บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
ในอุทุมพริกสูตรนั้น มีการพรรณนาตามลำดับบท ดังต่อไปนี้. บทว่า ปริพฺพาชโก หมายเอาฉันนปริพาชก. บทว่า อุทุมุพริกาย ปริพฺพาชการาเม ได้แก่ ในอารามปริพาชก ในสำนักของนางอุทุมพริกาเทวี. คำว่า สนฺธาโน เป็นชื่อของคฤหบดีนั้น. คฤหบดีผู้นี้มีอานุภาพมาก เป็นยอดบุรุษในจำนวนอุบาสก ๕๐๐ คนผู้แวดล้อมเที่ยวไป เป็นพระอนาคามี (ด้วย). พระผู้มีพระภาคเจ้าได้สรรเสริญเขาในท่ามกลางมหาบริษัทว่า สันธาน องค์ ๖ ประการเป็นไฉน? คือ ด้วยความเลื่อมใสไม่คลอนแคลนในพระ ภิกษุทั้งหลาย สันธานคฤหบดีประกอบด้วยองค์ ๖ ประการเหล่านี้แล จึงชื่อว่ามีความเชื่อมั่นในพระตถาคต ดำรงตนอยู่ในพระสัทธรรม.๑- ____________________________ ๑- องฺ. ฉกฺก. เล่ม ๒๒/ข้อ ๓๙๖ สันธานคฤหบดีนั้นอธิษฐานองค์อุโบสถแต่เช้าตรู่แล้ว ในเวลาเช้าก็ถวายทานแด่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข. เมื่อพวกภิกษุไปวิหารแล้ว เกิดความรำคาญ เพราะเสียงรบกวนของเด็กเล็กและเด็กใหญ่ในบ้าน จึงออกไปด้วยคิดว่า จักฟังธรรมในสำนักพระศาสดา. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ออกจากกรุงราชคฤห์ตอนบ่าย. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิวาทิวสฺเสว ได้แก่ เวลาเลยเที่ยงไป ชื่อว่าเวลาบ่าย. อธิบายว่า สันธานคฤหบดีนั้นได้ออกไปในเวลาบ่าย คือพอเลยเที่ยงไป. บทว่า ปฏิสลฺลีโน ได้แก่ รวบรวมจิตจากอารมณ์มีรูปเป็นต้นนั้นๆ หลีกเร้นอยู่ คือถึงความเป็นผู้มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ด้วยอำนาจแห่งความเสวยความยินดีในฌาน. บทว่า มโนภาวนียานํ คือ ผู้ยังใจให้เจริญ ได้แก่จิตของผู้ระลึกถึง กระทำไว้ในใจ ย่อมเป็นจิตอันปราศจากนิวรณ์ คือจิตฟูขึ้น เจริญขึ้น. บททั้งหลายมีบทว่า อุนฺนาทินิยา เป็นต้น พึงทราบตามนัยโดยพิสดารในโปฏฐปาทสูตรนั่นแล. บทว่า ยาวตา คือ มีจำนวนเท่าใด. บทว่า อยนฺเตสํ อญฺญตโร ความว่า บรรดาสาวกเหล่านั้น สันธานคฤหบดีนี้นับเนื่องอยู่ภายในสาวกเหล่านั้น หรือเป็นสาวกคนหนึ่ง. ได้สดับว่า เหล่าสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เฉพาะคฤหัสถ์ซึ่งเป็นพระอนาคามี มีจำนวน ๕๐๐ คนอาศัยอยู่ในกรุงราชคฤห์. นิโครธปริพาชกกล่าวว่า อยํ เตสํ อญฺญตโร ดังนี้เป็นต้น หมายถึงเหล่าอุบาสก ก็เหตุแห่งความปรารถนาได้กล่าวไว้แล้วในโปฏฐปาทสูตรนั่นแล. บทว่า เอตทโวจ ได้แก่ สันธานคฤหบดีกำลังเดินมาได้กล่าวคำนี้ว่า อญฺญถา โข อิเม เป็นต้น เพราะตนได้สดับถ้อยคำของปริพาชกเหล่านั้นในระหว่างทางนั่นแล. ในบทเหล่านั้นบทว่า อญฺญติตฺถิยา ความว่า ที่ชื่อว่าอัญญเดียรถีย์ เพราะเป็นเดียรถีย์เหล่าอื่น ด้วยการเห็นบ้าง มารยาทบ้าง กิริยาบ้าง อาจาระบ้าง การอยู่บ้าง อิริยา บทว่า สงฺคมฺม สมาคมฺม ได้แก่ ในสถานที่ (พวกปริพาชก) ไปมารวมกันนั่งเป็นกลุ่ม. บทว่า อรญฺเญ วนปฏฺฐานิ ได้แก่ ราวไพรในป่า คือเสนาสนะที่ไกลพ้นจากเขตบ้าน. เสนาสนะที่สงัด คือสถานที่อยู่ไกลห่างจากแดนของมนุษย์. บทว่า อปฺปสทฺทานิ คือ มีเสียงเบาบาง แม้แต่เสียงคนเดินทางซึ่งเดินผ่านไปใกล้ที่อยู่. บทว่า อปฺปนิคฺโฆสานิ คือ มีเสียงเบาๆ โดยไม่มีเสียงกึกก้อง. บทว่า วีชนวาตานิ คือ ปราศจากวาทะของคนผู้สัญจรไปในภายใน. บทว่า มนุสฺสราหเสยฺยากานิ ได้แก่ สมควรคือเหมาะแก่การทำกรรมอันเร้นลับของมนุษย์. บทว่า ปฏิสลฺลานสารุปฺปานิ ได้แก่ เหมาะแก่การอยู่คนเดียว. เพราะฉะนั้น สันธานคฤหบดีจึงคิดว่า โอ พระศาสดาของเราเสพเสนาสนะเห็นปานนี้ จึงประคองอัญชลีไว้เหนือศีรษะแล้ว นั่งเปล่งอุทานนี้. คำว่า เอวํ วุตฺเต ความว่า เมื่อสันธานคฤหบดีเปล่งอุทานอย่างนี้ นิโครธปริพา คำว่า ยคฺเฆ เป็นนิบาต ใช้ในอรรถว่าทักท้วง. บทว่า ชาเนยฺยาสิ แปลว่าควรรู้ ควรเห็น. บทว่า เกน สมโณ โคตโม สลฺลปติ ความว่า พระสมณโคดมย่อมเจรจา พูด กล่าวกับใคร ด้วยเหตุไร. มีคำอธิบายอย่างไร? มีคำอธิบายว่า ผิว่า เหตุแห่งการเจรจาอะไรๆ จะพึงมี หรือ ผิว่า ใครๆ มีความต้องการเจรจา พึงไปสำนักพระสมณโคดม พึงเจรจา แต่ไม่มีเหตุ ใครๆ ก็ไม่ไปหาท่าน. พระสมณโคดมนั้นจะเจรจากับใครเล่า เมื่อไม่ได้เจรจาก็จักบันลือพระสีห บทว่า สากจฺฉํ คือ สนทนาร่วมกัน. บทว่า ปญฺญาเวยฺยตฺติยํ ได้แก่ ความเป็นผู้ฉลาดในญาณโดยอุต บทว่า สุญฺญาคารตา คือ หายไปแล้วในสุญญาคาร. นิโครธปริพาชกแสดงว่า เพราะพระสมณโคดมได้บรรลุพระปัญญาเพียงนิดหน่อยที่โคนโพธิ์ เมื่อพระสมณโคดมพระองค์เดียวนั่งที่สุญ บทว่า อปริสาวจโร ได้แก่ ไม่อาจเข้าสู่ที่ประชุมได้ เพราะไม่กล้า. บทว่า นาลํ สลฺลาปาย คือ ไม่สามารถเจรจาปราศัยได้. บทว่า อนฺตปนฺตาเนว ความว่า พระสมณโคดมกลัวต่อปัญหา ว่าใครๆ พึงถามปัญหากะเรา ดังนี้ จึงเสพที่อันสงัด ณ ภายในอย่างเดียว คือเสนาสนะอันสงัด. บทว่า โคกาณา ได้แก่ แม่โคมีตาบอดข้างเดียว. ได้ยินว่า แม่โคบอดนั้นเที่ยววนเวียนเสพที่อันสงัดภายในเท่านั้น ได้สดับมาว่า แม่โคบอดนั้น แม้มุ่งหน้าไปราวป่า ก็ไม่สามารถไปได้ เพราะเป็นโคตาบอด. ถามว่า เพราะเหตุไร? ตอบว่า เพราะแม่โคบอดนั้นย่อมกลัวต่อใบไม้ กิ่งไม้ หรือหนามกระทบเอา ย่อมไม่สามารถจะไปอยู่เฉพาะหน้าฝูงโคได้. ถามว่า เพราะเหตุใด? ตอบว่า เพราะแม่โคบอดนั้นย่อมกลัวต่อเขาโค หูโคหรือหางกระทบเอา. ศัพท์ว่า อิงฺฆ เป็นนิบาต ใช้ในอรรถว่าทักท้วง. บทว่า สํสาเทยฺยาม ได้แก่ เราพึงทำความเหยียดหยาม คือให้ถึงความกระอักกระอ่วนเท่านั้น ด้วยการถามปัญหาข้อหนึ่ง. บทว่า ตุจฺฉกุมฺภึว นํ ได้แก่ (พึงบีบรัด) พระสมณโคดมนั้น เหมือนบุคคลบีบรัดหม้อเปล่าฉะนั้น. บทว่า โอโรเธยฺยาม คือ พึงบีบรัด. จริงอยู่ หม้อที่เต็มแล้วกลิ้งไปข้างโน้นข้างนี้ บุคคลบีบรัดไม่ได้ ส่วนหม้อที่เปล่า บุคคลจะสามารถพลิกกลับบีบรัดตามความชอบใจได้ ฉันใด นิโครธปริพาชกนี้ย่อมกล่าวว่า เราจักบีบรัดพระสมณโคดม เหมือนกับบีบรัดหม้อที่เปล่าโดยรอบด้าน ด้วยการบีบคั้นด้วยวาทะ เพราะพระองค์มีปัญญาถูกขจัดเสียแล้ว. ปริพาชก เมื่อไม่เห็นวงพระนลาฏสีทองของพระศาสดา จึงแสดงกำลังของตนในที่ลับหลังพระทศพล คำรามเปล่าๆ ปรี้ๆ มีประการต่างๆ เหมือนบุตรคนจัณฑาลเสียดสีขัตติยกุมาร ซึ่งมิได้เจือปนโดยชาติ และเหมือนสุนัขจิ้งจอกเสียดสีพญาไกร แม้อุบาสกก็คิดว่า ปริพาชกผู้นี้ขู่ตะคอกเกินไป พยายามโดยไม่มีประโยชน์ เหมือนเหยียดเท้าไปเพื่อสัมผัสอเวจี เหยียดมือไปเพื่อจับภวัคค ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อสฺโสสิ โข อิมํ กถาสลฺลาปํ ดังนี้. บทว่า สุมาคธาย ความว่า บุรุษคนใดคนหนึ่งนั่งที่ฝั่งสระโบกขรณีชื่อสุมาคธา ได้เห็นหมู่พวกอสูรกำลังเข้าไปยังภพอสูร ทางก้านดอกบัว. อาหารท่านเรียกว่า นิวาปะ ในคำว่า โมรนิวาเป