ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๒. สีลมยญาณนิทเทส

๒. สีลมยญาณนิทเทส
แสดงสีลมยญาณ
[๓๗] ปัญญาในการสดับธรรมแล้วสำรวมไว้ ชื่อว่าสีลมยญาณ เป็นอย่างไร คือ ศีล ๕ อย่าง ได้แก่ ๑. ปริยันตปาริสุทธิศีล (ศีลคือความบริสุทธิ์อันมีที่สุด) ๒. อปริยันตปาริสุทธิศีล (ศีลคือความบริสุทธิ์อันไม่มีที่สุด) ๓. ปริปุณณปาริสุทธิศีล (ศีลคือความบริสุทธิ์บริบูรณ์) ๔. อปรามัฏฐปาริสุทธิศีล (ศีลคือความบริสุทธิ์ที่ไม่ยึดมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ) ๕. ปฏิปัสสัทธิปาริสุทธิศีล (ศีลคือความบริสุทธิ์เพราะการสงบระงับ) ในศีล ๕ อย่างนั้น ปริยันตปาริสุทธิศีล เป็นอย่างไร คือ ศีลของอนุปสัมบันผู้มีสิกขาบทอันมีที่สุด นี้ชื่อว่าปริยันตปาริสุทธิศีล อปริยันตปาริสุทธิศีล เป็นอย่างไร คือ ศีลของอุปสัมบันผู้มีสิกขาบทอันไม่มีที่สุด นี้ชื่อว่าอปริยันตปาริสุทธิศีล ปริปุณณปาริสุทธิศีล เป็นอย่างไร คือ ศีลของกัลยาณปุถุชนผู้ประกอบกุศลธรรม บำเพ็ญธรรมซึ่งเป็นที่สุดของ พระเสขะให้บริบูรณ์ ไม่อาลัยในกายและชีวิต สละชีวิตแล้ว นี้ชื่อว่าปริปุณณ- ปาริสุทธิศีล อปรามัฏฐปาริสุทธิศีล เป็นอย่างไร คือ ศีลของพระเสขะ ๗ จำพวก นี้ชื่อว่าอปรามัฏฐปาริสุทธิศีล ปฏิปัสสัทธิปาริสุทธิศีล เป็นอย่างไร คือ ศีลของสาวกพระตถาคตผู้เป็นพระขีณาสพ ของพระปัจเจกพุทธเจ้า และ ของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า นี้ชื่อว่าปฏิปัสสัทธิปาริสุทธิศีล [๓๘] ศีลมีที่สุดก็มี ศีลไม่มีที่สุดก็มี ในศีล ๒ อย่างนั้น ศีลมีที่สุดนั้น เป็นอย่างไร คือ ศีลมีลาภเป็นที่สุดก็มี ศีลมียศเป็นที่สุดก็มี ศีลมีญาติเป็นที่สุดก็มี ศีลมี อวัยวะเป็นที่สุดก็มี ศีลมีชีวิตเป็นที่สุดก็มี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๒. สีลมยญาณนิทเทส

ศีลมีลาภเป็นที่สุดนั้น เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ล่วงละเมิดสิกขาบทตามที่ได้สมาทานไว้ เพราะลาภ เป็นเหตุ เพราะลาภเป็นปัจจัย เพราะลาภเป็นตัวการณ์ ศีลนี้ชื่อว่ามีลาภเป็นที่สุด ศีลมียศเป็นที่สุดนั้น เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ล่วงละเมิดสิกขาบทตามที่ได้สมาทานไว้ เพราะยศ เป็นเหตุ เพราะยศเป็นปัจจัย เพราะยศเป็นตัวการณ์ ศีลนี้ชื่อว่ามียศเป็นที่สุด ศีลมีญาติเป็นที่สุดนั้น เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ล่วงละเมิดสิกขาบทตามที่ได้สมาทานไว้ เพราะ ญาติเป็นเหตุ เพราะญาติเป็นปัจจัย เพราะญาติเป็นตัวการณ์ ศีลนี้ชื่อว่ามีญาติเป็น ที่สุด ศีลมีอวัยวะเป็นที่สุดนั้น เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ล่วงละเมิดสิกขาบทตามที่ได้สมาทานไว้ เพราะ อวัยวะเป็นเหตุ เพราะอวัยวะเป็นปัจจัย เพราะอวัยวะเป็นตัวการณ์ ศีลนี้ชื่อว่ามี อวัยวะเป็นที่สุด ศีลมีชีวิตเป็นที่สุดนั้น เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ล่วงละเมิดสิกขาบทตามที่ได้สมาทานไว้ เพราะชีวิต เป็นเหตุ เพราะชีวิตเป็นปัจจัย เพราะชีวิตเป็นตัวการณ์ ศีลนี้ชื่อว่ามีชีวิตเป็นที่สุด ศีลดังกล่าวนี้เป็นศีลขาด ทะลุ ด่าง พร้อย ไม่เป็นไท ท่านผู้รู้ไม่สรรเสริญ ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ เป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความปราโมทย์ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งปีติ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งปัสสัทธิ ไม่เป็น ที่ตั้งแห่งความสุข ไม่เป็นที่ตั้งแห่งสมาธิ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งยถาภูตญาณทัสสนะ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ศีลนี้ชื่อว่ามีที่สุด ศีลไม่มีที่สุดนั้น เป็นอย่างไร คือ ศีลไม่มีลาภเป็นที่สุดก็มี ศีลไม่มียศเป็นที่สุดก็มี ศีลไม่มีญาติเป็นที่สุดก็มี ศีลไม่มีอวัยวะเป็นที่สุดก็มี ศีลไม่มีชีวิตเป็นที่สุดก็มี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๒. สีลมยญาณนิทเทส

ศีลไม่มีลาภเป็นที่สุดนั้น เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้ความคิดที่จะล่วงละเมิดสิกขาบทตามที่ได้ สมาทานไว้ เพราะลาภเป็นเหตุ เพราะลาภเป็นปัจจัย เพราะลาภเป็นตัวการณ์ ก็ไม่ เกิดขึ้น ไฉนเขาจักล่วงละเมิดสิกขาบทเล่า ศีลนี้ชื่อว่าไม่มีลาภเป็นที่สุด ศีลไม่มียศเป็นที่สุดนั้น เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้ความคิดที่จะล่วงละเมิดสิกขาบทตามที่ได้ สมาทานไว้ เพราะยศเป็นเหตุ เพราะยศเป็นปัจจัย เพราะยศเป็นตัวการณ์ ก็ไม่เกิดขึ้น ไฉนเขาจักล่วงละเมิดสิกขาบทเล่า ศีลนี้ชื่อว่าไม่มียศเป็นที่สุด ศีลไม่มีญาติเป็นที่สุดนั้น เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้ความคิดที่จะล่วงละเมิดสิกขาบทตามที่ได้ สมาทานไว้ เพราะญาติเป็นเหตุ เพราะญาติเป็นปัจจัย เพราะญาติเป็นตัวการณ์ ก็ไม่ เกิดขึ้น ไฉนเขาจักล่วงละเมิดสิกขาบทเล่า ศีลนี้ชื่อว่าไม่มีญาติเป็นที่สุด ศีลไม่มีอวัยวะเป็นที่สุดนั้น เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้ความคิดที่จะล่วงละเมิดสิกขาบทตามที่ได้ สมาทานไว้ เพราะอวัยวะเป็นเหตุ เพราะอวัยวะเป็นปัจจัย เพราะอวัยวะเป็นตัวการณ์ ก็ไม่เกิดขึ้น ไฉนเขาจักล่วงละเมิดสิกขาบทเล่า ศีลนี้ชื่อว่าไม่มีอวัยวะเป็นที่สุด ศีลไม่มีชีวิตเป็นที่สุดนั้น เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้ความคิดที่จะล่วงละเมิดสิกขาบทตามที่ได้ สมาทานไว้ เพราะชีวิตเป็นเหตุ เพราะชีวิตเป็นปัจจัย เพราะชีวิตเป็นตัวการณ์ ก็ไม่ เกิดขึ้น ไฉนเขาจักล่วงละเมิดสิกขาบทเล่า ศีลนี้ชื่อว่าไม่มีชีวิตเป็นที่สุด ศีลดังกล่าวนี้เป็นศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้ สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความ เดือดร้อน เป็นที่ตั้งแห่งความปราโมทย์ เป็นที่ตั้งแห่งปีติ เป็นที่ตั้งแห่งปัสสัทธิ เป็นที่ตั้งแห่งความสุข เป็นที่ตั้งแห่งสมาธิ เป็นที่ตั้งแห่งยถาภูตญาณทัสสนะ ย่อม เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อระงับ เพื่อ รู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ศีลนี้ชื่อว่าไม่มีที่สุด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๒. สีลมยญาณนิทเทส

[๓๙] อะไรชื่อว่าศีล ศีลมีเท่าไร ศีลมีอะไรเป็นสมุฏฐาน ศีลเป็นที่รวมแห่ง ธรรมอะไร อะไร ชื่อว่าศีล เจตนาชื่อว่าศีล เจตสิกชื่อว่าศีล ความสำรวมชื่อว่าศีล ความไม่ล่วงละเมิด ชื่อว่าศีล ศีลมีเท่าไร ศีลมี ๓ คือ (๑) กุศลศีล (๒) อกุศลศีล (๓) อัพยากตศีล ศีลมีอะไรเป็นสมุฏฐาน กุศลศีลมีกุศลจิตเป็นสมุฏฐาน อกุศลศีลมีอกุศลจิตเป็นสมุฏฐาน อัพยากตศีล มีอัพยากตจิตเป็นสมุฏฐาน ศีลเป็นที่รวมแห่งธรรมอะไร ศีลเป็นที่รวมแห่งความสำรวม เป็นที่รวมแห่งความไม่ล่วงละเมิด เป็นที่รวม แห่งเจตนาที่เกิดในขณะสำรวมและไม่ล่วงละเมิดนั้น [๔๐] ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวม๑- ปาณาติบาต ชื่อว่าศีล เพราะ มีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดปาณาติบาต ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวม อทินนาทาน ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดอทินนาทาน ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวมกาเมสุมิจฉาจาร ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าไม่ ล่วงละเมิดกาเมสุมิจฉาจาร ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวมมุสาวาท ชื่อว่า ศีล เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดมุสาวาท ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่า สำรวมปิสุณาวาจา ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดปิสุณาวาจา ชื่อว่า ศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวมผรุสวาจา ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วง ละเมิดผรุสวาจา ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวมสัมผัปปลาปะ ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดสัมผัปปลาปะ ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่า สำรวมอภิชฌา ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดอภิชฌา ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวมพยาบาท ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วง @เชิงอรรถ : @ คำว่า สำรวม ในที่นี้หมายถึงปิดกั้น ห้าม ระมัดระวัง (ขุ.ป.อ. ๑/๔๐/๒๓๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๖๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๒. สีลมยญาณนิทเทส

ละเมิดพยาบาท ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวมมิจฉาทิฏฐิ ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดมิจฉาทิฏฐิ [๔๑] ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวมกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ ชื่อว่า ศีล เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ ... พยาบาทด้วย อพยาบาท ... ถีนมิทธะด้วยอาโลกสัญญา ... อุทธัจจะด้วยอวิกเขปะ ... วิจิกิจฉา ด้วยธัมมววัตถาน ... อวิชชาด้วยญาณ ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวมอรติ ด้วยปามุชชะ ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดอรติด้วยปามุชชะ ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวมนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ชื่อว่าศีล เพราะ มีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ... วิตกวิจารด้วยทุติยฌาน ... ปีติด้วยตติยฌาน ... สุขและทุกข์ด้วยจตุตถฌาน ... รูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญาด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ ... อากาสานัญจายตนสมาบัติด้วย วิญญาณัญจายตนสัญญา ... วิญญาณัญจายตนสัญญาด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวมอากิญจัญญายตนสัญญาด้วยเนวสัญญานา- สัญญายตนสมาบัติ ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดอากิญจัญญายตน- สัญญาด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวมนิจจสัญญาด้วยอนิจจานุปัสสนา ชื่อว่า ศีล เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดนิจจสัญญาด้วยอนิจจานุปัสสนา ... สุขสัญญาด้วยทุกขานุปัสสนา ... อัตตสัญญาด้วยอนัตตานุปัสสนา ... นันทิด้วย นิพพิทานุปัสสนา ... ราคะด้วยวิราคานุปัสสนา ... สมุทัยด้วยนิโรธานุปัสสนา ... อาทานะด้วยปฏินิสสัคคานุปัสสนา ... ฆนสัญญาด้วยขยานุปัสสนา ... อายุหนะด้วย วยานุปัสสนา ... ธุวสัญญาด้วยวิปริณามานุปัสสนา ... นิมิตด้วยอนิมิตตานุปัสสนา ... ปณิธิด้วยอัปปณิหิตานุปัสสนา ... อภินิเวสด้วยสุญญตานุปัสสนา ... สาราทานา- ภินิเวสด้วยอธิปัญญาธัมมวิปัสสนา ... สัมโมหาภินิเวสด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ ... อาลยาภินิเวสด้วยอาทีนวานุปัสสนา ... อัปปฏิสังขาด้วยปฏิสังขานุปัสสนา ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวมสัญโญคาภินิเวสด้วยวิวัฏฏนานุปัสสนา ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดสัญโญคาภินิเวสด้วยวิวัฏฏนานุปัสสนา ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวมกิเลสที่ตั้งอยู่รวมกันกับทิฏฐิด้วยโสดา- ปัตติมรรค ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดกิเลสที่ตั้งอยู่รวมกันกับ ทิฏฐิด้วยโสดาปัตติมรรค ... กิเลสอย่างหยาบด้วยสกทาคามิมรรค ... กิเลสอย่าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๖๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๒. สีลมยญาณนิทเทส

ละเอียดด้วยอนาคามิมรรค ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวมกิเลสทั้งปวง ด้วยอรหัตตมรรค ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดกิเลสทั้งปวง ด้วยอรหัตตมรรค ศีล ๕ ประเภท คือ ๑. การละปาณาติบาต ชื่อว่าศีล ๒. การเว้นปาณาติบาต ชื่อว่าศีล ๓. เจตนาที่เป็นข้าศึกต่อปาณาติบาต ชื่อว่าศีล ๔. ความสำรวมปาณาติบาต ชื่อว่าศีล ๕. ความไม่ล่วงละเมิดปาณาติบาต ชื่อว่าศีล ศีลดังกล่าวนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เดือดร้อนใจ เพื่อปราโมทย์ เพื่อปีติ เพื่อปัสสัทธิ เพื่อโสมนัส เพื่อการปฏิบัติโดยเอื้อเฟื้อ เพื่อความเจริญ เพื่อทำให้มาก เพื่อเป็นเครื่องประดับ เพื่อเป็นเครื่องป้องกัน เพื่อเป็นเครื่องแวดล้อม เพื่อความ สมบูรณ์ ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ความบริสุทธิ์ด้วยความสำรวมแห่งศีลดังกล่าวนี้ ชื่อว่าอธิสีล จิตที่ตั้งอยู่ใน ความบริสุทธิ์ด้วยความสำรวม ย่อมไม่ฟุ้งซ่าน ความบริสุทธิ์แห่งจิตที่ไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอธิจิต พระโยคาวจรเห็นความบริสุทธิ์ด้วยความสำรวมโดยชอบ เห็นความ บริสุทธิ์แห่งจิตที่ไม่ฟุ้งซ่านโดยชอบ ความบริสุทธิ์แห่งความเห็น (ทั้งสองประการนี้) ชื่อว่าอธิปัญญา บรรดาความสำรวม ความไม่ฟุ้งซ่าน และความเห็นนั้น ความสำรวม ชื่อว่า อธิสีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอธิจิตตสิกขา ความเห็น ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา พระโยคาวจรเมื่อนึกถึงสิกขา ๓ นี้ ชื่อว่าศึกษา เมื่อรู้ ชื่อว่าศึกษา เมื่อเห็น ชื่อว่าศึกษา เมื่อพิจารณา ชื่อว่าศึกษา เมื่ออธิษฐานจิต ชื่อว่าศึกษา เมื่อน้อมใจเชื่อ ด้วยศรัทธา