ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๓. โอวาทวรรค ๔. อามิสสิกขาบท นิทานวัตถุ

๓. โอวาทวรรค
๔. อามิสสิกขาบท
ว่าด้วยการสั่งสอนภิกษุณีเพราะเห็นแก่อามิส
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๑๖๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายสั่งสอน พวกภิกษุณี ย่อมได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร พวกภิกษุฉัพพัคคีย์กล่าวอย่างนี้ว่า “ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายไม่ตั้งใจสั่งสอน ภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลายก็เพราะเห็นแก่ อามิส” บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายไม่ตั้งใจสั่งสอนภิกษุณี ทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลายก็เพราะเห็นแก่อามิสเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายไม่ตั้งใจสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลาย สั่งสอนภิกษุณีทั้งหลายก็เพราะเห็นแก่อามิส จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับ ว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ ทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายไม่ตั้งใจสั่งสอน ภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลายก็เพราะเห็นแก่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๓๕}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๓. โอวาทวรรค ๔. อามิสสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

อามิสเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๑๖๕] ก็ ภิกษุใดกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุ(ผู้เป็นเถระ)ทั้งหลายสั่งสอน ภิกษุณีทั้งหลายเพราะเห็นแก่อามิส ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๖๖] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ คำว่า เพราะเห็นแก่อามิส คือ เพราะเห็นแก่จีวร เพราะเห็นแก่บิณฑบาต เพราะเห็นแก่เสนาสนะ เพราะเห็นแก่คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะเห็นแก่สักการะ เพราะเห็นแก่ความเคารพ เพราะเห็นแก่ความนับถือ เพราะเห็นแก่การกราบไหว้ เพราะเห็นแก่การบูชา คำว่า กล่าวอย่างนี้ ความว่า ภิกษุต้องการจะทำให้เสียชื่อ ต้องการจะทำให้ อัปยศ ต้องการจะทำอุปสัมบันที่สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณีให้เก้อเขิน จึง กล่าวหาอย่างนี้ว่า “ภิกษุนั้นสั่งสอนเพราะเห็นแก่จีวร เพราะเห็นแก่บิณฑบาต เพราะเห็นแก่เสนาสนะ เพราะเห็นแก่คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะเห็นแก่ สักการะ เพราะเห็นแก่ความเคารพ เพราะเห็นแก่ความนับถือ เพราะเห็นแก่การ กราบไหว้ เพราะเห็นแก่การบูชา” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๓๖}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๓. โอวาทวรรค ๔. อามิสสิกขาบท บทภาชนีย์

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๖๗] กรรม๑- ที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง กล่าวอย่าง นี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ กล่าวอย่างนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง กล่าวอย่างนี้ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์
ทุกทุกกฏ
ภิกษุต้องการจะทำให้เสียชื่อ ต้องการจะทำให้อัปยศ ต้องการจะทำอุปสัมบันที่ สงฆ์ไม่ได้แต่งตั้งให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณีให้เก้อเขิน จึงกล่าวหาอย่างนี้ว่า “ภิกษุ นั้นสั่งสอนเพราะเห็นแก่จีวร เพราะเห็นแก่บิณฑบาต เพราะเห็นแก่เสนาสนะ เพราะ เห็นแก่คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะเห็นแก่สักการะ เพราะเห็นแก่ความเคารพ เพราะเห็นแก่ความนับถือ เพราะเห็นแก่การกราบไหว้ เพราะเห็นแก่การบูชา” ต้อง อาบัติทุกกฏ ภิกษุต้องการจะทำให้เสียชื่อ ต้องการจะทำให้อัปยศ ต้องการจะทำ อนุปสัมบันที่สงฆ์แต่งตั้งหรือไม่ได้แต่งตั้งให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณีให้เก้อเขิน จึงกล่าว หาอย่างนี้ว่า “อนุปสัมบันนั้นสั่งสอนเพราะเห็นแก่จีวร เพราะเห็นแก่บิณฑบาต เพราะเห็นแก่เสนาสนะ เพราะเห็นแก่คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะเห็นแก่สักการะ เพราะเห็นแก่ความเคารพ เพราะเห็นแก่ความนับถือ เพราะเห็นแก่การกราบไหว้ เพราะเห็นแก่การบูชา” ต้องอาบัติทุกกฏ @เชิงอรรถ : @ กรรม คือการแต่งตั้งภิกษุสั่งสอนพวกภิกษุณี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๓๗}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๓. โอวาทวรรค ๔. อามิสสิกขาบท อนาปัตติวาร

ติกทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง กล่าวอย่างนี้ ต้อง อาบัติทุกกฏ กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ กล่าวอย่างนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง กล่าวอย่างนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๑๖๘] ๑. ภิกษุกล่าวหาภิกษุผู้สั่งสอนเพราะเห็นแก่จีวร เพราะเห็นแก่ บิณฑบาต เพราะเห็นแก่เสนาสนะ เพราะเห็นแก่คิลานปัจจัย เภสัชบริขาร เพราะเห็นแก่สักการะ เพราะเห็นแก่ความเคารพ เพราะเห็นแก่ความนับถือ เพราะเห็นแก่การกราบไหว้ เพราะ เห็นแก่การบูชาตามปกติ ๒. ภิกษุวิกลจริต ๓. ภิกษุต้นบัญญัติ
อามิสสิกขาบทที่ ๔ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๓๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๓๓๕-๓๓๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=60              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=9665&Z=9723                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=434              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=434&items=8              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=7898              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=434&items=8              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=7898                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc24/en/brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :