ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ปริวาร
เปรียบเทียบอธิกรณ์
[๓๙๗] เรื่องที่ได้เห็นสมด้วยเรื่องที่ได้เห็น เรื่องที่ได้เห็นเทียบกับเรื่องที่ได้เห็น แต่บุคคลนั้นไม่ยอมรับ เพราะอาศัยเรื่องที่ได้เห็น บุคคลนั้นถูกสงสัยว่าไม่บริสุทธิ์ พึงปรับอาบัติตามปฏิญญา พึงทำปวารณากับบุคคลนั้น เรื่องที่ได้ยินสมด้วยเรื่องที่ได้ยิน เรื่องที่ได้ยินเทียบกับเรื่องที่ได้ยิน แต่บุคคลนั้นไม่ยอมรับ เพราะอาศัยการได้ยิน บุคคลนั้นถูกสงสัยว่าไม่บริสุทธิ์ พึงปรับอาบัติตามปฏิญญา พึงทำปวารณากับบุคคลนั้น เรื่องที่ได้ทราบสมด้วยเรื่องที่ได้ทราบ เรื่องที่ได้ทราบเทียบกับเรื่องที่ได้ทราบ แต่บุคคลนั้นไม่ยอมรับ เพราะอาศัยการได้ทราบ บุคคลนั้นถูกสงสัยว่าไม่บริสุทธิ์ พึงปรับอาบัติตามปฏิญญา พึงทำปวารณากับบุคคลนั้น
๗. ปุจฉาวิภาค
ว่าด้วยการจำแนกคำถาม
[๓๙๘] คำว่า ท่านเห็นอะไร นั้น ถามถึงอะไร คำว่า ท่านเห็นว่าอย่างไร นั้น ถามถึงอะไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๖๘}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม]

๗. ปุจฉาวิภาค

คำว่า ท่านเห็นเมื่อไร นั้น ถามถึงอะไร คำว่า ท่านเห็นที่ไหน นั้น ถามถึงอะไร [๓๙๙] คำว่า ท่านเห็นอะไร นั้น ได้แก่ ถามถึงวัตถุ ถามถึงวิบัติ ถามถึงอาบัติ ถามถึงอัชฌาจาร คำว่า ถามถึงวัตถุ นั้น ได้แก่ ถามถึงวัตถุแห่งปาราชิก ๘ ถามถึงวัตถุแห่ง สังฆาทิเสส ๒๓ ถามถึงวัตถุแห่งอนิยต ๒ ถามถึงวัตถุแห่งนิสสัคคีย์ ๔๒ ถามถึง วัตถุแห่งปาจิตตีย์ ๑๘๘ ถามถึงวัตถุแห่งปาฏิเทสนียะ ๑๒ ถามถึงวัตถุแห่งทุกกฏ ถามถึงวัตถุแห่งทุพภาสิต คำว่า ถามถึงวิบัติ นั้น ได้แก่ ถามถึงสีลวิบัติ ถามถึงอาจารวิบัติ ถามถึง ทิฏฐิวิบัติ ถามถึงอาชีววิบัติ คำว่า ถามถึงอาบัติ นั้น ได้แก่ ถามถึงอาบัติปาราชิก ถามถึงอาบัติสังฆาทิเสส ถามถึงอาบัติถุลลัจจัย ถามถึงอาบัติปาจิตตีย์ ถามถึงอาบัติปาฏิเทสนียะ ถามถึง อาบัติทุกกฏ ถามถึงอาบัติทุพพภาสิต คำว่า ถามถึงอัชฌาจาร นั้น ได้แก่ ถามถึงกิจที่ทำกันสองต่อสอง [๔๐๐] คำว่า ท่านเห็นว่าอย่างไร นั้น ได้แก่ ถามถึงเพศ ถามถึงอิริยาบถ ถามถึงอาการ ถามถึงประการอันแปลก คำว่า ถามถึงเพศ นั้น หมายถึง สูงหรือเตี้ย ดำหรือขาว คำว่า ถามถึงอิริยาบถ นั้น หมายถึง เดินหรือยืน นั่งหรือนอน คำว่า ถามอาการ นั้น หมายถึง เพศคฤหัสถ์ เพศเดียรถีย์ หรือเพศบรรพชิต คำว่า ถามประการอันแปลก นั้น หมายถึง เดินหรือยืน นั่งหรือนอน [๔๐๑] คำว่า ท่านเห็นเมื่อไร นั้น ได้แก่ ถามถึงกาล ถามถึงสมัย ถามถึงวัน ถามถึงฤดู คำว่า ถามถึงกาล นั้น หมายถึง เวลาเช้า เวลาเที่ยง หรือเวลาเย็น คำว่า ถามถึงสมัย นั้น หมายถึง สมัยเช้า สมัยเที่ยง หรือสมัยเย็น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๖๙}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม]

หัวข้อประจำเรื่อง

คำว่า ถามถึงวัน นั้น หมายถึง ก่อนอาหารหรือหลังอาหาร กลางคืนหรือ กลางวัน ข้างแรมหรือข้างขึ้น คำว่า ถามถึงฤดู นั้น หมายถึง ฤดูหนาว ฤดูร้อน หรือฤดูฝน [๔๐๒] คำว่า ท่านเห็นที่ไหน นั้น ได้แก่ ถามถึงสถานที่ ถามถึงพื้นที่ ถาม ถึงโอกาส ถามถึงประเทศ คำว่า ถามถึงสถานที่ นั้น หมายถึง พื้นที่หรือแผ่นดิน ธรณีหรือทางเดิน คำว่า ถามถึงพื้นที่ นั้น หมายถึง พื้นที่ แผ่นดิน ภูเขา หิน หรือปราสาท คำว่า ถามถึงโอกาส นั้น หมายถึง โอกาสด้านตะวันออกหรือโอกาสด้านตะวันตก โอกาสด้านเหนือหรือโอกาสด้านใต้ คำว่า ถามถึงประเทศ นั้น หมายถึง ประเทศด้านตะวันออกหรือประเทศด้าน ตะวันตก ประเทศด้านเหนือหรือประเทศด้านใต้
มหาสงคราม จบ
หัวข้อประจำเรื่อง
วัตถุ นิทาน อาการ คำต้นและคำหลัง สิ่งที่ทำแล้วและสิ่งที่ยังไม่ได้ทำ กรรม อธิกรณ์ สมถะ ลำเอียงเพราะชอบ ลำเอียงเพราะชัง ลำเอียงเพราะหลง ลำเอียงเพราะกลัว ชี้แจงในฐานะที่ควรชี้แจง พิจารณาในฐานะที่ควรพิจารณา เพ่งเล็งในฐานะที่ควรเพ่งเล็ง เลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส ได้พรรคพวกแล้วดูหมิ่นฝ่ายอื่น มีสุตะแล้วดูหมิ่นฝ่ายอื่น แก่กว่าแล้วดูหมิ่นฝ่ายอื่น ไม่พูดเรื่องที่ยังมาไม่ถึง ไม่พึงให้เรื่องที่มาถึงแล้วเสื่อม อธิกรณ์ระงับด้วยธรรม ด้วยวินัย ด้วยสัตถุศาสน์ เรื่องมหาสงคราม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๗๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๕๖๘-๕๗๐. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=8&siri=103              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=8&A=10043&Z=10099                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=1117              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=8&item=1117&items=7              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=8&item=1117&items=7                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu8              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr15/en/brahmali#pli-tv-pvr15:32.1 https://suttacentral.net/pli-tv-pvr15/en/horner-brahmali#BD.6.276



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :