บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
ว่าด้วยอินทรีย์ ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายเหตุวาทะและมหิสาสกะทั้งหลายว่า ศรัทธาที่เป็นโลกียะชื่อว่าเป็นศรัทธาเท่านั้น ไม่ชื่อว่าเป็นสัทธินทรีย์ วิริยะที่เป็นโลกียะ สติที่เป็นโลกียะ สมาธิที่เป็นโลกียะปัญญาที่เป็นโลกียะ ฯลฯ ชื่อว่าเป็นปัญญาเท่านั้นไม่ชื่อว่าเป็นปัญญินทรีย์ ดังนี้. คำถามของสกวาทหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำว่า ศรัทธาที่เป็นโลกีย์ไม่มีหรือ เป็นต้น ท่านกล่าวเพื่อแสดงซึ่งความที่ธรรมทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้น แม้เป็นโลกีย์ก็ชื่อว่าเป็นอินทรีย์ ด้วยเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่ยิ่ง มิใช่ธรรมอื่นนอกจากศรัทธาเป็นต้น ชื่อว่าสัทธินทรีย์เป็นต้น เหตุใด เพราะเหตุนั้น ธรรมทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้นนั่นแหละ แม้เป็นโลกียะก็ชื่อว่าเป็นสัทธินทรีย์ เป็นต้น. คำว่า มโนที่เป็นโลกียะมีอยู่ เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่ออธิบายเนื้อความนั้นให้แจ่มแจ้งด้วยอุปมาว่า ธรรมทั้งหลายเหล่านั้นมีมโนเป็นต้นเป็นโลกียะ ก็ชื่อว่ามนินทรีย์เป็นต้น ฉันใด ธรรมทั้งหลายแม้มีศรัทธาเป็นต้น ที่เป็นโลกียะก็ชื่อว่าเป็นสัทธินทรีย์เป็นต้น ฉันนั้นดังนี้. คำที่เหลือในที่นี้ พึงทราบตามพระบาลีนั่นแหละ ดังนี้แล. รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ ๑. กิเลสชหนกถา๑- ๒. สุญญตากถา ๓. สามัญญผลกถา ๔. ปัตติกถา ๕. ตถตากถา ๖. กุสลกถา ๗. อัจจันตนิยามกถา ๘. อินทริยกถา. ____________________________ ๑- อรรถกถาว่า "กิเลสัปปชหนกถา". วรรคที่ ๑๙ จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา กถาวัตถุปกรณ์ วรรคที่ ๑๙ อินทริยกถา จบ. |