บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
อภิธรรมภาชนีย์ อัฏฐังคิกวาร [๑๗๑] สัจจะ ๔ คือ ๑. ทุกข์ ๒. ทุกขสมุทัย ๓. ทุกขนิโรธ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา [๑๗๒] ในสัจจะ ๔ นั้น ทุกขสมุทัย เป็นไฉน ตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย [๑๗๓] ทุกข์ เป็นไฉน กิเลสที่เหลือ อกุศลธรรมที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ กุศลธรรมอันเป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ วิบากแห่งกุศลธรรม และอกุศล- *ธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ธรรมเป็นกิริยามิใช่กุศล อกุศลและกรรมวิบาก รูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์ [๑๗๔] ทุกขนิโรธ เป็นไฉน การประหาณตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ [๑๗๕] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ [โสดาปัตติผล] สงัด จากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกมีวิจารมีปีติ และสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด มรรคมี องค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ย่อมมีในสมัยนั้น [๑๗๖] ในมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม ความเห็น ชอบ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ [๑๗๗] สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ฯลฯ ความดำริชอบ อันเป็นองค์แห่ง มรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ [๑๗๘] สัมมาวาจา เป็นไฉน การงด การเว้น การเลิกละ เจตนาเครื่องเว้น จากวจีทุจริต ๔ กิริยา ไม่ทำ การไม่ทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัด ต้นเหตุวจีทุจริต ๔ วาจาชอบ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาวาจา [๑๗๙] สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน การงด การเว้น การเลิกละ เจตนาเครื่องเว้น จากกายทุจริต ๓ กิริยา ไม่ทำ การไม่ทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุกายทุจริต ๓ การงานชอบ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ [๑๘๐] สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน การงด การเว้น การเลิกละ เจตนาเครื่องเว้น จากมิจฉาอาชีวะ กิริยา ไม่ทำ การไม่ทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัด ต้นเหตุมิจฉา- *อาชีวะ การเลี้ยงชีพชอบ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ [๑๘๑] สัมมาวายามะ เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ ความพยายามชอบ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ [๑๘๒] สัมมาสติ เป็นไฉน สติ ความตามระลึก ฯลฯ ความระลึกชอบ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็น องค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาสติ [๑๘๓] สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ ความตั้งใจมั่นชอบ สมาธิสัมโพฌงค์ อันเป็น องค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ธรรมทั้งหลายที่เหลือสัมปยุตด้วย ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา [๑๘๔] ในสัจจะ ๔ นั้น ทุกขสมุทัย เป็นไฉน ตัณหาและกิเลสที่เหลือ นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย [๑๘๕] ทุกข์ เป็นไฉน อกุศลธรรมที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ กุศลธรรมที่ เป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ วิบากแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรมที่เป็นอารมณ์ ของอาสวะ ธรรมเป็นกิริยามิใช่กุศลอกุศลและกรรมวิบาก รูปทั้งหมด นี้เรียก ว่า ทุกข์ [๑๘๖] ทุกขนิโรธ เป็นไฉน การประหาณซึ่งตัณหาและกิเลสที่เหลือ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ [๑๘๗] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกมีวิจารมีปีติและสุขอันเกิดแต่ วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาอยู่ในสมัยใด มรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ย่อมมีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ธรรม ทั้งหลายที่เหลือ สัมปยุตด้วยทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา [๑๘๘] ในสัจจะ ๔ นั้น ทุกขสมุทัย เป็นไฉน ตัณหา กิเลสที่เหลือ และอกุศลธรรมที่เหลือนี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย [๑๘๙] ทุกข์ เป็นไฉน กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ กุศลธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ที่เหลือ วิบากแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ธรรมเป็น กิริยามิใช่กุศลอกุศลและกรรมวิบาก รูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์ [๑๙๐] ทุกขนิโรธ เป็นไฉน การประหาณซึ่งตัณหากิเลสที่เหลือและอกุศลธรรมที่เหลือ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ [๑๙๑] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกมีวิจารมีปีติและสุขอันเกิดแต่ วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาอยู่ในสมัยใด มรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมา- *ทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ย่อมมีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ สัมปยุตด้วยทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา [๑๙๒] ในสัจจะ ๔ นั้น ทุกขสมุทัย เป็นไฉน ตัณหา กิเลสที่เหลือ อกุศลธรรมที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ ของอาสวะ นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย [๑๙๓] ทุกข์ เป็นไฉน กุศลธรรมอันเป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ วิบากแห่งกุศลธรรมและ อกุศลธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ธรรมเป็นกิริยามิใช่กุศลอกุศลและกรรม วิบาก รูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์ [๑๙๔] ทุกขนิโรธ เป็นไฉน การประหาณซึ่งตัณหา กิเลสที่เหลือ อกุศลธรรมที่เหลือ และกุศล- *มูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ [๑๙๕] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิสงัดจากกามสงัดจากอกุศล- *ธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกมีวิจารมีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด มรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิย่อมมีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ธรรมทั้งหลาย ที่เหลือ สัมปยุตด้วยทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา [๑๙๖] ในสัจจะ ๔ นั้น ทุกขสมุทัย เป็นไฉน ตัณหา กิเลสที่เหลือ อกุศลธรรมที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของ อาสวะ กุศลธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย [๑๙๗] ทุกข์ เป็นไฉน วิบากแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ธรรมที่เป็น กิริยามิใช่กุศลอกุศลและกรรมวิบาก รูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์ [๑๙๘] ทุกขนิโรธ เป็นไฉน การประหาณซึ่งตัณหา กิเลสที่เหลือ อกุศลธรรมที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ และกุศลธรรมอันเป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ นี้เรียก ว่า ทุกขนิโรธ [๑๙๙] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิสงัดจากกามสงัดจากอกุศล- *ธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกมีวิจารมีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด มรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ย่อมมีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ธรรมทั้งหลาย ที่เหลือ สัมปยุตด้วยทุกขนิโรคามินีปฏิปทาเนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๒๘๖๖-๒๙๘๖ หน้าที่ ๑๒๓-๑๒๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=2866&Z=2986&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=35&A=2866&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=35&siri=15 ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=171 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=35&A=2812 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=54&A=3078 The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=35&A=2812 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=54&A=3078 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_35 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vb4/en/thittila#pts-p-pi106
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]