![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() อรรถกถาปริสาสูตรที่ ๑ ชื่อว่าปริสทูสนะ เพราะประทุษร้ายบริษัท. ชื่อว่าปริสโสภนะ เพราะยังบริษัทให้งาม. อรรถกถาทิฏฐิสูตรที่ ๒ มิจฉาทิฏฐิ แม้นับเนื่องอยู่ในมโนทุจริต ท่านกล่าวไว้ต่างหากก็เพราะมีโทษมาก ส่วนสัมมาทิฏฐิท่านกล่าวด้วยเป็นปฏิปักษ์ต่อมิจฉาทิฏฐินั้น. อรรถกถาอกตัญญุตาสูตรที่ ๓ บทว่า อกตญฺญุตา อกตเวทิตา ได้แก่ ด้วยความไม่รู้คุณท่านด้วยความไม่ตอบแทนคุณท่าน. แม้ทั้งสองบทนั้น โดยเนื้อความก็อย่างเดียวกันนั้นเอง. แม้ในสุกปักษ์ (ธรรมฝ่ายดี) ก็นัยนี้เหมือนกัน. ปาณาติปาตสูตรที่ ๔ ท่านกล่าวด้วยกรรมกิเลส ๔ และธรรมเป็นปฏิปักษ์ต่อกรรมกิเลสนั้น. ปฐมมัคคสูตรที่ ๕ ท่านกล่าวด้วยมิจฉัตตะ ๔ เบื้องต้นแห่งสุกปักษ์ (สัม ทุติยมัคคสูตรที่ ๖ ท่านกล่าวด้วยมิจฉัตตะ ๔ ที่เหลือ. ปฐมโวหารปถสูตรที่ ๗ ท่านกล่าวอนริยโวหารและอริยโวหาร ในสูตรที่ ๘-๙-๑๐ ท่านกล่าวด้วยอสัทธรรมอันเป็นปฏิปักษ์ต่อสุกกธรรมนั้น. ก็ธรรมเป็นสุกกปักษ์ ท่านกล่าวคละทั้งโลกิยะและโลกุตระในสูตรทั้งปวง. ใน ๙ สูตรท่านกล่าวในมรรคดังนี้ก็จริง ถึงดังนั้นก็ย่อมได้มรรค ๓ และผล ๓. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เป็นปัณณาสก์ ๒. โศภนวรรค จบ. |