ชื่อว่าศึกษา เมื่อประคองความเพียรไว้ ชื่อว่าศึกษา เมื่อตั้งสติไว้มั่น ชื่อว่าศึกษา เมื่อตั้งจิตไว้มั่น ชื่อว่าศึกษา เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา ชื่อว่าศึกษา เมื่อรู้ ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าศึกษา เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ชื่อว่าศึกษา เมื่อละธรรมที่ควรละ ชื่อว่าศึกษา เมื่อทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าศึกษา เมื่อเจริญธรรมที่ควรให้เจริญ ชื่อว่าศึกษา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๖๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๒. สีลมยญาณนิทเทส

ศีล ๕ ประเภท คือ การละอทินนาทาน ชื่อว่าศีล ฯลฯ๑- การละกาเมสุมิจฉาจาร ฯลฯ การละ มุสาวาท ฯลฯ การละปิสุณาวาจา ฯลฯ การละผรุสวาจา ฯลฯ การละสัมผัปปลาปะ ฯลฯ การละอภิชฌา ฯลฯ การละพยาบาท ฯลฯ การละมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ การละกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ ฯลฯ การละพยาบาทด้วยอพยาบาท ฯลฯ การละถีนมิทธะด้วยอาโลกสัญญา ฯลฯ การละอุทธัจจะด้วยอวิกเขปะ ฯลฯ การละ วิจิกิจฉาด้วยธัมมววัตถาน ฯลฯ การละอวิชชาด้วยญาณ ฯลฯ การละอรติด้วย ปามุชชะ ฯลฯ การละนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ การละวิตกวิจารด้วยทุติยฌาน ฯลฯ การละ ปีติด้วยตติยฌาน ฯลฯ การละสุขและทุกข์ด้วยจตุตถฌาน ฯลฯ การละรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญาด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ การละ อากาสานัญจายตนสัญญาด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ การละวิญญาณัญ- จายตนสัญญาด้วยอากิญจัญญายตนสัญญาสมาบัติ ฯลฯ การละอากิญจัญญายตน- สัญญาด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ การละสุขสัญญาด้วยทุกขานุปัสสนา ฯลฯ การละอัตตสัญญาด้วยอนัตตา- นุปัสสนา ฯลฯ การละนันทิด้วยนิพพิทานุปัสสนา ฯลฯ การละราคะด้วยวิราคา- นุปัสสนา ฯลฯ การละสมุทัยด้วยนิโรธานุปัสสนา ฯลฯ การละอาทานะด้วย ปฏินิสสัคคานุปัสสนา ฯลฯ การละฆนสัญญาด้วยขยานุปัสสนา ฯลฯ การละ อายุหนะด้วยวยานุปัสสนา ฯลฯ การละธุวสัญญาด้วยวิปริณามานุปัสสนา ฯลฯ การละนิมิตด้วยอนิมิตตานุปัสสนา ฯลฯ การละปณิธิด้วยอัปปณิหิตานุปัสสนา ฯลฯ การละอภินิเวสด้วยสุญญตานุปัสสนา ฯลฯ การละสาราทานาภินิเวสด้วย อธิปัญญาธัมมวิปัสสนา ฯลฯ การละสัมโมหาภินิเวสด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ ฯลฯ การละอาลยาภินิเวสด้วยอาทีนวานุปัสสนา ฯลฯ การละอัปปฏิสังขาด้วย ปฏิสังขานุปัสสนา ฯลฯ การละสัญโญคาภินิเวสด้วยวิวัฏฏนานุปัสสนา ฯลฯ การละกิเลสที่ตั้งอยู่รวมกันกับทิฏฐิด้วยโสดาปัตติมรรค ฯลฯ การละกิเลสที่ หยาบด้วยสกทาคามิมรรค ฯลฯ การละกิเลสที่ละเอียดด้วยอนาคามิมรรค ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ดูเนื้อความเต็มในศีล ๕ ประเภทในรอบแรกและรอบสุดท้าย ต่างกันเพียงองค์ธรรมเท่านั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๖๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๒. สีลมยญาณนิทเทส

(ศีล ๕ ประเภท คือ) ๑. การละกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตตมรรค ชื่อว่าศีล ๒. การเว้นกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตตมรรค ชื่อว่าศีล ๓. เจตนาที่เป็นข้าศึกต่อกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตตมรรค ชื่อว่าศีล ๔. ความสำรวมกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตตมรรค ชื่อว่าศีล ๕. ความไม่ล่วงละเมิดกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตตมรรค ชื่อว่าศีล ศีลดังกล่าวนี้ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เดือดร้อน เพื่อปราโมทย์ เพื่อปีติ เพื่อ ปัสสัทธิ เพื่อโสมนัส เพื่อการปฏิบัติโดยเอื้อเฟื้อ เพื่อความเจริญ เพื่อทำให้มาก เพื่อเป็นเครื่องประดับ เพื่อเป็นเครื่องป้องกัน เพื่อเป็นเครื่องแวดล้อม เพื่อความ สมบูรณ์ ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน [๔๒] ความบริสุทธิ์ด้วยความสำรวมแห่งศีลดังกล่าวนี้ ชื่อว่าอธิสีล จิตที่ตั้ง อยู่ในความบริสุทธิ์ด้วยความสำรวม ย่อมไม่ฟุ้งซ่าน ความบริสุทธิ์แห่งจิตที่ไม่ ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอธิจิต พระโยคาวจรเห็นความบริสุทธิ์ด้วยความสำรวมโดยชอบ เห็นความบริสุทธิ์แห่งจิตที่ไม่ฟุ้งซ่านโดยชอบ ความบริสุทธิ์แห่งความเห็น (ทั้งสอง ประการนี้) ชื่อว่าอธิปัญญา บรรดาความสำรวม ความไม่ฟุ้งซ่าน และความเห็นนั้น ความสำรวม ชื่อว่า อธิสีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอธิจิตตสิกขา ความเห็น ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา พระโยคาวจรเมื่อนึกถึงสิกขา ๓ นี้ ชื่อว่าศึกษา เมื่อรู้ ชื่อว่าศึกษา เมื่อเห็น ชื่อว่าศึกษา เมื่อพิจารณา ชื่อว่าศึกษา เมื่ออธิษฐานจิต ชื่อว่าศึกษา เมื่อน้อมใจเชื่อ ด้วยศรัทธา ชื่อว่าศึกษา เมื่อประคองความเพียร ชื่อว่าศึกษา เมื่อตั้งสติไว้มั่น ชื่อว่าศึกษา เมื่อตั้งจิตไว้มั่น ชื่อว่าศึกษา เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา ชื่อว่าศึกษา เมื่อรู้ยิ่ง ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าศึกษา เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ชื่อว่าศึกษา เมื่อละ ธรรมที่ควรละ ชื่อว่าศึกษา เมื่อทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าศึกษา เมื่อ เจริญธรรมที่ควรให้เจริญ ชื่อว่าศึกษา ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะ เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการสดับธรรมแล้วสำรวมไว้ ชื่อว่าสีลมยญาณ (ญาณในการสำรวมศีล)
สีลมยญาณนิทเทสที่ ๒ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๖๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๕๗-๖๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=31&siri=15              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=951&Z=1087                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=86              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=31&item=86&items=6              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=47&A=4865              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=31&item=86&items=6              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=47&A=4865                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :