ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. มุสาวาทวรรค ๑๐. ปฐวีขณนสิกขาบท นิทานวัตถุ

๑. มุสาวาทวรรค
๑๐. ปฐวีขณนสิกขาบท
ว่าด้วยการขุดดิน
เรื่องภิกษุชาวเมืองอาฬวี
[๘๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ อัคคาฬวเจดีย์ เขต เมืองอาฬวี สมัยนั้น พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีช่วยกันก่อสร้าง ขุดบ้าง ใช้ให้ขุดบ้าง ซึ่งดิน พวกชาวบ้านจึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสาย ศากยบุตรจึงขุดบ้าง ใช้ให้ขุดบ้างซึ่งดินเล่า พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเบียดเบียน ชีวะซึ่งมีอินทรีย์เดียว” พวกภิกษุได้ยินพวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี จึงขุดบ้าง ใช้ให้ขุดบ้างซึ่งดินเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีโดยประการ ต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอขุดบ้าง ใช้ให้ขุดบ้างซึ่ง ดินจริงหรือ” ภิกษุชาวเมืองอาฬวีทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาค พุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงขุดบ้าง ใช้ให้ขุดบ้าง ซึ่งดินเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย พวกชาวบ้านสำคัญว่าดินมีชีวะ โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้ว ให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง ดังนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๗๓}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. มุสาวาทวรรค ๑๐. ปฐวีขณนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

พระบัญญัติ
[๘๕] ก็ ภิกษุใดขุด หรือใช้ให้ขุดซึ่งดิน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุชาวเมืองอาฬวี จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๘๖] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า ดิน ได้แก่ ดิน ๒ ชนิด คือ (๑) ดินแท้ (๒) ดินไม่แท้ ที่ชื่อว่า ดินแท้ คือ ดินร่วนล้วน ดินเหนียวล้วน ดินมีหินผสมนิดหน่อย ดินมีกรวดผสมนิดหน่อย ดินมีกระเบื้องผสมนิดหน่อย ดินมีแร่ผสมนิดหน่อย ดิน มีทรายผสมนิดหน่อย ดินร่วนเป็นส่วนมาก ดินเหนียวเป็นส่วนมาก แม้ดินที่ยังไม่ เผาไฟก็เรียกว่า ดินแท้ กองดินร่วนหรือดินเหนียวที่ฝนตกรดเกิน ๔ เดือนก็เรียกว่า ดินแท้ ที่ชื่อว่า ดินไม่แท้ คือ หินล้วน ดินมีกรวดล้วน ดินมีกระเบื้องล้วน ดินมี แร่ล้วน ดินมีทรายล้วน ดินมีดินร่วนผสมนิดหน่อย ดินมีดินเหนียวผสมนิดหน่อย ดินมีหินมาก ดินมีกรวดมาก ดินมีกระเบื้องมาก ดินมีแร่มาก ดินมีทรายมาก แม้ดินที่เผาไฟแล้วก็เรียกว่า ดินไม่แท้ กองดินร่วนหรือดินเหนียวที่ฝนตกรดยังไม่ถึง ๔ เดือนก็เรียกว่า ดินไม่แท้ คำว่า ขุด คือ ภิกษุขุดเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คำว่า ใช้ให้ขุด คือ ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ขุด ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ภิกษุสั่งครั้งเดียว เขาขุดหลายครั้ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๗๔}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. มุสาวาทวรรค ๑๐. ปฐวีขณนสิกขาบท อนาปัตติวาร

บทภาชนีย์
[๘๗] ดิน ภิกษุสำคัญว่าเป็นดิน ขุดหรือใช้ให้ขุด ทำลายหรือใช้ให้ทำลาย เผาหรือใช้ให้เผา ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ดิน ภิกษุไม่แน่ใจ ขุดหรือใช้ให้ขุด ทำลายหรือใช้ให้ทำลาย เผาหรือใช้ให้เผา ต้องอาบัติทุกกฏ ดิน ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ดิน ขุดหรือใช้ให้ขุด ทำลายหรือใช้ให้ทำลาย เผา หรือใช้ให้เผา ไม่ต้องอาบัติ ไม่ใช่ดิน ภิกษุสำคัญว่าเป็นดิน ต้องอาบัติทุกกฏ ไม่ใช่ดิน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ ไม่ใช่ดิน ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ดิน ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๘๘] ๑. ภิกษุกล่าวว่า “ท่านจงรู้ จงให้ จงนำสิ่งนี้มา เราต้องการสิ่งนี้ ท่านจงทำสิ่งนี้ให้เป็นกัปปิยะ”๑- ๒. ภิกษุไม่จงใจ ๓. ภิกษุไม่มีสติ ๔. ภิกษุไม่รู้ ๕. ภิกษุวิกลจริต ๖. ภิกษุต้นบัญญัติ
ปฐวีขณนสิกขาบทที่ ๑๐ จบ
มุสาวาทวรรคที่ ๑ จบ
@เชิงอรรถ : @ คือ ใช้ให้ผู้อื่นทำด้วยกล่าวว่า ท่านจงรู้หลุมเสา จงรู้ดินเหนียวมาก จงรู้ดินเหนียวผสมแกลบ ท่านจง @ให้ดินเหนียวมาก จงให้ดินเหนียวผสมแกลบ ท่านจงนำดินเหนียวมา จงนำฝุ่นมา ต้องการดินเหนียว @ต้องการฝุ่น ท่านจงทำหลุมเสานี้ให้เป็นกัปปิยะ จงทำดินเหนียวนี้ให้เป็นกัปปิยะ จงทำฝุ่นนี้ให้เป็นกัปปิยะ @คือให้เป็นของที่ควรใช้ (วิ.อ. ๒/๘๘/๒๘๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๗๕}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. มุสาวาทวรรค รวมสิกขาบทที่มีในมุสาวาทวรรค

รวมสิกขาบทที่มีในมุสาวาทวรรค
มุสาวาทวรรคมี ๑๐ สิกขาบท คือ ๑. มุสาวาทสิกขาบท ว่าด้วยการกล่าวเท็จ ๒. โอมสวาทสิกขาบท ว่าด้วยการกล่าวเสียดสี ๓. เปสุญญสิกขาบท ว่าด้วยการกล่าวส่อเสียด ๔. ปทโสธัมมสิกขาบท ว่าด้วยการให้กล่าวธรรมเป็นบทๆ ๕. สหเสยยสิกขาบท ว่าด้วยการนอนร่วมกัน ๖. ทุติยสหเสยยสิกขาบท ว่าด้วยการนอนร่วมกันข้อที่ ๒ ๗. ธัมมเทสนาสิกขาบท ว่าด้วยการแสดงธรรม ๘. ภูตาโรจนสิกขาบท ว่าด้วยการบอกอุตตริมนุสสธรรมที่มีจริง ๙. ทุฏฐุลลาโรจนสิกขาบท ว่าด้วยการบอกอาบัติชั่วหยาบ ๑๐. ปฐวีขณนสิกขาบท ว่าด้วยการการขุดดิน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๗๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๒๗๓-๒๗๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=46              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=8471&Z=8541                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=349              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=349&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=6493              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=349&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=6493                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc10/en/brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :