ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๓. มหาวัจฉโคตตสูตร

๓. มหาวัจฉโคตตสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อวัจฉโคตร สูตรใหญ่
เรื่องกุศลธรรมและอกุศลธรรม
[๑๙๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ปริพาชกชื่อวัจฉโคตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าพระองค์เคยสนทนากับท่านพระโคดมเป็นเวลานานมาแล้ว ขอประทาน วโรกาส ขอท่านพระโคดมโปรดแสดงธรรมทั้งที่เป็นกุศลและเป็นอกุศลแก่ข้าพระองค์ โดยย่อเถิด” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “วัจฉะ เราจะแสดงธรรมทั้งที่เป็นกุศลและเป็นอกุศล แก่ท่านโดยย่อก็ได้ เราจะแสดงธรรมทั้งที่เป็นกุศลและเป็นอกุศลแก่ท่านโดยพิสดาร ก็ได้ แต่เราจักแสดงธรรมทั้งที่เป็นกุศลและเป็นอกุศลแก่ท่านโดยย่อ ท่านจงฟัง จงใส่ใจ ให้ดี เราจักกล่าว” วัจฉโคตรปริพาชก ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเรื่องนี้ว่า [๑๙๔] “วัจฉะ โลภะเป็นอกุศล อโลภะเป็นกุศล โทสะเป็นอกุศล อโทสะเป็น กุศล โมหะเป็นอกุศล อโมหะเป็นกุศล รวมความว่า ธรรมที่เป็นอกุศลมี ๓ ประการ ธรรมที่เป็นกุศลมี ๓ ประการ ปาณาติบาต(การฆ่าสัตว์) เป็นอกุศล ปาณาติปาตา เวรมณี(การงดเว้นจากการ ฆ่าสัตว์) เป็นกุศล อทินนาทาน(การลักทรัพย์) เป็นอกุศล อทินนาทานา เวรมณี(การงดเว้นจาก การลักทรัพย์) เป็นกุศล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๒๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๓. มหาวัจฉโคตตสูตร

กาเมสุมิจฉาจาร(การประพฤติผิดในกาม) เป็นอกุศล กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี (การงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม) เป็นกุศล มุสาวาท(การพูดเท็จ) เป็นอกุศล มุสาวาทา เวรมณี(การงดเว้นจากการ พูดเท็จ) เป็นกุศล ปิสุณาวาจา(การพูดส่อเสียด) เป็นอกุศล ปิสุณาย วาจาย เวรมณี(การงดเว้น จากการพูดส่อเสียด) เป็นกุศล ผรุสวาจา(การพูดคำหยาบ) เป็นอกุศล ผรุสาย วาจาย เวรมณี(การงดเว้น จากการพูดคำหยาบ) เป็นกุศล สัมผัปปลาปะ(การพูดเพ้อเจ้อ) เป็นอกุศล สัมผัปปลาปา เวรมณี(การงดเว้น จากการพูดเพ้อเจ้อ) เป็นกุศล อภิชฌา(ความเพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น) เป็นอกุศล อนภิชฌา(ความไม่ เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น) เป็นกุศล พยาบาท(ความคิดร้าย) เป็นอกุศล อพยาบาท(ความไม่คิดร้าย) เป็นกุศล มิจฉาทิฏฐิ(ความเห็นผิด) เป็นอกุศล สัมมาทิฏฐิ(ความเห็นชอบ) เป็นกุศล รวมความว่า ธรรมที่เป็นอกุศลมี ๑๐ ประการ ธรรมที่เป็นกุศลมี ๑๐ ประการ วัจฉะ เพราะภิกษุละตัณหาได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก ถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ จึงเป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ๑- เสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตน โดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว๒- หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ” @เชิงอรรถ : @๑-๒ ดูเชิงอรรถที่ ๑-๒ ข้อ ๒ (กันทรกสูตร) หน้า ๓ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๒๙}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๓. มหาวัจฉโคตตสูตร

พุทธบริษัทผู้ทำให้แจ้งวิมุตติ
[๑๙๕] วัจฉโคตรปริพาชกทูลถามว่า “ยกเว้นท่านพระโคดม ภิกษุแม้รูป หนึ่งผู้เป็นสาวกของท่านพระโคดม ผู้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ๑- อันไม่มี อาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน มีอยู่หรือ” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสาวกของเรา ผู้ทำให้ แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน มิใช่มีเพียง ๑๐๐ รูป ๒๐๐ รูป ๓๐๐ รูป ๔๐๐ รูป ๕๐๐ รูป ความจริงแล้วมีอยู่จำนวนมากทีเดียว” “ยกเว้นท่านพระโคดม ยกเว้นภิกษุ ภิกษุณีแม้รูปหนึ่งผู้เป็นสาวิกาของท่าน พระโคดม ผู้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน มีอยู่หรือ” “ภิกษุณีทั้งหลายผู้เป็นสาวิกาของเรา ผู้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน มิใช่ มีเพียง ๑๐๐ รูป ๒๐๐ รูป ๓๐๐ รูป ๔๐๐ รูป ๕๐๐ รูป ความจริงแล้วมีอยู่ จำนวนมากทีเดียว” “ยกเว้นท่านพระโคดม ยกเว้นภิกษุทั้งหลาย ยกเว้นภิกษุณีทั้งหลาย อุบาสก แม้คนหนึ่งผู้เป็นสาวกของท่านพระโคดม ผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว เป็นเพื่อน พรหมจารี เป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป จะปรินิพพาน ในภพนั้น ไม่กลับมาจากโลกนั้นอีก มีอยู่หรือ” “อุบาสกทั้งหลายผู้เป็นสาวกของเรา ผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว เป็นเพื่อน พรหมจารี เป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป จะปรินิพพาน ในภพนั้น ไม่กลับมาจากโลกนั้นอีก มิใช่มีเพียง ๑๐๐ คน ๒๐๐ คน ๓๐๐ คน ๔๐๐ คน ๕๐๐ คน ความจริงแล้วมีอยู่จำนวนมากทีเดียว” @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑-๒ ข้อ ๒๘ (กันทรกสูตร) หน้า ๓๒ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๓๐}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๓. มหาวัจฉโคตตสูตร

“ยกเว้นท่านพระโคดม ยกเว้นภิกษุทั้งหลาย ยกเว้นภิกษุณีทั้งหลาย ยกเว้น อุบาสกทั้งหลายผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว เป็นเพื่อนพรหมจารี อุบาสกแม้คนหนึ่ง ผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกาม ทำตามคำสั่งสอน ทำถูกตามโอวาท หมดความสงสัย ไม่มีคำถามใดๆ มีความแกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อใครอีก ในหลัก คำสอนของพระศาสดา มีอยู่หรือ” “อุบาสกทั้งหลายผู้เป็นสาวกของเรา ผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกาม ทำตามคำสั่งสอน ทำถูกตามโอวาท หมดความสงสัย ไม่มีคำถามใดๆ มีความ แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อใครอีก ในหลักคำสอนของพระศาสดา มิใช่มีเพียง ๑๐๐ คน ๒๐๐ คน ๓๐๐ คน ๔๐๐ คน ๕๐๐ คน ความจริงแล้วมีอยู่จำนวนมากทีเดียว” “ยกเว้นท่านพระโคดม ยกเว้นภิกษุทั้งหลาย ยกเว้นภิกษุณีทั้งหลาย ยกเว้น อุบาสกทั้งหลายผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว เป็นเพื่อนพรหมจารี ยกเว้นอุบาสก ทั้งหลายผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกาม อุบาสิกาแม้คนหนึ่งผู้เป็นสาวิกา ของท่านพระโคดม ผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว เป็นเพื่อนพรหมจาริณี เป็น โอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป จะปรินิพพานในภพนั้น ไม่กลับมาจากโลกนั้นอีก มีอยู่หรือ” “อุบาสิกาทั้งหลายผู้เป็นสาวิกาของเรา ผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว เป็น เพื่อนพรหมจาริณี เป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป จะปรินิพพานในภพนั้น ไม่กลับมาจากโลกนั้นอีก มิใช่มีเพียง ๑๐๐ คน ๒๐๐ คน ๓๐๐ คน ๔๐๐ คน ๕๐๐ คน ความจริงแล้วมีอยู่จำนวนมากทีเดียว” “ยกเว้นท่านพระโคดม ยกเว้นภิกษุทั้งหลาย ยกเว้นภิกษุณีทั้งหลาย ยกเว้น อุบาสกทั้งหลายผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว เป็นเพื่อนพรหมจารี ยกเว้นอุบาสก ทั้งหลายผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกาม ยกเว้นพวกอุบาสิกาผู้เป็น คฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว เป็นเพื่อนพรหมจาริณี อุบาสิกาแม้คนหนึ่งผู้เป็นสาวิกา ของท่านพระโคดมผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกาม ทำตามคำสั่งสอน ทำถูกตามโอวาท หมดความสงสัย ไม่มีคำถามใดๆ มีความแกล้วกล้า ไม่ต้อง เชื่อใครอีก ในหลักคำสอนของพระศาสดาของตน มีอยู่หรือ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๓๑}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๓. มหาวัจฉโคตตสูตร

“วัจฉะ อุบาสิกาทั้งหลายผู้เป็นสาวิกาของเรา ผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกาม ทำตามคำสั่งสอน ทำถูกตามโอวาท หมดความสงสัย ไม่มีคำถาม ใดๆ มีความแกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อใครอีก ในหลักคำสอนของพระศาสดา มิใช่มีเพียง ๑๐๐ คน ๒๐๐ คน ๓๐๐ คน ๔๐๐ คน ๕๐๐ คน ความจริงแล้วมีอยู่จำนวนมาก ทีเดียว”
การบำเพ็ญธรรมให้บริบูรณ์
[๑๙๖] วัจฉโคตรปริพาชกทูลถาม(ต่อไป)ว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าท่าน พระโคดมเท่านั้นได้ทรงบำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ แต่พวกภิกษุจักไม่ได้บำเพ็ญให้ บริบูรณ์ ด้วยเหตุนั้น พรหมจรรย์นี้อาจจะไม่บริบูรณ์เช่นนี้ แต่เพราะท่านพระโคดม ทรงบำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ และพวกภิกษุก็บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ด้วยเหตุนั้น พรหมจรรย์ นี้จึงบริบูรณ์ได้เช่นนี้ ถ้าท่านพระโคดมได้ทรงบำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ และพวกภิกษุได้บำเพ็ญให้ บริบูรณ์ แต่พวกภิกษุณีไม่ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ด้วยเหตุนั้น พรหมจรรย์นี้อาจจะ ไม่บริบูรณ์เช่นนี้ แต่เพราะท่านพระโคดมทรงบำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ และพวกภิกษุ ก็ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ทั้งพวกภิกษุณีก็บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ด้วยเหตุนั้น พรหมจรรย์ นี้จึงบริบูรณ์ได้เช่นนี้ ถ้าท่านพระโคดมได้ทรงบำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ และทั้งพวกภิกษุณีก็ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ แต่พวกอุบาสกผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว เป็นเพื่อนพรหมจารี ไม่บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ด้วยเหตุนั้น พรหมจรรย์นี้อาจจะไม่บริบูรณ์ เช่นนี้ แต่เพราะท่านพระโคดมได้บำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุได้บำเพ็ญให้ บริบูรณ์ พวกภิกษุณีได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ และพวกอุบาสกผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว เป็นเพื่อนพรหมจารี ก็ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ด้วยเหตุนั้น พรหมจรรย์นี้จึงบริบูรณ์ได้ เช่นนี้ ถ้าท่านพระโคดมได้ทรงบำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกภิกษุณีได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ และพวกอุบาสกผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๓๒}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๓. มหาวัจฉโคตตสูตร

เป็นเพื่อนพรหมจารี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ แต่พวกอุบาสกผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาว ห่มขาว บริโภคกาม ไม่ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ด้วยเหตุนั้น พรหมจรรย์นี้อาจจะไม่ บริบูรณ์เช่นนี้ แต่เพราะท่านพระโคดมได้ทรงบำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุ ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกภิกษุณีได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสกผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว เป็นเพื่อนพรหมจารี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ และพวกอุบาสกผู้เป็น คฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกามก็ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ด้วยเหตุนั้น พรหมจรรย์ นี้จึงบริบูรณ์ได้เช่นนี้ ถ้าท่านพระโคดมได้ทรงบำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกภิกษุณีได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสกผู้เป็นคฤหัสถ์นุ่งขาวห่มขาว เป็นเพื่อน พรหมจารี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ และพวกอุบาสกผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกาม ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ แต่พวกอุบาสิกาผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว เป็นเพื่อนพรหมจาริณี ไม่ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ด้วยเหตุนั้น พรหมจรรย์นี้อาจจะ ไม่บริบูรณ์เช่นนี้ แต่เพราะท่านพระโคดมได้ทรงบำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุ ได้บำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุณีได้บำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกอุบาสก ผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว เป็นเพื่อนพรหมจารี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสก ผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกาม ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ และพวกอุบาสิกา ผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว เป็นเพื่อนพรหมจาริณี ก็ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ด้วยเหตุนั้น พรหมจรรย์นี้จึงบริบูรณ์ได้เช่นนี้ ถ้าท่านพระโคดมได้ทรงบำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกภิกษุณีได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสกผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว เป็นเพื่อน พรหมจารี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสกผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกาม ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ และพวกอุบาสิกาผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว เป็นเพื่อน พรหมจาริณี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ แต่พวกอุบาสิกาผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกาม ไม่ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ด้วยเหตุนั้น พรหมจรรย์นี้อาจจะไม่บริบูรณ์ เช่นนี้ แต่เพราะท่านพระโคดมได้ทรงบำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุได้บำเพ็ญ ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุณีได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสกผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๓๓}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๓. มหาวัจฉโคตตสูตร

ห่มขาว เป็นเพื่อนพรหมจารี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสกผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกาม ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสิกาผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว เป็นเพื่อนพรหมจาริณี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ และพวกอุบาสิกา ผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกาม ก็ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ด้วยเหตุนั้น พรหมจรรย์นี้จึงบริบูรณ์ได้เช่นนี้
วัจฉโคตรปริพาชกขอบรรพชา
[๑๙๗] ข้าแต่ท่านพระโคดม แม่น้ำคงคามีแต่จะไหลหลั่งล้นไปสู่มหาสมุทร รวมกันอยู่ในมหาสมุทร แม้ฉันใด บริษัทของท่านพระโคดมซึ่งมีทั้งคฤหัสถ์และ บรรพชิตก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีแต่มุ่งไป ก้าวไป และดำเนินไปสู่นิพพาน บรรลุ นิพพานอยู่ ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดมทรงประกาศ ธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่างๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของท่านพระโคดมเถิด” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ ผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ประสงค์จะบรรพชา อุปสมบทในธรรมวินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาส๑- ๔ เดือน หลังจาก ๔ เดือนล่วงไปแล้ว เมื่อภิกษุทั้งหลายเต็มใจจึงจะให้บรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุได้ อนึ่ง ในเรื่องนี้ เราคำนึง ถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วย” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หากผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ประสงค์จะบรรพชาอุปสมบท ในพระธรรมวินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาส ๔ เดือน หลังจาก ๔ เดือนล่วงไปแล้ว @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๘๒ (กุกกุรวติกสูตร) หน้า ๘๓ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๓๔}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๓. มหาวัจฉโคตตสูตร

เมื่อภิกษุทั้งหลายพอใจก็จะให้บรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุ ข้าพระองค์จักขออยู่ปริวาส ๔ ปี หลังจาก ๔ ปีล่วงไปแล้ว เมื่อภิกษุทั้งหลายพอใจก็จงให้บรรพชาอุปสมบท เป็นภิกษุเถิด” วัจฉโคตรปริพาชกได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคแล้ว
สมถวิปัสสนา
ท่านพระวัจฉโคตรอุปสมบทแล้วไม่นาน คืออุปสมบทได้กึ่งเดือน ก็ได้เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผล ๓ เบื้องต่ำมีประมาณเท่าใดซึ่งบุคคลจะพึงบรรลุด้วย ญาณของพระเสขะ และด้วยวิชชาของพระเสขะ๑- ผลนั้นทั้งหมดข้าพระองค์บรรลุแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมที่ยิ่งขึ้นไปแก่ข้าพระองค์เถิด” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “วัจฉะ ถ้าเช่นนั้น เธอจงเจริญธรรม ๒ ประการ คือ (๑) สมถะ (๒) วิปัสสนา ให้ยิ่งขึ้นไปเถิด ธรรม ๒ ประการ คือ (๑) สมถะ (๒) วิปัสสนา นี้ซึ่งเธอเจริญให้ยิ่งขึ้นไปแล้ว จักเป็นไปเพื่อรู้แจ้งธรรมธาตุหลายประการ
อภิญญา ๖
[๑๙๘] วัจฉะ เธออาจจะหวังว่า ‘เราควรบรรลุอิทธิวิธญาณแสดงฤทธิ์ได้ หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏ หรือให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง (และ)ภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือน ไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือดำลงในแผ่นดินเหมือนไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดยที่น้ำ ไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไปในอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ อันมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจ ทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้’ @เชิงอรรถ : @ วิชชาของพระเสขะ ในที่นี้หมายถึงสามัญญผล ๓ เบื้องต่ำ [คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล และ @อนาคามิผล] @อีกนัยหนึ่ง หมายถึงมรรคปัญญาอันถึงลักษณะของพระเสขะ (ม.ม.อ. ๒/๑๙๗/๑๔๘, @ม.ม.ฏีกา ๑๙๗/๑๑๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๓๕}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๓. มหาวัจฉโคตตสูตร

เมื่อมีเหตุ๑- อยู่ เธอก็จักบรรลุความเป็นผู้สามารถในอิทธิวิธญาณแสดงฤทธิ์ได้ หลายอย่างนั้นได้แน่ (๑) เธออาจจะหวังว่า ‘เราควรได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ (๑) เสียงทิพย์ (๒) เสียง มนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและอยู่ใกล้ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์’ เมื่อมีเหตุอยู่ เธอจักบรรลุความเป็นผู้สามารถในทิพพโสตธาตุได้แน่ (๒) เธออาจจะหวังว่า ‘เราพึงกำหนดรู้จิตของสัตว์ และบุคคลอื่นได้ด้วยจิตของตน คือ จิตมีราคะก็รู้ว่า ‘จิตมีราคะ’ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ว่า ‘จิตปราศจากราคะ’ จิตมีโทสะก็รู้ว่า ‘จิตมีโทสะ’ หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่า ‘จิตปราศจากโทสะ’ จิตมีโมหะก็รู้ว่า ‘จิตมีโมหะ’ หรือจิตปราศจากโมหะก็รู้ว่า ‘จิตปราศจากโมหะ’ จิตหดหู่ก็รู้ว่า ‘จิตหดหู่’ หรือจิตฟุ้งซ่านก็รู้ว่า ‘จิตฟุ้งซ่าน’ จิตเป็นมหัคคตะ๒- (จิตถึงความเป็นใหญ่)ก็รู้ว่า ‘จิตเป็นมหัคคตะ’ หรือจิตไม่ เป็นมหัคคตะก็รู้ว่า ‘จิตไม่เป็นมหัคคตะ’ จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่า ‘จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า’ หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่า ‘จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า’ จิตเป็นสมาธิก็รู้ว่า ‘จิตเป็นสมาธิ’ หรือจิตไม่เป็นสมาธิก็รู้ว่า ‘จิตไม่เป็นสมาธิ’ จิตหลุดพ้นก็รู้ว่า ‘จิตหลุดพ้น’ หรือจิตไม่หลุดพ้นก็รู้ว่า ‘จิตไม่หลุดพ้น’ เมื่อมีเหตุอยู่ เธอก็จักบรรลุความเป็นผู้สามารถในเจโตปริยญาณนั้นได้แน่ (๓) เธออาจจะหวังว่า ‘เราควรระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐ ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง @เชิงอรรถ : @ เหตุ ในที่นี้หมายถึงอภิญญา ฌานที่มีอภิญญาเป็นฐาน พระอรหัต หรือการเห็นแจ้งพระอรหัต @(ม.ม.อ. ๒/๑๙๘/๑๔๙) @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๒๐ (อัฏฐกนาครสูตร) หน้า ๒๑ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๓๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๓. มหาวัจฉโคตตสูตร

ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัป และวิวัฏฏกัป๑- เป็นอันมากบ้างว่า ‘ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้นๆ จุติจากภพนั้น ก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์และ มีอายุอย่างนั้นๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้’ เราระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้’ เมื่อมีเหตุอยู่ เธอจักบรรลุความเป็นผู้สามารถในปุพเพนิวาสานุสสติญาณนั้น ได้แน่ (๔) เธออาจจะหวังว่า ‘เราควรเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและ ชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัด ถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า ‘หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิด และชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิด พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปบังเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก๒- แต่หมู่สัตว์ที่ ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบ และชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปบังเกิด ในสุคติโลกสวรรค์’ เราเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและ ไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดีด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไป ตามกรรมอย่างนี้แล’ เมื่อมีเหตุอยู่ เธอจักบรรลุความเป็นผู้สามารถในจุตูปปาตญาณนั้นได้แน่ (๕) วัจฉะ เธออาจจะหวังว่า ‘เราควรทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มี อาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’ เมื่อมีเหตุอยู่ เธอจักบรรลุความเป็นผู้สามารถในอาสวักขยญาณนั้นได้แน่” (๖) @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๑๔ (กันทรกสูตร) หน้า ๑๗ ในเล่มนี้ @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๑๕ (กันทรกสูตร) หน้า ๑๘ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๓๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๓. มหาวัจฉโคตตสูตร

[๑๙๙] ครั้งนั้น ท่านพระวัจฉโคตรชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วหลีกออกไปอยู่ คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนัก ได้ทำให้แจ้ง ประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวช เป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ได้รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้อีกต่อไป๑-’ ท่านพระวัจฉโคตรได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย [๒๐๐] สมัยนั้น ภิกษุจำนวนมากพากันไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ท่านพระ วัจฉโคตรได้เห็นภิกษุเหล่านั้นกำลังเดินมาแต่ไกล จึงเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นจนถึง ที่อยู่ แล้วถามว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านกำลังจะไปไหนกัน” ภิกษุเหล่านั้นตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ พวกเราจะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค” ท่านพระวัจฉโคตรกล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ขอพวกท่านจง ถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า และจงกราบทูลอย่างนี้ ตามคำของกระผมว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุชื่อวัจฉโคตรขอถวายอภิวาท พระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า และขอกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ข้าพระ องค์ได้ปรนนิบัติ๒- พระผู้มีพระภาคแล้ว ข้าพระองค์ได้ปรนนิบัติพระสุคตแล้ว” ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระวัจฉโคตร ขอถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า และขอให้กราบทูล อย่างนี้ว่า ‘ข้าพระองค์ได้ปรนนิบัติพระผู้มีพระภาคแล้ว ข้าพระองค์ได้ปรนนิบัติ พระสุคตแล้ว พระพุทธเจ้าข้า” @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๕ ข้อ ๑๖ (กันทรกสูตร) หน้า ๑๘ ในเล่มนี้ @ ข้าพระองค์ได้ปรนนิบัติ ในที่นี้หมายถึงพระเถระพยากรณ์อรหัตตผลโดยสังเขป เพราะผู้เป็นพระขีณาสพ @ชื่อว่าได้ปรนนิบัติพระผู้มีพระภาคแล้ว (ม.ม.อ. ๒/๒๐๐/๑๔๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๓๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๔. ทีฆนขสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดรู้จิตของภิกษุชื่อวัจฉ- โคตรด้วยจิตของเราก่อนแล้วว่า ‘ภิกษุชื่อวัจฉโคตรเป็นผู้มีวิชชา ๓ มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก’ แม้เทวดาทั้งหลายก็บอกเนื้อความนี้แก่เราแล้วว่า ‘ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ภิกษุชื่อวัจฉโคตรเป็นผู้มีวิชชา ๓ มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิต ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
มหาวัจฉโคตตสูตรที่ ๓ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๒๒๘-๒๓๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=13&siri=23              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=4441&Z=4660                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=253              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=13&item=253&items=16              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=9&A=3701              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=13&item=253&items=16              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=9&A=3701                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu13              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/13i253-e1.php# https://suttacentral.net/mn73/en/sujato https://suttacentral.net/mn73/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :