บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๑. มุสาวาทวรรค ๑๐. ปฐวีขณนสิกขาบท นิทานวัตถุ
๑. มุสาวาทวรรค ๑๐. ปฐวีขณนสิกขาบท ว่าด้วยการขุดดิน เรื่องภิกษุชาวเมืองอาฬวี [๘๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ อัคคาฬวเจดีย์ เขต เมืองอาฬวี สมัยนั้น พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีช่วยกันก่อสร้าง ขุดบ้าง ใช้ให้ขุดบ้าง ซึ่งดิน พวกชาวบ้านจึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสาย ศากยบุตรจึงขุดบ้าง ใช้ให้ขุดบ้างซึ่งดินเล่า พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเบียดเบียน ชีวะซึ่งมีอินทรีย์เดียว พวกภิกษุได้ยินพวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ไฉนพวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี จึงขุดบ้าง ใช้ให้ขุดบ้างซึ่งดินเล่า ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีโดยประการ ต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอขุดบ้าง ใช้ให้ขุดบ้างซึ่ง ดินจริงหรือ ภิกษุชาวเมืองอาฬวีทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาค พุทธเจ้าทรงตำหนิว่า ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงขุดบ้าง ใช้ให้ขุดบ้าง ซึ่งดินเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย พวกชาวบ้านสำคัญว่าดินมีชีวะ โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้ว ให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง ดังนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๗๓}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๑. มุสาวาทวรรค ๑๐. ปฐวีขณนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ [๘๕] ก็ ภิกษุใดขุด หรือใช้ให้ขุดซึ่งดิน ต้องอาบัติปาจิตตีย์เรื่องภิกษุชาวเมืองอาฬวี จบ สิกขาบทวิภังค์ [๘๖] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า ดิน ได้แก่ ดิน ๒ ชนิด คือ (๑) ดินแท้ (๒) ดินไม่แท้ ที่ชื่อว่า ดินแท้ คือ ดินร่วนล้วน ดินเหนียวล้วน ดินมีหินผสมนิดหน่อย ดินมีกรวดผสมนิดหน่อย ดินมีกระเบื้องผสมนิดหน่อย ดินมีแร่ผสมนิดหน่อย ดิน มีทรายผสมนิดหน่อย ดินร่วนเป็นส่วนมาก ดินเหนียวเป็นส่วนมาก แม้ดินที่ยังไม่ เผาไฟก็เรียกว่า ดินแท้ กองดินร่วนหรือดินเหนียวที่ฝนตกรดเกิน ๔ เดือนก็เรียกว่า ดินแท้ ที่ชื่อว่า ดินไม่แท้ คือ หินล้วน ดินมีกรวดล้วน ดินมีกระเบื้องล้วน ดินมี แร่ล้วน ดินมีทรายล้วน ดินมีดินร่วนผสมนิดหน่อย ดินมีดินเหนียวผสมนิดหน่อย ดินมีหินมาก ดินมีกรวดมาก ดินมีกระเบื้องมาก ดินมีแร่มาก ดินมีทรายมาก แม้ดินที่เผาไฟแล้วก็เรียกว่า ดินไม่แท้ กองดินร่วนหรือดินเหนียวที่ฝนตกรดยังไม่ถึง ๔ เดือนก็เรียกว่า ดินไม่แท้ คำว่า ขุด คือ ภิกษุขุดเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คำว่า ใช้ให้ขุด คือ ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ขุด ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ภิกษุสั่งครั้งเดียว เขาขุดหลายครั้ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๗๔}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๑. มุสาวาทวรรค ๑๐. ปฐวีขณนสิกขาบท อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์ [๘๗] ดิน ภิกษุสำคัญว่าเป็นดิน ขุดหรือใช้ให้ขุด ทำลายหรือใช้ให้ทำลาย เผาหรือใช้ให้เผา ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ดิน ภิกษุไม่แน่ใจ ขุดหรือใช้ให้ขุด ทำลายหรือใช้ให้ทำลาย เผาหรือใช้ให้เผา ต้องอาบัติทุกกฏ ดิน ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ดิน ขุดหรือใช้ให้ขุด ทำลายหรือใช้ให้ทำลาย เผา หรือใช้ให้เผา ไม่ต้องอาบัติ ไม่ใช่ดิน ภิกษุสำคัญว่าเป็นดิน ต้องอาบัติทุกกฏ ไม่ใช่ดิน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ ไม่ใช่ดิน ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ดิน ไม่ต้องอาบัติอนาปัตติวาร ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๘๘] ๑. ภิกษุกล่าวว่า ท่านจงรู้ จงให้ จงนำสิ่งนี้มา เราต้องการสิ่งนี้ ท่านจงทำสิ่งนี้ให้เป็นกัปปิยะ๑- ๒. ภิกษุไม่จงใจ ๓. ภิกษุไม่มีสติ ๔. ภิกษุไม่รู้ ๕. ภิกษุวิกลจริต ๖. ภิกษุต้นบัญญัติปฐวีขณนสิกขาบทที่ ๑๐ จบ มุสาวาทวรรคที่ ๑ จบ @เชิงอรรถ : @๑ คือ ใช้ให้ผู้อื่นทำด้วยกล่าวว่า ท่านจงรู้หลุมเสา จงรู้ดินเหนียวมาก จงรู้ดินเหนียวผสมแกลบ ท่านจง @ให้ดินเหนียวมาก จงให้ดินเหนียวผสมแกลบ ท่านจงนำดินเหนียวมา จงนำฝุ่นมา ต้องการดินเหนียว @ต้องการฝุ่น ท่านจงทำหลุมเสานี้ให้เป็นกัปปิยะ จงทำดินเหนียวนี้ให้เป็นกัปปิยะ จงทำฝุ่นนี้ให้เป็นกัปปิยะ @คือให้เป็นของที่ควรใช้ (วิ.อ. ๒/๘๘/๒๘๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๗๕}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๑. มุสาวาทวรรค รวมสิกขาบทที่มีในมุสาวาทวรรค
รวมสิกขาบทที่มีในมุสาวาทวรรค มุสาวาทวรรคมี ๑๐ สิกขาบท คือ ๑. มุสาวาทสิกขาบท ว่าด้วยการกล่าวเท็จ ๒. โอมสวาทสิกขาบท ว่าด้วยการกล่าวเสียดสี ๓. เปสุญญสิกขาบท ว่าด้วยการกล่าวส่อเสียด ๔. ปทโสธัมมสิกขาบท ว่าด้วยการให้กล่าวธรรมเป็นบทๆ ๕. สหเสยยสิกขาบท ว่าด้วยการนอนร่วมกัน ๖. ทุติยสหเสยยสิกขาบท ว่าด้วยการนอนร่วมกันข้อที่ ๒ ๗. ธัมมเทสนาสิกขาบท ว่าด้วยการแสดงธรรม ๘. ภูตาโรจนสิกขาบท ว่าด้วยการบอกอุตตริมนุสสธรรมที่มีจริง ๙. ทุฏฐุลลาโรจนสิกขาบท ว่าด้วยการบอกอาบัติชั่วหยาบ ๑๐. ปฐวีขณนสิกขาบท ว่าด้วยการการขุดดิน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๗๖}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๒๗๓-๒๗๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=2&siri=46 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=8471&Z=8541 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=349 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=349&items=5 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=6493 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=349&items=5 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=6493 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc10/en/brahmali
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]