บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
อรรถกถาอธิมุตตเถรคาถาที่ ๑ เรื่องนี้มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร? แม้พระเถระนี้ก็ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าแต่ปางก่อน สั่งสมบุญไว้ในภพนั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าอัตถทัสสี บังเกิดในตระกูลที่มั่งคั่งด้วยทรัพย์สมบัติ รู้เดียงสาแล้ว เมื่อพระศาสดาปรินิพพานไป ได้อุปัฏฐากภิกษุสงฆ์ ยังมหาทานให้เป็นไปแล้ว. ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในท้องของน้องสาวท่านพระสังกิจจเถระ ได้มีชื่อว่าอธิมุตตะ. ท่านเจริญวัยแล้ว ได้บวชในสำนักของพระเถระผู้เป็นลุง บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน ทั้งๆ ที่ดำรงอยู่ในภูมิของสามเณรก็ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า๑- เมื่อพระโลกนาถนามว่าอัตถทัสสี ผู้เป็นอุดมบุคคล เสด็จนิพพานแล้ว เรามีจิตเลื่อมใส บำรุงภิกษุสงฆ์ เรานิมนต์ภิกษุสงฆ์ผู้ซื่อตรง มีจิตตั้งมั่น แล้ว ในกัปที่ ๑๑๘ เราได้ให้ทานใดไว้ในกาลนั้น ด้วยผลแห่งทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายอ้อย. คุณวิเศษเหล่านี้คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราได้ทำให้แจ้งแล้ว พระ ____________________________ ๑- ขุ. อ. เล่ม ๓๒/ข้อ ๓๘ ก็ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว ให้กาลเวลาล่วงไปด้วยความสุขในสมาบัติ มีความประสงค์จะอุปสมบท คิดว่าจะบอกลามารดา จึงไปหามารดา ในระหว่างทางได้พบโจร ๕๐๐ คนผู้เที่ยวหาเนื้อเพื่อจะทำพลีกรรมแก่เทวดา. ฝ่ายพวกโจรได้จับตัวท่านด้วยหวังว่า จักทำเป็นพลีแก่เทวดา. ท่านอธิมุตตะนั้นแม้จะถูกพวกโจรจับก็ไม่กลัว ไม่หวาดหวั่น ได้มีสี เมื่อก่อน เราได้ฆ่าสัตว์เหล่าใดเพื่อบูชายัญ หรือ เพื่อปล้นทรัพย์ สัตว์เหล่านั้นหมดอำนาจ เกิดความกลัว ตัวสั่นและพร่ำเพ้ออยู่ แต่ความกลัวมิได้มีแก่ท่านเลย ซ้ำยังมีสีหน้าผ่องใสยิ่งนัก เมื่อภัยใหญ่เห็นปานนี้ปรากฏ แล้ว เหตุไรท่านจึงไม่คร่ำครวญ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยญฺญตฺถํ ได้แก่ เพื่อบูชา หรือเพื่อกระทำพลีกรรมแก่เทวดาทั้งหลาย. วา ศัพท์ เป็นอรรถวิกัปปะ กำหนดหมายเอา. บทว่า ธนตฺถํ แปลว่า เพื่อปล้นทรัพย์สมบัติ. บทว่า เย หนาม มยํ ปุเร ความว่า เมื่อก่อนพวกเราได้ฆ่าสัตว์เหล่าใด. จริงอยู่ บทว่า หนาม นี้ เป็นคำบอกปัจจุบันกาล ใช้ในอรรถเป็นอดีตกาล. บทว่า อวเส ได้แก่ กระทำให้หมดอำนาจ คือไม่ให้เสรีภาพ. บทว่า ตํ ได้แก่ เตสํ คือแก่สัตว์เหล่านั้น. บางอาจารย์กล่าวว่า อวเสสํ หมดสิ้น ดังนี้ก็มี. (ความแห่งบาลีนั้นว่า) แก่สัตว์ทั้งหมดเว้นท่านไว้ผู้หนึ่ง ในบรรดาสัตว์ที่พวกเราจับมา. อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า ภยํ โหติ ความว่า ย่อมมีความกลัวแต่ความตาย อันเป็นเหตุให้สัตว์เหล่านั้นตัวสั่น บ่นเพ้อ คือตัวสั่นเพราะจิตสะดุ้งกลัว บ่น เพ้อพูดคำมีอาทิว่า ข้าแต่นาย พวกฉันจักให้สิ่งนี้และสิ่งนี้แก่ท่านทั้งหลาย พวกฉันจักยอมเป็นทาสของท่านทั้งหลาย. บทว่า ตสฺส เต ความว่า แก่ท่านผู้ใด อันเราทั้งหลายประสงค์จะปลงชีวิตเพื่อทำพลีกรรมแก่เทวดา เงื้อดาบคุกคามอยู่นั้น. บทว่า ภีตตฺตํ แปลว่า ความเป็นคนกลัว. อธิบายว่า ความกลัว. บทว่า ภิยฺโย วณฺโณ ปสีทติ ความว่า สีหน้าของท่านย่อมผ่องใสแม้ยิ่งกว่าสีตามปกติ. ได้ยินว่า ในคราวนั้น พระเถระเกิดความปิติโสมนัสเป็นอย่างยิ่งว่า ถ้าพวกโจรเหล่านี้จักฆ่าเรา. เราก็จักปรินิพพานโดยหมดเชื้อในบัดนี้แหละ ภาระคือทุกข์จักปราศจากไป. บทว่า เอวรูโป มหพฺภเย ความว่า เมื่อปรากฏมรณภัยอันใหญ่หลวงเช่นนี้. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า เอวรูเป มหพฺภเย นี้เป็นสัตตมีวิภัตติ ใช้ในอรรถว่า เหตุบัดนี้ พระเถระเมื่อจะแสดงธรรมโดยมุ่งให้คำตอบแก่หัวหน้าโจร จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ความว่า ดูก่อนนายโจร ทุกข์ทางใจย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ห่วงใย ในชีวิต ความกลัวทั้งปวง อันเราผู้สิ้นสังโยชน์ล่วงพ้นได้ แล้ว เมื่อตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพสิ้นไปแล้ว ความกลัวตาย ในปัจจุบัน มิได้มีด้วยประการใดประการหนึ่งเลย ดุจบุรุษ ไม่กลัวความหนัก เพราะวางภาระแล้วฉะนั้น พรหมจรรย์เราประพฤติดีแล้ว แม้ธรรมเราก็อบรมดี แล้ว เราไม่มีความกลัวตาย เหมือนบุคคลไม่กลัวโรค เพราะ โรคสิ้นไปแล้วฉะนั้น พรหมจรรย์เราประพฤติดีแล้ว แม้มรรคเราก็อบรมดี แล้ว ภพทั้งหลายอันไม่น่ายินดี เราได้เห็นแล้ว เหมือนคน ดื่มยาพิษแล้วบ้วนทิ้งฉะนั้น บุคคลผู้ถึงฝั่งแห่งภพ ไม่มีความถือมั่น ทำกิจเสร็จ แล้ว หมดอาสวะ ย่อมยินดี เพราะเหตุความสิ้นอายุ เหมือน บุคคลพ้นจากการถูกประหารฉะนั้น บุคคลผู้บรรลุธรรมอันสูงสุดแล้ว ไม่มีความต้องการ อะไรในโลกทั้งปวง ย่อมไม่เศร้าโศกในเวลาตาย ดุจบุคคล ออกจากเรือนที่ถูกไฟไหม้ฉะนั้น สิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งมีอยู่ในโลกนี้ก็ดี ภพที่สัตว์ได้อยู่ใน โลกนี้ก็ดี พระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณใหญ่ได้ตรัสไว้ว่า สิ่งทั้งหมดนี้ไม่เป็นอิสระ ผู้ใดรู้แจ้งธรรมข้อนั้น เหมือนดัง ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ผู้นั้นย่อมไม่ยึดถือภพไรๆ ดัง บุคคลไม่จับก้อนเหล็กแดงอันร้อนโชนฉะนั้น. เราไม่มีความคิดว่าได้มีมาแล้ว จักมีต่อไป สังขารทั้ง หลายจักปราศจากไป จะคร่ำครวญไปทำไมใน เพราะสังขาร เหล่านั้นเล่า. ดูก่อนนายโจร ความกลัวย่อมไม่มีแก่ผู้พิจารณาเห็น ตามความเป็นจริง ซึ่งความเกิดขึ้นแห่งธรรมอันบริสุทธิ์และ ความสืบต่อสังขารอันบริสุทธิ์. เมื่อใดบุคคลพิจารณาเห็น โลกเสมอด้วยหญ้าและไม้ด้วยปัญญา เมื่อนั้นบุคคลนั้นย่อม ไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา ย่อมไม่เศร้าโศกว่า ของเราไม่มี. เรารำคาญด้วยสรีระ เราไม่ต้องการภพ ร่างกายนี้จัก แตกไป และจักไม่มีร่างกายอื่น ถ้าท่านทั้งหลายจะทำกิจใด ด้วยร่างกายของเรา ก็จงทำกิจนั้นเถิด. ความขัดเคืองและความรักใคร่ในร่างกายนั้น จักไม่มี แก่เรา เพราะเหตุที่ท่านทั้งหลายทำกิจ ตามปรารถนาด้วย ร่างกายของเรานั้น. พระสังคีติกาจารย์ได้กล่าวคาถานี้ไว้ว่า โจรทั้งหลายได้ฟังคำนั้นของท่านอันน่าอัศจรรย์ ทำให้ขนลุกชูชัน ดังนั้นแล้ว จึงพากันวางศัสตราวุธแล้ว กล่าวคำนี้. เบื้องหน้าแต่นี้ไป ๓ คาถาเป็นคาถาถามพวกโจร และคาถาตอบของพระเถระ พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายได้กล่าวเป็นคาถาไว้ดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ความไม่เศร้าโศกที่ท่านได้นี้ เพราะท่านได้ทำกรรมอะไรไว้ หรือใครเป็นอาจารย์ของ ท่าน หรือเพราะอาศัยคำสั่งสอนของใคร. พระศาสดาผู้เป็นสัพพัญญูรู้เห็นธรรมทั้งปวง ชนะ หมู่มาร มีพระกรุณาใหญ่ ผู้รักษาพยาบาลชาวโลกทั้ง ปวง เป็นอาจารย์ของเรา ธรรมเครื่องให้ถึงความสิ้น อาสวะอันยอดเยี่ยมนี้ พระองค์ทรงแสดงไว้แล้ว ความ ไม่เศร้าโศก เราได้เพราะอาศัยคำสั่งสอนของพระองค์. พวกโจรฟังถ้อยคำอันเป็นสุภาษิตของพระเถระ ผู้เป็นฤาษีแล้ว พากันวางศัสตราและอาวุธ บางพวกงด เว้นจากโจรกรรม บางพวกก็ขอบรรพชา โจรเหล่านั้น ครั้นได้บรรพชาในศาสนาของพระ สุคตแล้ว ได้เจริญโพชฌงค์และพลธรรม เป็นบัณฑิต มีจิตเฟื่องฟู เบิกบาน มีอินทรีย์อันอบรมดีแล้ว ได้บรรลุ สันตบท คือพระนิพพานอันหาปัจจัยปรุงแต่งมิได้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นตฺถิ เจตสิกํ ทุกฺขํ อนเปกฺขสฺส คามณิ ความว่า ดูก่อนนายโจร ทุกข์ทางใจคือความโทมนัส ดุจน้ำเหลืองมีโลหิตเป็นสภาวะ ย่อมไม่มีแก่คนเช่นเรา ชื่อว่าผู้ไม่มีความห่วงใย เพราะไม่มีความห่วงใยคือตัณหา. พระเถระกล่าวถึงความไม่มีความกลัวโดยอ้างถึงความไม่มีโทมนัส ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ความกลัวทั้งปวงเราล่วงพ้นได้แล้ว บทว่า อติกฺกนฺตา ภยา สพฺเพ ความว่า มหาภัย ๒๕ ประการและภัยอื่นแม้ทั้งหมด พระอรหันต์ผู้สิ้นสังโยชน์ก้าวล่วงแล้ว คือล่วงพ้นแล้วเด็ดขาด. อธิบายว่า ไปปราศแล้ว. บทว่า ทิฏฺเฐ ธมฺเม ยถาตเถ ความว่า ธรรมคือสัจจะทั้ง ๔ เราเห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันสัมปยุตด้วยมรรค โดยการกำหนดรู้การละ การทำให้แจ้งและการอบรม. บทว่า มรเณ ได้แก่ เพราะความตายเป็นเหตุ. บทว่า ภารนิกฺเขปเน ยถา ความว่า บุรุษไรๆ ปลดเปลื้องภาระหนักมากที่เทินไว้บนศีรษะ ย่อมไม่กลัว เพราะปลงคือวางภาระนั้นเสียฉันใด ข้ออุปไมยนี้ก็ฉันนั้น. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า๑- เบญจขันธ์เป็นภาระหนัก ก็บุคคลเป็นผู้นำภาระไป การยึดถือเอาภาระไว้เป็นทุกข์ในโลก การปลงภาระเสีย ได้เป็นสุข ดังนี้. ____________________________ ๑- สํ. ขนฺธ. เล่ม ๑๗/ข้อ ๕๓ ภารสุตฺต บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุจิณฺณํ ได้แก่ ประพฤติดีอีกแล้ว. บทว่า พฺรหฺมจริยํ ได้แก่ ศาสนพรหมจรรย์อันสงเคราะห์ในสิกขา ๓ เพราะเหตุนั้นแหละ แม้มรรคเราก็อบรมดีแล้ว คือ แม้อริย บทว่า โรคานมิว สงฺขเย ความว่า คนเช่นเราย่อมไม่มีความกลัวตายอันเป็นที่สิ้นโรคคือขันธ์ เหมือนคนถูกโรคมากหลายครอบงำ กระสับกระส่าย เมื่อโรคทั้งหลายหายไป ย่อมมีแต่ปิติและโสมนัสเท่านั้น. บทว่า นิรสฺสาทา ภวา ทิฏฺฐา ความว่า เราเห็นภพทั้ง ๓ ถูก บทว่า วิสํ ปิตฺวาว ฉฑฺฑิตํ ความว่า เราย่อมไม่กลัวความตาย เหมือนคนดื่มยาพิษด้วยความพลั้งเผลอแล้วทิ้งไป ด้วยประโยค (คือการกระทำ) เช่นนั้น. บทว่า มุตฺโต อาฆาตนา ยถา ความว่า บุคคลถูกพวกโจรนำไปยังที่ฆ่าเพื่อจะฆ่า รอดพ้นมาจากที่นั้นได้ด้วยอุบายบางอย่าง ย่อมร่าเริงยินดีฉันใด บุคคลผู้ชื่อว่าถึงฝั่ง เพราะได้พระนิพพานอันเป็นฝั่งแห่งสงสารก็ฉันนั้น เป็นผู้ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทานทั้ง ๔ ชื่อว่าผู้กระทำกิจเสร็จแล้ว เพราะทำกิจ ๑๖ ประการมีปริญญากิจเป็นต้นเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะด้วยกามาสวะเป็นต้น เพราะความสิ้นอายุ คือเพราะเหตุสิ้นอายุ จึงเป็นผู้ยินดี คือเป็นผู้มีความโสมนัส. บทว่า อุตฺตมํ แปลว่า ประเสริฐสุด. บทว่า ธมฺมตํ ได้แก่ สภาวะแห่งธรรม คือความเป็นผู้คงที่ในอิฏฐารมณ์เป็นต้น มีความสำเร็จเป็นเหตุ ในเมื่อได้สำเร็จพระอรหัต. บทว่า สพฺพโลเก ได้แก่ แม้ในโลกทั้งปวง คือในโลกแม้ที่ประกอบไปด้วยความเป็นผู้มีอายุยืน และความเป็นผู้พร้อมมูลด้วยความสุข เป็นต้น. บทว่า อนตฺถิโก ได้แก่ เป็นผู้ไม่ห่วงใย. บทว่า อาทิตฺตาว ฆรา มุตฺโต ความว่า บุคคลไรๆ ออกจากเรือนที่ถูกไฟไหม้รอบด้าน กำลังลุกโชติช่วง จากนั้นย่อมไม่เศร้าโศก เพราะออกไปได้ฉันใด ท่านผู้มีอาสวะสิ้นแล้วย่อมไม่เศร้าโศก เพราะการตายเป็นเหตุก็ฉันนั้น. บทว่า ยทตฺถํ สงฺคตํ กิญฺจิ ความว่า ความเกี่ยวข้องอย่างใดอย่างหนึ่ง คือการสมาคมกัน การประชุมร่วมกันกับสัตว์หรือสังขารทั้งหลายมีอยู่ คือหาได้อยู่ในโลกนี้. บาลีว่า สงฺขตํ ดังนี้ก็มี, ความแห่งบาลีนั้นว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งอันปัจจัยอาศัยกันเกิดขึ้นสร้างไว้ คืออาศัยกันเกิดขึ้น. บทว่า ภโววา ยตฺถ ลพฺภติ ความว่า ย่อมได้อุปบัติภพใด ในหมู่สัตว์ใด. บทว่า สพฺพํ อนิสฺสรํ เอตํ ความว่า สิ่งทั้งหมดนั้นเว้นจากความเป็นอิสระ คือใครๆ ไม่อาจแผ่ความเป็นใหญ่ไปในโลกนี้ว่า จงเป็นอย่างนั้น. บทว่า อิติ วุตฺตํ มเหสินา ความว่า พระสัมมาสัม บทว่า น คณฺหาติ ภวํ กิญฺจิ ความว่า พระอริยสาวกใดรู้ชัดภพทั้ง ๓ นั้นโดยประการที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงแสดงไว้โดยนัยมีอาทิว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ดังนี้ ด้วยมรรคปัญญาอันประกอบด้วยวิปัสสนาปัญญา พระ อธิบายว่า ไม่กระทำความอยากในภพนั้น เหมือนบุรุษไรๆ ผู้ต้องการความสุข ย่อมไม่เอามือจับก้อนเหล็กที่ร้อนโชนอยู่ตลอดทั้งวันฉะนั้น. บทว่า น เม โหติ อโหสึ ความว่า ความเป็นไปแห่งจิตของเราย่อมไม่มี ด้วยอำนาจความเห็นว่าเป็นตัวตนว่า ในอดีตกาลอันนาน เราได้เป็นผู้เช่นนี้ ดังนี้ เพราะเราถอนทิฏฐิเสียหมดสิ้นแล้ว และเพราะเราเห็นสภาพแห่งธรรมได้ถ่องแท้แล้ว. บทว่า ภวิสฺสนฺติ น โหติ เม ความว่า เพราะเหตุนั่นแล เราย่อมไม่มีแม้ความคิดอย่างนี้ว่า ในอนาคตกาลอันนาน เราจักเป็น คือพึงเป็นผู้เช่นนี้ คือเป็นอย่างไรหนอแล. บทว่า สงฺขารา วิคมิสฺสนฺติ ความว่า แต่เรามีความคิดอย่างนี้ว่า สังขารทั้งหลายแลเป็นไปตามปัจจัย, อะไรจะเป็นตนหรือสิ่งที่มีอยู่ในตนก็ตาม ย่อมไม่มีในสังขารนี้ และสังขารเหล่านั้นแลจักปราศจากไป คือพินาศไปได้ จักแตกไปทุกๆ ขณะ. บทว่า ตตฺถ กา ปริเทวนา ความว่า เมื่อเราเห็นอยู่อย่างนี้ ชื่อว่าความร่ำไรอะไรเล่าจักมีในสังขารนั้น. บทว่า สุทฺธํ ได้แก่ ล้วนไม่เจือปนด้วยสาระในตน. บทว่า ธมฺมสมุปฺปาทํ ได้แก่ การเกิดขึ้นแห่งปัจจัยและธรรมที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น คือความดำเนินไปเพียงสักว่าธรรมมีสังขารเป็นต้น เพราะปัจจัยมีอวิชชาเป็นต้น. บทว่า สงฺขารสนฺตตึ ได้แก่ ความเกี่ยวเนื่องกันแห่งสังขารมีประเภทแห่งกิเลสกรรมและวิบาก. บทว่า ปสฺสนฺตสฺส ยถาภูตํ ได้แก่ ผู้รู้ตามความเป็นจริง ด้วยมรรคปัญญา พร้อมกับวิปัสสนาปัญญา. บทว่า ติณกฏฺฐสมํ โลกํ ความว่า เมื่อใครๆ ถือเอาหญ้าและไม้ที่เขาไม่หวงแหนในป่า คนอื่นย่อมไม่มีความคิดว่า ผู้นี้ถือเอาสิ่งของของเราฉันใด บุคคลนั้นก็ฉันนั้น ในกาลใด ย่อมเห็นด้วยปัญญาซึ่งสังขารโลกอันเสมอด้วยหญ้าและไม้ เพราะความเป็นของไม่มีเจ้าของ ในกาลนั้น บุคคลนั้นเมื่อไม่รู้คือไม่ประสบ ไม่ได้คือไม่กระทำความเป็นของเราในสังขารโลกนั้น. บทว่า นตฺถิ เม ความว่า ย่อมไม่เศร้าโศกว่า นั้นเป็นเราหนอ สิ่งนั้นไม่มีแก่เรา. บทว่า อุกฺกณฺฐามิ สรีเรน ความว่า เรารำคาญกายนี้อันไม่มีสาระ บรรเทาได้ยากเป็นทุกข์อันรู้อะไรไม่ได้ มีสภาพไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น น่าเกลียดและปฏิกูล คือเราเบื่อหน่ายกายนี้ดำรงอยู่อย่างนี้. บทว่า ภเวนมฺหิ อนตฺถิโก ความว่า เราไม่ต้องการภพแม้ทุกอย่าง คือเราไม่ปรารถนาภพไรๆ. บทว่า โสยํ ภิชฺชิสฺสติ กาโย ความว่า บัดนี้ กายของเรานี้จักแตกด้วยประโยค คือการกระทำของท่าน หรือจักแตกไปในที่อื่นโดยประการอื่น. บทว่า อญฺโญ จ น ภวิสฺสติ ความว่า กายอื่นจักไม่มีแก่เราต่อไป เพราะไม่มีภพใหม่. บทว่า ยํ โว กิจฺจํ สรีเรน ความว่า ถ้าท่านทั้งหลายมีประโยชน์ใดด้วยสรีระนี้ จงทำประโยชน์นั้นตามที่ท่านทั้งหลายปรารถนา. บทว่า น เม ตปฺปจฺจยา ความว่า มีสรีระนั้นเป็นนิมิต คือมีการกระทำกิจตามที่พวกท่านปรารถนาด้วยสรีระนี้เป็นเหตุ. บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในโจรเหล่านั้น ทั้งผู้ที่กระทำและผู้ไม่ได้กระทำ. บทว่า โทโส เปมญฺจ เหหิติ อธิบายว่า ความขัดเคืองและความยินดีโดยลำดับจักไม่มี เพราะเราละความอาลัยในภพของตนเสียโดยประการทั้งปวงแล้ว. แม้เมื่อไม่มีความขัดเคืองและความรักใคร่ในคนอื่น เพราะมีคนอื่นเป็นเหตุ ก็เพราะพวกท่านทำกิจตามปรารถนาด้วยร่างกายของเรานั้นเป็นเหตุ ท่านจึงกล่าวคำว่า ตตฺถ ในโจรเหล่านั้นด้วยอำนาจตามที่ได้บรรลุ (ธรรม). บทว่า ตสฺส ได้แก่ ของพระอธิมุตตเถระ. บทว่า ตํ วจนํ ความว่า ได้ฟังคำมีอาทิว่า ทุกข์ทางใจย่อมไม่มี อันแสดงถึงความไม่กลัวตาย ต่อแต่นั้นแหละ เป็นเหตุให้ขนลุกชูชันอันไม่เคยเป็น. บทว่า มาณวา ได้แก่ พวกโจร. จริงอยู่ พวกโจรเขาเรียกกันว่า มาณวะ ดุจในประโยคมีอาทิว่า ไปกับพวกโจรผู้ที่โจรกรรม และที่ไม่ได้ทำโจรกรรม. บทว่า กึ ภทนฺเต กริตฺวาน ความว่า ท่านผู้เจริญ เพราะกระทำกรรมคือตบะ ชื่อไร. พวกโจรได้กล่าวความนั่น คือกล่าวด้วยการถามว่า หรือใครเป็นอาจารย์ของท่าน หรือเพราะอาศัยคำสั่งสอนคือโอวาทของใคร ท่านจึงได้ความไม่เศร้าโศกนี้ คือไม่มีความเศร้าโศกในเวลาจะตาย. พระเถระได้ฟังดังนั้น เมื่อจะตอบคำถามของพวกโจรนั้น จึงได้กล่าวคำมีอาทิว่า สพฺพพฺญู ผู้ทรงรู้ทุกอย่าง. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพญฺญู ความว่า ชื่อว่าพระสัพพัญญู เพราะทรงรู้สิ่งทั้งปวงอันต่างด้วยเรื่องอดีตเป็นต้น เพราะทรงบรรลุอนาวรณญาณอันเป็นไป แนบเนื่องด้วยความจำนงหวัง (คือเมื่อทรงต้องการก็ใช้ได้ทันที) สามารถตรัสรู้ธรรมทั้งปวง โดยประการทั้งปวง โดยไม่ต้องอ้างถึงผู้อื่น. ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ จึงทรงชื่อว่าเห็นธรรมทั้งปวง เพราะทรงเห็นธรรมทั้งปวงด้วยสมันตจักษุ. พระสัพพัญญุตญาณก็คือพระอนาวรณญาณของเราตถาคตนั้นนั่นเอง, ย่อมไม่ผิดจากบาลีที่ว่าด้วยอสาธารณญาณ เพราะพระญาณเดียวนั่นแหละตรัสไว้ ๒ ประการ เพื่อจะทรงแสดงว่าเป็นพระญาณที่ไม่ทั่วไปกับพระสาวกอื่นๆ โดยมุ่งถึงอารมณ์ที่เกิดขึ้น. ก็คำใดที่ควรกล่าวในที่นี้ คำนั้นได้กล่าวไว้พิสดารแล้วในอรรถกถาอิติวุตตกะ เพราะเหตุนั้น พึงทราบความนัยที่กล่าวไว้ในอรรถกถาอิติวุตตกะนั้นเถิด. มีวาจาประกอบความว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่าพระชินะเพราะทรงชนะมารทั้ง ๕ ชื่อว่าทรงประกอบด้วยมหากรุณา เพราะทรงประกอบด้วยพระกรุณาอันใหญ่หลวงที่ทรงน้อมให้เป็นไปในสัตว์ทุกหมู่เหล่าที่ต่างกันโดยจำแนกว่าเป็นผู้ต่ำทรามเป็นต้น. ชื่อว่าพระศาสดา เพราะทรงพร่ำสอนเวไนยสัตว์ตามสมควรด้วย บทว่า ขยคามี แปลว่า เป็นเครื่องดำเนินไปสู่พระนิพพาน. เมื่อพระเถระประกาศคุณของพระศาสดาและของพระศาสนาอย่างนี้แล้ว โจรบางพวกกลับได้ศรัทธาบวช บางพวกประกาศความเป็นอุบาสก. พระธรรมสังคาหกาจารย์เมื่อจะแสดงความนั้น จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถาโดยนัยมีอาทิว่า สุตฺวาน โจรา ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิสิโน ได้แก่ พระอธิมุตตเถระชื่อว่าฤาษี เพราะอรรถว่าแสวงหาคุณมีอธิศีลสิกขาเป็นต้น. บทว่า นิกฺขิปฺป แปลว่า ละแล้ว. บทว่า สตฺถานิ จ อาวุธานิ จ ได้แก่ ศาสตรามีมีดเป็นต้น และอาวุธมีแล่งธนูเป็นต้น. บทว่า ตมฺหา จ กมฺมา ได้แก่ จากโจรกรรมนั้น. บทว่า เต ปพฺพชิตฺวา สุคตสฺส สาสเน ความว่า โจรเหล่านั้นเข้าถึงการบรรพชาในศาสนาของพระผู้มีพระภาคสุคตเจ้า ด้วยอาการมีการดำเนินไปอันงามเป็นต้น. ชื่อว่ามีจิตเฟื่องฟู เพราะประกอบด้วยความปิติอันมีความเฟื่องฟูเป็นลักษณะ ซึ่งได้บรรลุแล้วด้วยภาวนาพิเศษ. บทว่า สุมนา แปลว่า ผู้ถึงความโสมนัส. บทว่า กตินฺทฺริยา ได้แก่ ผู้มีอินทรีย์อันอบรมแล้ว. บทว่า ผุสึสุ ได้แก่ บรรลุพระนิพพานอันปัจจัยอะไรๆ ปรุงแต่งไม่ได้ เพราะได้บรรลุพระอรหัตมรรค. ได้ยินว่า ท่านอธิมุตตะกระทำพวกโจรให้หมดพยศแล้ว พักพวกโจรเหล่านั้นไว้ในที่นั้นเอง (ส่วนตน) ไปหามารดา บอกลามารดาแล้วกลับมา พากันไปยังสำนักของพระอุปัชฌาย์ พร้อมกับโจรเหล่านั้นแล้ว ให้บรรพชาอุปสมบท. ลำดับนั้น จึงบอกกรรมฐานแก่ท่านเหล่านั้น ไม่นานนัก ท่านเหล่านั้นก็ดำรงอยู่ในพระอรหัต. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ครั้นได้บรรพชาแล้ว ... ฯลฯ ... ได้บรรลุ จบอรรถกถาอธิมุตตเถรคาถาที่ ๑ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย เถรคาถา วีสตินิบาต ๑. อธิมุตตเถรคาถา จบ. |