![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] [๑๐] [๑๑] [๑๒] ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ๑. เรื่องบุตรของนายโคฆาตก์ [๑๘๒] ข้อความเบื้องต้น นายโคฆาตก์สั่งให้ภรรยาปิ้งเนื้อ วันหนึ่ง เขาขายเนื้อในตอนกลางวันแล้ว ให้ก้อนเนื้อก้อนหนึ่งแก่ภริยา เพื่อปิ้งเพื่อประโยชน์แก่ตน แล้วได้ไปอาบน้ำ. ลำดับนั้น สหายของเขามาสู่เรือนแล้ว พูดกะภริยาว่า "หล่อนจงให้เนื้อที่จะพึงขายแก่ฉันหน่อยหนึ่ง (เพราะ) แขกมาที่เรือนฉัน." ภริยานายโคฆาตก์. เนื้อที่จะพึงขายไม่มี สหายของท่านขายเนื้อแล้ว บัดนี้ไปอาบน้ำ. สหาย. อย่าทำอย่างนี้เลย ถ้าก้อนเนื้อมี ขอจงให้เถิด. ภริยานายโคฆาตก์. เว้นก้อนเนื้อที่ฉันเก็บไว้เพื่อสหายของท่านแล้ว เนื้ออื่นไม่มี. เขาคิดว่า "เนื้ออื่นจากเนื้อที่หญิงนี้เก็บไว้เพื่อประโยชน์แก่สหายของเราไม่มี, อนึ่ง สหายของเรานั้น เว้นจากเนื้อย่อมไม่บริโภค, หญิงนี้จักไม่ให้" จึงถือเอาเนื้อนั้นเองหลีกไป. ฝ่ายนายโคฆาตก์อาบน้ำแล้วกลับมา เมื่อภริยานั้นคดภัตนำเข้าไปพร้อมกับผักต้มเพื่อตน, จึงพูดว่า "เนื้ออยู่ที่ไหน?" ภริยา. นาย เนื้อไม่มี. นายโคฆาตก์. เราให้เนื้อไว้เพื่อต้องการปิ้งแล้วจึงไป มิใช่หรือ? ภริยา. สหายของท่านมาบอกว่า "แขกของฉันมา, หล่อนจงให้เนื้อที่จะพึงขายแก่ฉัน" เมื่อฉันแม้ตอบว่า "เนื้ออื่นจากเนื้อที่ฉันเก็บไว้ เพื่อสหายของท่านไม่มี อนึ่ง สหายของท่านนั้น เว้นจากเนื้อย่อมไม่บริโภค" ก็ถือเอาเนื้อนั้นโดยพลการเองทีเดียวไปแล้ว. นายโคฆาตก์. เราเว้นจากเนื้อ ไม่บริโภคภัต, หล่อนจงนำภัตนั้นไป. ภริยา. ฉันอาจทำอย่างไรได้ ขอจงบริโภคเถิด นาย. นายโคฆาตก์ตัดลิ้นโคมาปิ้งบริโภค ในขณะนั้นเอง ลิ้นของเขาขาดตกลงในถาดสำหรับใส่ภัต. ในขณะนั้นแล เขาได้วิบากที่เห็นสมด้วยกรรม. แม้เขาแลเป็นเหมือนโค มีสายเลือดไหลออกจากปากเข้าไปในเรือน เที่ยวคลาน๑- ร้องไป. ____________________________ ๑- ชนฺนุเกหิ วิจรนฺโต เที่ยวไปอยู่ด้วยเข่า. บุตรนายโคฆาตก์หนี บุตรนายโคฆาตก์นั้นถูกมรณภัยคุกคาม ไหว้มารดาแล้วหนีไป. ก็แลครั้นหนีไปแล้ว ได้ไปยังนครตักกสิลา. แม้นายโคฆาตก์เป็นเหมือนโค เที่ยวร้องไปในท่ามกลางเรือน ทำกาละแล้วเกิดในอเวจี. แม้โคก็ได้ทำกาละแล้ว. ฝ่ายบุตรของนายโคฆาตก์ไปนครตักกสิลา เรียนการงานของนายช่างทอง. ลำดับนั้น อาจารย์ของเขา เมื่อจะไปบ้านสั่งไว้ว่า "เธอพึงทำเครื่องประดับชื่อเห็นปานนี้" แล้วหลีกไป. แม้เขาก็ได้ทำเครื่องประดับเห็นปานนั้นแล้ว. ลำดับนั้น อาจารย์ของเขามาเห็นเครื่องประดับแล้ว ดำริว่า "ชายผู้นี้ไปในที่ใดที่หนึ่ง เป็นผู้สามารถจะเลี้ยงชีพได้" จึงได้ให้ธิดาผู้เจริญวัยของตน (แก่เขา). เขาเจริญด้วยบุตรธิดาแล้ว. ____________________________ ๑- อโนโลเกตฺวา ไม่แลดูแล้ว. ลูกทำบุญให้พ่อ ลำดับนั้น พวกบุตรของเขาปรึกษากันว่า "บิดาของพวกเราแก่" แล้วให้เรียกมายังสำนักของตน พูดว่า "พวกฉันจะถวายทานเพื่อประโยชน์แก่บิดา" แล้วนิมนต์ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน. วันรุ่งขึ้น พวกเขานิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานให้นั่งภายในเรือนแล้ว อังคาสโดยเคารพ ในเวลาเสร็จภัตกิจ กราบทูลพระศาสดาว่า "พระเจ้าข้า พวกข้าพระองค์ ถวายภัตนี้ให้เป็นชีวภัต (ภัตเพื่อบุคคลผู้เป็นอยู่) เพื่อบิดา. ขอพระองค์จงทรงทำอนุโมทนาแก่บิดาของพวกข้าพระองค์เถิด." พระศาสดาทรงแสดงธรรม เมื่อจะทรงทำอนุโมทนา จึงได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
____________________________ ๑- อรรถกถา เป็น เต. ๒- ปติฏฺฐสิ. แก้อรรถ ทูตของพระยายม พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ยมปุริสา. แต่คำนี้ พระองค์ตรัสหมายถึงความตายนั่นเอง. อธิบายว่า ความตายปรากฏแก่ท่านแล้ว. บทว่า อุยฺโยคมุเข ความว่า ก็ท่านเป็นผู้ตั้งอยู่แล้วใกล้ปากแห่งความเสื่อม คือใกล้ปากแห่งความไม่เจริญ. บทว่า ปาเถยฺยํ ความว่า แม้เสบียงทาง คือกุศลของท่านผู้จะไปสู่ปรโลก ก็ยังไม่มี เหมือนเสบียงทางมีข้าวสารเป็นต้น ของบุคคลผู้เตรียมจะไป ยังไม่มีฉะนั้น. สองบทว่า โส กโรหิ ความว่า ท่านนั้นจงทำที่พึ่ง คือกุศลแก่ตน เหมือนบุคคลเมื่อเรืออับปางในสมุทร ทำที่พึ่งกล่าวคือเกาะ (แก่ตน) ฉะนั้น, และท่านเมื่อทำ จงรีบพยายาม คือจงปรารภความเพียรเร็วๆ จงเป็นบัณฑิต ด้วยการทำที่พึ่งกล่าวคือกุศลกรรมแก่ตน. ด้วยว่า ผู้ใดทำกุศลในเวลาที่ตนยังไม่ถึงปากแห่งความตาย สามารถจะทำได้นั่นแล, ผู้นั้นชื่อว่าเป็นบัณฑิต. อธิบายว่า ท่านจงเป็นผู้เช่นนั้น อย่าเป็นอันธพาล. สองบทว่า ทิพฺพํ อริยภูมึ ความว่า ท่านทำความเพียรอยู่อย่างนี้ ชื่อว่าผู้กำจัดมลทินได้แล้ว เพราะความเป็นผู้นำมลทินมีราคะเป็นต้นออกเสียได้, ชื่อว่าไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน คือหมดกิเลส เพราะไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน จักถึงชั้นสุทธาวาสภูมิเป็นที่อยู่แห่งพระอริยบุคคลผู้หมดจดแล้ว ๕ ภูมิ.#- ในกาลจบเทศนา อุบาสกตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว. เทศนาได้มีประโยชน์ แม้แก่หมู่ชนผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล. ____________________________ #- ๕ ภูมิคือ อวิหา ๑ อตัปปา ๑ สุทัสสา ๑ สุทัสสี ๑ อกนิฏฐา ๑ ภูมิทั้ง ๕ นี้อยู่ในพรหมโลกชั้นสุทธาวาส เป็นที่เกิดแห่งพระอนาคามี. พวกบุตรถวายทานอีก พระศาสดา เมื่อจะทรงทำอนุโมทนาแก่เขา ได้ตรัส ๒ พระคาถานี้ว่า :-
แก้อรรถ ท่านมีวัยอันชรานำไปแล้ว คือมีวัยผ่านไปแล้ว ได้แก่มีวัยล่วงไปแล้ว. อธิบายว่า บัดนี้ ท่านล่วงวัยทั้งสามแล้ว ตั้งอยู่ใกล้ปากของความตาย. บาทพระคาถาว่า สมฺปยาโตสิ ยมสฺส สนฺติกํ ความว่า ท่านตระเตรียมจะไปสู่ปากของความตายตั้งอยู่แล้ว. บาทพระคาถาว่า วาโสปิ จ เต นตฺถิ อนฺตรา ความว่า พวกคนเดินทางย่อมพักทำกิจนั้นๆ ในระหว่างทางได้ฉันใด คนไปสู่ปรโลก ย่อมพักอยู่ฉันนั้นไม่ได้. เพราะคนไปสู่ปรโลกไม่อาจเพื่อจะกล่าวคำเป็นต้นว่า "ท่านจงรอสัก ๒-๓ วัน, ข้าพเจ้าจะให้ทานก่อน จะฟังธรรมก่อน" ก็บุคคลเคลื่อนจากโลกนี้แล้ว ย่อมเกิดในปรโลกทีเดียว, คำนั่น พระศาสดาตรัสหมายเอาเนื้อความนี้. บทว่า ปเถยฺยํ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในหนหลังแล้วก็จริงแล ถึงอย่างนั้น พระศาสดาทรงถือเอาในพระคาถาแม้นี้ ก็เพื่อทรงทำให้มั่นบ่อยๆ แก่อุบาสก. แม้พยาธิและมรณะ ก็เป็นอันทรงถือเอาในบทว่า ชาติชรํ นี้เหมือนกัน. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนาคามิมรรค ด้วยพระคาถาในหนหลัง, ตรัสอรหัตมรรคในพระคาถานี้. แม้เมื่อเป็นเช่นนั้นอุบาสก เมื่อพระศาสดา แม้ทรงแสดงธรรมด้วยสามารถแห่งมรรคเบื้องบน ก็บรรลุโสดาปัตติผลเบื้องต่ำ แล้วจึงบรรลุอนาคามิผลในเวลาจบอนุโมทนานี้ ตามกำลังอุปนิสัยของตน เหมือน เมื่อพระราชาทรงปั้นพระกระยาหารขนาดเท่าพระโอษฐ์ของพระองค์ แล้วทรงนำเข้าไปแก่พระโอรส, พระกุมารทรงรับโดยประมาณพระโอษฐ์ของพระกุมารเท่านั้นฉะนั้น. พระธรรมเทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่บริษัทที่เหลือ ดังนี้แล. เรื่องบุตรของนายโคฆาตก์ จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท มลวรรคที่ ๑๘ |