บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
๒. ปัญหพยากรณสูตร ว่าด้วยวิธีการตอบปัญหา [๔๒] ภิกษุทั้งหลาย การตอบปัญหา ๔ ประการนี้ การตอบปัญหา ๔ ประการ๖- อะไรบ้าง คือ ๑. เอกังสพยากรณียปัญหา (ปัญหาที่ควรตอบโดยนัยเดียว) ๒. วิภัชชพยากรณียปัญหา (ปัญหาที่ควรแยกตอบ) ๓. ปฏิปุจฉาพยากรณียปัญหา (ปัญหาที่ควรตอบโดยย้อนถาม) ๔. ฐปนียปัญหา (ปัญหาที่ควรงดตอบ) ภิกษุทั้งหลาย การตอบปัญหา ๔ ประการนี้แล (๑) ตอบโดยนัยเดียว (๒) แยกตอบ (๓) ตอบโดยย้อนถาม (๔) งดตอบ @เชิงอรรถ : @๑ สิ่งสูงต่ำ ในที่นี้หมายถึงอัตภาพของผู้อื่นและอัตภาพของตน (องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๔๑/๓๗๗) @๒ โลก ในที่นี้หมายถึงสัตว์โลก (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๔๑/๓๔๓) @๓ ไม่มีกิเลสเป็นเหตุให้หวั่นไหว หมายถึงไม่มีกิเลสเป็นเหตุให้หวั่นไหว ๗ ประการ คือ ราคะ โทสะ โมหะ @มานะ ทิฏฐิ กิเลส และทุจริต (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๒/๑๑๔) @๔ ในโลกไหนๆ ในที่นี้หมายถึงขันธ์ อายตนะ ธาตุ และอารมณ์ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๔๑/๓๔๓) @๕ เป็นผู้สงบ หมายถึงสงบกิเลสที่เป็นข้าศึก (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๔๑/๓๔๓) @๖ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๑๒/๒๐๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๗๐}
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๕. โรหิตัสสวรรค ๓. ปฐมโกธครุสูตร
อนึ่ง บัณฑิตเรียกภิกษุผู้รู้ความเหมาะสม๑- ในฐานะแห่งปัญหานั้นๆ ว่า เป็นผู้ฉลาดในปัญหาทั้ง ๔ บุคคลเช่นนั้น ใครๆ เทียบได้ยาก เอาชนะได้ยาก เป็นคนลึกซึ้ง ให้แพ้ได้ยาก และฉลาดในประโยชน์ทั้งสอง คือ ด้านเจริญและด้านเสื่อม บัณฑิตย่อมเว้นด้านเสื่อม ถือเอาด้านเจริญ ธีรชนเพราะรู้จักประโยชน์ ชาวโลกจึงเรียกว่า บัณฑิตปัญหพยากรณสูตรที่ ๒ จบ ๓. ปฐมโกธครุสูตร ว่าด้วยบุคคลผู้มักโกรธ สูตรที่ ๑ [๔๓] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลผู้มักโกรธ ไม่เคารพสัทธรรม ๒. บุคคลผู้มักลบหลู่ ไม่เคารพสัทธรรม ๓. บุคคลผู้เห็นแก่ลาภ ไม่เคารพสัทธรรม ๔. บุคคลผู้เห็นแก่สักการะ ไม่เคารพสัทธรรม ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ @เชิงอรรถ : @๑ ผู้รู้ความเหมาะสม หมายถึงรู้วิธีการตอบปัญหา (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๔๒/๓๔๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๗๑}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๗๐-๗๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=21&siri=42 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=1234&Z=1248 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=42 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=21&item=42&items=1 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=7947 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=21&item=42&items=1 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=7947 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i041-e.php#sutta2 https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i041-e2.php#sutta2 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an04/an04.042.than.html https://suttacentral.net/an4.42/en/sujato https://suttacentral.net/an4.42/en/thanissaro
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]