บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๘. ปาฏลิคามิยวรรค]
๖. ปาฏลิคามิยสูตร
๖. ปาฏลิคามิยสูตร๑- ว่าด้วยอุบาสกชาวปาฏลิคาม [๗๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นมคธ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ หมู่ใหญ่ ได้เสด็จมาถึงปาฏลิคาม อุบาสกอุบาสิกาชาวปาฏลิคามได้ทราบข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไป ในแคว้นมคธพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จมาถึงปาฏลิคามแล้ว จึงพากัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบ ทูลดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดรับอาคารที่พักของ ข้าพระองค์ทั้งหลายเถิด พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคทรงรับด้วยพระอาการดุษณี ลำดับนั้น อุบาสกอุบาสิกาชาวปาฏลิคามทราบอาการที่พระผู้มีพระภาคทรง รับนิมนต์แล้วจึงพากันลุกจากที่นั่ง ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณ แล้วพากันเดินไปยังอาคารที่พัก ปูลาดอาสนะทั่วอาคาร จัดอาสนะ ตั้งหม้อน้ำ ตามประทีปน้ำมันไว้แล้วกลับเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ ทั้งหลายปูลาดอาสนะ ดาดเพดานทั่วอาคารที่พัก จัดอาสนะ ตั้งหม้อน้ำ ตาม ประทีปน้ำมันไว้แล้ว ขอพระผู้มีพระภาคทรงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด พระพุทธเจ้าข้า @เชิงอรรถ : @๑ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๕/๒๘๕-๒๘๖/๙๗-๑๐๓, ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๔๘-๑๕๔/๙๒-๙๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๓๓๑}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๘. ปาฏลิคามิยวรรค]
๖. ปาฏลิคามิยสูตร
ครั้งนั้น เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เสด็จไปที่อาคารที่พัก พร้อมกับภิกษุสงฆ์ ทรงชำระพระบาทแล้วเสด็จเข้าไปยัง อาคารที่พัก ประทับนั่งพิงเสากลาง ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก แม้ภิกษุสงฆ์ ก็ล้างเท้าแล้วเข้าไปยังอาคารที่พัก นั่งพิงฝาด้านทิศตะวันตก ผินหน้าไปทางทิศ ตะวันออกห้อมล้อมพระผู้มีพระภาค แม้อุบาสกอุบาสิกาชาวปาฏลิคามก็ล้างเท้า แล้วเข้าไปยังอาคารที่พักนั้น นั่งพิงฝาด้านทิศตะวันออก ผินหน้าไปทางทิศตะวันตก ห้อมล้อมพระผู้มีพระภาคโทษแห่งศีลวิบัติ ๕ ประการ๑- ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสกับอุบาสกอุบาสิกาชาวปาฏลิคามว่า คหบดี ทั้งหลาย ศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีลมีโทษ ๕ ประการนี้ โทษ ๕ ประการ คือ ๑. บุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติในโลกนี้ ย่อมถึงความเสื่อมโภคทรัพย์เป็น อันมากซึ่งมีความประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นโทษประการที่ ๑ แห่งศีลวิบัติ ของบุคคลผู้ทุศีล ๒. กิตติศัพท์อันชั่วของบุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ ย่อมกระฉ่อนไป นี้เป็น โทษที่ ๒ แห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล ๓. บุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ จะเข้าไปยังบริษัทใดๆ จะเป็นขัตติยบริษัท ก็ตาม พราหมณบริษัทก็ตาม คหบดีบริษัทก็ตาม สมณบริษัทก็ตาม ย่อมไม่แกล้วกล้า เก้อเขินเข้าไป นี้เป็นโทษประการที่ ๓ แห่งศีลวิบัติ ของบุคคลผู้ทุศีล ๔. บุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ ย่อมหลงลืมสติตาย นี้เป็นโทษประการที่ ๔ แห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล ๕. บุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ หลังจากตายแล้ว ย่อมไปบังเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก นี้เป็นโทษประการที่ ๕ แห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล คหบดีทั้งหลาย ศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีลมีโทษ ๕ ประการนี้แล @เชิงอรรถ : @๑ ดูเทียบ ที.ปา. ๑๑/๓๑๖/๒๐๙-๒๐๑, องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๒๑๓/๓๕๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๓๓๒}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๘. ปาฏลิคามิยวรรค]
