ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๒. ภูตคามวรรค ๖. อนุปขัชชสิกขาบท นิทานวัตถุ

๒. ภูตคามวรรค
๖. อนุปขัชชสิกขาบท
ว่าด้วยการเข้าไปแทรกแซง
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๑๑๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์กีดกันที่นอน ดีๆ เอาไว้ ให้ย้ายภิกษุผู้เป็นเถระออกไป ทีนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้มีความคิด ว่า “พวกเราจะจำพรรษาในที่นี้ด้วยอุบายอย่างไรหนอ” ลำดับนั้น พวกภิกษุ ฉัพพัคคีย์จึงเข้าไปนอนแทรกแซงภิกษุผู้เป็นเถระด้วยตั้งใจว่า เมื่อท่านมีความคับใจ ก็จักจากไปเอง บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงเข้าไปนอนแทรกแซงภิกษุผู้เป็นเถระเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค ให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอเข้าไปนอนแทรก แซงภิกษุผู้เป็นเถระจริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึง เข้าไปนอนแทรกแซงภิกษุผู้เป็นเถระเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้น แสดงดังนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๙๙}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๒. ภูตคามวรรค ๖. อนุปขัชชสิกขาบท บทภาชนีย์

พระบัญญัติ
[๑๒๐] ก็ ภิกษุใดรู้อยู่ เข้าไปนอนแทรกแซงภิกษุผู้เข้าไปอยู่ในวิหาร ของสงฆ์ก่อนด้วยประสงค์ว่า “ท่านมีความคับใจก็จักจากไปเอง” ประสงค์เพียง เท่านี้ไม่มีอะไรอื่น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๒๑] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ วิหารที่ชื่อว่า ของสงฆ์ ได้แก่ วิหารที่มีผู้ถวาย บริจาคแก่สงฆ์ ที่ชื่อว่า รู้ คือ รู้ว่า “เป็นภิกษุผู้เฒ่า” รู้ว่า “เป็นภิกษุผู้เป็นไข้” หรือรู้ว่า “เป็นภิกษุที่สงฆ์มอบวิหารให้” คำว่า เข้าไปแทรกแซง คือ เข้าไปเบียดเสียด คำว่า นอน ความว่า ภิกษุปูไว้หรือใช้ให้ปูที่นอนไว้ในอุปจารเตียง ตั่งหรือ ประตูเข้าออก ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุนั่งหรือนอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คำว่า ประสงค์เพียงเท่านี้ ความว่า ไม่มีเหตุผลอย่างอื่นในการเข้าไปนอน แทรกแซง
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๒๒] วิหารของสงฆ์ ภิกษุสำคัญว่าเป็นของสงฆ์ เข้าไปนอนแทรกแซง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๐๐}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๒. ภูตคามวรรค ๖. อนุปขัชชสิกขาบท อนาปัตติวาร

วิหารของสงฆ์ ภิกษุไม่แน่ใจ เข้าไปนอนแทรกแซง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ วิหารของสงฆ์ ภิกษุสำคัญว่าเป็นของส่วนบุคคล เข้าไปนอนแทรกแซง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุกกฏ
ภิกษุปูหรือใช้ให้ปูที่นอน เว้นอุปจารเตียง ตั่งหรือประตูเข้าออก ต้องอาบัติ ทุกกฏ ภิกษุนั่งหรือนอน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุปูหรือใช้ให้ปูที่นอนในอุปจารวิหาร ในโรงฉัน ในมณฑป ที่โคนไม้หรือ ในที่กลางแจ้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุนั่งหรือนอน ต้องอาบัติทุกกฏ วิหารส่วนบุคคล ภิกษุสำคัญว่าเป็นของสงฆ์ ต้องอาบัติทุกกฏ วิหารส่วนบุคคล ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ วิหารส่วนบุคคล ภิกษุสำคัญว่าเป็นของส่วนบุคคล ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะ เป็นของส่วนบุคคลของผู้อื่น วิหารเป็นส่วนบุคคลของตน ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๑๒๓] ๑. ภิกษุผู้เป็นไข้เข้าไปอยู่ ๒. ภิกษุถูกความหนาวหรือความร้อนเบียดเบียนแล้วเข้าไปอยู่ ๓. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๔. ภิกษุวิกลจริต ๕. ภิกษุต้นบัญญัติ
อนุปขัชชสิกขาบทที่ ๖ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๐๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๒๙๙-๓๐๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=52              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=8952&Z=9008                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=383              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=383&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=7215              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=383&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=7215                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc16/en/brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :