ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
กิมิลสูตร
การเจริญอานาปานสติสมาธิ
[๑๓๕๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน ใกล้เมืองกิมิลา ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสถามท่านพระกิมิละว่า ดูกรกิมิละ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อัน ภิกษุเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก? เมื่อพระผู้มี พระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระกิมิละนิ่งอยู่. [๑๓๕๖] แม้ครั้งที่สอง แม้ครั้งที่สาม พระผู้มีพระภาคก็ตรัสถามท่านกิมิละว่า ดูกร กิมิละ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก? ท่านพระกิมิละก็นิ่งอยู่. [๑๓๕๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เป็นกาลสมควรที่พระองค์จะพึงตรัสสมาธิอันสัมปยุตด้วย อานาปานสติ ข้าแต่พระสุคต เป็นกาลสมควรที่พระองค์จะพึงตรัสสมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปาน สติ ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ดูกรอานนท์ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว อย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า ฯลฯ ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละ คืนหายใจออก เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า ดูกรอานนท์ สมาธิอันสัมปยุต ด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์ มาก. [๑๓๕๘] ดูกรอานนท์ สมัยใด ภิกษุเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลม หายใจทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมหายใจทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเรากล่าวกายอันหนึ่ง ในบรรดากายทั้งหลาย ซึ่งได้แก่ลมหายใจออกและลมหายใจเข้า เพราะฉะนั้นแหละอานนท์ สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้. [๑๓๕๙] ดูกรอานนท์ สมัยใด ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็น ผู้กำหนดรู้สุขหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุขหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับจิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับ จิตสังขารหายใจเข้า สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มี สัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเรา กล่าวเวทนาอันหนึ่งในบรรดาเวทนาทั้งหลาย ซึ่งได้แก่การกระทำไว้ในใจให้ดีซึ่งลมหายใจออก และลมหายใจเข้า เพราะฉะนั้นแหละอานนท์ สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้. [๑๓๖๐] ดูกรอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า เราจักกำหนดรู้จิตหายใจ ออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักกำหนดรู้จิตหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้บันเทิง หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้บันเทิงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักตั้งจิต มั่นหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักตั้งจิตมั่นหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเปลื้องจิต หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเปลื้องจิตหายใจเข้า สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิต ในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ข้อ นั้นเพราะเหตุไร? เพราะเราไม่กล่าวซึ่งการเจริญสมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ สำหรับผู้มี สติหลง ไม่มีสัมปชัญญะ เพราะฉะนั้นแหละ อานนท์ สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตใน จิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้. [๑๓๖๑] ดูกรอานนท์ สมัยใด ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความ เป็นของไม่เที่ยงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจออก ย่อมสำเหนียก ว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดย ความดับหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจเข้า ย่อมสำเหนียก ว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดย ความสละคืนหายใจเข้า สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มี สัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัส นั้นด้วยปัญญา จึงวางเฉยเสียได้ เป็นอย่างดี เพราะฉะนั้นแหละอานนท์ สมัยนั้น ภิกษุย่อม พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัส ในโลกเสียได้. [๑๓๖๒] ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนมีกองดินใหญ่อยู่ที่หนทางใหญ่ ๔ แพร่ง ถ้า เกวียนหรือรถผ่านมาในทิศบูรพา ก็ย่อมกระทบกองดินนั้น ถ้าผ่านมาในทิศปัจฉิม ทิศอุดร ทิศ ทักษิณ ก็ย่อมกระทบกองดินนั้นเหมือนกัน ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อพิจารณาเห็น กายในกายอยู่ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ พิจารณาเห็นธรรมใน ธรรมอยู่ ย่อมจะกำจัดอกุศลธรรมอันลามกนั้นเสียได้.
จบ เอกธรรมวรรคที่ ๑.
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. เอกธรรมสูตร ๒. โพชฌงคสูตร ๓. สุทธิกสูตร ๔. ผลสูตรที่ ๑ ๕. ผลสูตรที่ ๒ ๖. อริฏฐสูตร ๗. กัปปินสูตร ๘. ทีปสูตร ๙. เวสาลีสูตร ๑๐. กิมิลสูตร.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๗๘๔๑-๗๙๑๖ หน้าที่ ๓๒๘-๓๓๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=7841&Z=7916&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=19&A=7841&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=308              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1355              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=19&A=7919              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=7640              The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=19&A=7919              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=7640              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/sn54.10/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]