ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
๓. อัสสลายนสูตร
ว่าด้วยอัสสลายนมาณพ
[๔๐๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก- เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล พราหมณ์ผู้มาจากแคว้นต่างๆ ประมาณ ๕๐๐ คน พักอาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถี ด้วยกรณียกิจบางอย่าง ครั้งนั้น พราหมณ์เหล่านั้น ได้คิดว่า “พระสมณโคดมนี้ทรงบัญญัติความบริสุทธิ์ที่ทั่วไปแก่วรรณะ ๔ จำพวก ใครหนอจะสามารถเจรจาโต้ตอบกับพระสมณโคดมในคำนั้นได้” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๕๐๑}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๓. อัสสลายนสูตร

สมัยนั้น มาณพชื่ออัสสลายนะ อาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถี ยังเป็นหนุ่ม โกนศีรษะ มีอายุ ๑๖ ปี นับแต่เกิดมา เป็นผู้จบไตรเพท พร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์ เกฏุภศาสตร์ อักษรศาสตร์ และประวัติศาสตร์ เข้าใจตัวบทและไวยากรณ์ ชำนาญในโลกายต- ศาสตร์และลักษณะมหาบุรุษ๑- ครั้งนั้น พราหมณ์เหล่านั้นคิดกันว่า “อัสสลายนมาณพผู้นี้ อาศัยอยู่ในกรุง สาวัตถี ยังเป็นหนุ่ม ฯลฯ ชำนาญโลกายตศาสตร์และลักษณะมหาบุรุษ เขาจะ สามารถเจรจาโต้ตอบกับพระสมณโคดมในคำนั้นได้” ลำดับนั้น พราหมณ์เหล่านั้นพากันเข้าไปหาอัสสลายนมาณพถึงที่อยู่ แล้วได้ กล่าวว่า “พ่ออัสสลายนะ พระสมณโคดมนี้ ทรงบัญญัติความบริสุทธิ์ที่ทั่วไปแก่ วรรณะ ๔ จำพวก พ่ออัสสลายนะ จงไปเจรจาโต้ตอบกับพระสมณโคดมในคำนั้นเถิด” เมื่อพราหมณ์ทั้งหลายกล่าวอย่างนี้แล้ว อัสสลายนมาณพได้กล่าวกับพราหมณ์ เหล่านั้นว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ทราบว่า พระสมณโคดมเป็นธรรมวาทีที่บุคคล จะพึงเจรจาโต้ตอบได้ยาก ข้าพเจ้าไม่สามารถจะเจรจาโต้ตอบกับพระสมณโคดม ในคำนั้นได้” แม้ครั้งที่ ๒ พราหมณ์เหล่านั้นก็ได้กล่าวกับอัสสลายนมาณพว่า “พ่ออัสสลายนะ พระสมณโคดมนี้ ทรงบัญญัติความบริสุทธิ์ที่ทั่วไปแก่วรรณะ ๔ จำพวก พ่ออัสสลายนะ จงไปเจรจาโต้ตอบกับพระสมณโคดมในคำนั้นเถิด พ่ออัสสลายนะได้ประพฤติวิธีบรรพชา๒- มาแล้ว” แม้ครั้งที่ ๒ อัสสลายนมาณพก็ได้กล่าวกับพราหมณ์เหล่านั้นว่า “ท่านผู้เจริญ ทั้งหลาย ได้ทราบว่า พระสมณโคดมเป็นธรรมวาที ที่บุคคลจะพึงเจรจาโต้ตอบ ได้ยาก ข้าพเจ้าไม่สามารถจะเจรจาโต้ตอบกับพระสมณโคดมในคำนั้นได้” @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑-๗ ข้อ ๓๘๓ (พรหมายุสูตร) หน้า ๔๗๑ ในเล่มนี้ @ วิธีบรรพชา ในที่นี้หมายถึงมนตร์และอาจาระที่เป็นเหตุให้มาณพเรียนไตรเพทแล้วภายหลังจึงบรรพชา @ประพฤติศึกษาอยู่ (ม.ม.อ. ๒/๔๐๑/๒๙๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๕๐๒}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๓. อัสสลายนสูตร

แม้ครั้งที่ ๓ พราหมณ์เหล่านั้นก็ได้กล่าวกับอัสสลายนมาณพว่า “พ่ออัสสลายนะ พระสมณโคดมนี้ ทรงบัญญัติความบริสุทธิ์ที่ทั่วไปแก่วรรณะ ๔ จำพวก พ่ออัสสลายนะ จงเข้าไปเจรจาโต้ตอบกับพระสมณโคดมในคำนั้นเถิด พ่ออัสสลายนะได้ประพฤติวิธี บรรพชามาแล้ว พ่ออัสสลายนะอย่ายอมแพ้เสียตั้งแต่ยังไม่รบเลย” เมื่อพราหมณ์เหล่านั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว อัสสลายนมาณพได้กล่าวกับพราหมณ์ เหล่านั้นว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้ายอมไม่ได้แน่ ได้ทราบว่า พระสมณโคดม เป็นธรรมวาทีที่บุคคลจะพึงเจรจาโต้ตอบได้ยาก ข้าพเจ้าคงไม่สามารถจะเจรจา โต้ตอบกับพระสมณโคดมในคำนั้นได้ แต่ข้าพเจ้าจักไปตามคำของท่านทั้งหลาย”
เรื่องวรรณะ ๔ จำพวก๑-
[๔๐๒] ลำดับนั้น อัสสลายนมาณพพร้อมด้วยคณะพราหมณ์หมู่ใหญ่ พากัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็น ที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐ ที่สุดคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นเลว วรรณะที่ขาวคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นดำ พราหมณ์เท่านั้นบริสุทธิ์ ผู้ที่ไม่ใช่พราหมณ์ไม่บริสุทธิ์ พราหมณ์ เท่านั้นเป็นบุตร เป็นโอรส เกิดจากโอษฐ์ของพรหม เกิดจากพรหม เป็นผู้ที่พรหม สร้างขึ้น เป็นทายาทของพรหม’ ในเรื่องนี้ท่านพระโคดมได้ตรัสไว้อย่างไร” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อัสสลายนะ นางพราหมณีของพราหมณ์ทั้งหลาย มีระดูบ้าง มีครรภ์บ้าง คลอดบุตรบ้าง ให้บุตรดื่มนมบ้าง ปรากฏอยู่ พราหมณ์ เหล่านั้นซึ่งเป็นผู้เกิดจากโยนีเหมือนกัน ยังจะกล่าวอย่างนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐ ที่สุดคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นเลว วรรณะที่ขาวคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะ @เชิงอรรถ : @ เรื่องวรรณะ ในที่นี้หมายถึงชนชั้นที่จัดแบ่งออกไปตามหลักศาสนาพราหมณ์เรียกว่า วรรณะ ๔ คือ @(๑) กษัตริย์ (๒) พราหมณ์ (๓) แพศย์ (๔) ศูทร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๕๐๓}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๓. อัสสลายนสูตร

อื่นดำ พราหมณ์เท่านั้นบริสุทธิ์ ผู้ที่ไม่ใช่พราหมณ์ไม่บริสุทธิ์ พราหมณ์เท่านั้นเป็น บุตร เป็นโอรส เกิดจากโอษฐ์ของพรหม เกิดจากพรหม เป็นผู้ที่พรหมสร้างขึ้น เป็นทายาทของพรหม” อัสสลายนมาณพกราบทูลว่า “ท่านพระโคดมตรัสอย่างนี้ก็จริง แต่ในเรื่องนี้พราหมณ์ ทั้งหลายก็ยังเข้าใจเรื่องนั้นอยู่อย่างนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์เท่านั้น ฯลฯ เป็นทายาทของพรหม” [๔๐๓] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อัสสลายนะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่า อย่างไร ท่านได้ฟังมาแล้วหรือว่า ‘ในแคว้นโยนก แคว้นกัมโพชะ และปัจจันตชนบท อื่นๆ มีวรรณะอยู่ ๒ จำพวกเท่านั้น คือ (๑) เจ้า (๒) ทาส เป็นเจ้าแล้วกลับ เป็นทาส เป็นทาสแล้วกลับเป็นเจ้า” อัสสลายนมาณพทูลตอบว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเคยฟังความข้อนั้นมา แล้วอย่างนี้ว่า ‘ในแคว้นโยนก แคว้นกัมโพชะ และปัจจันตชนบทอื่นๆ มีวรรณะอยู่ ๒ จำพวกเท่านั้น คือ (๑) เจ้า (๒) ทาส เป็นเจ้าแล้วกลับเป็นทาส เป็นทาสแล้ว กลับเป็นเจ้า” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อัสสลายนะ ในเรื่องนี้ อะไรเป็นกำลัง อะไรเป็น ความยินดีของพราหมณ์ทั้งหลายผู้กล่าวแล้วอย่างนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือ พราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นเลว ฯลฯ เป็นทายาทของพรหม” อัสสลายนมาณพทูลตอบว่า “ท่านพระโคดมตรัสอย่างนั้นก็จริง แต่ในเรื่องนี้ พราหมณ์ทั้งหลายก็เข้าใจเรื่องนั้นอยู่อย่างนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์ เท่านั้น วรรณอื่นเลว ฯลฯ เป็นทายาทของพรหม” [๔๐๔] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อัสสลายนะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่า อย่างไร กษัตริย์เท่านั้นหรือที่เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น มีจิต {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๕๐๔}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๓. อัสสลายนสูตร

พยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ หลังจากตายแล้วจะพึงไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก๑- ส่วนพราหมณ์ไม่เป็นอย่างนั้นหรือ แพศย์เท่านั้นหรือ ฯลฯ ศูทรเท่านั้นหรือที่เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น มีจิต พยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ หลังจากตายแล้วจะพึงไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนพราหมณ์ไม่เป็นอย่างนั้นหรือ” อัสสลายนมาณพทูลตอบว่า “ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระโคดม แม้กษัตริย์ที่เป็นผู้ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ หลังจากตาย แล้วจะพึงไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แม้พราหมณ์ ฯลฯ แม้แพศย์ ฯลฯ แม้ศูทร ฯลฯ ข้าแต่ท่านพระโคดม ความจริง แม้วรรณะ ๔ จำพวก ที่เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เป็นผู้เพ่งเล็ง อยากได้สิ่งของของผู้อื่น มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ หลังจากตายแล้วจะพึงไปเกิด ในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ทั้งหมด” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อัสสลายนะ ในเรื่องนี้ อะไรเป็นกำลัง อะไร เป็นความยินดีของพราหมณ์ทั้งหลายผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือ พราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นเลว ฯลฯ เป็นทายาทของพรหม” @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๑๕ (กันทรกสูตร) หน้า ๑๘ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๕๐๕}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๓. อัสสลายนสูตร

อัสสลายนมาณพทูลตอบว่า “ท่านพระโคดม ตรัสอย่างนั้นก็จริง แต่ในเรื่องนี้ พราหมณ์ทั้งหลายก็เข้าใจเรื่องนั้นอยู่อย่างนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์ เท่านั้น วรรณะอื่นเลว ฯลฯ เป็นทายาทของพรหม” [๔๐๕] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อัสสลายนะ ท่านเข้าใจความข้อนั้น ว่าอย่างไร พราหมณ์เท่านั้นหรือที่เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการ ลักทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาด จากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ หลังจากตาย แล้วจะพึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ กษัตริย์ไม่เป็นอย่างนั้นหรือ แพศย์ไม่เป็น อย่างนั้นหรือ ศูทรไม่เป็นอย่างนั้นหรือ” อัสสลายนมาณพทูลตอบว่า “ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระโคดม แม้กษัตริย์ที่เป็นผู้ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติผิด ในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูด คำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น มีจิตไม่ พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ หลังจากสวรรคตแล้วจะพึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ แม้พราหมณ์ ฯลฯ แม้แพศย์ ฯลฯ แม้ศูทร ฯลฯ ข้าแต่ท่านพระโคดม ความจริง แม้วรรณะ ๔ จำพวก ที่เป็นผู้เว้นขาดจาก การฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาด จากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาด จากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมา- ทิฏฐิ หลังจากตายแล้วจะพึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ทั้งหมด” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๕๐๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๓. อัสสลายนสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อัสสลายนะ ในเรื่องนี้ อะไรเป็นกำลัง อะไรเป็น ความยินดีของพราหมณ์ผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์ เท่านั้น วรรณะอื่นเลว ฯลฯ เป็นทายาทของพรหม” อัสสลายนมาณพทูลตอบว่า “ท่านพระโคดมตรัสอย่างนี้ก็จริง แต่ในเรื่องนี้ พราหมณ์ทั้งหลายก็เข้าใจเรื่องนั้นอยู่อย่างนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์ เท่านั้น วรรณะอื่นเลว ฯลฯ เป็นทายาทของพรหม” [๔๐๖] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อัสสลายนะ ท่านเข้าใจความข้อนั้น ว่าอย่างไร ในประเทศนี้ พราหมณ์เท่านั้นหรือที่สามารถเจริญเมตตาจิต อันไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน กษัตริย์ แพศย์ ศูทร ไม่สามารถหรือ” อัสสลายนมาณพทูลตอบว่า “ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระโคดม ในประเทศนี้ แม้กษัตริย์ก็สามารถเจริญเมตตาจิต อันไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แม้พราหมณ์ ฯลฯ แม้แพศย์ ฯลฯ แม้ศูทร ฯลฯ ข้าแต่ท่านพระโคดม ความจริงในประเทศนี้ แม้วรรณะ ๔ จำพวก ก็สามารถ เจริญเมตตาจิต อันไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนได้ทั้งหมด” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อัสสลายนะ ในเรื่องนี้ อะไรเป็นกำลัง อะไรเป็น ความยินดีของพราหมณ์ทั้งหลายผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์ เท่านั้น วรรณะอื่นเลว ฯลฯ เป็นทายาทของพรหม” อัสสลายนมาณพทูลตอบว่า “ท่านพระโคดมตรัสอย่างนั้นก็จริง แต่ในเรื่องนี้ พราหมณ์ทั้งหลายก็เข้าใจเรื่องนั้นอยู่อย่างนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์ เท่านั้น วรรณะอื่นเลว ฯลฯ เป็นทายาทของพรหม” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๕๐๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๓. อัสสลายนสูตร

[๔๐๗] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อัสสลายนะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่า อย่างไร พราหมณ์เท่านั้นหรือที่สามารถถือเอาเครื่องสีตัวสำหรับอาบน้ำไปยังแม่น้ำ แล้วลอยละอองธุลีได้ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร ไม่สามารถหรือ” อัสสลายนมาณพทูลตอบว่า “ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระโคดม แม้กษัตริย์ก็ย่อม สามารถถือเอาเครื่องสีตัวสำหรับอาบน้ำไปยังแม่น้ำแล้วลอยละอองธุลีได้ แม้พราหมณ์ ฯลฯ แม้แพศย์ ฯลฯ แม้ศูทร ฯลฯ ข้าแต่ท่านพระโคดม ความจริงแม้วรรณะ ๔ จำพวก ก็ย่อมสามารถถือเอา เครื่องสีตัวสำหรับอาบน้ำไปยังแม่น้ำแล้วลอยละอองธุลีได้ทั้งหมด” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อัสสลายนะ ในเรื่องนี้ อะไรเป็นกำลัง อะไรเป็น ความยินดีของพราหมณ์ผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์ เท่านั้น วรรณะอื่นเลว ฯลฯ เป็นทายาทของพรหม” อัสสลายนมาณพทูลตอบว่า “ท่านพระโคดมตรัสอย่างนั้นก็จริง แต่ในเรื่องนี้ พราหมณ์ทั้งหลายก็เข้าใจเรื่องนั้นอยู่อย่างนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์ เท่านั้น วรรณะอื่นเลว ฯลฯ เป็นทายาทของพรหม” [๔๐๘] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อัสสลายนะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่า