บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๕. อเจลกวรรค ๒. อุยโยชนสิกขาบท นิทานวัตถุ
๕. อเจลกวรรค ๒. อุยโยชนสิกขาบท ว่าด้วยการส่งกลับ เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร [๒๗๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตรได้ กล่าวชักชวนสัทธิวิหาริกของพระพี่ชายว่า ท่านจงมาเถิด พวกเราจะไปบิณฑบาต ในหมู่บ้าน แล้วไม่ได้ให้ทายกถวายอะไรแก่เธอ นิมนต์กลับด้วยกล่าวว่า ท่านจง กลับไปเถิด พูดหรือนั่งกับท่าน ไม่ทำให้เราสบาย เราพูดหรือนั่งคนเดียวสบายกว่า เมื่อใกล้เวลาฉันแล้ว ภิกษุนั้นไม่สามารถหาบิณฑบาตฉันได้ทัน แม้ไปรับ ภัตตาหารที่เขาแจกในโรงฉันก็ไม่ทัน จึงไม่ได้ฉันภัตตาหาร ครั้นภิกษุนั้นไปถึงอาราม จึงเล่าเรื่องนั้นให้ภิกษุทั้งหลายทราบ บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ไฉนท่าน พระอุปนันทศากยบุตรกล่าวชักชวนภิกษุว่า ท่านจงมาเถิด พวกเราจะไปบิณฑบาต ในหมู่บ้าน แล้วไม่ได้ให้ทายกถวายอะไรแก่เธอ แล้วนิมนต์กลับเล่า ครั้นภิกษุ ทั้งหลายตำหนิท่านพระอุปนันทศากยบุตรโดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุทรง สอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า อุปนันทะ ทราบว่า เธอกล่าวชักชวนภิกษุ ว่า ท่านจงมาเถิด พวกเราจะไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน แล้วไม่ได้ให้ทายกถวายอะไร แก่เธอ แล้วนิมนต์กลับ จริงหรือ ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๒๓}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๕. อเจลกวรรค ๒. อุยโยชนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
กล่าวชักชวนภิกษุว่า ท่านจงมาเถิด พวกเราจะไปบิณฑบาตในหมู่บ้านแล้วไม่ได้ให้ ทายกถวายอะไรแก่เธอแล้วนิมนต์กลับเล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้พระบัญญัติ [๒๗๕] ก็ ภิกษุใดกล่าวชักชวนภิกษุว่า ท่านจงมาเถิด พวกเราจะไป บิณทบาตในหมู่บ้านหรือในนิคม แล้วให้ทายกถวายหรือไม่ให้ทายกถวายแก่ เธอแล้วนิมนต์กลับด้วยกล่าวว่า ท่านจงกลับไปเถิด พูดหรือนั่งกับท่านไม่ ทำให้เราสบาย เราพูดหรือนั่งคนเดียวสบายกว่า มีเหตุผลเพียงเท่านี้ ไม่มี อะไรอื่น ต้องอาบัติปาจิตตีย์เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ สิกขาบทวิภังค์ [๒๗๖] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ คำว่า ภิกษุ หมายถึง ภิกษุรูปอื่น คำว่า ท่านจงมาเถิด...ในหมู่บ้านหรือในนิคม คือ หมู่บ้านก็ดี นิคมก็ดี เมืองก็ดี ชื่อว่าหมู่บ้านและนิคม คำว่า ให้ทายกถวายแก่เธอ คือ ให้เขาถวายข้าวต้ม ข้าวสวย ของเคี้ยว หรือของฉัน คำว่า ไม่ให้ทายกถวาย คือ ไม่ให้ทายกถวายอะไรๆ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๒๔}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๕. อเจลกวรรค ๒. อุยโยชนสิกขาบท บทภาชนีย์
คำว่า นิมนต์กลับ ความว่า ภิกษุปรารถนาจะกระซิกกระซี้ ปรารถนาจะ หยอกเย้า ปรารถนาจะนั่งในที่ลับ หรือปรารถนาจะประพฤติอนาจารกับมาตุคาม กล่าวนิมนต์กลับอย่างนี้ว่า ท่านจงกลับไปเถิด พูดหรือนั่งกับท่าน ไม่ทำให้เรา สบาย เราพูดหรือนั่งคนเดียวสบายกว่า ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อเธอไปถึงระยะที่มอง ไม่เห็นหรือไม่ได้ยินเสียง ภิกษุรูปที่นิมนต์กลับต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อเธอไปจนพ้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คำว่า มีเหตุผลเพียงเท่านี้ไม่มีอะไรอื่น ความว่า ไม่มีเหตุผลอย่างอื่นเพื่อ ส่งกลับบทภาชนีย์ ติกปาจิตตีย์ [๒๗๗] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน นิมนต์กลับ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ อุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ นิมนต์กลับ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน นิมนต์กลับ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกกฏ ภิกษุทำเป็นโกรธ นิมนต์กลับ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุนิมนต์อนุปสัมบันกลับ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทำเป็นโกรธ นิมนต์กลับ ต้องอาบัติทุกกฏ อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ อนุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๒๕}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๕. อเจลกวรรค ๒. อุยโยชนสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๒๗๘] ๑. ภิกษุนิมนต์กลับด้วยคิดว่า เราสองรูปฉันด้วยกัน ภัตตาหาร จะไม่พอ ๒. ภิกษุนิมนต์กลับด้วยคิดว่า รูปนั้นพบของมีค่าแล้วจะเกิดความโลภ ๓. ภิกษุนิมนต์กลับด้วยคิดว่า รูปนั้นเห็นมาตุคามแล้วจะเกิดความกำหนัด ๔. ภิกษุนิมนต์กลับด้วยสั่งว่า เธอจงนำข้าวต้ม ข้าวสวย หรือของ เคี้ยวของฉันไปถวายภิกษุเป็นไข้ ภิกษุผู้ตกค้างอยู่ หรือภิกษุผู้เฝ้าวิหาร ๕. ภิกษุไม่ประสงค์จะประพฤติอนาจารแต่มีธุระจำเป็นจึงส่งกลับ ๖. ภิกษุวิกลจริต ๗. ภิกษุต้นบัญญัติอุยโยชนสิกขาบทที่ ๒ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๒๖}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๔๒๓-๔๒๖. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=2&siri=78 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=2&A=11231&Z=11298 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=531 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=531&items=4 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=9386 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=531&items=4 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=9386 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc42/en/brahmali
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]