![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ว่าด้วยความสำรวมเป็นกรรม ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวว่า ความสำรวมในจักขุนทรีย์เป็นจักขุกรรมหรือ เป็นต้น เพื่อท้วงด้วยคำว่า การกล่าวคำอันใดที่สกวาทีกล่าวไว้ในลัทธิของตนว่า เจตนาเป็นกรรม การกล่าวนั้นเป็นไปในกายวจีและมโนทวาร ย่อมได้ชื่อว่าเป็นกายกรรมเป็นต้น ฉันใด ถ้าความสำรวมเป็นกรรมตามลัทธิของท่านไซร้ ความสำรวมแม้นั้น เมื่อเป็นไปในจักขุนทรีย์เป็นต้น ก็พึงได้ชื่อว่า จักขุกรรมเป็นต้น ดังนี้. ฝ่ายปรวาทีเมื่อไม่เห็นบทพระสูตรเช่นนั้น จึงตอบปฏิเสธในทวารทั้ง ๔ และย่อมปฏิเสธโดยหมายเอาประสาทกายในกายทวารที่ ๕ แต่ตอบรับรองหมายเอาวิญญัตติกาย. จริงอยู่ ปรวาทีนั้นย่อมปรารถนาประสาทกายบ้าง วิญญัตติกายบ้าง ว่าเป็นกายินทรีย์นั่นแหละ. ย่อมตอบปฏิเสธหมายเอาวิปากทวาร แม้เป็นมโนทวาร. ย่อมตอบรับรอง หมายเอากรรมทวาร. แม้ในความไม่สำรวมก็นัยนี้. พระสูตรว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว เป็นต้น นี้ย่อมแสดงเฉพาะความสำรวมกับความไม่สำรวมในทวารทั้งหลายเท่านั้น ไม่ใช่แสดงซึ่งความที่ความสำรวมและความไม่สำรวมเป็นกรรม เพราะฉะนั้น พระสูตรที่ยกมานั้น จึงไม่ใช่ข้ออ้างในที่นี้ ดังนี้แล. อรรถกถาสังวโรกัมมันติกถา จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา กถาวัตถุปกรณ์ วรรคที่ ๑๒ สังวโรกัมมันติกถา จบ. |