อย่างไร พระราชามหากษัตริย์ในโลกนี้ ผู้ได้รับมูรธาภิเษก๑- แล้ว จะพึงทรงเกณฑ์ บุรุษผู้มีฐานะต่างๆ กัน ๑๐๐ คน ให้มาประชุมกันตรัสว่า ‘มาเถิดท่านทั้งหลาย ในจำนวนบุรุษเหล่านั้น บุรุษเหล่าใดเกิดจากตระกูลกษัตริย์ ตระกูลพราหมณ์ ราชตระกูล บุรุษเหล่านั้นจงถือเอาไม้สัก ไม้สาละ ไม้สน ไม้จันทน์ หรือไม้ทับทิม @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๙ (กันทรกสูตร) หน้า ๙ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๕๐๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๓. อัสสลายนสูตร

มาทำเป็นไม้สีไฟ แล้วสีให้เป็นไฟลุกโพลงขึ้น มาเถิดท่านทั้งหลาย ในจำนวนบุรุษ เหล่านั้น บุรุษเหล่าใดเกิดจากตระกูลจัณฑาล ตระกูลพราน ตระกูลช่างจักสาน ตระกูลช่างรถ ตระกูลคนขนขยะ บุรุษเหล่านั้นจงถือเอาไม้รางสุนัข ไม้รางสุกร ไม้รางย้อมผ้า หรือไม้ละหุ่งมาทำเป็นไม้สีไฟแล้วสีให้เป็นไฟลุกโพลงขึ้น อัสสลายนะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ไฟที่บุรุษทั้งหลายผู้เกิดจาก ตระกูลกษัตริย์ ตระกูลพราหมณ์ ราชตระกูล ถือเอาไม้สัก ไม้สาละ ไม้สน ไม้จันทน์ หรือไม้ทับทิม มาทำเป็นไม้สีไฟ แล้วสีให้เป็นไฟลุกโพลงขึ้นเท่านั้นหรือ เป็นไฟ มีเปลว มีสี มีแสงสว่าง และสามารถทำกิจที่ต้องทำด้วยไฟนั้นให้สำเร็จได้ ส่วนไฟ ที่บุรุษทั้งหลายผู้เกิดจากตระกูลจัณฑาล ตระกูลนายพราน ตระกูลช่างจักสาน ตระกูลช่างรถ ตระกูลคนขนขยะ ถือเอาไม้รางสุนัข ไม้รางสุกร ไม้รางย้อมผ้า หรือ ไม้ละหุ่ง มาทำเป็นไม้สีไฟ แล้วสีให้เป็นไฟลุกโพลงขึ้นนั้น เป็นไฟไม่มีเปลว ไม่มีสี ไม่มีแสงสว่าง และไม่สามารถทำกิจที่ต้องทำด้วยไฟนั้นให้สำเร็จได้กระนั้นหรือ” อัสสลายนมาณพทูลตอบว่า “ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระโคดม แม้ไฟที่บุรุษทั้งหลาย ผู้เกิดจากตระกูลกษัตริย์ ตระกูลพราหมณ์ ราชตระกูล ถือเอาไม้สัก ไม้สาละ ไม้สน ไม้จันทน์ หรือไม้ทับทิม มาทำเป็นไม้สีไฟ แล้วสีให้เป็นไฟลุกโพลงขึ้นนั้น ก็เป็นไฟ มีเปลว มีสี มีแสงสว่าง และสามารถทำกิจที่ต้องทำด้วยไฟนั้นให้สำเร็จได้ แม้ไฟ ที่บุรุษทั้งหลายผู้เกิดจากตระกูลจัณฑาล ตระกูลนายพราน ตระกูลช่างจักสาน ตระกูลช่างรถ ตระกูลคนขนขยะ ถือเอาไม้รางสุนัข ไม้รางสุกร ไม้รางย้อมผ้า หรือไม้ละหุ่ง มาทำเป็นไม้สีไฟ แล้วสีให้เป็นไฟลุกโพลงขึ้นนั้น ก็เป็นไฟมีเปลว มีสี มีแสงสว่าง และสามารถทำกิจที่ต้องทำด้วยไฟให้สำเร็จได้ ท่านพระโคดม ความจริง แม้ไฟทุกชนิดก็เป็นไฟมีเปลว มีสี มีแสงสว่าง และสามารถทำกิจที่ต้องทำด้วยไฟให้ สำเร็จได้ทั้งหมด” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อัสสลายนะ ในเรื่องนี้ อะไรเป็นกำลัง อะไรเป็น ความยินดีของพราหมณ์ผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์ เท่านั้น วรรณะอื่นเลว วรรณะที่ขาวคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นดำ พราหมณ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๕๐๙}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๓. อัสสลายนสูตร

เท่านั้นบริสุทธิ์ ผู้ที่ไม่ใช่พราหมณ์ ไม่บริสุทธิ์ พราหมณ์เท่านั้นเป็นบุตร เป็นโอรส เกิดจากโอษฐ์ของพรหม เกิดจากพรหม พรหมเป็นผู้สร้างขึ้น เป็นทายาทของพรหม” อัสสลายนมาณพทูลตอบว่า “ท่านพระโคดมตรัสอย่างนั้นก็จริง แต่ในเรื่องนี้ พราหมณ์ทั้งหลายก็เข้าใจเรื่องนั้นอยู่อย่างนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์ เท่านั้น วรรณะอื่นเลว ฯลฯ เป็นทายาทของพรหม” [๔๐๙] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อัสสลายนะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่า อย่างไร ขัตติยกุมารในโลกนี้ สำเร็จการอยู่ร่วมกับนางพราหมณี เพราะอาศัยการ อยู่ร่วมเป็นสามีภรรยากันของคนทั้งสองนั้น จึงเกิดบุตรขึ้น บุตรที่เกิดจากนาง พราหมณีกับขัตติยกุมารนั้น ซึ่งเหมือนมารดาก็ดี เหมือนบิดาก็ดี ควรจะเรียกว่า ‘กษัตริย์หรือพราหมณ์” อัสสลายนมาณพทูลตอบว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม บุตรที่เกิดจากนางพราหมณี กับขัตติยกุมารนั้น ซึ่งเหมือนมารดาก็ดี เหมือนบิดาก็ดี ควรจะเรียกว่า ‘กษัตริย์ก็ได้ พราหมณ์ก็ได้” “ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร พราหมณกุมารในโลกนี้พึงสำเร็จการอยู่ร่วมกับ นางกษัตริย์ เพราะอาศัยการอยู่ร่วมเป็นสามีภรรยากันของคนทั้งสองนั้น บุตรจึง เกิดขึ้น บุตรที่เกิดจากนางกษัตริย์กับพราหมณกุมารนั้น ซึ่งเหมือนมารดาก็ดี เหมือนบิดาก็ดี ควรจะเรียกว่า ‘กษัตริย์หรือพราหมณ์” “ข้าแต่ท่านพระโคดม บุตรผู้เกิดจากนางกษัตริย์กับพราหมณกุมารนั้น ซึ่งเหมือน มารดาก็ดี เหมือนบิดาก็ดี ควรจะเรียกว่า ‘กษัตริย์ก็ได้ พราหมณ์ก็ได้” “ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ในโลกนี้เขาพึงผสมแม่ม้ากับพ่อลา เพราะ อาศัยการผสมแม่ม้ากับพ่อลานั้นจึงเกิดลูกม้า(ล่อ)ขึ้น ลูกม้าที่เกิดจากแม่ม้ากับพ่อลา ซึ่งเหมือนแม่ก็ดี เหมือนพ่อก็ดี ควรจะเรียกว่า ‘ม้าหรือลา” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๕๑๐}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๓. อัสสลายนสูตร

“ข้าแต่ท่านพระโคดม ลูกผสมนั้นย่อมเป็นม้าอัสดร ข้าแต่ท่านพระโคดม เรื่องของสัตว์นี้ข้าพระองค์เห็นว่าต่างกัน (แต่ตามนัยต้น) สำหรับเรื่องของมนุษย์ เหล่าโน้น ข้าพระองค์เห็นว่าไม่ต่างกัน” “ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ในโลกนี้มีมาณพ ๒ คนเป็นพี่น้องร่วมท้อง เดียวกัน คนหนึ่งเป็นคนศึกษาเล่าเรียน อาจารย์ได้แนะนำ คนหนึ่งไม่ได้ศึกษาเล่าเรียน อาจารย์ไม่ได้แนะนำ พราหมณ์ทั้งหลายพึงเชื้อเชิญคนไหนใน ๒ คนนี้ให้บริโภคก่อน ในการเลี้ยงของผู้มีศรัทธา๑- ก็ดี ในการเลี้ยงเพื่อเป็นบรรณาการก็ดี ในการเลี้ยงเพื่อ บูชายัญก็ดี ในการเลี้ยงเพื่อต้อนรับแขกก็ดี” “ข้าแต่ท่านพระโคดม ใน ๒ คนนี้ พราหมณ์ทั้งหลายพึงเชิญมาณพผู้ศึกษา เล่าเรียน ผู้ที่อาจารย์ได้แนะนำให้บริโภคก่อน ในการเลี้ยงของผู้มีศรัทธาก็ดี ในการ เลี้ยงเพื่อเป็นบรรณาการก็ดี ในการเลี้ยงเพื่อบูชายัญก็ดี ในการเลี้ยงเพื่อต้อนรับแขก ก็ดี ข้าแต่ท่านพระโคดม ของที่ให้ในผู้ไม่ได้ศึกษาเล่าเรียน ผู้ที่อาจารย์ไม่ได้แนะนำ จักมีผลมากได้อย่างไรเล่า” “อัสสลายนะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ในโลกนี้มีมาณพ ๒ คนเป็น พี่น้องร่วมท้องเดียวกัน คนหนึ่งเป็นคนศึกษาเล่าเรียน อาจารย์ได้แนะนำ แต่เป็น คนทุศีล มีบาปธรรม คนหนึ่งไม่ได้ศึกษาเล่าเรียน อาจารย์ไม่ได้แนะนำ แต่เป็นคน มีศีล มีกัลยาณธรรม พราหมณ์ทั้งหลายจะพึงเชื้อเชิญคนไหนใน ๒ คนนี้ให้บริโภค ก่อน ในการเลี้ยงของผู้มีศรัทธาก็ดี ในการเลี้ยงเพื่อเป็นบรรณาการก็ดี ในการเลี้ยง เพื่อบูชายัญก็ดี ในการเลี้ยงเพื่อต้อนรับแขกก็ดี” อัสสลายนมาณพกราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ใน ๒ คนนี้ พราหมณ์ ทั้งหลายพึงเชิญมาณพผู้ไม่ได้ศึกษาเล่าเรียน ผู้ที่อาจารย์ไม่ได้แนะนำ แต่เป็นคน มีศีล มีกัลยาณธรรมให้บริโภคก่อน ในการเลี้ยงของผู้มีศรัทธาก็ดี ในการเลี้ยง @เชิงอรรถ : @ ในการเลี้ยงของผู้มีศรัทธา ในที่นี้หมายถึงในการถวายภัตรสำหรับญาติผู้ตาย (ม.ม.อ. ๒/๔๐๙/๒๙๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๕๑๑}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๓. อัสสลายนสูตร

