ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๘. สหธรรมิกวรรค ๘. อุปัสสุติสิกขาบท นิทานวัตถุ

๘. สหธรรมิกวรรค
๘. อุปัสสุติสิกขาบท
ว่าด้วยการแอบฟังภิกษุทะเลาะกัน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๔๖๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทะเลาะกับ ภิกษุผู้มีศีลดีงาม พวกภิกษุผู้มีศีลดีงามกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พวกภิกษุ ฉัพพัคคีย์ไม่มีความละอาย พวกเราไม่อาจทะเลาะกับภิกษุพวกนี้” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย เหตุไรพวกท่านจึงกล่าวหา พวกเราว่าไม่มีความละอาย” ภิกษุผู้มีศีลดีงาม (ถามว่า) “ท่านทั้งหลาย พวกท่านได้ยินมาจากที่ไหน” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ตอบว่า “พวกเรายืนแอบฟังพวกท่าน” บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงยืนแอบฟังพวกภิกษุผู้บาดหมาง ทะเลาะ วิวาทกันเล่า” ครั้น ภิกษุทั้งหลายตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบ ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอยืนแอบฟังพวก ภิกษุผู้บาดหมาง ทะเลาะ วิวาทกัน จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระ พุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวก เธอจึงยืนแอบฟังพวกภิกษุผู้บาดหมาง ทะเลาะ วิวาทกันเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การ กระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้ เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕๖๘}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๘. สหธรรมิกวรรค ๘. อุปัสสุติสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

พระบัญญัติ
[๔๗๐] ก็ ภิกษุใดยืนแอบฟังภิกษุผู้บาดหมาง ทะเลาะ วิวาทกัน ด้วยตั้งใจว่า “เราจะฟังคำที่ภิกษุพวกนี้กล่าว” ประสงค์เพียงเท่านี้ ไม่มีอะไรอื่นต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๗๑] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ คำว่า ภิกษุ ได้แก่ ภิกษุพวกอื่น คำว่า บาดหมาง ทะเลาะ วิวาทกัน คือ ผู้เกิดอธิกรณ์ คำว่า ยืนแอบฟัง คือ ภิกษุเดินไปด้วยตั้งใจว่า “เราจะฟังภิกษุเหล่านี้แล้ว จักโจท ตักเตือน ว่ากล่าวตำหนิ ให้สำนึก หรือทำให้เก้อเขิน” ต้องอาบัติทุกกฏ ยืนในที่ที่จะได้ยิน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ภิกษุเดินอยู่ข้างหลัง รีบเดินให้ทันด้วยตั้งใจว่า “จะฟัง” ต้องอาบัติทุกกฏ ยืน อยู่ในที่ที่จะได้ยิน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ภิกษุเดินไปข้างหน้า กลับเดินให้ช้าลงด้วยตั้งใจว่า “จะฟัง” ต้องอาบัติทุกกฏ ยืนอยู่ในที่ที่จะได้ยิน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เมื่อภิกษุอื่นปรึกษากันเดินผ่านมายังที่ที่ภิกษุยืน ที่ที่ภิกษุนั่ง หรือที่ที่ภิกษุ นอน ต้องกระแอมให้รู้ตัว ถ้าไม่กระแอมหรือไม่ให้เขารู้ตัว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คำว่า ประสงค์เพียงเท่านี้ ไม่มีอะไรอื่น ความว่า ไม่มีเหตุผลอื่นที่จะยืนแอบฟัง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕๖๙}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๘. สหธรรมิกวรรค ๘. อุปัสสุติสิกขาบท อนาปัตติวาร

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๔๗๒] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ยืนแอบฟัง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ อุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ยืนแอบฟัง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ยืนแอบฟัง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุกกฏ
ภิกษุยืนแอบฟังอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ อนุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๔๗๓] ๑. ภิกษุเดินไปด้วยหมายใจว่า “จักฟังคำของภิกษุเหล่านี้แล้ว จักงด จักเว้น จักระงับ จักปลดเปลื้องตัว” ๒. ภิกษุวิกลจริต ๓. ภิกษุต้นบัญญัติ
อุปัสสุติสิกขาบทที่ ๘ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕๗๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๕๖๘-๕๗๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=114              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=13737&Z=13796                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=711              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=711&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=10088              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=711&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=10088                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc78/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc78/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :