ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

หน้าที่ ๓๐๖-๓๐๗.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค]

                                                                 ๖. ปาสราสิสูตร

สหัมบดีพรหมอาราธนาแสดงธรรม
[๒๘๒] ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเราพิจารณาดังนี้ จิตก็น้อมไปเพื่อความขวนขวาย น้อย มิได้น้อมไปเพื่อแสดงธรรม ครั้งนั้น สหัมบดีพรหมทราบความดำริในใจของเราด้วยใจของตน จึงได้มี ความรำพึงว่า ‘ท่านผู้เจริญ โลกจะฉิบหายหนอ โลกจะพินาศหนอ เพราะ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงน้อมพระทัยไปเพื่อความขวนขวายน้อย มิได้น้อมพระทัยไปเพื่อทรงแสดงธรรม’ ลำดับนั้น สหัมบดีพรหมอันตรธานจากพรหมโลกมาปรากฏ ณ เบื้องหน้าเรา เปรียบเหมือนคนแข็งแรงเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้าฉะนั้น แล้วห่มอุตตราสงค์ เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมมือมาทางที่เราอยู่ ได้กล่าวกับเราว่า ‘ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคได้โปรดแสดงธรรม ขอพระสุคตเจ้าได้โปรดแสดงธรรม เพราะสัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลีในดวงตาน้อย๑- มีอยู่ สัตว์เหล่านั้นจะเสื่อมเพราะไม่ได้ สดับธรรม สัตว์เหล่านั้นจักเป็นผู้รู้ทั่วถึงธรรม‘๒- สหัมบดีพรหมได้ทูลอาราธนาดังนี้ แล้วได้ทูลเป็นคาถาประพันธ์ต่อไปว่า
พรหมนิคมคาถา
‘ในกาลก่อน ธรรมที่ไม่บริสุทธิ์ อันคนที่มีมลทิน๓- คิดค้นไว้ ปรากฏในแคว้นมคธ พระองค์โปรดเปิดประตูอมตธรรมนั้นเถิด ขอสัตว์ทั้งหลายจงฟังธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ปราศจากมลทิน ได้ตรัสรู้แล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระปัญญาดี มีพระสมันตจักษุ บุรุษผู้ยืนอยู่บนยอดเขาศิลาล้วน พึงเห็นหมู่ชนได้โดยรอบ แม้ฉันใด @เชิงอรรถ : @ ผู้มีธุลีในดวงตาน้อย หมายถึงมีธุลีคือราคะ โทสะ โมหะเบาบางคือเล็กน้อย ปิดบังดวงตาคือปัญญา @(ม.มู.อ. ๒/๒๘๒/๘๕, วิ.อ. ๓/๘-๙/๑๔-๑๕) @ เหตุการณ์นี้เป็นที่มาแห่งพิธีอาราธนาพระสงฆ์แสดงธรรม (ดู ขุ.พุทธ. ๓๓/๑/๔๓๕) @ คนที่มีมลทิน ในที่นี้หมายถึงครูทั้ง ๖ (วิ.อ. ๓/๘/๑๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๓๐๖}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค]

                                                                 ๖. ปาสราสิสูตร

พระองค์ผู้หมดความเศร้าโศกแล้ว โปรดเสด็จขึ้นสู่ปราสาทคือธรรม จักได้เห็นหมู่ชนผู้ตกอยู่ในความเศร้าโศก และถูกชาติชราครอบงำได้ชัดเจน ฉันนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียร ผู้ชนะสงคราม๑- ผู้นำหมู่๒- ผู้ไม่มีหนี้๓- ขอพระองค์โปรดลุกขึ้นเสด็จจาริกไปในโลก ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขอพระองค์โปรดแสดงธรรม เพราะสัตว์ทั้งหลายจักเป็นผู้รู้ทั่วถึงธรรม’
เวไนยสัตว์เปรียบด้วยดอกบัว๔-
[๒๘๓] ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น เรารับคำทูลอาราธนาของพรหม และเพราะ ความมีกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย จึงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ๕- เมื่อตรวจดูโลกด้วยพุทธ- จักษุ ได้เห็นสัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลีในดวงตา๖- น้อย มีธุลีในดวงตามาก มีอินทรีย์ แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม สอนให้รู้ได้ง่าย สอนให้รู้ได้ยาก บางพวกเห็นปรโลกและโทษว่าเป็นสิ่งน่ากลัว บางพวกเห็นปรโลกและโทษว่าเป็น สิ่งไม่น่ากลัว @เชิงอรรถ : @ ผู้ชนะสงคราม หมายถึงชนะเทวบุตรมาร มัจจุมาร และกิเลสมาร (ม.มู.อ. ๒/๒๘๒/๘๗) @ ผู้นำหมู่ หมายถึงสามารถนำสัตว์ข้ามที่กันดารคือชาติ(ความเกิด) และสามารถเป็นผู้นำของหมู่สัตว์คือ @เวไนยสัตว์ (ม.มู.อ. ๒/๒๘๒/๘๗) @ ผู้ไม่มีหนี้ หมายถึงไม่มีหนี้คือกามฉันทะ (ม.มู.อ. ๒/๒๘๒/๘๗) @ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๖๙/๓๙-๔๐, วิ.ม. (แปล) ๔/๙/๑๔, องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๓๓/๒๐๒, @อภิ.ก. ๓๗/๘๕๖/๔๙๐ @ พุทธจักษุ หมายถึง @(๑) อินทริยปโรปริยัตติญาณ คือ ปรีชาหยั่งรู้ความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย คือ @รู้ว่าสัตว์นั้นๆ มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แค่ไหน เพียงใด มีกิเลสมาก กิเลสน้อย มีความ @พร้อมที่จะตรัสรู้หรือไม่ @(๒) อาสยานุสยญาณ คือ ปรีชาหยั่งรู้อัธยาศัย ความมุ่งหมาย สภาพจิตที่นอนเนื่องอยู่ @(ม.มู.อ. ๒/๒๘๓/๘๗, วิ.อ. ๓/๙/๑๕) และดู ขุ.ป. ๓๑/๑๑๑-๑๑๕/๑๒๔-๑๒๘) @ ดวงตา ในที่นี้หมายถึงปัญญาจักษุ (ม.มู.อ. ๒/๒๘๓/๘๗, วิ.อ. ๓/๙/๑๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๓๐๗}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๓๐๖-๓๐๗. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=12&page=306&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=12&A=8748 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=12&A=8748#p306 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 12 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_12 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu12 https://84000.org/tipitaka/english/?index_12



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๐๖-๓๐๗.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]