ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๑

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

๑. สัมมุขาวินัย

๔. สมถขันธกะ
๑. สัมมุขาวินัย
ว่าด้วยระงับอธิกรณ์ในที่พร้อมหน้า
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๑๘๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ลงตัชชนีย กรรมบ้าง นิยสกรรมบ้าง ปัพพาชนียกรรมบ้าง ปฏิสารณียกรรมบ้าง อุกเขปนีย กรรมบ้าง แก่ภิกษุทั้งหลายผู้มิได้อยู่ต่อหน้า บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงได้ลงตัชชนียกรรมบ้าง นิยสกรรมบ้าง ปัพพาชนียกรรมบ้าง ปฏิสารณียกรรมบ้าง อุกเขปนียกรรมบ้าง แก่ภิกษุทั้งหลายผู้มิได้อยู่ต่อหน้าเล่า” แล้วได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ลงตัชชนียกรรมบ้าง นิยสกรรมบ้าง ปัพพาชนียกรรม บ้าง ปฏิสารณียกรรมบ้าง อุกเขปนียกรรมบ้าง แก่ภิกษุทั้งหลายผู้มิได้อยู่ต่อหน้า จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษ เหล่านั้น ไม่สมควร ไม่คล้อยตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควร ทำเลย ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้นจึงได้ลงตัชชนียกรรมบ้าง นิยสกรรมบ้าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๒๙๕}

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

๑. สัมมุขาวินัย

ปัพพาชนียกรรมบ้าง ปฏิสารณียกรรมบ้าง อุกเขปนียกรรมบ้าง แก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้มิได้อยู่ต่อหน้าเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น มิได้ทำ คนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถารับ สั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมก็ดี นิยสกรรมก็ดี ปัพพาชนีย- กรรมก็ดี ปฏิสารณียกรรมก็ดี อุกเขปนียกรรมก็ดี ภิกษุไม่พึงลงแก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้มิได้อยู่ต่อหน้า รูปใดลง ต้องอาบัติทุกกฏ”
ธรรมวาทีและอธรรมวาที
[๑๘๖] อธรรมวาทีบุคคล อธรรมวาทีภิกษุมากรูป อธรรมวาทีสงฆ์ ธรรม วาทีบุคคล ธรรมวาทีภิกษุมากรูป ธรรมวาทีสงฆ์
กัณหปักขนวกะ
ว่าด้วยธรรมฝ่ายดำ ๙ อย่าง
สัมมุขาวินัยปฏิรูป
[๑๘๗] อธรรมวาทีบุคคล ยังธรรมวาทีบุคคลให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ ใคร่ครวญ ให้แสดง ให้แสดงตามว่า “นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านจงถือเอา ข้อนี้ จงพอใจข้อนี้” ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่ชอบธรรม เป็น สัมมุขาวินัยปฏิรูป (๑) อธรรมวาทีบุคคล ยังธรรมวาทีภิกษุมากรูปให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ ใคร่ครวญ ให้แสดง ให้แสดงตามว่า “นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ พวกท่าจง ถือเอาข้อนี้ จงพอใจข้อนี้” ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่ชอบธรรม เป็นสัมมุขาวินัยปฏิรูป (๒) อธรรมวาทีบุคคล ยังธรรมวาทีสงฆ์ให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้แสดง ให้แสดงตามว่า “นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านจงถือเอาข้อนี้ จงพอใจ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๒๙๖}

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

๑. สัมมุขาวินัย

ข้อนี้” ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่ชอบธรรม เป็นสัมมุขาวินัย ปฏิรูป (๓) อธรรมวาทีภิกษุมากรูป ยังธรรมวาทีบุคคลให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ ใคร่ครวญ ให้แสดง ให้แสดงตามว่า “นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านจงถือ เอาข้อนี้ จงพอใจข้อนี้” ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่ชอบธรรม เป็นสัมมุขาวินัยปฏิรูป (๔) อธรรมวาทีภิกษุมากรูป ยังธรรมวาทีภิกษุมากรูปให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้แสดง ให้แสดงตามว่า “นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ พวกท่าน จงถือเอาข้อนี้ จงพอใจข้อนี้” ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่ชอบธรรม เป็นสัมมุขาวินัยปฏิรูป (๕) อธรรมวาทีภิกษุมากรูป ยังธรรมวาทีสงฆ์ให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ ใคร่ครวญ ให้แสดง ให้แสดงตามว่า “นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ พวกท่านจง ถือเอาข้อนี้ จงพอใจข้อนี้” ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่ชอบธรรม เป็นสัมมุขาวินัยปฏิรูป (๖) อธรรมวาทีสงฆ์ ยังธรรมวาทีบุคคลให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้แสดง ให้แสดงตามว่า “นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านจงถือเอาข้อนี้ จงพอใจ ข้อนี้” ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่ชอบธรรม เป็นสัมมุขาวินัย ปฏิรูป (๗) อธรรมวาทีสงฆ์ ยังธรรมวาทีภิกษุมากรูปให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ ใคร่ครวญ ให้แสดง ให้แสดงตามว่า “นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ พวกท่านจง ถือเอาข้อนี้ จงพอใจข้อนี้” ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่ชอบธรรม เป็นสัมมุขาวินัยปฏิรูป (๘) อธรรมวาทีสงฆ์ ยังอธรรมวาทีสงฆ์ให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้แสดง ให้แสดงตามว่า “นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านจงถือเอาข้อนี้ จงพอใจ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๒๙๗}

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

๑. สัมมุขาวินัย

ข้อนี้” ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่ชอบธรรม เป็นสัมมุขาวินัย ปฏิรูป (๙)
กัณหปักขนวกะ จบ
สุกกปักขนวกะ
ว่าด้วยธรรมฝ่ายขาว ๙ อย่าง
สัมมุขาวินัยโดยธรรม
[๑๘๘] ธรรมวาทีบุคคล ยังอธรรมวาทีบุคคลให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ ใคร่ครวญ ให้แสดง ให้แสดงตามว่า “นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านจงถือ เอาข้อนี้ จงพอใจข้อนี้” ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็น สัมมุขาวินัย (๑) ธรรมวาทีบุคคล ยังอธรรมวาทีภิกษุมากรูปให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ ใคร่ครวญ ให้แสดง ให้แสดงตามว่า “นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ พวกท่านจง ถือเอาข้อนี้ จงพอใจข้อนี้” ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็น สัมมุขาวินัย (๒) ธรรมวาทีบุคคล ยังอธรรมวาทีสงฆ์ให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้แสดง ให้แสดงตามว่า “นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ พวกท่านจงถือเอาข้อนี้ จงพอใจข้อนี้” ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็นสัมมุขาวินัย (๓) ธรรมวาทีภิกษุมากรูป ยังอธรรมวาทีบุคคลให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ ใคร่ครวญ ให้แสดง ให้แสดงตามว่า “นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ พวกท่านจง ถือเอา ข้อนี้ จงพอใจข้อนี้” ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็น สัมมุขาวินัย (๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๒๙๘}

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

๑. สัมมุขาวินัย

ธรรมวาทีภิกษุมากรูป ยังอธรรมวาทีภิกษุมากรูปให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้แสดง ให้แสดงตามว่า “นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ พวกท่านจง ถือเอาข้อนี้ จงพอใจข้อนี้” ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็น สัมมุขาวินัย (๕) ธรรมวาทีภิกษุมากรูป ยังอธรรมวาทีสงฆ์ให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ ใคร่ครวญ ให้แสดง ให้แสดงตามว่า “นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ พวกท่านจง ถือเอา ข้อนี้ จงพอใจข้อนี้” ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็น สัมมุขาวินัย (๖) ธรรมวาทีสงฆ์ ยังอธรรมวาทีบุคคลให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้แสดง ให้แสดงตามว่า “นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ พวกท่านจงถือเอาข้อนี้ จงพอใจข้อนี้” ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็นสัมมุขาวินัย (๗) ธรรมวาทีสงฆ์ ยังอธรรมวาทีภิกษุมากรูปให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ ใคร่ครวญ ให้แสดง ให้แสดงตามว่า “นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ พวกท่านจง ถือเอาข้อนี้ จงพอใจข้อนี้” ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็น สัมมุขาวินัย (๘) ธรรมวาทีสงฆ์ ยังอธรรมวาทีสงฆ์ให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้แสดง ให้แสดงตามว่า “นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ พวกท่านจงถือเอาข้อนี้ จงพอใจข้อนี้” ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็นสัมมุขาวินัย (๙)
สุกกปักขนวกะ จบ
สัมมุขาวินัย จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๒๙๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๖ หน้าที่ ๒๙๕-๒๙๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=6&siri=46              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=6&A=7831&Z=7936                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=6&i=585              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=6&item=585&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=6602              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=6&item=585&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=6602                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu6              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd14/en/brahmali# https://suttacentral.net/pli-tv-kd14/en/horner-brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :