ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์
๒. อภิธรรมภาชนีย์
อัฏฐังคิกวาร
[๒๐๖] สัจจะ ๔ คือ ๑. ทุกข์ (ทุกข์) ๒. ทุกขสมุทัย (เหตุเกิดแห่งทุกข์) ๓. ทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์) บรรดาสัจจะ ๔ นั้น ทุกขสมุทัย เป็นไฉน ตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย ทุกข์ เป็นไฉน กิเลสที่เหลือ สภาวธรรมที่เป็นอกุศลที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของ อาสวะ สภาวธรรมที่เป็นกุศลที่เหลือซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ วิบากแห่งสภาว- ธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ สภาวธรรมที่เป็นกิริยา ไม่เป็น กุศล ไม่เป็นอกุศล ไม่เป็นวิบากแห่งกรรม และรูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์๒- @เชิงอรรถ : @ ม.อุ. ๑๔/๓๗๕/๓๑๙, ขุ.ป. ๓๑/๓๖/๔๒, อภิ.วิ. ๓๕/๔๘๗/๒๘๒ @ ในอภิธรรมภาชนีย์ท่านยกทุกขสมุทัยขึ้นอธิบายก่อน (อภิ.วิ.อ. ๒๐๖-๒๑๔/๑๓๐-๑๓๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๗๓}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔. สัจจวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ อัฏฐังคิกวาร

ทุกขนิโรธ เป็นไฉน การละตัณหาเสียได้ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ ให้ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ ปฐมฌานที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น มรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ก็เกิดขึ้น บรรดามรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่างๆ ฯลฯ สัมมาสังกัปปะ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา เป็นไฉน ความงด ความเว้น ความเว้นขาด เจตนาเป็นเหตุเว้นจากวจีทุจริต ๔ การไม่ ทำ การเลิกทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุ(แห่งวจีทุจริต ๔) สัมมาวาจา อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน ความงด ความเว้น ความเว้นขาด เจตนาเป็นเหตุเว้นจากกายทุจริต ๓ การ ไม่ทำ การเลิกทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุ(แห่งกายทุจริต ๓) สัมมากัมมันตะ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๗๔}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔. สัจจวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ อัฏฐังคิกวาร

ความงด ความเว้น ความเว้นขาด เจตนาเป็นเหตุเว้นจากมิจฉาชีพ การไม่ ทำ การเลิกทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุ(แห่งมิจฉาชีพ) สัมมาอาชีวะ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็น องค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ สัมมาสติ เป็นไฉน สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ฯลฯ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สภาวธรรมที่เหลือสัมปยุตด้วยทุกขนิโรธ- คามินีปฏิปทา [๒๐๗] ทุกขสมุทัย เป็นไฉน ตัณหาและกิเลสที่เหลือ นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย ทุกข์ เป็นไฉน สภาวธรรมที่เป็นอกุศลที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ สภาวธรรม ที่เป็นกุศลที่เหลือซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ วิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลและ อกุศลซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ สภาวธรรมที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล ไม่เป็นวิบากแห่งกรรมและรูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์ ทุกขนิโรธ เป็นไฉน การละตัณหาและกิเลสที่เหลือ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๗๕}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔. สัจจวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ อัฏฐังคิกวาร

ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม๑- ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น มรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สภาวธรรมที่เหลือสัมปยุตด้วยทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา [๒๐๘] ทุกขสมุทัย เป็นไฉน ตัณหา กิเลสที่เหลือ และสภาวธรรมที่เป็นอกุศลที่เหลือ นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย ทุกข์ เป็นไฉน กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ สภาวธรรมที่เป็นกุศลที่เหลือซึ่งเป็น อารมณ์ของอาสวะ วิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลซึ่งเป็นอารมณ์ของ อาสวะ สภาวธรรมที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล ไม่เป็นวิบากแห่งกรรม และรูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์ ทุกขนิโรธ เป็นไฉน การละตัณหา ละกิเลสที่เหลือและละสภาวธรรมที่เป็นอกุศลที่เหลือ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น มรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สภาวธรรมที่เหลือสัมปยุตด้วยทุกขนิโรธคามีนีปฏิปทา [๒๐๙] ทุกขสมุทัย เป็นไฉน ตัณหา กิเลสที่เหลือ สภาวธรรมที่เป็นอกุศลที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ ของอาสวะ นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย @เชิงอรรถ : @ ดูความเต็มใน อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๖๐/๕๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๗๖}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔. สัจจวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ อัฏฐังคิกวาร

ทุกข์ เป็นไฉน สภาวธรรมที่เป็นกุศลที่เหลือซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ วิบากแห่งสภาว- ธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ สภาวธรรมที่เป็นกิริยา ไม่เป็น กุศล ไม่เป็นอกุศล ไม่เป็นวิบากแห่งกรรมและรูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์ ทุกขนิโรธ เป็นไฉน การละตัณหา ละกิเลสที่เหลือ ละสภาวธรรมที่เป็นอกุศลที่เหลือ และละ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น มรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สภาวธรรมที่เหลือสัมปยุตด้วยทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา [๒๑๐] ทุกขสมุทัย เป็นไฉน ตัณหา กิเลสที่เหลือ สภาวธรรมที่เป็นอกุศลที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ ของอาสวะและสภาวธรรมที่เป็นกุศลที่เหลือ ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย ทุกข์ เป็นไฉน วิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ สภาว- ธรรมที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล ไม่เป็นวิบากแห่งกรรมและรูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์ ทุกขนิโรธ เป็นไฉน การละตัณหา ละกิเลสที่เหลือ ละสภาวธรรมที่เป็นอกุศลที่เหลือ ละกุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ และละสภาวธรรมที่เป็นกุศลที่เหลือซึ่งเป็นอารมณ์ของ อาสวะ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๗๗}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔. สัจจวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ปัญจังคิกวาร

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น มรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สภาวธรรมที่เหลือสัมปยุตด้วยทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๑๗๓-๑๗๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=35&siri=15              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=2866&Z=2986                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=171              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=35&item=171&items=29              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=54&A=3078              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=35&item=171&items=29              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=54&A=3078                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vb4/en/thittila#pts-p-pi106



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :