ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค]

๑๐. รูปราโครูปธาตุปริยาปันโนติอาทิกถา (๑๖๕)

๑๐. รูปราโครูปธาตุปริยาปันโนติอาทิกถา (๑๖๕)
ว่าด้วยรูปราคะนับเนื่องในรูปธาตุ เป็นต้น
[๗๗๑] สก. รูปราคะนับเนื่องในรูปธาตุใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. รูปราคะเป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ เป็น เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน สหรคต ระคน สัมปยุต เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกันกับจิตดวงที่เป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ ดวงที่เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ ดวงที่เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. รูปราคะไม่เป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ ไม่เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ ไม่เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ฯลฯ มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่าง เดียวกันกับจิตดวงที่ไม่เป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ ฯลฯ มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. รูปราคะไม่เป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ ไม่เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ ไม่เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ฯลฯ มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่าง เดียวกันกับจิตดวงที่ไม่เป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ ฯลฯ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “รูปราคะนับเนื่องในรูปธาตุ” [๗๗๒] สก. รูปราคะนับเนื่องในรูปธาตุใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สัททราคะนับเนื่องในสัททธาตุใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๗๑/๒๘๘-๒๘๙) @ เพราะมีความเห็นว่า รูปราคะจัดเข้าในรูปธาตุ ส่วนอรูปราคะจัดเข้าในอรูปธาตุ @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๗๑/๒๘๘-๒๘๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๘๑๑}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค]

๑๐. รูปราโครูปธาตุปริยาปันโนติอาทิกถา (๑๖๕)

สก. รูปราคะนับเนื่องในรูปธาตุใช่ไหม ปร. ใช่ สก. คันธราคะ ฯลฯ รสราคะ ฯลฯ โผฏฐัพพราคะ นับเนื่องในโผฏฐัพพธาตุ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สัททราคะ ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในสัททธาตุ” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. รูปราคะ ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในรูปธาตุ” ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. คันธราคะ ฯลฯ รสราคะ ฯลฯ โผฏฐัพพราคะ ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในโผฏฐัพพธาตุ” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. รูปราคะ ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในรูปธาตุ” ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๗๓] สก. อรูปราคะนับเนื่องในอรูปธาตุใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อรูปราคะ ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในอรูปธาตุ” ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. อรูปราคะนับเนื่องในอรูปธาตุใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อรูปราคะเป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ เป็น เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน สหรคต เกิดร่วม ระคน สัมปยุต เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกันกับจิตดวงที่เป็นเครื่อง แสวงหาสมาบัติ ดวงที่เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ ดวงที่เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขใน ปัจจุบันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๘๑๒}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค]

๑๐. รูปราโครูปธาตุปริยาปันโนติอาทิกถา (๑๖๕)

สก. อรูปราคะไม่เป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ ไม่เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ ไม่เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ฯลฯ มีวัตถุเป็นอันเดียวกัน มีอารมณ์เป็นอันเดียว กันกับจิตดวงที่ไม่เป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ ฯลฯ มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากอรูปราคะไม่เป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ ไม่เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ ไม่เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน สหรคต เกิดร่วม ระคน สัมปยุต เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกันกับจิตดวงที่ไม่เป็น เครื่องแสวงหาสมาบัติ ดวงที่ไม่เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ ดวงที่ไม่เป็นเครื่องอยู่เป็น สุขในปัจจุบัน ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “อรูปราคะนับเนื่องในอรูปธาตุ” [๗๗๔] สก. อรูปราคะนับเนื่องในอรูปธาตุใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สัททราคะนับเนื่องในสัททธาตุใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. อรูปราคะนับเนื่องในอรูปธาตุใช่ไหม ปร. ใช่ สก. คันธราคะ ฯลฯ รสราคะ ฯลฯ โผฏฐัพพราคะ นับเนื่องในโผฏฐัพพธาตุ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สัททราคะ ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในสัททธาตุ” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อรูปราคะ ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในอรูปธาตุ” ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๘๑๓}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค]

รวมกถาที่มีในวรรค

สก. คันธราคะ ฯลฯ รสราคะ ฯลฯ โผฏฐัพพราคะ ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในโผฏฐัพพธาตุ” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อรูปราคะ ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในอรูปธาตุ” ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๗๕] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “รูปราคะนับเนื่องในรูปธาตุ อรูปราคะนับเนื่อง ในอรูปธาตุ” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. กามราคะนับเนื่องในกามธาตุมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. หากกามราคะนับเนื่องในกามธาตุ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “รูปราคะ นับเนื่องในรูปธาตุ อรูปราคะนับเนื่องในอรูปธาตุ”
รูปราโครูปธาตุปริยาปันโนติอาทิกถา จบ
โสฬสมวรรค จบ
รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. นิคคหกถา ๒. ปัคคหกถา ๓. สุขานุปปทานกถา ๔. อธิคัยหมนสิการกถา ๕. รูปังเหตูติกถา ๖. รูปังสเหตุกันติกถา ๗. รูปังกุสลากุสลันติกถา ๘. รูปังวิปาโกติกถา ๙. รูปังรูปาวจรารูปาวจรันติกถา ๑๐. รูปราโครูปธาตุปริยาปันโนติอาทิกถา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๘๑๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๘๑๑-๘๑๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=37&siri=183              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=37&A=17512&Z=17601                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1682              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1682&items=7              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=6499              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1682&items=7              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=6499                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv16.10/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :