ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๑๐. กุสลนิทเทส

๑๐. กุสลนิทเทส
กามาวจรกุศลจิต ๘
มหากุศลจิตดวงที่ ๑
[๒๙๒] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูป เป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณ จึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะ อธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ [๒๙๓] บรรดาสภาวธรรมที่เป็นกุศลเหล่านั้น กุศลมูล เป็นไฉน กุศลมูล คือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ ในกุศลมูลนั้น อโลภะ เป็นไฉน ความไม่โลภ กิริยาที่ไม่โลภ ภาวะที่ไม่โลภ ความไม่กำหนัด กิริยาที่ไม่กำหนัด ภาวะที่ไม่กำหนัด ความไม่เพ่งเล็ง กุศลมูลคืออโลภะ นี้เรียกว่า อโลภะ๑- อโทสะ เป็นไฉน ความไม่คิดประทุษร้าย กิริยาที่ไม่คิดประทุษร้าย ภาวะที่ไม่คิดประทุษร้าย ความไม่คิดพยาบาท ความไม่คิดเบียดเบียน กุศลมูลคืออโทสะ นี้เรียกว่า อโทสะ๒- @เชิงอรรถ : @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๓๒/๒๖ @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๓๓/๒๖, สํ.ม. ๑๙/๘๑๓/๒๒๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๗๒}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๑๐. กุสลนิทเทส

อโมหะ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ นี้เรียกว่า อโมหะ สภาวธรรมเหล่านี้เรียกว่า กุศลมูล ในปัจจยาการนั้น เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เป็นไฉน ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี ฯลฯ เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เป็นไฉน ฯลฯ นี้เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เป็นไฉน ศรัทธา ความเชื่อ กิริยาที่ปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง นี้เรียกว่า เพราะ เวทนาเป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เป็นไฉน ความตัดสินอารมณ์ กิริยาที่ตัดสินอารมณ์ ภาวะที่จิตตัดสินอารมณ์นั้น นี้เรียกว่า เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เป็นไฉน เว้นอธิโมกข์แล้ว เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้เรียกว่า เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี ฯลฯ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๗๓}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๑๐. กุสลนิทเทส

มหากุศลจิตดวงที่ ๒-๔
[๒๙๔] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็น อารมณ์ ฯลฯ โดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณมี รูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ในสมัยใด ใน สมัยนั้น เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะ อายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนา เป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็น ปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ [๒๙๕] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น กุศลมูล เป็นไฉน กุศลมูล คือ อโลภะ และอโทสะ ในกุศลมูลนั้น อโลภะ เป็นไฉน ความไม่โลภ กิริยาที่ไม่โลภ ภาวะที่ไม่โลภ ความไม่กำหนัด กิริยาที่ไม่ กำหนัด ภาวะที่ไม่กำหนัด ความไม่เพ่งเล็ง กุศลมูลคืออโลภะ นี้เรียกว่า อโลภะ อโทสะ เป็นไฉน ความไม่คิดประทุษร้าย กิริยาที่ไม่คิดประทุษร้าย ภาวะที่ไม่คิดประทุษร้าย ความไม่คิดพยาบาท ความไม่คิดเบียดเบียน กุศลมูลคืออโทสะ นี้เรียกว่า อโทสะ สภาวธรรมเหล่านี้เรียกว่า กุศลมูล เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เป็นไฉน ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขารจึงมี ฯลฯ นี้เรียกว่า เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๗๔}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๑๐. กุสลนิทเทส

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เป็นไฉน ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อัน เกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส นี้เรียก ว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ฯลฯ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
มหากุศลจิตดวงที่ ๕-๖
[๒๙๖] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ มีรูป เป็นอารมณ์ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มี ธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น โดยมีเหตุชักจูง ในสมัยใด ใน สมัยนั้น เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะ อายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนา เป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็น ปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ [๒๙๗] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น กุศลมูล เป็นไฉน กุศลมูล คือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้เรียกว่า กุศลมูล เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เป็นไฉน ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขารจึงมี ฯลฯ นี้เรียกว่า เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เป็นไฉน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๗๕}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๑๐. กุสลนิทเทส

ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิด แต่เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ฯลฯ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
มหากุศลจิตดวงที่ ๗-๘
[๒๙๘] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ มีรูป เป็นอารมณ์ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น โดยมีเหตุชักจูง ในสมัยใด ใน สมัยนั้น เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะ อธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ [๒๙๙] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น กุศลมูล เป็นไฉน กุศลมูล คือ อโลภะ และอโทสะ สภาวธรรมเหล่านี้เรียกว่า กุศลมูล เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เป็นไฉน ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขารจึงมี ฯลฯ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๗๖}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๑๐. กุสลนิทเทส

รูปาวจรกุศลจิต
[๓๐๐] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐม- ฌานมีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นาม จึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะ จึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะ ปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพ เป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ [๓๐๑] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น กุศลมูล เป็นไฉน กุศลมูล คือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ สภาวธรรมเหล่านี้เรียกว่า กุศลมูล เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เป็นไฉน ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขารจึงมี ฯลฯ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
อรูปาวจรกุศลจิต
[๓๐๒] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญา- ยตนะได้โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญา- ยตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะ วิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะ อายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๗๗}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๑๐. กุสลนิทเทส

เป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็น ปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ [๓๐๓] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น กุศลมูล เป็นไฉน กุศลมูล คือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ สภาวธรรมเหล่านี้เรียกว่า กุศลมูล ในกุศลมูลนั้น เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เป็นไฉน ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขารจึงมี ฯลฯ นี้เรียกว่า เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เป็นไฉน ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อัน เกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส นี้เรียก ว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ฯลฯ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
โลกุตตรกุศลจิต
[๓๐๔] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นาม จึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพ เป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี สภาวธรรมเหล่านี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๗๘}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๑๐. กุสลนิทเทส

[๓๐๕] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น กุศลมูล เป็นไฉน กุศลมูล คือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ ในกุศลมูลเหล่านั้น อโลภะ ฯลฯ อโทสะ ฯลฯ อโมหะ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา- ทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า อโมหะ สภาวธรรมเหล่านี้เรียกว่า กุศลมูล เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เป็นไฉน ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขารจึงมี ฯลฯ นี้เรียกว่า เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เป็นไฉน ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เป็นไฉน ศรัทธา ความเชื่อ กิริยาที่ปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง นี้เรียกว่า เพราะเวทนา เป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เป็นไฉน ความตัดสินอารมณ์ กิริยาที่ตัดสินอารมณ์ ภาวะที่จิตตัดสินอารมณ์นั้น นี้เรียกว่า เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เป็นไฉน เว้นอธิโมกข์แล้ว เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้เรียกว่า เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี ฯลฯ นี้เรียกว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๗๙}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๑๑. อัพยากตนิทเทส

คำว่า สภาวธรรมเหล่านี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ นั้น ได้แก่ สภาวะ เหล่านี้ไปร่วม มาร่วม ประชุมร่วม ปรากฏขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า สภาวธรรมเหล่านี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
กุสลนิทเทส จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๒๗๒-๒๘๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=35&siri=24              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=5016&Z=5210                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=358              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=35&item=358&items=14              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=54&A=5357              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=35&item=358&items=14              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=54&A=5357                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vb6/en/anandajoti#pts-p-pi144



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :