บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]
๒. อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๑
๒. อุชชัคฆิกวรรค หมวดว่าด้วยการหัวเราะ สิกขาบทที่ ๑ เรื่องพระฉัพพัคคีย์ [๕๘๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์หัวเราะดังไปใน ละแวกบ้าน ฯลฯพระบัญญัติ ๑. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่หัวเราะดัง ไปในละแวกบ้านเรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ สิกขาบทวิภังค์ ภิกษุไม่พึงหัวเราะดัง ไปในละแวกบ้าน ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ หัวเราะดัง ไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏอนาปัตติวาร ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุเพียงยิ้มแย้มเมื่อมีเรื่องขบขัน ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติสิกขาบทที่ ๑ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๖๐}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]
๒. อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๒
สิกขาบทที่ ๒ เรื่องพระฉัพพัคคีย์ [๕๘๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นั่งหัวเราะดังใน ละแวกบ้าน ฯลฯพระบัญญัติ ๒. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่นั่งหัวเราะดังในละแวกบ้านเรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ สิกขาบทวิภังค์ ภิกษุไม่พึงนั่งหัวเราะดังในละแวกบ้าน ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ นั่งหัวเราะดังในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏอนาปัตติวาร ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุเพียงยิ้มแย้มเมื่อมีเรื่องขบขัน ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติสิกขาบทที่ ๒ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๖๑}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]
๒. อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๓
สิกขาบทที่ ๓ เรื่องพระฉัพพัคคีย์ [๕๘๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ตะโกนเสียงดัง ไปในละแวกบ้าน ฯลฯพระบัญญัติ ๓. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักพูดเสียงเบา ไปในละแวกบ้านเรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ สิกขาบทวิภังค์ ภิกษุพึงพูดเสียงเบาไปในละแวกบ้าน ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ตะโกนเสียงดังไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏอนาปัตติวาร ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต ๗. ภิกษุต้นบัญญัติสิกขาบทที่ ๓ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๖๒}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]
๒. อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๔
สิกขาบทที่ ๔ เรื่องพระฉัพพัคคีย์ [๕๘๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นั่งตะโกนเสียง ดังในละแวกบ้าน ฯลฯพระบัญญัติ ๔. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักนั่งพูดเสียงเบาในละแวกบ้านเรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ สิกขาบทวิภังค์ ภิกษุพึงนั่งพูดเสียงเบาในละแวกบ้าน ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ นั่งตะโกนเสียงดังในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏอนาปัตติวาร ภิกษุต่อไปนี้ ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต ๗. ภิกษุต้นบัญญัติสิกขาบทที่ ๔ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๖๓}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]
๒. อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๕
สิกขาบทที่ ๕ เรื่องพระฉัพพัคคีย์ [๕๙๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เดินโคลงกาย ไปในละแวกบ้าน ฯลฯพระบัญญัติ ๕. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่เดินโคลงกายไปในละแวกบ้านเรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ สิกขาบทวิภังค์ ภิกษุไม่พึงเดินโคลงกายไป พึงเดินประคองกาย๑- ไปในละแวกบ้าน ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ เดินโคลงกายไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏอนาปัตติวาร ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต ๗. ภิกษุต้นบัญญัติสิกขาบทที่ ๕ จบ @เชิงอรรถ : @๑ ประคองกาย คือไม่เดินไหวกาย เดินกายตรง ไปด้วยอิริยาบถสม่ำเสมอ (วิ.อ. ๒/๕๙๐/๔๕๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๖๔}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]
๒. อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๖
สิกขาบทที่ ๖ เรื่องพระฉัพพัคคีย์ [๕๙๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นั่งโคลงกาย ในละแวกบ้าน ฯลฯพระบัญญัติ ๖. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่นั่งโคลงกายในละแวกบ้านเรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ สิกขาบทวิภังค์ ภิกษุไม่พึงนั่งโคลงกาย พึงนั่งประคองกาย๑- ในละแวกบ้าน ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ นั่งโคลงกายในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏอนาปัตติวาร ภิกษุต่อไปนี้ ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุอยู่ในที่พัก ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติสิกขาบทที่ ๖ จบ @เชิงอรรถ : @๑ นั่งประคองกาย คือไม่นั่งไหวกาย นั่งกายตรง นั่งด้วยอิริยาบถสม่ำเสมอ (วิ.อ. ๒/๕๙๐/๔๕๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๖๕}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]
๒. อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๗
สิกขาบทที่ ๗ เรื่องพระฉัพพัคคีย์ [๕๙๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เดินแกว่งแขน ห้อยแขนไปในละแวกบ้าน ฯลฯพระบัญญัติ ๗. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่เดินแกว่งแขนไปในละแวกบ้านเรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ สิกขาบทวิภังค์ ภิกษุไม่พึงแกว่งแขนไป พึงเดินประคองแขน๑- ไปในละแวกบ้าน ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ แกว่งแขน เดินห้อยแขนไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏอนาปัตติวาร ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต ๗. ภิกษุต้นบัญญัติสิกขาบทที่ ๗ จบ @เชิงอรรถ : @๑ เดินประคองแขน คือไม่เดินกระดิกแขน (วิ.อ. ๒/๕๙๒/๔๕๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๖๖}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]
๒. อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๘
สิกขาบทที่ ๘ เรื่องพระฉัพพัคคีย์ [๕๙๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นั่งแกว่งแขน ห้อยแขนในละแวกบ้าน ฯลฯพระบัญญัติ ๘. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่นั่งแกว่งแขนในละแวกบ้านเรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ สิกขาบทวิภังค์ ภิกษุไม่พึงนั่งแกว่งแขน พึงนั่งประคองแขนในละแวกบ้าน ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ นั่งแกว่งแขนห้อยแขนในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏอนาปัตติวาร ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุอยู่ในที่พัก ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติสิกขาบทที่ ๘ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๖๗}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]
๒. อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๙
สิกขาบทที่ ๙ เรื่องพระฉัพพัคคีย์ [๕๙๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เดินโคลง ศีรษะทำคอพับไปในละแวกบ้าน ฯลฯพระบัญญัติ ๙. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่เดินโคลงศีรษะไปในละแวกบ้านเรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ สิกขาบทวิภังค์ ภิกษุไม่พึงเดินโคลงศีรษะไป พึงเดินประคองศีรษะ๑- ไปในละแวกบ้าน ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ เดินโคลงศีรษะทำคอพับไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏอนาปัตติวาร ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต ๗. ภิกษุต้นบัญญัติสิกขาบทที่ ๙ จบ @เชิงอรรถ : @๑ ประคองศีรษะ คือตั้งศีรษะตรง ไม่ไหวเอน (วิ.อ. ๒/๕๙๔/๔๕๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๖๘}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]
๒. อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
สิกขาบทที่ ๑๐ เรื่องพระฉัพพัคคีย์ [๕๙๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นั่งโคลงศีรษะ ทำคอพับในละแวกบ้าน ฯลฯพระบัญญัติ ๑๐. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่นั่งโคลงศีรษะในละแวกบ้านเรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ สิกขาบทวิภังค์ ภิกษุไม่พึงนั่งโคลงศีรษะ พึงนั่งประคองศีรษะในละแวกบ้าน ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ นั่งโคลงศีรษะทำคอพับในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏอนาปัตติวาร ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุอยู่ในที่พัก ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติสิกขาบทที่ ๑๐ จบ อุชชัคฆิกวรรคที่ ๒ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๖๙}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๖๖๐-๖๖๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=136 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=15318&Z=15452 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=810 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=810&items=10 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=10446 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=810&items=10 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=10446 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk11 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk12 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk13 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk14 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk15 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk16 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk17 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk18 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk19 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk20
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]