นี้ อธิบายว่า ได้แก่สถานที่ๆ บุคคลให้เหยื่อพร้อมทั้งให้อภัยแก่นกยูง. บทว่า อพฺโภกาเส คือในสถานที่เป็นเนิน. บทว่า อสฺสาสปฺปตฺตา ได้แก่ ได้ประสบความยินดี คือประสบความโสมนัส. บทว่า อชฺฌาสยํ คือ เป็นนิสัยแห่งมรรคชั้นสูง. บทว่า อาทิพฺรหฺมจริยํ ได้แก่ อริยมรรค กล่าวคือ นิโครธปริพาชกได้กล่าวดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระสาวก ตโปชิคุจฺฉาวาทวณฺณนา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยินยอมแบบพระสัพพัญญูว่า เธอจงกล่าวไปเถิด เราจักแสดงธรรมนั้นให้จบให้ถึงที่สุด. บทว่า ทุชฺชานํ โข ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับคำของปริพาชกแล้ว ทรงดำริว่า ปริพาชกนี้ย่อมถามถึงธรรมที่เราแสดงแก่พระสาวกอันเป็นข้อปฏิบัติที่พระสาวกเหล่านั้นพึงบำเพ็ญ หากเราจักกล่าวธรรมนั้นแต่ต้นแก่เขา เขาจักไม่รู้ธรรมแม้ที่เรากล่าวแล้ว ก็ปริพาชกนี้เป็นผู้มีวาทะรังเกียจบาปด้วยความเพียร เอาเถอะ เราจะให้เขาถามปัญหาในวิสัยแห่งวาทะนั้นเท่านั้น แล้วจะแสดงความไม่มีประโยชน์แห่งลัทธิของสมณ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สเก อาจริยเก คือในลัทธิอาจารย์ของตน. บทว่า อธิเชคุจฺเฉ คือ ในการเกลียดบาปด้วยความเพียร. บทว่า กถํ สนฺตา คือ เป็นอย่างไร. บทว่า ตโปชิคุจฺฉา ได้แก่ การเกลียดบาป คือการหน่ายบาปด้วยความเพียร. บทว่า ปริปุณฺ บทว่า อปฺปสทฺเท กตฺวา ได้แก่ ให้ไม่มีเสียงดัง คือให้มีเสียงเบา. ได้สดับว่า ปริพาชกนั้นคิดว่า พระสมณโคดมย่อมจะไม่บอกเพียงปัญหาข้อเดียว แม้การสนทนาปราศัยของพระสมณโคดมนั้นไม่มากนัก ก็ชนเหล่านี้ย่อมคล้อยตามและสรรเสริญพระสมณโคดมตั้งแต่ต้น เอาเถอะ เราจะทำชนเหล่านี้ให้เงียบเสียงพูดเสียเอง. ปริพาชกได้ทำตามนั้นแล้ว. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อปฺปสทฺเท กตฺวา เป็นต้น. ในคำเป็นต้นว่า ตโปชิคุจฺฉวาทา ความว่า เรากล่าวการเกลียดบาปด้วยตบะ ย่อมยึดถือการเกลียดบาปด้วยตบะนั้น โดยความเป็นสาระ ด้วยใจบ้าง ย่อมแนบแน่น การเกลียดบาปด้วยตบะนั้น ประกอบความเพียรในการทรมานตนเอง ซึ่งมีประการต่างๆ แล้วอยู่ด้วยกายบ้าง. อุปกฺกิเลสวณฺณนา บทว่า ตปํ สมาทิยติ ได้แก่ ยึดถือตบะมีความเป็นอเจลกะเป็นต้น คือถืออย่างมั่นคง. บทว่า อตฺตมโน โหติ ความว่า ปริพาชกดีใจว่า มีใครอื่นในตบะนี้เช่นเรา. บทว่า ปริปุณฺณสงฺกปฺโป ได้แก่ มีความดำริสิ้นสุดลงอย่างนี้ว่า เพียงนี้ก็พอ. ก็คำนี้มาด้วยอำนาจแห่งพวกเดียรถีย์ พึงแสดงแม้ด้วยสามารถการเกี่ยวข้องทางศาสนา. จริงอยู่ คนบางคนสมาทานธุดงค์ เขาย่อมยินดีด้วยธุดงค์นั้นว่า คนอื่นใครเล่าจะทรงธุดงค์เช่นเรา ชื่อว่ามีความดำริบริบูรณ์แล้ว. คำว่า ตปสฺสิโน อุปกฺกิเลโส โหติ ได้แก่ นี้คืออุปกิเลสของผู้มีตบะทั้งสอง บทว่า อตฺตานุกฺกํเสติ ได้แก่ ยกตน คือชูตนว่าใครจะเป็นเช่นเรา. บทว่า ปรํ วมฺเภติ ได้แก่ ขู่ คือดูหมิ่นคนอื่นว่าผู้นี้ไม่เหมือนเรา. บทว่า มชฺชติ คือ มัวเมาด้วยความเมาคือมานะ. บทว่า มุจฺฉติ ได้แก่ ลืมสติ คือติดอยู่ได้แก่ข้องอยู่. บทว่า มทมาปชฺชติ ได้แก่ ถึงความมัวเมาว่า สิ่งนี้เท่านั้นเป็นสาระ. ปริพาชกนี้แม้บวชในศาสนาแล้ว เป็นผู้มีธุดงค์บริสุทธิ์ ไม่ใช่มีกัมมัฏฐานบริสุทธิ์. ย่อมยึดถือธุดงค์เท่านั้น โดยความเป็นสาระ เหมือนยึดถือพระอรหัตต์. ในคำว่า ลาภสกฺการสิโลกํ นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ ที่ชื่อว่าลาภ เพราะอรรถว่าได้ปัจจัย ๔. ปัจจัยเหล่านั้นแหละที่ตกแต่งทำไว้อย่างดีได้มา ชื่อว่าสักการะ. การกล่าวสรรเสริญ ชื่อว่าสิโลกะ. บทว่า นิพฺพตฺเตติ ความว่า ลาภเป็นอันมากย่อมเกิดขึ้น เพราะอาศัยความเป็นอเจลกเป็นต้น หรือการทำสมาทานธุดงค์ของเขา เพราะฉะนั้น ปริพาชกจึงกล่าวว่า นิพฺ คำที่เหลือในที่นี้พึงทราบด้วยอำนาจแห่งผู้มีตบะทั้งสองประเภท โดยนัย บทว่า โวทาสมาปชฺชติ ได้แก่ ถึง ๒ ส่วน คือทำให้เป็น ๒ ส่วน. บทว่า ขมติ คือ ชอบใจ. บทว่า น ขมติ คือ ไม่ชอบใจ. บทว่า สาเปกฺโข ปชหติ ได้แก่ ผู้มีความอยากย่อมละ. ถามว่า อย่างไร. ตอบว่า ตอนเช้า เขาบริโภคนม. ทีนั้น ทายกได้นำเนื้อไปให้เขาอีก. เขามี บทว่า คธิโต คือ กำหนัดแล้ว. บทว่า มุจฺฉิโต ได้แก่ หลงลืมแล้ว เพราะความอยากมีกำลัง คือเป็นผู้มีสติหลงลืม. บทว่า อชฺฌาปนฺโน คือ ข้องอยู่ในอามิส. ไม่ทำแม้เพียงการเชื้อเชิญโดยธรรมว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ท่านจักบริโภค กระทำให้เป็นคำใหญ่ๆ. บทว่า อนาทีนวทสฺสาวี คือไม่เห็นแม้เพียงโทษ. การรู้จักประมาณ ชื่อว่านิสสรณะ ในคำว่า อนิสฺสรณปญฺโญนี้. เขาไม่ทำแม้เพียงการพิจารณาและการบริโภค. บทว่า ลาภสกฺการสิโลกนิกฺกนฺติเหตุ คือ เพราะเหตุแห่งความอยากในลาภเป็นต้น. บทว่า สํภกฺเขติ แปลว่า เคี้ยวกิน. บทว่า อสนีวิจกฺกํ คือมีสัณฐานคมเหมือนสายฟ้า. มีคำอธิบายว่า ปลายฟันของบุคคลนี้คมประดุจสายฟ้า มิใช่จะไม่บริโภคพืชอะไรในบรรดาพืชอันเกิดแต่รากเป็นต้น ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ชนทั้งหลายย่อมรู้จักเขาว่าเป็นสมณะ ด้วยการตู่ว่าเป็นสมณะ. เขาย่อมรุกรานคือดูหมิ่นด้วยอาการอย่างนี้. ข้อนี้มาด้วยอำนาจพวกเดียรถีย์. แต่ด้วยอำนาจพระภิกษุ ในข้อนี้มีคำอธิบายประกอบดังต่อไปนี้ว่า ภิกษุนี้ ตนเองได้ทรงธุดงค์ เขาย่อมรุกรานผู้อื่นอย่างนี้ว่า ชนเหล่านี้จะชื่อว่าเป็นสมณะได้อย่างไร แต่กล่าวว่า พวกเราเป็นสมณะ ดังนี้ แม้คุณเพียงธุดงค์ก็ไม่มี คนเหล่านี้เมื่อแสวงหาอาหารมีอุทเทสภัตเป็นต้น ชื่อว่ามักมากด้วยปัจจัยเที่ยวไป. บทว่า ลูขชีวึ ได้แก่ ผู้มีความเป็นอยู่เศร้าหมอง ด้วยความเป็นอเจลกะเป็นต้น หรือด้วยอำนาจธุดงค์. บทว่า อิสฺสามจฺฉริยํ ได้แก่ ความริษยามีการริดรอนสมบัติมีสักการะเป็นต้นของผู้อื่นเป็นลักษณะ และความตระหนี่มีความไม่ยอมทำสักการะเป็นต้นเป็นลักษณะ. บทว่า อาปาถกนิสาที โหติ ได้แก่ นั่งอยู่ในทางเดิน คือในที่ที่เห็นมนุษย์ทั้งหลาย. บุคคลผู้มีตบะยืนอยู่ในสถานที่ชนทั้งหลายจะเห็นได้ ย่อมสอนวัคคุลิวัตร (ข้อปฏิบัติ แม้ภิกษุผู้บวชในศาสนาแล้ว ได้ บทว่า อตฺตานํ ได้แก่ ซึ่งคุณของตน. อ อักษรในคำว่า อทสฺสยมาโน เป็น บทว่า อิทมฺปิ เม ตปสฺมึ ได้แก่ กรรมแม้นี้อยู่ในตบะของเรา. อีกนัยหนึ่ง บทว่า ตปสฺมึ นี้เป็นสัตตมีวิภัตติ ใช้ในอรรถปฐมาวิภัตติ. อธิบายว่า กรรมแม้นี้เป็นตบะของเรา. จริงอยู่ คนมีตบะนั้น ได้ยินว่า นักบวชอเจลกะผู้ทอดทิ้งอาจาระมีอยู่ที่โน้นเป็นต้น ก็พูดว่า นี่เป็นตบะของเรา อเจลกะนั่นเป็นอันเตวาสิกของเราเป็นต้น ได้ฟังว่า ภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุลอยู่ในที่โน้นเป็นต้น ก็พูดว่า นี้เป็นตบะของเรา ภิกษุนั้นเป็นอันเตวาสิกของเรา เป็นต้น. บทว่า กิญฺจิเทว ได้แก่ โทษหรือทิฏฐิอะไรๆ. บทว่า ปฏิจฺฉนฺนํ เสวติ ได้แก่ ย่อมเสพโดยประการที่ชนเหล่าอื่นจะไม่รู้. บทว่า อกฺขมมานํ อาห ขมติ ได้แก่ ย่อมกล่าวถึงสิ่งที่ตนไม่ชอบใจว่า เรา บทว่า อนุญฺเญยฺยํ ได้แก่ พึงทราบ คือพึงอนุโมทนา. บทว่า โกธโน โหติ อุปนาหิ ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยโกธะ มีความขัดเคืองเป็นลักษณะ และด้วยอุปนาหะมีการไม่สละคืนเวรเป็นลักษณะ. บทว่า มกฺขี โหติ ปลาสี ได้แก่ ประกอบด้วยมักขะ มีการลบหลู่คุณคนอื่นเป็นลักษณะ และด้วยปลาสะ มีการตีเสมอเป็นลักษณะ. บทว่า อิสฺสุกี โหติ มจฺฉรี ได้แก่ ประกอบด้วยความริษยาในสักการะของผู้อื่นเป็นต้นเป็นลักษณะ และด้วยความตระหนี่ ๕ อย่าง มีความตระหนี่ในอาวาส ตระกูล ลาภ วรรณะและธรรมเป็นลักษณะ. บทว่า สโฐ โหติ มายาวี ได้แก่ ประกอบด้วยสาเถยยะมีความโอ้อวดเป็นลักษณะ และมายามีการปกปิดกรรมที่ทำแล้วเป็นลักษณะ. บทว่า ถทฺโธ โหติ อติมานี ได้แก่ ประกอบด้วยถัมภะมีความดื้อรั้นซึ่งขาดเมตตาและกรุณาเป็นลักษณะ และอติมานะมีการดูหมิ่นล่วงเกินผู้อื่นเป็นลักษณะ. บทว่า ปาปิจฺโฉ โหติ ได้แก่ ประกอบด้วยความปรารถนาลามก มีการยกย่องและปรารถนาอสัตบุรุษเป็นลักษณะ. บทว่า ปาปิกานํ คือลุอำนาจความอยากที่ลามกเหล่านั้นนั่นแล. บทว่า มิจฺฉาทิฏฺฐิโก คือประกอบด้วยทิฏฐิที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งเป็นไปตามนัยว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผลเป็นต้น. บทว่า อนฺตคฺคาหิกาย ได้แก่ ทิฏฐินั้นนั่นแล ท่านเรียกว่า อนฺตคฺคาหิกา เพราะเขายึดถือความขาดสูญ. อธิบายว่า ผู้ประกอบด้วยอันตัคคาหิกทิฏฐินั้น. พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า สนฺทิฏฺฐิปรามาสี เป็นต้น ดังต่อไปนี้ :- การเห็นด้วยตนเอง ชื่อว่า สนฺทิฏฺฐิ ผู้ใดจับต้องยึดถือสันทิฏฐินั้นนั่นแลเที่ยวไป เหตุนั้น ผู้นั้นชื่อว่า สันทิฏฐิปรามาสี. การตั้งไว้ด้วยดี มั่นคงดี เรียกว่า อาธานะ. ผู้ใดยึดถือไว้อย่างมั่นคง ผู้นั้นชื่อว่า อาธานัคคาหี. ผู้ใดไม่สามารถจะสละการยึดถือมั่นนั้น เหมือนอริฏฐภิกษุ เหตุนั้น ผู้นั้นชื่อว่า ทุปปฏินิสสัคคี. ศัพท์ว่า ยทิเม ตัดเป็น ยทิ อิเม. ปริสุทฺธปปฏิกปฺปตฺตกถาวณฺณนา บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น อตฺตมโน เป็นต้น พึงทราบด้วยอำนาจบทที่ตรงกันข้ามจากที่กล่าวแล้ว. ในวาระบททุกๆ บท พึงประกอบข้อความด้วยอำนาจผู้มีตบะเศร้าหมองและผู้ทรงธุดงค์. บทว่า เอวํ โส ตสฺมึ ฐาเน ปริสุทฺโธ โหติ ความว่า ผู้มีตบะนั้น เป็นผู้บริสุทธิ์ คือไร้อุปกิเลส เพราะมีความพอใจด้วยตบะนั้น ก็หาไม่ เพราะเหตุกล่าวคือความ พึงทราบเนื้อความในวาระทุกๆ บท โดยนัยนี้. บทว่า อทฺธา โข ภนฺเต ความว่า ปริพาชกย่อมรู้ตามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็นอย่างนี้ วาทะที่เกลียดบาปด้วยความเพียรย่อมบริสุทธิ์ โดยส่วนเดียว. อนึ่ง ปริพาชกนั้นเมื่อไม่รู้ยอดและแก่นอื่นจากนี้ จึงกล่าวว่า อคฺคปฺปตฺตา สารปฺปตฺตา จ ดังนี้. ทีนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงปฏิเสธวาทะนั้นเป็นแก่นสารแก่ปริพาชกนั้น จึงตรัสว่า น โข นิโคฺรธ เป็นต้น. บทว่า ปปฺปฏิกมตฺตา โหติ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงว่า การเกลียดบาปด้วยตบะเห็นปานนี้ เป็นเช่นกับสะเก็ดภายนอกพ้นจากแก่น กระพี้ เปลือก ปริสุทฺธตจปฺปตฺตกถาวณฺณนา บทว่า จาตุยามสํวรสํวุโต คือปิดแล้วด้วยความสำรวม ๔ อย่าง. บทว่า น ปาณมติปาเปติ คือ ไม่เบียดเบียนสัตว์. บทว่า น ภาวิตมาสึสติ ความว่า กามคุณ ๕ อย่าง ชื่อว่าเป็นสิ่งที่ปฏิบัติกันมา เพราะกำหนดจดจำไว้ ไม่หวัง คือไม่เสพกามคุณเหล่านั้น. บทว่า อทุญฺจสฺส โหติ ความว่า ข้อที่จะกล่าวในบัดนี้เป็นต้นว่า โส อภิหรติ จึงเป็นลักษณะของเขา. บทว่า ตปสฺสิตาย คือ เพราะความเป็นผู้มีตบะ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โส อภิหรติ ความว่า เขาย่อมรักษาศีลนั้นให้ยิ่ง คือบำเพ็ญให้สูงยิ่งขึ้นไป ได้แก่ไม่ยอมละความเพียรว่า ศีลเราบริบูรณ์แล้ว ตบะเราเริ่มแล้ว พอละ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้. บทว่า โน หีนายาวตฺตติ ความว่า ไม่เวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว คือเพื่อความเป็นคฤหัสถ์ ได้แก่ทำความเพียรเพื่อต้องการบรรลุคุณวิเศษยิ่งกว่าศีล. เขาเมื่อทำได้อย่างนี้ ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด. บทว่า อรญฺญํ เป็นต้น มีพิสดารอยู่แล้วในสามัญญผลสูตร. บทว่า เมตฺตาสหคเตน เป็นต้น ท่านพรรณาไว้ในวิสุทธิมรรค. บทว่า ตจปฺปตฺตา คือถึงเปลือกภายในแต่สะเก็ด. บทว่า เผคฺคุปฺปตฺตา คือถึงความเป็นกระพี้ภายในแต่เปลือก. อธิบายว่า เป็นเช่นกระพี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำว่า เอตฺตาวตา โข นิโคฺรธ ตโปชิคุจฺฉา อุคฺคปฺปตฺตา จ โหติ สารปฺปตฺตา จ นี้ ด้วยอำนาจพวกเดียรถีย์. จริงอยู่ ลาภและสักการะของพวกเดียรถีย์ เป็นเหมือนกับกิ่งไม้และใบไม้. เพียงศีล ๕ เช่นสะเก็ดไม้. เพียงสมาบัติ ๘ เช่นเปลือกไม้. ปุพเพนิวาสญาณและอภิญ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปรียบเทียบศาสนาของพระองค์ด้วยต้นไม้มีผลดกที่กิ่งน้อมลงและแผ่ออกด้วยประการฉะนี้. เพราะพระองค์ฉลาดในการแสดงเทศนา พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงเริ่มแสดงว่า อิติ โข นิโคฺรธ เป็นต้น เพื่อแสดงความแปลกแห่งเทศนาของพระองค์ว่า ศาสนาของเรายิ่งกว่า ประณีตกว่า ความถึงพร้อมด้วยแก่นของท่านนั้น ท่านจักรู้ศาสนานั้นเมื่อไร. บทว่า เต ปริพฺพาชกา ได้แก่ ปริพาชกจำนวน ๓,๐๐๐ คนเหล่านั้นเป็น บทว่า อิโต ภิยฺโย อุตฺตริตรํ ความว่า ปริพาชกเหล่านั้นย่อมกล่าวว่า พวกเรายังไม่รู้ชัดการบรรลุคุณวิเศษอื่นที่ยิ่งไปกว่าการบรรลุทิพพจักขุญาณนี้ แม้ด้วยอำนาจการฟัง. นิโครฺธปชฺฌายนวณฺณนา ลำดับนั้น เขาจึงได้พูดคำนั้นกะนิโครธปริพาชก และแม้สันธานคฤหบดีนั้นก็ได้มีความคิดอื่นอีกว่า ปริพาชกนี้ เมื่อเราไม่พูด ก็จักไม่ขอขมาพระศาสดา และการไม่ขอโทษนั้น จักเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูลเพื่อทุกข์แก่เขา ในอนาคต แต่เมื่อเราพูดแล้ว เขาจักขอขมา การขอขมานั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุขแก่เขาตลอดกาลนาน ดังนี้ ทีนั้น เขาจึงได้กล่าวคำนั้นกะนิโครธปริพาชก. ศัพท์ว่า ปน ในคำว่า อปริสาวจรํ ปน นํ กโรถ นี้เป็นนิบาต. ความว่า ก็พวกท่านจงทำพระองค์ท่านไม่ให้กล้าเสด็จเที่ยวไปในที่ประชุม. บาลีว่า อปริสาวจเรตํ ดังนี้ ก็มี. อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า พวกท่านจงทำพระสมณโคดมนั้นไม่ให้กล้าเที่ยวไปในที่ประชุม หรือจงทำให้เป็นเหมือนแม่โคตาบอดเป็นต้น ตัวใดตัวหนึ่ง. แม้ในคำว่า โคกาณํ นี้ มีอธิบายว่า พวกท่านจงทำพระสมณโคดมให้เป็นเหมือนโคตาบอดเที่ยววนเวียนไป ฉะนั้น. บทว่า ตุณฺหีภูโต คือ เข้าถึงความเป็นผู้นิ่ง. บทว่า มงฺกุภูโต คือ หมดอำนาจ. บทว่า ปตฺตกฺขนฺโธ คือคอตก. บทว่า อโธมุโข คือ ก้มหน้า. บทว่า พุทฺโธ โส ภควา สมฺโพธาย ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้เองแล้ว ทรงแสดงธรรมเพื่อให้สัตว์ทั้งหลายรู้อริยสัจ ๔ ด้วย. บทว่า ทนฺโต คือ ฝึกทางจักษุบ้าง ฯลฯ ฝึกทางใจบ้าง. บทว่า ทมถาย ได้แก่ เพื่อต้องการฝึกสัตว์เหล่าอื่น หาใช่เพื่อวาทะ. บทว่า สนฺโต ได้แก่ ทรงสงบแล้ว เพราะมีราคะสงบระงับ คือทรงสงบ เพราะมีโทสะและโมหะสงบ เพราะมีอกุศลธรรมทั้งปวงและอภิสังขารทั้งปวงสงบ. บทว่า สมถาย คือทรงแสดงธรรมเพื่อให้มหาชนมีราคะเป็นต้นสงบ. บทว่า ติณฺโณ คือ ข้ามพ้นโอฆะ ๔ อย่างได้. บทว่า ตรณาย คือ เพื่อต้องการจะให้มหาชนผ่านพ้นโอฆะ. บทว่า ปรินิพฺพุโต ได้แก่ เป็นผู้ดับแล้วด้วยกิเลสนิพพาน. บทว่า ปรินิพฺพานาย ได้แก่ ทรงแสดงธรรม เพื่อต้องการให้มหาชนดับกิเลสทุกอย่างได้หมด. พฺรหฺมจริยปริโยสานสจฺฉิกิริยาวณฺณนา บทว่า อุชุชาติโก ได้แก่ เว้นจากความคดทางกายเป็นต้น มีความซื่อตรงเป็นสภาพ. บทว่า อหมนุสาสามิ ความว่า เราจะสั่งสอนบุคคลเช่นท่าน และจะแสดงธรรมแก่บุคคลเช่นท่านนั้น. บทว่า สตฺตาหํ คือตลอดเจ็ดวัน. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมุ่งถึงบุคคลผู้มีปัญญาทึบ จึงตรัสคำนี้ทั้งหมด. ก็บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา เป็นคนตรง จักสามารถบรรลุพระอรหัตต์ได้ โดยกาลครู่เดียวเท่านั้น. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงว่า คนผู้โอ้อวด คดโกง เราไม่สามารถสอนได้ดังนี้ ด้วยคำเป็นต้นว่า อสฐํ ดังนี้ จึงเหมือนทรงจับปริพาชกที่เท้า ขว้างไปที่เชิงเขาพระสุเมรุ. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะปริพาชกผู้นี้โอ้อวดเหลือเกิน มีจิตใจคดโกง. แม้เมื่อพระศาสดาตรัสอยู่อย่างนี้ ปริพาชกก็ไม่น้อมใจไปในพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์ ไม่ บทว่า อนฺเตวาสิกมฺยตา ได้แก่ อยากได้อันเตวาสิก คือปรารถนาพวกเราเป็นอันเตวาสิก. บทว่า เอวมาห ได้แก่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำว่า บุรุษผู้รู้ ไม่โอ้อวด จงมา เป็นต้น. บทว่า โยเอว โว อาจริโย ความว่า ผู้ใดตามปกติเป็นอาจารย์ของท่าน. บทว่า อุทฺเทสา โน จาเวตุกาโม ความว่า พระสมณโคดมปรารถนาจะให้เราถือคำสอนของพระองค์ แล้วให้พวกเราเคลื่อนจากอุเทศของพวกเรา. บทว่า โสเยว โว อุทฺเทโส โหตุ ความว่า ตามปกติ อุเทศใดเป็นอุเทศของท่าน อุเทศนั้นก็เป็นอุเทศของท่านนั่นแหละ เราไม่มีความต้องการด้วยอุเทศของท่าน. บทว่า อาชีวา คือจากความเป็นอยู่. บทว่า อกุสลสงฺขาตา คือถึงส่วนว่าอกุศล. บทว่า อกุสลา ธมฺมา ได้แก่ ธรรมคือความเกิดแห่งอกุศลจิต ๑๒ ดวง. อีก บทว่า สทรถา คือประกอบด้วยความกระวนกระวายด้วยกิเลส. บทว่า ชาติชรามรณิยา คือเป็นปัจจัยแห่งชาติ ชราและมรณะ. บทว่า สงฺกิเลสิกา ธมฺมา คือถือความเกิดแห่งอกุศลจิต ๑๒ ดวง. บทว่า โวทานิยา ได้แก่ ธรรม บทว่า ปญฺญาปาริปูรึ คือบริบูรณ์ด้วยมรรคปัญญา. บทว่า เวปุลฺลตฺตญฺจ ได้แก่ ความไพบูลย์ด้วยผลปัญญา. อีกนัยหนึ่ง ทั้งสองบทนี้เป็นไวพจน์ของกันและกัน. ท่านอธิบายไว้ว่า เพราะเหตุนั้น พวกท่านจักทำให้แจ้งมรรคปัญญาและผลปัญญาด้วยปัญญาอันยิ่งของตน ในปัจจุบันนั่นแล เข้าถึงอยู่ ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภปริพาชกทั้งหลาย เมื่อจะทรงแสดงกำลังแห่งพระโอวาทานุสาสนี บทว่า ยถา ตํ มาเรน ได้แก่ พวกปริพาชกเหล่านั้นเป็นผู้นั่งนิ่ง ฯลฯ ไม่มีปฏิภาณ เหมือนถูกมารดลใจ ฉะนั้น. ได้ยินว่า มารคิดว่า พระศาสดาแสดงกำลังพระพุทธเจ้าคุกคามเหลือเกิน แสดงธรรมแก่ปริพาชกเหล่านี้ น่าจะมีการตรัสรู้ธรรมบ้างในบางคราว เอาเถอะ เราจะดลใจ ดังนี้. มารจึงดลจิตของปริพาชกเหล่านั้น. จริงอยู่ จิตที่ยังละวิปลาศไม่ได้ จึงถูกมารกระทำตามความปรารถนา. แม้ปริพาชกเหล่านั้นถูกมารดลใจแล้ว ก็นั่งนิ่งไม่มีปฏิภาณ เหมือนมีอวัยวะทุกส่วนแข็งกระด้าง ฉะนั้น. ลำดับนั้น พระศาสดาทรงรำพึงว่า ปริพาชกเหล่านี้นั่งเงียบเสียงเหลือเกิน มีเหตุอะไรหนอแล ดังนี้จึงได้ทราบว่า พวกปริพาชกถูกมารดลใจ. ก็ถ้าเหตุแห่งการบรรลุมรรคและผลของปริพาชกเหล่านั้นพึงมี พระผู้มีพระภาคเจ้าก็พึงห้ามมาร แล้วแสดงธรรม แต่พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงรู้แล้วว่า เหตุแห่งมรรคผลไม่มีแก่ปริพาชกเหล่านั้น ปริพาชกทั้งหมดนี้เป็นคนเปล่า เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระดำริว่า ปริพาชกทั้งหมดเหล่านี้เป็นโมฆบุรุษ. ในบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ผุฏฺฐา ปาปิมตา ได้แก่ ถูกมารผู้มีบาปดลใจแล้ว. บทว่า ยตฺร หิ นาม แปลว่า ในปริพาชกเหล่าใด. บทว่า อญฺญาณตฺถมฺปิ คือ เพื่อความรู้. บทว่า กึ กริสฺสติ สตฺตาโห ได้แก่ เจ็ดวันที่พระสมณโคดมกำหนดไว้แล้ว จักทำอะไรแก่พวกเราได้. พวกปริพาชกได้กล่าวว่า พระสมณโคดมตรัสว่า นิโครธปริพาชกจักทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งของตนตลอดหนึ่งสัปดาห์ หนึ่งสัปดาห์นั้นจะทำความไม่ผาสุกอะไรแก่พวกเรา เอาเถอะ พวกเราจะประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความรู้ว่า ในภายในหนึ่งสัปดาห์ พวกเราจะสามารถทำให้แจ้งธรรมนั้นได้หรือไม่. อีกนัยหนึ่ง ในข้อนี้มีอธิบายว่า ปริพาชกเหล่านั้นไม่ได้เกิดความคิด เพื่อจะรู้สักครั้งเดียวว่า ในวันหนึ่งพวกเราจักรู้ธรรมของพระองค์เลย ก็หนึ่งสัปดาห์จักทำอะไรแก่ปริพาชกผู้เกียจคร้านเหล่านั้นได้ ปริพาชกเหล่านั้นจักบำเพ็ญตลอดสัปดาห์ได้อย่างไร. บทว่า สีหนาทํ คือบันลือแล้ว บันลือแบบไม่กลัวใคร เป็นการทำลายวาทะผู้อื่น และเป็นการประกาศวาทะของตน. บทว่า ปจฺจุฏฺฐาสิ คือดำรงอยู่แล้ว. บทว่า ตาวเทว แปลว่า ในขณะนั้นนั่นเอง. บทว่า ราชคหํ ปาวิสิ ได้แก่ เสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์นั่นแล. ก็ปริพาชกเหล่านั้นไม่ได้เกิดคุณวิเศษ เพราะสดับพระสูตรนี้ก็จริง ถึงอย่างนั้น จักเป็นปัจจัยเพื่อเป็นวาสนาแก่ปริพาชกเหล่านั้นต่อไป. คำที่เหลือทุกๆ บท ชัดเจนแล้วทั้งนั้น. จบอรรถกถาอุทุมพริกสูตร จบสูตรที่ ๒ ------------------------------------------------------------ .. อรรถกถา ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค อุทุมพริกสูตร จบ. |