ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ภิกขุนีวิภังค์

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๒ นิทานวัตถุ

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๒
ว่าด้วยการบวชให้สตรีผู้เป็นโจร
เรื่องชายาเจ้าลิจฉวีกับภิกษุณีถุลลนันทา
[๖๘๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ในกรุงเวสาลี ชายาของเจ้าลิจฉวี องค์หนึ่งประพฤตินอกใจพระสวามี เจ้าลิจฉวีผู้นั้นตรัสกับหญิงนั้นดังนี้ว่า “เอาละ เธอจงงดเว้น ถ้าไม่เช่นนั้นฉันจะทำโทษเธอ” นางแม้จะถูกว่ากล่าวอย่างนี้ก็ไม่เชื่อ ต่อมา คณะเจ้าลิจฉวีได้ประชุมกันด้วยราชกรณียกิจบางอย่าง เจ้าลิจฉวีองค์นั้นได้ตรัสกับพวกเจ้าลิจฉวีดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลายขออนุญาตให้ หม่อมฉันจัดการกับสตรีคนหนึ่ง” คณะถามว่า “สตรีผู้นั้นคือใคร” เจ้าลิจฉวีนั้นตอบว่า “นางคือภรรยาประพฤตินอกใจของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจัก ฆ่านาง” คณะกล่าวว่า “ท่านจงรู้เองเถิด” สตรีนั้นทราบข่าวว่า สามีประสงค์จะฆ่านาง จึงเก็บของสำคัญๆ หนีไปยังกรุง สาวัตถี เข้าไปหาพวกเดียรถีย์ขอบวช พวกเดียรถีย์ไม่ต้องการบวชให้ นางจึงเข้า ไปหาพวกภิกษุณีขอบวช พวกภิกษุณีก็ไม่ต้องการจะบวชให้ จึงเข้าไปหาภิกษุณี ถุลลนันทาอวดของมีค่าแล้วขอบวช ภิกษุณีถุลลนันทารับเอาสิ่งของแล้วบวชให้นาง ต่อมา เจ้าลิจฉวีนั้นทรงตามหาสตรีนั้นไปถึงกรุงสาวัตถี พบนางบวชอยู่ใน สำนักภิกษุณี จึงเข้าไปเฝ้าพระเจ้าปเสนทิโกศลถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้กราบทูล พระเจ้าปเสนทิโกศลดังนี้ว่า “ขอเดชะ ชายาของหม่อมฉันขโมยของมีค่าหนีมา กรุงสาวัตถี ขอพระองค์จงทรงอนุญาตให้จับนาง” พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสว่า “เชิญท่านสืบหานาง พบแล้วจงมาบอก” เจ้าลิจฉวีกราบทูลว่า “หม่อมฉันเห็นนางบวชอยู่ในสำนักภิกษุณี พระเจ้าข้า” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๓๐}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๒ พระบัญญัติ

พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสว่า “ถ้านางบวชอยู่ในสำนักภิกษุณี ใครๆ ก็ทำ อะไรไม่ได้ พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ขอให้นางประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด” ครั้งนั้น เจ้าลิจฉวีนั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณีจึง บวชให้สตรีผู้เป็นโจรเล่า” ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินเจ้าลิจฉวีนั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุณี ผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึง บวชให้สตรีผู้เป็นโจรเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีถุลลนันทาบวชให้สตรี ผู้เป็นโจร จริงหรือ” พวกภิกษุทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาค พุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทาจึงบวชให้สตรี ผู้เป็นโจรเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณี ทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๖๘๓] ก็ภิกษุณีใดรู้อยู่ไม่บอกพระราชา สงฆ์ คณะ สมาคม หรือ กลุ่มชนให้ทราบ บวชให้สตรีผู้เป็นโจรซึ่งเป็นที่รู้กันว่าต้องโทษประหาร เว้น ไว้แต่สตรีที่สมควร แม้ภิกษุณีนี้ก็ต้องธรรมคือสังฆาทิเสสที่ชื่อว่าปฐมาปัตติกะ นิสสารณียะ
เรื่องชายาเจ้าลิจฉวีกับภิกษุณีถุลลนันทา จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๓๑}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๒ สิกขาบทวิภังค์

สิกขาบทวิภังค์
[๖๘๔] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระ ผู้มีพระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า รู้อยู่ คือ ภิกษุณีนั้นรู้เอง คนอื่นบอกให้เธอรู้ หรือสตรีผู้เป็นโจร นั้นบอก ที่ชื่อว่า สตรีผู้เป็นโจร คือ สตรีผู้ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ มีราคา ๕ มาสกหรือมากกว่า ๕ มาสก โดยส่วนแห่งจิตคิดจะลัก นี้ชื่อว่าสตรีผู้เป็นโจร ที่ชื่อว่า ต้องโทษประหาร หมายถึง ผู้ทำความผิดโทษถึงประหารชีวิต ที่ชื่อว่า เป็นที่รู้กัน หมายถึง ผู้คนเหล่าอื่นก็รู้ว่าผู้นี้ต้องโทษประหารชีวิต คำว่า ไม่บอก...ให้ทราบ คือ ไม่บอก ที่ชื่อว่า พระราชา ความว่า พระราชาทรงปกครองในที่ใด ต้องขอพระบรม ราชานุญาตในถิ่นนั้น ที่ชื่อว่า สงฆ์ พระผู้มีพระภาคตรัสถึงภิกษุณีสงฆ์ ต้องขอนุญาตภิกษุณีสงฆ์ ที่ชื่อว่า คณะ ความว่า คณะปกครองในถิ่นใด ต้องบอกคณะในถิ่นนั้น ที่ชื่อว่า สมาคม ความว่า สมาคมปกครองในถิ่นใด ต้องบอกสมาคมในถิ่นนั้น ที่ชื่อว่า กลุ่มชน ความว่า กลุ่มชนปกครองในถิ่นใด ต้องบอกกลุ่มชนในถิ่นนั้น คำว่า เว้นไว้แต่สตรีที่สมควร อธิบายว่า ยกเว้นแต่สตรีผู้สมควร ที่ชื่อว่า สตรีที่สมควร มี ๒ ประเภท คือ (๑) ผู้ที่บวชในสำนักเดียรถีย์ (๒) ผู้ที่บวชในสำนักภิกษุณีอื่น ภิกษุณีคิดว่า “เราจักบวชให้เว้นไว้แต่ผู้ที่ผ่านการ บวชมาแล้ว” แล้วจึงแสวงหาคณะ กรรมวาจาจารย์ บาตรหรือจีวร หรือสมมติสีมา ต้องอาบัติทุกกฏ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๓๒}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๒ บทภาชนีย์

จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย อุปัชฌาย์ต้องอาบัติสังฆาทิเสส คณะและอาจารย์ต้อง อาบัติทุกกฏ คำว่า แม้ภิกษุณีนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสเทียบเคียงภิกษุณีรูปก่อน คำว่า ปฐมาปัตติกะ คือ ต้องอาบัติพร้อมกับการล่วงละเมิดวัตถุโดยไม่ต้อง สวดสมนุภาสน์ คำว่า นิสสารณียะ ได้แก่ ทำให้ถูกขับออกจากหมู่ คำว่า สังฆาทิเสส ความว่า สำหรับอาบัตินั้น สงฆ์เท่านั้นให้มานัต ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า สังฆาทิเสส
บทภาชนีย์
[๖๘๕] สตรีผู้เป็นโจร ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นสตรีผู้เป็นโจร บวชให้ ต้องอาบัติ สังฆาทิเสส เว้นไว้แต่สตรีที่สมควร สตรีผู้เป็นโจร ภิกษุณีไม่แน่ใจ บวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ เว้นไว้แต่สตรีที่ สมควร สตรีผู้ป็นโจร ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ใช่สตรีผู้เป็นโจร บวชให้ เว้นไว้แต่สตรีที่ สมควร ไม่ต้องอาบัติ ไม่ใช่สตรีผู้เป็นโจร ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นสตรีผู้เป็นโจร บวชให้ ต้องอาบัติ ทุกกฏ ไม่ใช่สตรีผู้เป็นโจร ภิกษุณีไม่แน่ใจ บวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ ไม่ใช่สตรีผู้เป็นโจร ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ใช่สตรีผู้เป็นโจร บวชให้ ไม่ต้องอาบัติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๓๓}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๒ อนาปัตติวาร

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๖๘๖] ๑. ภิกษุณีไม่รู้ว่าเป็นสตรีผู้เป็นโจรจึงบวชให้ ๒. ภิกษุณีขออนุญาตแล้วบวชให้ ๓. ภิกษุณีบวชให้สตรีผู้เป็นโจรผู้สมควร ๔. ภิกษุณีวิกลจริต ๕. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๒ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๓๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๓๐-๓๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=3&siri=6              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=3&A=479&Z=558                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=35              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=3&item=35&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=10964              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=3&item=35&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=10964                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu3              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/03i001-e.php#3.035 https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-ss2/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-ss2/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :