ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ภิกขุนีวิภังค์

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๐ นิทานวัตถุ

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๐
ว่าด้วยการยุยงส่งเสริมให้ภิกษุณีประพฤติเลวทราม
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๗๒๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีถุลลนันทากล่าวกับ ภิกษุณีทั้งหลายผู้ถูกสงฆ์สวดสมนุภาสน์แล้วอย่างนี้ว่า “แม่เจ้าทั้งหลาย พวกท่าน จงอยู่คลุกคลีกันเถิด อย่าแยกกันอยู่ ภิกษุณีเหล่าอื่นผู้มีความประพฤติอย่างนี้ มี กิตติศัพท์อย่างนี้ มีชื่อเสียงอย่างนี้ มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์ ปกปิดโทษของกัน และกันก็มีอยู่ในสงฆ์ สงฆ์ก็ไม่ได้ว่ากล่าวภิกษุณีเหล่านั้นเลย สงฆ์ได้แต่ว่ากล่าวพวก ท่านเท่านั้นด้วยความดูหมิ่นเหยียดหยาม ด้วยความไม่พอใจ ด้วยการข่มขู่ เพราะ พวกท่านอ่อนแออย่างนี้ว่า ‘น้องหญิงทั้งหลายอยู่คลุกคลีกัน มีความประพฤติ เลวทราม มีกิตติศัพท์ในทางเสื่อมเสีย มีชื่อเสียงไม่ดี มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์ ปกปิดโทษของกันและกัน น้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจงแยกกันอยู่เถิด สงฆ์ ย่อมสรรเสริญการแยกกันอยู่ของน้องหญิงทั้งหลายเท่านั้น” บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน ภิกษุณีถุลลนันทาจึงกล่าวกับภิกษุณีทั้งหลายผู้ถูกสงฆ์สวดสมนุภาสน์แล้วอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลายจงอยู่คลุกคลี อย่าแยกกันอยู่ ภิกษุณีเหล่าอื่น ฯลฯ ก็มีอยู่ในสงฆ์ ฯลฯ น้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจงแยกกันอยู่เถิด สงฆ์ย่อมสรรเสริญการแยก กันอยู่ของน้องหญิงทั้งหลายเท่านั้น’ ดังนี้เล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่อง นี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค ให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีถุลลนันทากล่าวกับ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๖๘}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๐ พระบัญญัติ

ภิกษุณีทั้งหลายผู้ถูกสงฆ์สวดสมนุภาสน์แล้วอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลายจงอยู่คลุกคลี กัน อย่าแยกกันอยู่ ภิกษุณีเหล่าอื่นผู้มีความประพฤติอย่างนี้ มีกิตติศัพท์อย่างนี้ มีชื่อเสียงอย่างนี้ก็มีอยู่ในสงฆ์ สงฆ์ก็ไม่ได้ว่ากล่าวภิกษุณีเหล่านั้นเลย สงฆ์ได้แต่ว่า กล่าวพวกท่านเท่านั้นด้วยความดูหมิ่นเหยียดหยาม ด้วยความไม่พอใจ ด้วยการ ข่มขู่ เพราะพวกท่านอ่อนแอ อย่างนี้ว่า ‘น้องหญิงทั้งหลายอยู่คลุกคลีกัน มีความ ประพฤติเลวทราม มีกิตติศัพท์ในทางเสื่อมเสีย มีชื่อเสียงไม่ดี มักเบียดเบียนกัน ภิกษุณีสงฆ์ปกปิดโทษของกันและกัน น้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจงแยกกันอยู่เถิด สงฆ์ย่อมสรรเสริญการแยกกันอยู่ของน้องหญิงทั้งหลายเท่านั้น’ ดังนี้ จริงหรือ” พวกภิกษุทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทาจึงบอกภิกษุณีทั้งหลายผู้ถูกสงฆ์สวด สมนุภาสน์แล้วอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลายจงอยู่คลุกคลี อย่าแยกกันอยู่ ภิกษุณี เหล่าอื่น ฯลฯ ก็มีอยู่ในสงฆ์ ฯลฯ แม่เจ้าทั้งหลาย พวกท่านจงแยกกันอยู่เถิด สงฆ์ย่อมสรรเสริญการแยกกันอยู่ของน้องหญิงทั้งหลายเท่านั้นดังนี้เล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่ แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้น แสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๗๒๘] ก็ภิกษุณีใดกล่าวอย่างนี้ว่า “น้องหญิงทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย จงอยู่คลุกคลีกัน อย่าแยกกันอยู่ ภิกษุณีเหล่าอื่นผู้มีความประพฤติอย่างนี้ มี กิตติศัพท์อย่างนี้ มีชื่อเสียงอย่างนี้ มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์ ปกปิดโทษของ กันและกันไว้ก็มีอยู่ในสงฆ์ สงฆ์ก็ไม่ได้ว่ากล่าวพวกเธอเลย สงฆ์ได้แต่ว่ากล่าว พวกท่านเท่านั้นด้วยความดูหมิ่นเหยียดหยาม ด้วยความไม่พอใจ ด้วยการข่มขู่ เพราะพวกท่านอ่อนแอ อย่างนี้ว่า “น้องหญิงทั้งหลายอยู่คลุกคลีกัน มีความ ประพฤติเลวทราม มีกิตติศัพท์ในทางเสื่อมเสีย มีชื่อเสียงไม่ดี มักเบียดเบียน ภิกษุณีสงฆ์ ปกปิดโทษของกันและกัน น้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจงแยก กันอยู่เถิด สงฆ์ย่อมสรรเสริญการแยกกันอยู่ของน้องหญิงทั้งหลายเท่านั้น” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๖๙}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๐ สิกขาบทวิภังค์

ภิกษุณีนั้นอันภิกษุณีทั้งหลายพึงว่ากล่าวตักเตือนอย่างนี้ว่า “น้องหญิง ท่าน อย่ากล่าวอย่างนี้ว่า ‘น้องหญิงทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงอยู่คลุกคลีกัน อย่า แยกกันอยู่ ภิกษุณีแม้เหล่าอื่นผู้มีความประพฤติอย่างนี้ มีกิตติศัพท์อย่างนี้ มีชื่อเสียงอย่างนี้ มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์ ชอบปกปิดโทษกันไว้ก็มีอยู่ใน สงฆ์ สงฆ์ก็ไม่ได้ว่ากล่าวภิกษุณีเหล่านั้นเลย ได้แต่ว่ากล่าวพวกท่านเท่านั้น ด้วยความดูหมิ่นเหยียดหยาม ด้วยความไม่พอใจ ด้วยการข่มขู่ เพราะพวกท่าน อ่อนแอ อย่างนี้ว่า ‘น้องหญิงทั้งหลายอยู่คลุกคลีกัน มีความประพฤติเลวทราม มีกิตติศัพท์ในทางเสื่อมเสีย มีชื่อเสียงไม่ดี มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์ ปกปิด โทษของกันและกัน น้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจงแยกกันอยู่เถิด สงฆ์ย่อม สรรเสริญการแยกกันอยู่ของน้องหญิงทั้งหลายเท่านั้น” ภิกษุณีนั้นอันภิกษุณี ทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือนอยู่อย่างนี้ ก็ยังยืนยันอยู่อย่างนั้น ภิกษุณีนั้นอัน ภิกษุณีทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสน์จนครบ ๓ ครั้งเพื่อให้สละเรื่องนั้น ถ้าเธอ กำลังถูกสวดสมนุภาสน์กว่าจะครบ ๓ ครั้งสละเรื่องนั้นได้ นั่นเป็นการดี ถ้า ไม่สละ แม้ภิกษุณีนี้ก็ต้องธรรมคือสังฆาทิเสสที่ชื่อว่ายาวตติยกะ นิสสารณียะ
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๗๒๙] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็ ... ใด คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้ คำว่า กล่าวอย่างนี้ คือ กล่าวว่า “แม่เจ้าทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงอยู่ คลุกคลีกัน อย่าแยกกันอยู่ ภิกษุณีเหล่าอื่นที่มีความประพฤติอย่างนี้ มีกิตติศัพท์ อย่างนี้ มีชื่อเสียงอย่างนี้ มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์ ชอบปกปิดโทษกันไว้ก็มีอยู่ ในสงฆ์ สงฆ์ไม่ว่ากล่าวอะไรๆ ภิกษุณีเหล่านั้น” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๗๐}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๐ สิกขาบทวิภังค์

คำว่า สงฆ์ ... ว่ากล่าวพวกท่าน ... ด้วยความดูหมิ่น ได้แก่ ด้วยความดูถูก คำว่า เหยียดหยาม ได้แก่ ความหยาบคาย คำว่า ด้วยความไม่พอใจ ได้แก่ ด้วยความโกรธเคือง คำว่า ด้วยการข่มขู่ ได้แก่ ด้วยการกำราบ คำว่า เพราะพวกท่านอ่อนแอ คือ เพราะความไม่มีพวก สงฆ์ว่ากล่าวอย่างนี้ว่า “น้องหญิงทั้งหลายอยู่คลุกคลีกัน มีความประพฤติ เลวทราม มีกิตติศัพท์ในทางเสื่อมเสีย มีชื่อเสียงไม่ดี มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์ ปกปิดโทษของกันและกัน ท่านทั้งหลายจงแยกกันอยู่ สงฆ์ย่อมสรรเสริญการแยก กันอยู่ของน้องหญิงทั้งหลายเท่านั้น” คำว่า ภิกษุณีนั้น ได้แก่ ภิกษุณีผู้ชอบพูดเช่นนั้น คำว่า อันภิกษุณีทั้งหลาย ได้แก่ อันภิกษุณีพวกอื่น ภิกษุณีทั้งหลายที่ได้เห็นได้ยินพึงว่ากล่าวตักเตือนว่า “แม่เจ้า ท่านอย่าพูด อย่างนี้ว่า ‘พวกท่านจงอยู่คลุกคลีกัน อย่าแยกกัน ฯลฯ ท่านทั้งหลายจงแยกกัน อยู่ สงฆ์ย่อมสรรเสริญการแยกกันอยู่ของน้องหญิงทั้งหลาย” พึงว่ากล่าวตักเตือน เธอแม้ครั้งที่ ๒ พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ ๓ ถ้าเธอสละได้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุณีทั้งหลายรู้แต่ไม่ตักเตือน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุณีนั้นอันภิกษุณีทั้งหลายพึงนำมาท่ามกลางสงฆ์ ว่ากล่าวตักเตือนว่า “แม่เจ้า ท่านอย่ากล่าวอย่างนี้ว่า ‘แม่เจ้าทั้งหลาย พวกท่านจงคลุกคลีกัน อย่าแยกกันอยู่ ฯลฯ พวกท่านจงแยกกันอยู่ สงฆ์ย่อมสรรเสริญการแยกกันอยู่ของน้องหญิงทั้งหลาย เท่านั้น” พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ ๒ พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ ๓ ถ้าเธอสละได้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุณีนั้นอันสงฆ์พึง สวดสมนุภาสน์
วิธีสวดสมนุภาสน์และกรรมวาจาสวดสมนุภาสน์
ภิกษุทั้งหลาย ก็สงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุณีนั้นอย่างนี้ คือ ภิกษุณีผู้ฉลาด สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๗๑}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๐ สิกขาบทวิภังค์

[๗๓๐] “แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟัง ภิกษุณีชื่อนี้กล่าวกับภิกษุณีทั้งหลายผู้ถูกสงฆ์ สวดสมนุภาสน์แล้วอย่างนี้ว่า ‘พวกท่านจงอยู่คลุกคลีกัน อย่าแยกกันอยู่ ภิกษุณี เหล่าอื่นที่มีความประพฤติอย่างนี้ มีกิตติศัพท์อย่างนี้ มีชื่อเสียงอย่างนี้ มักเบียด เบียนภิกษุณีสงฆ์ ชอบปกปิดโทษกันไว้ ก็มีอยู่ในสงฆ์ สงฆ์ก็ไม่ได้ว่ากล่าวภิกษุณี เหล่านั้นเลย สงฆ์ได้แต่ว่ากล่าวพวกท่านเท่านั้นด้วยความดูหมิ่นเหยียดหยาม ด้วยความไม่พอใจ ด้วยการข่มขู่ เพราะพวกท่านอ่อนแอ อย่างนี้ว่า ‘น้องหญิง ทั้งหลายอยู่คลุกคลีกัน มีความประพฤติเลวทราม มีกิตติศัพท์ในทางเสื่อมเสีย มี ชื่อเสียงในทางไม่ดี มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์ ปกปิดโทษของกันและกัน น้องหญิง ทั้งหลายพวกท่านพึงแยกกันอยู่เถิด สงฆ์ย่อมสรรเสริญการแยกกันอยู่ของน้องหญิง ทั้งหลายเท่านั้น” ภิกษุณีนั้นยังไม่สละเรื่องนั้น ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว ก็พึงสวด สมนุภาสน์ภิกษุณีชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น นี่เป็นญัตติ แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุณีนี้กล่าวกับภิกษุณีทั้งหลายผู้ถูกสงฆ์สวด สมนุภาสน์แล้วอย่างนี้ว่า ‘พวกท่านจงอยู่คลุกคลีกัน อย่าแยกกันอยู่ ภิกษุณี เหล่าอื่นที่มีความประพฤติอย่างนี้ มีกิตติศัพท์อย่างนี้ มีชื่อเสียงอย่างนี้ มักเบียด เบียนภิกษุณีสงฆ์ ชอบปกปิดโทษกันไว้ก็มีในสงฆ์ สงฆ์ก็ไม่ได้ว่ากล่าวพวกเธอเลย สงฆ์ได้แต่ว่ากล่าวพวกท่านเท่านั้นด้วยความดูหมิ่นเหยียดหยาม ด้วยความไม่พอใจ ด้วยการข่มขู่ เพราะพวกท่านอ่อนแอ อย่างนี้ว่า “น้องหญิงทั้งหลายอยู่คลุกคลีกัน มีความประพฤติเลวทราม มีกิตติศัพท์ในทางเสื่อมเสีย มีชื่อเสียงไม่ดี มักเบียด เบียนภิกษุณีสงฆ์ ปกปิดโทษของกันและกัน น้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจงแยกกัน อยู่เถิด สงฆ์ย่อมสรรเสริญการแยกกันอยู่ของน้องหญิงทั้งหลายเท่านั้น” ภิกษุณีนั้น ยังไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสน์ภิกษุณีชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น แม่เจ้ารูปใด เห็นด้วยกับการสวดสมนุภาสน์ภิกษุณีชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น แม่เจ้ารูปนั้นพึงนิ่ง แม่เจ้ารูปใดไม่เห็นด้วย แม่เจ้ารูปนั้นพึงทักท้วง ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่ ๓ ฯลฯ ภิกษุณีชื่อนี้ สงฆ์สวดสมนุภาสน์เพื่อให้สละเรื่องนั้น สงฆ์เห็นด้วย เพราะ ฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๗๒}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๐ บทภาชนีย์

จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส เมื่อเธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส อาบัติทุกกฏ(ที่ต้อง)เพราะญัตติ อาบัติถุลลัจจัย(ที่ต้อง)เพราะกรรมวาจา ๒ ครั้ง ย่อมระงับไป คำว่า ภิกษุณีแม้นี้ พระผู้มีพระภาคตรัสเทียบเคียงภิกษุณีรูปก่อนๆ คำว่า ยาวตติยกะ คือ ต้องอาบัติเพราะสวดสมนุภาสน์จบ ๓ ครั้ง ไม่ใช่ ต้องอาบัติพร้อมกับการล่วงละเมิดวัตถุ คำว่า นิสสารณียะ ได้แก่ ทำให้ถูกขับออกจากหมู่ คำว่า สังฆาทิเสส ความว่า สำหรับอาบัตินั้น สงฆ์เท่านั้นให้มานัต ชัก เข้าหาอาบัติเดิม เรียกเข้าหมู่ ภิกษุณีหลายรูปก็ทำไม่ได้ ภิกษุณีรูปเดียวก็ทำไม่ได้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า สังฆาทิเสส คำว่า สังฆาทิเสส นี้เป็นการขนานนาม เป็นคำเรียกหมวดอาบัตินั้นนั่นเอง ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า สังฆาทิเสส
บทภาชนีย์
ติกสังฆาทิเสส
[๗๓๑] กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีไม่แน่ใจ ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ไม่สละ ต้อง อาบัติสังฆาทิเสส
ติกทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๗๓}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

บทสรุป

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๗๓๒] ๑. ภิกษุณียังไม่ถูกสวดสมนุภาสน์ ๒. ภิกษุณีผู้สละ ๓. ภิกษุณีวิกลจริต ๔. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๐ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๖๘-๗๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=3&siri=14              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=3&A=1193&Z=1327                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=85              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=3&item=85&items=7              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=11104              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=3&item=85&items=7              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=11104                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu3              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/03i001-e.php#3.085 https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-ss13/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-ss13/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :