![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โลมสกงฺคิโย คือ ได้ยินว่า โลมสกังคิยะนั้นเป็น บทว่า จนฺทโน เทวปุตฺโต ความว่า ได้ยินว่า ในกาลแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปะ อุบาสกชื่อว่าจันทนะ เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก บูชาพระรัตนะทั้งสาม ด้วยปัจจัยสี่ ตายไปเกิดในเทวโลก ถึงอันนับว่า จันทนเทพบุตรโดยชื่อที่มีในชาติก่อน. บทว่า ปณฺฑุกมฺพลสิลายํ ได้แก่ ณ กัมพลศิลาอาสน์สีแดง. ได้ยินว่า สีของกัมพลศิลาอาสน์สีแดงนั้น มีสีเหมือนกองดอกชบา เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่าบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์. ถามว่า ก็แล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับ ณ บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์นั้นในกาลใด. ตอบว่า ในปีที่เจ็ดจากการตรัสรู้ ทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์ ในท่ามกลางแห่งบริษัทประมาณสิบสองโยชน์ ในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ ใกล้กรุงสาวัตถี เสด็จลงประทับนั่ง ณ พุทธาสนะที่ปูไว้แล้วใกล้โคนต้นคัณฑามพะ ทรงถอนมหาชนออกจากทุกข์ใหญ่ ด้วยพระธรรมเทศนา เพราะธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ครั้นทรงทำปาฏิหาริย์แล้ว จะไม่ประทับอยู่ในถิ่นมนุษย์ เพราะฉะนั้น จึงทรงทำให้พ้นจากชนมาเฝ้า เสด็จไปจำพระพรรษา ณ บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ใกล้ต้นปาริฉัตร ในภพดาวดึงส์ ประทับอยู่ในสมัยนั้น. บทว่า ตตฺร ภควา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อประทับอยู่ ณ ภพดาวดึงส์นั้น อันเทวดาหมื่นจักรวาลโดยมาก มาประชุมแวดล้อมแล้ว ทรงแสดงพระอภิธรรมปิฏกแก่พระมารดาให้เป็นกายสักขี ได้ตรัสอุทเทสและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญตามลำดับ เพื่อทรงให้เกิดความสังเวชแก่ทวยเทพที่ไม่อาจเพื่อแทงตลอดซึ่งกถาที่กำหนดรูปและอรูป อันลึกซึ้งละเอียดประกอบด้วยไตรลักษณ์. ณ ที่นั้น เทวบุตรนี้ เมื่อจะเรียน ได้เรียนคาถาเหล่านี้พร้อมกับวิภังค์ แต่เพราะความที่เทวบุตรตั้งอยู่ในความประมาท ถูกอารมณ์อันเป็นทิพย์ทั้งหลายครอบงำ จึงลืมพระสูตรโดยลำดับ ทรงจำได้เพียงคาถาเท่านั้น. ด้วยเหตุนั้น เทวบุตรจึงกล่าวว่า ดูก่อนภิกษุ ข้าพเจ้าทรงจำคาถาราตรีเดียวเจริญอย่างนี้แล. ในบทว่า อุคฺคณฺห ตฺวํ เป็นต้น เป็นผู้นิ่ง นั่งฟัง ชื่อว่าเรียน. เมื่อกระทำการสาธยายด้วยวาจา ชื่อว่าเล่าเรียน. เมื่อบอกแก่บุคคลเหล่าอื่น ชื่อว่าทรงจำ. บทที่เหลือในสูตรนี้ง่ายทั้งนั้นแล. จบอรรถกถาโลมสกังคิยภัทเทกรัตตสูตรที่ ๔ --------------------------------------------------- .. อรรถกถา มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ วิภังควรรค โลมสกังคิยภัทเทกรัตตสูตร จบ. |