วันแล้วได้ทรงถวายราชสมบัติอย่างใหญ่ในสากลทวีป. คราวนี้ เป็นการทรงถวายราชสมบัติในชมพูทวีปครั้งที่ ๓ แก่ต้นมหาโพธิ์นั้น. [พระเจ้าอโศกทรงลุยน้ำส่งต้นมหาโพธิ์ไปเกาะลังกา] ท้าวเธอ ครั้นพระราชทานข่าวสาสน์แก่พระสหายอย่างนั้นแล้ว ทรงคร่ำครวญประคองอัญชลี ประทับยืนหลั่งพระอัสสุชลอยู่ว่า ต้นมหาโพธิ์ของพระทศพล ซึ่งฉายช่อพระรัศมีดุจมีชีวิตอยู่ ไปละหนอ ดังนี้. นาวาที่ต้นมหาโพธิ์ขึ้นประดิษฐานอยู่แม้นั้นแล เมื่อมหาชนจ้องมองแลดูอยู่ ก็ออกวิ่งไปสู่ท้องทะเลหลวง. เหล่าระลอกคลื่นในมหา พระนางสังฆมิตตาเถรีทำให้ตระกูลนาคทั้งหลายในมหาสมุทร สะดุ้งกลัวแล้ว ด้วย (จำแลงเป็น) รูปสุบรรณ (คือนิรมิตเป็นรูปครุฑ). ก็นาคเหล่านั้นสะดุ้งกลัว มาเห็นสมบัตินั้นเข้า จึงทูลขอกะพระเถรี แล้วนำต้นมหาโพธิ์ไปสู่นาคพิภพ บูชาด้วยราชสมบัติแห่งนาคตลอด ๗ วันแล้ว (นำกลับมา) ให้ประดิษฐานอยู่บนเรืออีก. นาวาได้เล่นไปถึงท่าชมพู ฝ่ายพระเจ้าอโศกมหาราชทรงระทมทุกข์เพราะวิโยคจากต้นมหาโพธิ์ ทรงคร่ำครวญกันแสง จ้องพระเนตรดูจนสุดทัศนวิสัย แล้วก็เสด็จกลับ. [พระเจ้าเทวานัมปิยดิสกรุงลังกาเตรียมต้อนรับต้นมหาโพธิ์] ____________________________ #- ฏีกาสารัตถทีปนี. แก้ว่า ให้ทำเจดีย์ดอกไม้ไว้ในระหว่างทางทั้ง ๒ ข้าง #- น่าจะได้แก่พุ่มดอกไม้นั้นเอง. [พระเจ้าเทวานัมปิยดิสพักต้นมหาโพธิ์ไว้ในปูชนียสถาน ๔ แห่ง] ถามว่า พระราชาทรงรับสั่งให้ตั้งต้นมหาโพธิ์นั้นไว้อย่างไร? แก้ว่า ทรงรับสั่งให้พักไว้อย่างนี้ คือ :- ได้ยินว่า ตระกูลที่สมบูรณ์ด้วยชาติทั้ง ๑๖ ตระกูล ที่มาแวดล้อมต้นโพธิ์เหล่านั้น ถือเอาเพศเป็นพระราชา พระราชาก็ทรงถือเอาเพศเป็นนายทวารบาล. ตระกูลทั้ง ๑๖ ตระกูลเอาต้นมหาโพธิ์ลงปลูกแล้ว (ที่ [ต้นมหาโพธิ์แสดงอิทธิปาฏิหาริย์] ต้นมหาโพธิ์ได้ประดิษฐานอยู่บนอากาศ จนพระอาทิตย์อัสดงคต ก็เมื่อพระอาทิตย์อัสดงคตแล้ว จึงกลับ (ลงมา) ประดิษฐานอยู่บนปฐพี โดยโรหิณีนักขัตฤกษ์. พร้อมกับด้วยต้นมหาโพธิ์ประดิษฐานอยู่ (นั่นแล) มหาปฐพีได้ไหวจนถึงที่สุดน้ำ (รองแผ่นดิน). ก็แล ต้นมหาโพธิ์ ครั้นประดิษฐานอยู่แล้ว ก็นิ่งเงียบอยู่ในกลีบเมฆ (กลุ่มหมอก) ตลอด ๗ วัน. ต้นมหาโพธิ์ได้ถึงความมองไม่เห็นของชาวโลก (คือชาวโลกมองไม่เห็นต้นมหาโพธิ์). ในวันที่ ๗ นภากาศ ได้ปราศจากเมฆหมอกแล้ว, รัศมีซึ่งมีพรรณะ ๖ ประการ ก็พวยพุ่งกระจายออก. ลำต้น กิ่ง ใบ และผลทั้ง ๕ แห่งต้นมหาโพธิ์ก็ปรากฏให้เห็น. พระมหินทเถระ พระนางสังฆมิตตาเถรี และพระราชา พร้อมด้วยข้าราชบริพาร ได้เสด็จไปถึงสถานที่ตั้งแห่งต้นมหาโพธิ์นั่นแล. และประชาชนชาวเกาะทั้งหมดก็ประชุมกันแล้วโดยส่วนมาก. เมื่อชนเหล่านั้นมองดูอยู่นั่นเอง ผลหนึ่งจากกิ่งด้านทิศอุดรสุกแล้วก็หล่นจากกิ่ง. พระเถระน้อมหัตถ์เข้ารับไว้. ผลก็ได้ตั้งอยู่บนหัตถ์ของพระเถระ. พระเถระได้ถวายผลนั้นแด่พระราชา โดยถวายพระพรว่า ขอพระองค์ทรงปลูกเถิด มหาบพิตร! [ต้นมหาโพธิ์แตกสาขาออกถึง ๘ ต้นและ ๓๒ ต้น] ____________________________ ๑- ฎีกาสารัตถทีปนีเป็นตวักกพราหมณ์. ๒- คำว่า อิสสรนิมมานวิหาร ได้แก่ กัสสปคิรีวิหาร คือวิหารที่อิสรชนสร้างไว้ ๒- สารัตถ ๑/๑๘๖-๗. [พระนางอนุฬาเทวีและอริฏฐอำมาตย์ผนวชแล้วสำเร็จพระอรหัต] เมื่อต้นมหาโพธิ์อันเป็นธงชัยแห่งพระสัทธรรมของพระทศพล ประดิษฐานอยู่แล้วเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนชาวเกาะโดยรอบ ด้วยการสืบต่อลำดับแห่งลูกหลานอย่างนี้แล้ว พระนางอนุฬาเทวีพร้อมกับมาตุคามพันหนึ่ง คือ หญิงสาว (ผู้เป็นบาทบริจาริกาของตน) ๕๐๐ คน และหญิงชาววังอีก ๕๐๐ คนผนวชในสำนักของพระนางสังฆมิตตาเถรี ไม่นานนักพร้อมด้วยบริวารก็ดำรงอยู่ในความเป็นพระอรหันต์. ฝ่ายพระราชภาคิไนยชื่ออริฏฐะแล พร้อมกับบุรุษ ๕๐๐ คน บวชในสำนักของพระเถระ พร้อมด้วยบริวาร ได้ดำรงอยู่ในความเป็นพระอรหันต์ ต่อกาลไม่นานเช่นเดียวกัน. [พระศาสนาจักตั้งมั่นเพราะกุลบุตรชาวเกาะลังกาบวชเรียน] พระราชาเสด็จต่อไปพร้อมกับพระเถระ ได้เสด็จไปถึงอัมพังคณสถาน. ที่อัมพังคณสถานนั้น ราชบุรุษได้นำผลมะม่วงสุกผลหนึ่งซึ่งสมบูรณ์ด้วยสีและกลิ่น มีรสอร่อยยิ่ง มาทูลถวายแด่พระราชาพระองค์นั้น. พระราชาได้ถวายผลมะม่วงนั้นแก่พระเถระเพื่อขบฉัน. พระเถระก็ฉันในที่นั้นนั่นเอง แล้วทูลว่า ขอพระองค์ทรงปลูกเมล็ดมะม่วงนี้ไว้ ในที่นี้นั่นแล. พระราชาทรงรับเอาเมล็ดมะม่วงนั้นแล้ว ทรงเพาะปลูกไว้ในที่นั้นนั่นเอง แล้วทรงรดน้ำ. พร้อมกับการทรงเพาะปลูกเมล็ดมะม่วงปฐพีหวั่นไหวแล้ว. พระราชาตรัสถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เพราะเหตุไร ปฐพีจึงไหว? พระเถระทูลว่า มหาบพิตร ในอนาคตที่ประชุมสงฆ์ ชื่ออัมพังคณะ จักมีในโอกาสนี้ นี้จักเป็นบุรพนิมิตแห่งสันนิบาตสถานนั้น. พระราชาทรงโปรยดอกไม้ ๘ กำลงในที่นั้น ทรงไหว้แล้วก็เสด็จต่อไปอีกพร้อมกับพระเถระ ได้เสด็จไปถึงสถานที่จะสร้างมหาเจดีย์. ในสถานที่นั้น พวกราชบุรุษได้นำดอกจำปาทั้งหลายมาทูลถวายแด่พระราชาองค์นั้น. พระราชาได้ถวายดอกจำปาเหล่านั้นแก่พระเถระ. พระเถระก็เอาดอกไม้บูชาที่จะสร้างมหาเจดีย์แล้วไหว้. ในทันใดนั้นเอง มหาปฐพีก็หวั่นไหว. พระราชาตรัสถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ เพราะเหตุไร ปฐพีจึงได้ไหว. พระเถระทูลว่า มหาบพิตร ในอนาคต พระมหาสถูปซึ่งไม่มีที่ไหนเหมือนของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าจักมีในโอกาสนี้ นี้จักเป็นบุรพนิมิต แห่งมหาสถูปนั้น. พระราชาทรงรับสั่งว่า ข้าพเจ้าเองจะสร้าง ท่านผู้เจริญ! พระเถระทูลว่า อย่าเลย มหาบพิตร พระองค์ยังมีการงานอื่นอยู่มาก แต่พระนัดดาของพระองค์ พระนามว่า ทุฏฐคามณีอภัย จักทรงให้สร้าง. คราวนั้น พระราชาทรงรับสั่งว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ถ้าพระนัดดาของข้าพเจ้าจักสร้างไซร้ ก็จักสร้างสิ่งที่ข้าพเจ้าสร้างไว้แล้วนั่นเอง ดังนี้แล้วจึงรับสั่งให้นำเสาหินมีประมาณ ๑๒ ศอกมา แล้วให้จารึกอักษรไว้ว่า พระนัดดาของพระเจ้าเทวานัมปิยดิสพระนามว่า ทุฏฐคามณีอภัย จงสร้างพระสถูปไว้ในประเทศนี้เถิด ดังนี้ รับสั่งให้ประดิษฐานไว้แล้ว จึงตรัสถามพระเถระว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ พระศาสนาตั้งมั่นแล้วในเกาะลังกาทวีปหรือยัง? พระเถระทูลว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร พระศาสนาตั้งมั่นแล้ว แต่ว่า รากเหง้าแห่งพระศาสนานั้นยังไม่หยั่งลงก่อน. พระราชาตรัสถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ก็เมื่อไรรากเหง้า (แห่งพระศาสนานั้น) จักชื่อว่าเป็นอันหยั่งลงแล้ว? พระเถระทูลว่า มหาบพิตร ในกาลใด เด็กผู้เกิดในเกาะตัมพปัณณิทวีป มีมารดาบิดาเป็นชาวเกาะตัมพปัณณิทวีป จักออกบวชในเกาะตัมพปัณณิทวีป แล้วเรียนพระวินัยในเกาะตัมพปัณณิทวีปนั่นเอง ออกสอน (พระวินัย) ในเกาะตัมพปัณณิทวีปได้ ในกาลนั้น รากเหง้าแห่งพระศาสนาจักชื่อว่าเป็นอันหยั่งลงแล้ว. พระราชาตรัสถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ก็ภิกษุเช่นนี้มีอยู่หรือ? พระเถระทูลว่า มีอยู่ มหาบพิตร พระมหาอริฏฐภิกษุเป็นผู้สามารถในกรรมนั้น. พระราชาตรัสถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ข้าพเจ้าควรทำอะไรบ้าง ในกรรมนี้. พระเถระทูลว่า ควรสร้างมณฑป มหาบพิตร! [พระเจ้าเทวานัมปิยดิสสร้างมณฑปเพื่อทำจตุตถสังคายนา] ____________________________ ๑- พนักงานประโคมดนตรี หรือละครรำเท้า. [เริ่มเรื่องจตุตถสังคายนา] ครั้งนั้น ท่านพระมหาอริฏฐเถระได้แสดงนิทานแห่งพระวินัยว่า โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ที่โคนต้นสะเดาอันนเฬรุยักษ์สิง ใกล้เมืองเวรัญชา ดังนี้เป็นต้น. ก็แลเมื่อท่านพระอริฏฐเถระแสดงนิทานแห่งพระวินัยแล้ว อากาศก็ร้องคำรามดังสนั่น. สายฟ้าอันมิใช่ฤดูกาลก็แลบแปลบปลาบ. พวกเทวดาได้ถวายสาธุการแล้ว. มหาปฐพีไหวหวั่นจนถึงที่สุดน้ำรองแผ่นดิน. เมื่อปาฏิหาริย์หลายอย่างเป็นไปอยู่อย่างนั้น ท่านพระอริฏฐเถระซึ่งมีพระมหาเถระขีณาสพ เจ้าคณะแต่ละคณะ ๖๘ รูป อันมีพระมหามหินท์เป็นประมุข และภิกษุหกหมื่นรูปนอกจากนั้นห้อมล้อมแล้ว ได้ประกาศพระวินัยปิฎก อันแสดงซึ่งคุณมีพระกรุณาของพระศาสดาเป็นต้น ซึ่งกำจัดความดิ้นรนทางกายกรรมวจีกรรม ของเหล่าชนผู้ทำตามคำพร่ำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า ในท่ามกลางแห่งมหาวิหารถูปาราม ในวันปวารณาเดือนกัตติกาแรก. ก็ท่านพระอริฏฐเถระ ครั้นประกาศแล้ว บอกสอนแก่ภิกษุเป็นอันมาก คือให้ตั้งอยู่ในหทัยของภิกษุมากหลาย ดำรงอยู่ตราบเท่าอายุแล้วก็ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสส พระมหาเถระ ๖๘ รูป แม้เหล่านั้นแล อันมีพระมหามหินท์เป็นประมุข ผู้เอาธุระ การงานมาประชุมพร้อมกันแล้วในสมาคม นั้น, ทั้งหมดเป็นเจ้าคณะแต่ละคณะ เป็น สาวกของพระธรรมราชา มีอาสวะสิ้นแล้ว ได้บรรลุวสี มีวิชชา ๓ ฉลาดในอิทธิฤทธิ์ รู้แจ้งอุดมอรรถอนุสาสน์พระราชา พระเถระ ผู้แสวงหาคุณใหญ่แสดงแสงสว่าง (คือความ สว่างแห่งญาณ) ให้เห็นชัด ยังแผ่นดิน (คือ เกาะลังกา) นี้ให้รุ่งเรืองแล้ว ก็ปรินิพพาน เหมือนกองไฟลุกโพลงแล้วดับไป ฉะนั้น. จำเนียรกาลต่อมาแต่กาลปรินิพพานแห่งพระมหาเถระเหล่านั้นลำดับสืบต่อกันมาแห่งอาจารย์ ซึ่งมีประการดังกล่าวแล้วในตอนต้นอย่างนี้ คือพระมหาเถระแม้เหล่าอื่น ผู้เป็นอันเตวาสิกของพระเถระเหล่านั้น และพระเถระทั้งหลายมีพระติสสทัตตะ พระกาฬสุมนะและพระทีฆสุมนะเป็นต้น ผู้เป็นอันเตวาสิกแห่งอันเตวาสิกทั้งหลายของพระมหาอริฏฐเถระ ได้นำพระวินัยปิฎกนี้มา จนถึงทุกวันนี้. เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวไว้ว่า ก็ถัดจากตติยสังคายนามา พระเถระทั้งหลายมีพระมหินท์เป็นต้น ได้นำพระวินัยปิฎกมาสู่เกาะนี้, พระเถระทั้งหลายมีพระอริฏฐเถระเป็นต้นเรียนจาก (สำนัก) พระมหินท์แล้ว ได้นำมาตลอดเวลาระยะหนึ่ง ตั้งแต่เวลาพระอริฏฐเถระเป็นต้นนั้นนำมาพระวินัยปิฎกนั่น พึงทราบว่า ได้นำสืบมาโดยลำดับอาจารย์ ซึ่งเป็นการสืบลำดับอันเตวาสิกของพระอริฏฐเถระเป็นต้นเหลานั้นนั่นเอง จนถึงทุกวันนี้. [แก้บทมาติกาว่า พระวินัยปิฎกตั้งอยู่แล้วในบุคคลใด] พระวินัยปิฎกของบุคคลเหล่าใด ย่อมเป็นไปไม่พร่อง ทั้งโดยบาลี ทั้งโดยอรรถ คือไม่เลอะเลือนแม้น้อยหนึ่ง เหมือนน้ำมันงาที่ใส่ไว้ในหม้อแก้วมณี ย่อมไม่ซึมออกฉะนั้น พึงทราบว่า พระวินัยปิฎกตั้งอยู่แล้วในบุคคลเห็นปานนั้น ซึ่งเป็นผู้มีสติ คติและธิติมีประมาณยิ่ง ผู้เป็นลัชชี มักมีความรังเกียจ ใคร่ต่อการศึกษา. [อานิสงส์แห่งการเรียนพระวินัย ๕ ข้อ] จริงอยู่ บุคคลผู้ฉลาดในวินัยปริยัติ ย่อมเป็นผู้ตั้งอยู่ในฐานเป็นมารดาบิดาของเหล่ากุลบุตร ผู้ได้ศรัทธาในพระศาสนา เพราะว่า บรรพชา อุปสมบท ข้อปฏิบัติวัตรใหญ่น้อย ความเป็นผู้ฉลาดในอาจาระและโคจรของกุลบุตรเหล่านั้น เนื่องด้วยความฉลาดในวินัยปริยัตินั้น. อีกประการหนึ่ง เพราะอาศัยวินัยปริยัติ กองศีลของตนย่อมเป็นของอันบุคคลนั้นคุ้มครองรักษาดีแล้ว ย่อมเป็นที่พึ่งพิงของเหล่ากุลบุตรผู้ถูกความสงสัยครอบงำ ย่อมกล้าพูดในท่ามกลางสงฆ์ ย่อมข่มขี่พวกข้าศึกได้ด้วยดีโดยสหธรรม ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ เหล่านี้ (มีอยู่) ในบุคคลผู้ทรงพระวินัย คือ :- (๑) กองศีลของตน ย่อมเป็นของอันบุคคลนั้น คุ้มครองรักษาไว้ดีแล้ว (๒) ย่อมเป็นที่พึ่งพิงของเหล่ากุลบุตร ผู้ถูกความสงสัยครอบงำ (๓) ย่อมเป็นผู้กล้าพูดในท่ามกลางสงฆ์ (๔) ย่อมข่มขี่พวกข้าศึกได้ด้วยดี โดยสหธรรม (๕) ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม.#- ____________________________ #- นย. วิ. ปริวาร. เล่ม ๘/ข้อ ๑๑๖๘/หน้า ๔๕๓ [วินัยเป็นข้อปฏิบัติให้บรรลุความหลุดพ้นจากกิเลสเป็นที่สุด] สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า วินัย ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่สังวร (ความสำรวม), สังวรย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่อวิปปฏิสาร (ความไม่เดือดร้อน), อวิปปฏิสารย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ความปราโมทย์, ความปราโมทย์ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ปีติ (ความอิ่มใจ), ปีติย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ปัสสัทธิ (ความสงบ), ปัสสัทธิย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ความสุข, ความสุขย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่สมาธิ (ความตั้งใจมั่น), สมาธิย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ยถาภูตญาณทัสสนะ (ความรู้เห็นตามเป็นจริง), ยถาภูตญาณทัสสนะย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่นิพพิทา (ความเบื่อหน่าย), นิพพิทาย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่วิราคะ (ความสำรอกกิเลส), วิราคะย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่วิมุตติ (ความหลุดพ้น), วิมุตติย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่วิมุตติญาณทัสสนะ (ความรู้เห็นความหลุดพ้น), วิมุตติญาณทัสสนะย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่อนุปาทาปริ ____________________________ #- วิ. ปริ. เล่ม ๘/ข้อ ๑๐๘๔/หน้า ๔๐๖ [คาถาสรุปเรื่อง] พระวินัยปิฎกนี้ ผู้ใดกล่าวไว้ กล่าวไว้ เมื่อใด กล่าวไว้ทำไม ผู้ใดทรงไว้ ผู้ใดนำสืบมา และประดิษฐานอยู่แล้วในผู้ใด ข้าพเจ้ากล่าววิธี ดังนี้แล้ว ภายหลัง (จักพรรณนาอรรถแห่งพระ วินัย) ดังนี้ ในมาติกาที่ข้าพเจ้าตั้งไว้เพื่อสังวรรณนาพระนัยนั้นก่อน และการสังวรรณนาพาหิรนิทานแห่งพระวินัย ก็เป็นอันข้าพเจ้าวรรณนาแล้ว ตามที่ได้อธิบายมาดังนี้แล. พาหิรนิทานวรรณนา จบ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา มหาวิภังค์ ปฐมภาค เวรัญชกัณฑ์ |