๖. ปาฏลิคามิยสูตร
อานิสงส์แห่งศีลสมบัติ ๕ ประการ คหบดีทั้งหลาย ศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้ อานิสงส์ ๕ ประการ คือ ๑. บุคคลผู้มีศีล มีศีลสมบัติในโลกนี้ ย่อมได้โภคทรัพย์เป็นอันมาก ซึ่งมีความไม่ประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๑ แห่งศีลสมบัติ ของบุคคลผู้มีศีล ๒. กิตติศัพท์อันงามของบุคคลผู้มีศีล มีศีลสมบัติ ย่อมขจรไป นี้เป็น อานิสงส์ประการที่ ๒ แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล ๓. บุคคลผู้มีศีล มีศีลสมบัติ จะเข้าไปยังบริษัทใดๆ จะเป็นขัตติยบริษัท ก็ตาม พราหมณบริษัทก็ตาม คหบดีบริษัทก็ตาม หรือสมณบริษัท ก็ตาม ย่อมแกล้วกล้า ไม่เก้อเขินเข้าไป นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๓ แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล ๔. บุคคลผู้มีศีล มีศีลสมบัติ ย่อมไม่หลงลืมสติตาย นี้เป็นอานิสงส์ประการ ที่ ๔ แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล ๕. บุคคลผู้มีศีล มีศีลสมบัติ หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในสุคติ โลกสวรรค์ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๕ แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล คหบดีทั้งหลาย ศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีลมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล หลังจากนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้อุบาสกอุบาสิกาชาวปาฏลิคาม เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจ ให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาจนดึกดื่นแล้วทรงส่งกลับด้วยรับสั่งว่า คหบดีทั้งหลาย ราตรีใกล้จะสว่าง ขอท่านทั้งหลาย จงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด ลำดับนั้น อุบาสกอุบาสิกาชาวปาฏลิคามต่างชื่นชมอนุโมทนาพระธรรมเทศนา ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง แล้วลุกจากที่นั่ง ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วจากไป เมื่ออุบาสกอุบาสิกาชาวปาฏลิคามจากไปไม่นาน พระผู้มีพระภาคก็เสด็จเข้าไปยังเรือนว่าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๓๓๓}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๘. ปาฏลิคามิยวรรค]
๖. ปาฏลิคามิยสูตร
สร้างเมืองปาฏลีบุตร สมัยนั้น สุนีธะและวัสสการะผู้เป็นมหาอำมาตย์แห่งมคธรัฐ กำลังสร้างเมือง ปาฏลิคามเพื่อป้องกันพวกวัชชี ครั้งนั้น เทวดาจำนวนมากเป็นเรือนพัน กำลัง ยึดครองที่ดินในปาฏลิคาม คือ เทวดาที่มีศักดิ์ใหญ่ยึดครองที่ดินในประเทศใด จิตของพระราชา และมหา- อำมาตย์ของพระราชาที่มีศักดิ์ใหญ่ ต่างก็น้อมไปเพื่อสร้างนิเวศน์ในประเทศนั้น๑- เทวดาที่มีศักดิ์ชั้นกลางยึดครองที่ดินในประเทศใด จิตของพระราชาและมหา- อำมาตย์ของพระราชาที่มีศักดิ์ชั้นกลาง ต่างก็น้อมไปเพื่อสร้างนิเวศน์ในประเทศนั้น เทวดาที่มีศักดิ์ชั้นต่ำยึดครองที่ดินในประเทศใด จิตของพระราชาและมหาอำมาตย์ ของพระราชาที่มีศักดิ์ชั้นต่ำ ต่างก็น้อมไปเพื่อสร้างนิเวศน์ในประเทศนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเล็งทิพยจักษุอันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ได้ทอดพระเนตร เห็นเทวดาเหล่านั้นเป็นเรือนพัน กำลังยึดครองที่ดินในปาฏลิคาม คือ เทวดาที่มี ศักดิ์ใหญ่ยึดครองที่ดินในประเทศใด จิตของพระราชาและมหาอำมาตย์ของพระราชา ที่มีศักดิ์ใหญ่ต่างก็น้อมไปเพื่อสร้างนิเวศน์ในประเทศนั้น เทวดาที่มีศักดิ์ชั้นกลาง ยึดครองที่ดินในประเทศใด จิตของพระราชาและมหาอำมาตย์ของพระราชาที่มีศักดิ์ ชั้นกลางต่างก็น้อมไปเพื่อสร้างนิเวศน์ในประเทศนั้น เทวดาที่มีศักดิ์ชั้นต่ำยึดครองที่ ดินในประเทศใด จิตของพระราชาและมหาอำมาตย์ของพระราชาที่มีศักดิ์ชั้นต่ำ ต่างก็น้อมไปเพื่อสร้างนิเวศน์ในประเทศนั้น ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงตื่นบรรทมในเวลาใกล้รุ่ง รับสั่งเรียกท่านพระ อานนท์มาตรัสว่า อานนท์ ใครกำลังสร้างเมืองในปาฏลิคาม @เชิงอรรถ : @๑ ทราบว่า เทวดาทั้งหลายเข้าสิงร่างของคนผู้เชี่ยวชาญวิชาดูพื้นที่แล้วให้ผู้เชี่ยวชาญเหล่านั้นบอกว่าควรจะ @สร้างบ้านเมืองที่นั้นที่นี้ เพราะเทวดาเหล่านั้นประสงค์จะให้พระราชาและมหาอำมาตย์ที่มีศักดิ์ใหญ่ มีศักดิ์ @ชั้นกลาง มีศักดิ์ชั้นต่ำอยู่ใกล้ชิดกับตน และทำสักการะสมควรแก่ตน (วิ.อ. ๓/๒๘๖/๑๗๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๓๓๔}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๘. ปาฏลิคามิยวรรค]
๖. ปาฏลิคามิยสูตร
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สุนีธะและวัสสการะ ผู้เป็นมหาอำมาตย์แห่งมคธรัฐ กำลังสร้างเมืองในปาฏลิคามเพื่อป้องกันพวกวัชชี พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อานนท์ สุนีธะและวัสสการะผู้เป็นมหาอำมาตย์แห่ง มคธรัฐกำลังสร้างเมืองในปาฏลิคามเพื่อป้องกันพวกวัชชี เหมือนได้ปรึกษากับเทวดา ชั้นดาวดึงส์ อานนท์ ณ ที่นี้ เราเล็งทิพยจักษุอันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ได้เห็นเทวดา จำนวนมาก เป็นเรือนพัน กำลังยึดครองที่ดินในปาฏลิคาม คือ เทวดาที่มีศักดิ์ใหญ่ ยึดครองที่ดินในประเทศใด จิตของพระราชาและมหาอำมาตย์ของพระราชาที่มีศักดิ์ใหญ่ ต่างก็น้อมไปเพื่อสร้างนิเวศน์ในประเทศนั้น เทวดาที่มีศักดิ์ชั้นกลางยึดครองที่ดิน ในประเทศใด จิตของพระราชาและมหาอำมาตย์ของพระราชาที่มีศักดิ์ชั้นกลางต่างก็ น้อมไปเพื่อสร้างนิเวศน์ในประเทศนั้น เทวดาที่มีศักดิ์ชั้นต่ำยึดครองที่ดินในประเทศใด จิตของพระราชาและมหาอำมาตย์ของพระราชาที่มีศักดิ์ชั้นต่ำต่างก็น้อมไปเพื่อสร้าง นิเวศน์ในประเทศนั้น อานนท์ ตลอดพื้นที่อันเป็นย่านชุมชนแห่งอารยชนและเป็นทางค้าขาย นครนี้ จะเป็นนครชั้นเอก เป็นทำเลค้าขาย ชื่อปาฏลีบุตร และนครปาฏลีบุตรจะเกิด อันตราย ๓ อย่าง คือ อัคคีภัย อุทกภัย หรือการแตกความสามัคคีภายในกลุ่มสองมหาอำมาตย์เลี้ยงพระ ครั้งนั้น สุนีธะและวัสสการะผู้เป็นมหาอำมาตย์แห่งมคธรัฐ เข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วได้ยืน ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ขอพระโคดมผู้เจริญพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์โปรดรับภัตตาหารของข้าพระองค์ทั้งหลาย ในวันนี้เถิด พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์ด้วยพระอาการดุษณี สุนีธะและวัสสการะมหาอำมาตย์แห่งมคธรัฐ ทราบอาการที่พระผู้มีพระภาค ทรงรับนิมนต์แล้ว จึงเข้าไปยังที่พักของตน แล้วสั่งให้จัดเตรียมของเคี้ยวของฉัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๓๓๕}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๘. ปาฏลิคามิยวรรค]
๖. ปาฏลิคามิยสูตร
อย่างประณีตไว้ในที่พักของตนแล้วส่งคนไปกราบทูลภัตกาลว่า ข้าแต่พระโคดม ผู้เจริญ ได้เวลาแล้ว ภัตตาหารเสร็จแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ครั้งนั้น ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จเข้าไปยังที่พักของสุนีธะและวัสสการะมหาอำมาตย์แห่ง มคธรัฐ ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ ลำดับนั้น สุนีธะและวัสสการะ มหาอำมาตย์แห่งมคธรัฐได้นำของเคี้ยวของฉันอันประณีตมาประเคนภิกษุสงฆ์มี พระพุทธเจ้าเป็นประธาน ให้อิ่มหนำด้วยตนเอง กระทั่งพระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จ ทรงละพระหัตถ์จากบาตรแล้ว ได้นั่งเฝ้า ณ ที่สมควร ที่ใดที่หนึ่งซึ่งต่ำกว่า ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอนุโมทนาแก่สุนีธะและวัสสการะมหาอำมาตย์ แห่งมคธรัฐ ด้วยพระคาถาเหล่านี้ว่าอนุโมทนาคาถา บัณฑิตอยู่ในที่ใด เลี้ยงดูท่านผู้มีศีล ผู้สำรวม ประพฤติพรหมจรรย์ ในที่ที่ตนอยู่นั้น พึงอุทิศทักษิณาแก่เหล่าเทวดาผู้สถิตอยู่ในที่นั้น เทวดาเหล่านั้นอันเขาบูชาแล้ว ย่อมบูชาตอบ อันเขานับถือแล้ว ย่อมนับถือตอบ จากนั้นย่อมอนุเคราะห์บัณฑิตนั้นเป็นการตอบแทน ดุจมารดาอนุเคราะห์บุตรผู้เกิดแต่อก ฉะนั้น ดังนั้น ผู้ที่เทวดาอนุเคราะห์แล้ว ย่อมพบเห็นแต่สิ่งที่เจริญทุกเมื่อ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๓๓๖}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๘. ปาฏลิคามิยวรรค]
๖. ปาฏลิคามิยสูตร
ประตูโคดมและท่าโคดม พระผู้มีพระภาค ครั้นทรงอนุโมทนามหาอำมาตย์สุนีธะและมหาอำมาตย์วัสสการะ แคว้นมคธด้วยพระคาถาเหล่านี้แล้ว ทรงลุกขึ้นจากอาสนะเสด็จจากไป สมัยนั้น มหาอำมาตย์สุนีธะและมหาอำมาตย์วัสสการะแคว้นมคธ ตามส่งเสด็จพระผู้มี พระภาคไปเบื้องพระปฤษฎางค์ด้วยคิดว่า วันนี้ ประตูที่ท่านพระสมณโคดมเสด็จ ออกไป จะได้ชื่อว่า ประตูโคดม ท่าที่พระองค์เสด็จข้ามแม่น้ำคงคา จะได้ชื่อว่า ท่าพระโคดม ต่อมา ประตูที่พระผู้มีพระภาคเสด็จผ่านไปนั้นได้ปรากฏนามว่า ประตูพระโคดม ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จไปทางแม่น้ำคงคา เวลานั้น แม่น้ำคงคามีน้ำเต็ม เสมอตลิ่ง นกกาพอดื่มกินได้ คนทั้งหลายผู้ปรารถนาจะข้ามฟาก บางพวกเที่ยว หาเรือ บางพวกเที่ยวหาแพ บางพวกผูกทุ่น พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ทรงหายไปจากฝั่งนี้แห่งแม่น้ำคงคา ไปปรากฏพระวรกายที่ฝั่งโน้น เหมือนบุรุษมี กำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคทอดพระเนตรเห็นคนเหล่านั้นผู้ปรารถนาจะข้ามฟาก บางพวก เที่ยวหาเรือ บางพวกเที่ยวหาแพ บางพวกผูกทุ่น ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่าพุทธอุทาน คนพวกหนึ่งกำลังสร้างสะพาน ข้ามสระใหญ่ โดยมิให้แปดเปื้อนด้วยโคลนตม ขณะที่คนอีกพวกหนึ่งกำลังผูกทุ่นอยู่ ชนผู้ฉลาดได้ข้ามพ้นไปแล้ว๑-ปาฏลิคามิยสูตรที่ ๖ จบ @เชิงอรรถ : @๑ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๕/๒๘๖/๑๐๐-๑๐๑, ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๕๓-๑๕๔/๙๖-๙๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๓๓๗}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๓๓๑-๓๓๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=25&siri=111 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=4145&Z=4279 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=169 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=169&items=6 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=26&A=9729 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=169&items=6 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=26&A=9729 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/ud/ud.8.06.than.html https://suttacentral.net/ud8.6/en/anandajoti https://suttacentral.net/ud8.6/en/sujato
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]