ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาค ๒

หน้าที่ ๒๙.

หัวข้อประจำขันธกะ
[๒๔] พระเจ้าแผ่นดินมคธ ทรงปกครองพลเมือง ๘๐,๐๐๐ ตำบล รับสั่งให้โสณเศรษฐี เข้าเฝ้า ๑ พระสาคตเถระแสดงอิทธิปาฏิหาริย์อันเป็นธรรมยวดยิ่งของมนุษย์มากมาย ณ คิชฌกูฏบรรพต ๑ โสณเศรษฐีบุตรออกบวช และปรารภความเพียรเกินขนาด เดินจงกรมจน เท้าแตก ๑ เปรียบเทียบความเพียรด้วยสายพิณ ๑ ทรงอนุญาตรองเท้าชั้นเดียว ๑ ทรงห้าม รองเท้าสีเขียว ๑ รองเท้าสีเหลือง ๑ รองเท้าสีแดง ๑ รองเท้าสีบานเย็น ๑ รองเท้าสีดำ ๑ รองเท้าสีแสด ๑ รองเท้าสีชมพู ๑ รองเท้ามีหูวิจิตร ๑ รองเท้าหุ้มส้น ๑ รองเท้าหุ้มแข็ง ๑ รองเท้าที่ยัดด้วยนุ่น ๑ รองเท้าที่มีลายคล้ายขนปีกนกกระทา ๑ รองเท้าที่ทำหูงอนมีสัณฐาน ดุจเขาแกะ ๑ รองเท้าที่หูงอนมีสัณฐานดุจเขาแพะ ๑ รองเท้าที่ทำประกอบหูงอนดุจหางแมง ป่อง ๑ รองเท้าที่เย็บด้วยขนปีกนกยูง ๑ รองเท้าที่วิจิตร ๑ รองเท้าที่ขลิบด้วยหนังราชสีห์ ๑ รองเท้าที่ขลิบด้วยหนังเสือโคร่ง ๑ รองเท้าที่ขลิบด้วยหนังเสือเหลือง ๑ รองเท้าที่ขลิบด้วยหนัง ชะมด ๑ รองเท้าที่ขลิบด้วยหนังนาก ๑ รองเท้าที่ขลิบด้วยหนังแมว ๑ รองเท้าที่ขลิบด้วยหนัง ค่าง ๑ รองเท้าที่ขลิบด้วยหนังนกเค้า ๑ เท้าแตก ๑ สวมรองเท้าในวัด ๑ เท้าเป็นหน่อ ล้างเท้า ตอไม้ และสวมเขียงเท้าเดินเสียงดังขฏะ ขฏะ ๑ เขียงเท้าสานด้วยใบตาล ๑ เขียงเท้า สานด้วยใบไผ่ ๑ เขียงเท้าสานด้วยหญ้า ๑ เขียงเท้าสานด้วยหญ้ามุงกระต่าย ๑ เขียงเท้าสาน ด้วยหญ้าปล้อง ๑ เขียงเท้าสานด้วยใบเป้ง ๑ เขียงเท้าสานด้วยแฝก ๑ เขียงเท้าถักด้วยขนสัตว์ ๑ เขียงเท้าประดับด้วยทองคำและเงิน ๑ เขียงเท้าประดับด้วยแก้วมณี ๑ เขียงเท้าประดับด้วย แก้วไพฑูรย์ ๑ เขียงเท้าประดับด้วยแก้วผลึก ๑ เขียงเท้าทำด้วยทองสัมฤทธิ์ ๑ เขียงเท้าประดับ ด้วยกระจก ๑ เขียงเท้าทำด้วยดีบุก ๑ เขียงเท้าทำด้วยสังกะสี ๑ เขียงเท้าทำด้วยทองแดง ๑ จับโค ๑ ขี่ยานและภิกษุอาพาธ ๑ ยานเทียมด้วยโคตัวผู้ ๑ คานหาม ๑ ที่นั่งและที่นอน ๑ หนังผืนใหญ่ ๑ หนังโค ๑ ภิกษุใจร้าย ๑ เตียงตั่งของพวกคฤหัสถ์ที่หุ้มหนัง ๑ สวมรองเท้า เข้าบ้าน และภิกษุอาพาธ ๑ พระมหากัจจานะ ๑ พระโสณะ สวดสูตร อันมีอยู่ในอัฏฐกวรรค โดยสรภัญญะและพระพุทธเจ้าผู้เป็นนายกได้ทรงประทานพร ๕ อย่างนี้ แก่พระโสณะเถระ คือ อนุญาตสงฆ์ปัญจวรรคทำการอุปสมบทได้ ๑ สวมรองเท้าหลายชั้นได้ ๑. อาบน้ำได้เป็นนิตย์ ๑ ใช้หนังเครื่องลาดได้ ๑ ทายกถวายจีวร เมื่อยังไม่ถึงมือภิกษุ ยังไม่ต้องนับราตรี ๑
หัวข้อประจำขันธกะ จบ.
-----------------------------------------------------

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๐.

เภสัชชขันธกะ
ภิกษุอาพาธในฤดูสารท
[๒๕] โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของ อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายอันอาพาธซึ่งเกิดชุมในฤดูสารท ถูกต้องแล้ว ยาคูที่ดื่มเข้าไปก็พุ่งออก แม้ข้าวสวยที่ฉันแล้วก็พุ่งออก เพราะอาพาธนั้น พวกเธอ จึงซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณไม่ดี มีผิวเหลืองขึ้นๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็น พระผู้มีพระภาค ได้ทอดพระเนตรเห็นภิกษุเหล่านั้นซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณไม่ดี มีผิวเหลืองขึ้นๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็น ครั้นแล้วจึงตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งถามว่า ดูกรอานนท์ ทำไมหนอ เดี๋ยวนี้ภิกษุทั้งหลายจึงซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณไม่ดี มีผิวเหลืองขึ้นๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็น ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า เดี๋ยวนี้ภิกษุทั้งหลาย อันอาพาธซึ่งเกิดชุม ในฤดูสารทถูกต้องแล้ว ยาคูที่ดื่มเข้าไปก็พุ่งออก แม้ข้าวสวยที่ฉันแล้วก็พุ่งออก เพราะอาพาธนั้น พวกเธอจึงซูบผอม เศร้าหมองมีผิวพรรณไม่ดี มีผิวเหลืองขึ้นๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็น.
พระพุทธานุญาตเภสัช ๕ ในกาล
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับในที่สงัดทรงหลีกเร้นอยู่ ได้มีพระปริวิตกแห่งพระทัย เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า เดี๋ยวนี้ภิกษุทั้งหลายอันอาพาธซึ่งเกิดชุมในฤดูสารท ถูกต้องแล้ว ยาคูที่ดื่มเข้าไป ก็พุ่งออก แม้ข้าวสวยที่ฉันแล้วก็พุ่งออก เพราะอาพาธนั้น พวกเธอจึงซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณไม่ดี มีผิวพรรณเหลืองขึ้นๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็น เราจะพึงอนุญาตอะไรหนอ เป็นเภสัชแก่ภิกษุทั้งหลาย ซึ่งเป็นเภสัชอยู่ในตัว และเขาสมมติว่าเป็นเภสัช ทั้งจะพึงสำเร็จ ประโยชน์ในอาหารกิจแก่สัตวโลก และจะไม่พึงปรากฏเป็นอาหารหยาบ ทีนั้นพระองค์ได้มี

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๑.

พระปริวิตกสืบต่อไปว่า เภสัช ๕ นี้แล คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เป็นเภสัช อยู่ในตัว และเขาสมมติว่าเป็นเภสัช ทั้งสำเร็จประโยชน์ในอาหารกิจแก่สัตวโลก และไม่ ปรากฏเป็นอาหารหยาบ ผิฉะนั้น เราพึงอนุญาตเภสัช ๕ นี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ให้รับประเคน ในกาลแล้วบริโภคในกาล ครั้นเวลาสายัณห์พระองค์เสด็จออกจากที่หลีกเร้น ทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เราไปในที่สงัดหลีกเร้นอยู่ ณ ตำบลนี้ ได้มีความปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า เดี๋ยวนี้ ภิกษุทั้งหลายอันอาพาธซึ่งเกิดชุมในฤดูสารท ถูกต้องแล้ว ยาคูที่ดื่มเข้าไปก็พุ่งออก แม้ข้าวสวย ที่ฉันแล้วก็พุ่งออก เพราะอาพาธนั้น พวกเธอจึงซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณไม่ดี มีผิวเหลือง ขึ้นๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็น เราจะพึงอนุญาตอะไรหนอเป็นเภสัชแก่ภิกษุทั้งหลาย ซึ่งเป็น เภสัชอยู่ในตัวและเขาสมมติว่าเป็นเภสัช ทั้งจะพึงสำเร็จประโยชน์ในอาหารกิจแก่สัตวโลก และไม่ปรากฏเป็นอาหารหยาบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความปริวิตกสืบต่อไปว่า เภสัช ๕ นี้แล คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เป็นเภสัชอยู่ในตัว และเขาสมมติว่าเป็นเภสัช ทั้งสำเร็จประโยชน์ในอาหารกิจแก่สัตวโลก และไม่ปรากฏเป็นอาหารหยาบ ผิฉะนั้น เราพึง อนุญาตเภสัช ๕ นี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ให้รับประเคนในกาลแล้วบริโภคในกาล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รับประเคนเภสัช ๕ นั้นในกาล แล้วบริโภคในกาล.
พระพุทธานุญาตเภสัช ๕ นอกกาล
[๒๖] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายรับประเคนเภสัช ๕ นั้นในกาล แล้วบริโภค ในกาล โภชนาหารของพวกเธอชนิดธรรมดา ชนิดเลว ไม่ย่อย ไม่จำต้องกล่าวถึงโภชนาหาร ที่ดี พวกเธออันอาพาธซึ่งเกิดชุมในฤดูสารทนั้น และอันความเบื่อภัตตาหารนี้ถูกต้องแล้ว เพราะเหตุ ๒ ประการนั้น ยิ่งเป็นผู้ซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณไม่ดี มีผิวเหลืองขึ้นๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็นมากขึ้น พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นภิกษุเหล่านั้นซึ่งซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณไม่ดี มีผิวเหลืองขึ้นๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็นมากขึ้น ครั้นแล้วจึง ตรัสเรียกท่านพระอานนท์ มารับสั่งถามว่า ดูกรอานนท์ ทำไมหนอ เดี๋ยวนี้ภิกษุทั้งหลายยิ่ง ซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณไม่ดี มีผิวเหลืองขึ้นๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็นมากขึ้น?

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๒.

ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า เดี๋ยวนี้ภิกษุทั้งหลายรับประเคนเภสัช ๕ นั้น ในกาลแล้วบริโภคในกาล โภชนาหารของพวกเธอชนิดธรรมดา ชนิดเลว ไม่ย่อย ไม่จำต้อง กล่าวถึงโภชนาหารที่ดี พวกเธออันอาพาธ ซึ่งเกิดชุมในฤดูสารทนั้น และอันความเบื่อภัตตาหาร นี้ถูกต้องแล้ว เพราะเหตุ ๒ ประการนั้น ยิ่งเป็นผู้ซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณไม่ดี มีผิวเหลืองขึ้นๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็นมากขึ้น. ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุ แรกเกิดนั้น แล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รับประเคน เภสัช ๕ นั้น แล้วบริโภคได้ทั้งในกาลทั้งนอกกาล.
พระพุทธานุญาตน้ำมันเปลว
[๒๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายที่อาพาธมีความต้องการด้วยน้ำมันเปลว เป็นเภสัช จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลาย ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำมันเปลวเป็นเภสัช คือ น้ำมันเปลวหมี น้ำมันเปลวปลา น้ำมันเปลวปลาฉลาม น้ำมันเปลวหมู น้ำมันเปลวลา ที่รับประเคนในกาล เจียวในกาล กรองในกาล บริโภคอย่างน้ำมัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุรับประเคนในวิกาล เจียวในวิกาล กรองในวิกาล หากจะ พึงบริโภคน้ำมันเปลวนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ๓ ตัว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุรับประเคนในกาล เจียวในวิกาล กรองในวิกาล หากจะ พึงบริโภคน้ำมันเปลวนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุรับประเคนในกาล เจียวในกาล กรองในวิกาล หากจะ พึงบริโภคน้ำมันเปลวนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ตัว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุรับประเคนในกาล เจียวในกาล กรองในกาล หากจะ พึงบริโภคน้ำมันเปลวนั้น ไม่ต้องอาบัติ.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ บรรทัดที่ ๖๙๖-๗๘๘ หน้าที่ ๒๙-๓๒. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=5&A=696&Z=788&pagebreak=1 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=5&item=24&items=4&pagebreak=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=5&item=24&items=4&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=5&item=24&items=4&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=5&item=24&items=4&pagebreak=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=24              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_5 https://84000.org/tipitaka/english/?index_5

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]