บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] [๑๐] [๑๑] [๑๒] หน้าต่างที่ ๘ / ๑๒. ข้อความเบื้องต้น ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ททาติ เว ยถาสทฺธํ" เป็นต้น. พระติสสะนินทาชนอื่นแต่ชมเชยญาติของตน แต่กล่าวปรารภพวกญาติของตนเป็นต้นว่า "น่าชมเชยเรือนของพวกญาติของเรา เป็นโรงเลี้ยงของภิกษุทั้งหลาย ผู้มาแล้วจากทิศทั้งสี่" ดังนี้แล้ว ย่อมยังคำสรรเสริญให้เป็นไป. ____________________________ ๑- หาทานเสมอเหมือนมิได้. พวกภิกษุสอบสวนฐานะของพระติสสะ ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายเห็นเธอผู้ (เที่ยว) ติเตียนทานของมนุษย์ทั้งหลายอยู่อย่างนั้น คิดกันว่า "พวกเราจักสอบสวนภิกษุนั้น" จึงถามว่า "ผู้มีอายุ พวกญาติ ภิกษุหนุ่มเหล่านั้นไปในบ้านนั้นแล้ว อันชนชาวบ้านนิมนต์ให้นั่งที่โรงฉันแล้วกระทำสักการะ จึงถามว่า "เด็กหนุ่มชื่อติสสะออกจากบ้านนี้ไปบวชแล้ว มีอยู่หรือ? ชนเหล่าไหนเป็นญาติของติสสะนั้น." มนุษย์ทั้งหลาย (ต่าง) คิดว่า "ในบ้านนี้ เด็กผู้ออกจากเรือนแห่งตระกูลไปบวชแล้ว ไม่มี, ภิกษุเหล่านี้พูดถึงใครหนอ?" แล้วเรียนว่า "ท่าน จับโกหกได้ แม้ภิกษุทั้งหลายก็กราบทูล (เรื่องนั้น) แด่พระตถาคต. บุรพกรรมของพระติสสะ อันภิกษุทั้งหลายทูลวิงวอนแล้ว ทรงนำอดีตนิทานมาแล้ว ทรงยังกฏาหกชาดก๑- นี้ให้พิสดารว่า :- นายกฏาหกนั้นไปสู่ชนบทอื่น จึงพูดอวดซึ่งทรัพย์แม้มาก, นายมาตามแล้ว พึงประทุษร้าย, กฏาหก ท่านจงบริโภค โภคะทั้งหลายเถิด. ดังนี้แล้ว ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลใดเมื่อชนเหล่าอื่นให้ซึ่งวัตถุน้อยก็ตาม มากก็ตาม เศร้าหมองก็ตาม ประณีตก็ตาม หรือให้วัตถุแก่ชนเหล่าอื่น (แต่) ไม่ให้แก่ตน ย่อมเป็นผู้เก้อเขิน; ฌานก็ดี วิปัสสนาก็ดี มรรคและผลก็ดี ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่บุคคลนั้น" ____________________________ ๑- ขุ. ชา. เล่ม ๒๗/ข้อ ๑๒๕; อรรถกถา ขุ. ชา. เล่ม ๒๗/ข้อ ๑๒๕ ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงธรรม ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
แก้อรรถ บทว่า ยถาปสาทนํ ความว่า ก็บรรดาภิกษุผู้เป็นเถระและภิกษุใหม่เป็นต้น ความเลื่อมใสในภิกษุใดๆ ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้น, เมื่อถวาย (ทาน) แก่ภิกษุนั้น ชื่อว่าย่อมถวายตามความเลื่อมใส คือตามสมควรแก่ความเลื่อมใสของตนนั่นแล. บทว่า ตตฺถ เป็นต้น ความว่า ย่อมถึงความเป็นผู้เก้อเขินในเพราะทานของชนอื่นนั้นว่า "เราได้วัตถุเล็กน้อย เราได้ของเศร้าหมอง." บทว่า สมาธึ เป็นต้น ความว่า บุคคลนั้นย่อมไม่บรรลุสมาธิด้วยสามารถแห่งอุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ หรือด้วยสามารถแห่งมรรคและผล ในกลางวันหรือในกลางคืน. สองบทว่า ยสฺส เจตํ ความว่า อกุศลกรรมนั่น กล่าวคือความเป็นผู้เก้อเขินในฐานะเหล่านี้ อันบุคคลใดตัดขาดแล้ว ถอนขึ้น ทำให้มีรากขาดแล้ว ด้วยอรหัตมรรคญาณ. บุคคลนั้นย่อมบรรลุสมาธิ มีประการดังกล่าวแล้ว. ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล. เรื่องภิกษุหนุ่มชื่อติสสะ จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท มลวรรคที่ ๑๘ |