เพื่อเป็นบรรณาการก็ดี ในการเลี้ยงเพื่อบูชายัญก็ดี ในการเลี้ยงเพื่อต้อนรับแขกก็ดี ข้าแต่ท่านพระโคดม ของที่ให้ในบุคคลผู้ทุศีล มีบาปธรรม จักมีผลมากได้อย่างไรเล่า” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อัสสลายนะ เมื่อก่อนท่านได้อ้างกำเนิด อ้างกำเนิด แล้วก็อ้างเรื่องมนต์ อ้างเรื่องมนต์แล้วก็อ้างเรื่องตบะ อ้างเรื่องตบะแล้วก็มาพูด เรื่อง ความบริสุทธิ์ที่ทั่วไปแก่วรรณะ ๔ จำพวก ซึ่งเราบัญญัติไว้” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อัสสลายนมาณพก็นั่งนิ่ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ
วรรณะ ๔ จำพวกในอดีต
[๔๑๐] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่าอัสสลายนมาณพนั่งนิ่ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ จึงได้ตรัสกับอัสสลายนมาณพว่า “อัสสลายนะ เรื่องเคยมีมาแล้ว พราหมณ์ฤาษี ๗ ตน มาประชุมกันที่กระท่อม มุงบังด้วยใบไม้ในราวป่า เกิดมีทิฏฐิชั่วเห็นปานนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์ เท่านั้น วรรณะอื่นเลว ฯลฯ เป็นทายาทของพรหม’ อสิตเทวลฤาษีได้สดับว่า ‘ได้ทราบว่า พราหมณ์ฤาษี ๗ ตนมาประชุมกันที่ กระท่อมมุงบังด้วยใบไม้ในราวป่า เกิดมีทิฏฐิชั่วเห็นปานนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐ ที่สุดคือพราหมณ์เท่านั้น ฯลฯ เป็นทายาทของพรหม’ ลำดับนั้น อสิตเทวลฤาษีโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้าสีแดงอ่อน สวมรองเท้า ๒ ชั้น ถือไม้เท้าเลี่ยมทองไปปรากฏในบริเวณศาลาของพราหมณ์ฤาษี ๗ ตน ครั้งนั้นแล อสิตเทวลฤาษีเมื่อเดินไปมาอยู่ในบริเวณศาลาของพราหมณ์ฤาษีทั้ง ๗ ตน ได้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘เออ ท่านพราหมณ์ฤาษีเหล่านี้ไปไหนกันหมด เออ ท่านพราหมณ์ ฤาษีเหล่านี้ไปไหนกันหมด’ ลำดับนั้น พราหมณ์ฤาษี ๗ ตน ได้คิดว่า ‘ใครหนอนี่ เดินไปมาเหมือนเด็ก ชาวบ้าน ในบริเวณศาลาของพราหมณ์ฤาษี ๗ ตน กล่าวอย่างนี้ว่า ‘เออ ท่าน พราหมณ์ฤาษีเหล่านี้ไปไหนกันหมด เออ ท่านพราหมณ์ฤาษีเหล่านี้ไปไหนกันหมด’ เอาละ เราทั้งหลายจักสาปแช่งมัน’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๕๑๒}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๓. อัสสลายนสูตร

ลำดับนั้น พราหมณ์ฤาษี ๗ ตน ก็พากันสาปแช่งอสิตเทวลฤาษีว่า ‘เป็นเถ้า เถิดคนถ่อย เป็นเถ้าเถิดคนถ่อย’ พราหมณ์ฤาษี ๗ ตน พากันสาปแช่งอสิตเทวล- ฤาษี ด้วยประการใดๆ อสิตเทวลฤาษีกลับเป็นผู้มีรูปงามกว่า เป็นผู้น่าดูกว่า และเป็นผู้น่าเลื่อมใสกว่า ด้วยประการนั้นๆ ครั้งนั้นแล พราหมณ์ฤาษี ๗ ตน ได้คิดว่า ‘ตบะของเราทั้งหลายเปล่าประโยชน์ พรหมจรรย์ของเราไม่มีผล ด้วยว่าเมื่อก่อนเราทั้งหลายสาปแช่งผู้ใดว่า ‘เป็นเถ้าเถิด คนถ่อย เป็นเถ้าเถิดคนถ่อย’ ผู้นั้นบางคนก็เป็นเถ้าเป็นจุณ แต่ผู้นี้เราทั้งหลายยิ่ง สาปแช่ง ด้วยประการใดๆ เขากลับเป็นผู้มีรูปงามยิ่งขึ้น เป็นผู้น่าดูยิ่งขึ้น และเป็น ผู้น่าเลื่อมใสยิ่งขึ้น ด้วยประการนั้นๆ’ อสิตเทวลฤาษีกล่าวว่า ‘ตบะของท่านผู้เจริญทั้งหลาย เปล่าประโยชน์ก็หามิได้ พรหมจรรย์ของท่านผู้เจริญทั้งหลายไม่มีผลก็หามิได้ เชิญท่านผู้เจริญทั้งหลาย จงละ ความคิดประทุษร้ายในเราเสียเถิด’ พราหมณ์ฤาษี กล่าวว่า ‘พวกเรายอมสละความคิดประทุษร้าย ท่านเป็นใครหนอ’ อสิตเทวลฤาษี กล่าวว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลายได้ยินชื่ออสิตเทวลฤาษีมาบ้างไหม’ พราหมณ์ฤาษี กล่าวว่า ‘ท่านผู้เจริญ เราทั้งหลายเคยได้ยินอยู่’ อสิตเทวลฤาษี กล่าวว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เรานี้แลคืออสิตเทวลฤาษีตนนั้น’ อัสสลายนะ ลำดับนั้นแล พราหมณ์ฤาษี ๗ ตน พากันเข้าไปหาอสิตเทวลฤาษี เพื่อจะไหว้ [๔๑๑] อัสสลายนะ ครั้งนั้น อสิตเทวลฤาษีได้กล่าวกับพราหมณ์ฤาษี ทั้ง ๗ ตนว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าได้สดับข่าวนี้มาว่า ‘ได้ทราบว่า พราหมณ์ฤาษี ๗ ตนมาประชุมกันในกระท่อมมุงบังด้วยใบไม้ในราวป่า แล้วเกิดมีทิฏฐิ ชั่วเห็นปานนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณอื่นเลว วรรณะ ที่ขาวคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นดำ พราหมณ์เท่านั้นบริสุทธิ์ ผู้ที่มิใช่พราหมณ์ ไม่บริสุทธิ์ พราหมณ์เท่านั้นเป็นบุตร เป็นโอรส เกิดจากโอษฐ์ของพรหม เกิดจาก พรหม พรหมเป็นผู้สร้างขึ้น เป็นทายาทของพรหม จริงหรือ’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๕๑๓}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๓. อัสสลายนสูตร

พราหมณ์ฤาษีทั้ง ๗ ตน ตอบว่า ‘จริง ท่านผู้เจริญ’ อสิตเทวลฤาษีถามว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลายรู้หรือว่า ‘มารดาบังเกิดเกล้าได้แต่งงาน กับพราหมณ์เท่านั้น มิได้แต่งงานกับชายผู้มิใช่พราหมณ์เลย’ ‘ไม่รู้เลย ท่านผู้เจริญ’ ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลายรู้หรือว่า ‘มารดาของมารดาบังเกิดเกล้าตลอด ๗ ชั่วโคตร ชั่วย่ายายของฝ่ายมารดา ได้แต่งงานกับพราหมณ์เท่านั้น ไม่ได้แต่งงานกับชายผู้มิใช่ พราหมณ์เลย’ ‘ไม่รู้เลย ท่านผู้เจริญ’ ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลายรู้หรือว่า ‘บิดาบังเกิดเกล้าได้แต่งงานกับนางพราหมณี เท่านั้น ไม่ได้แต่งงานกับหญิงผู้มิใช่นางพราหมณีเลย’ ‘ไม่รู้เลย ท่านผู้เจริญ’ ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลายรู้หรือว่า ‘บิดาของบิดาบังเกิดเกล้าตลอด ๗ ชั่วโคตร ชั่วปู่ตาของฝ่ายบิดา ได้แต่งงานกับนางพราหมณีเท่านั้น ไม่ได้แต่งงานกับหญิงผู้ มิใช่นางพราหมณีเลย’ ‘ไม่รู้เลย ท่านผู้เจริญ’ ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลายรู้หรือว่า การถือกำเนิดในครรภ์มีได้ด้วยอาการอย่างไร’ ‘ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายรู้ว่า ‘การถือกำเนิดในครรภ์ย่อมมีได้ คือ ๑. มารดาบิดาอยู่ร่วมกัน ๒. มารดามีระดู ๓. คันธัพพะ๑- ปรากฏ ฉันใด เพราะปัจจัย ๓ ประการนี้ ประชุมพร้อมกัน การถือกำเนิดในครรภ์ ย่อมมีได้ ฉันนั้น’ @เชิงอรรถ : @ คันธัพพะ ในที่นี้หมายถึงสัตว์ผู้จะมาเกิดในครรภ์นั้น (ปฏิสนธิวิญญาณ) (ม.มู.อ. ๒/๔๐๘/๒๑๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๕๑๔}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๔. โฆฏมุขสูตร

‘ท่านผู้เจริญทั้งหลายรู้หรือว่า ‘เอาเถิด สัตว์ที่เกิดในครรภ์พึงเป็นกษัตริย์ เป็นพราหมณ์ เป็นแพศย์ หรือเป็นศูทร’ ‘ข้าพเจ้าทั้งหลาย ไม่รู้เลย ท่านผู้เจริญ’ อสิตเทวลฤาษีถามว่า ‘เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านผู้เจริญทั้งหลายรู้หรือว่า ‘ท่าน ทั้งหลายเป็นพวกไหน’ พราหมณ์ฤาษีทั้ง ๗ ตนตอบว่า ‘ท่านผู้เจริญ เมื่อเป็นเช่นนั้น ข้าพเจ้า ทั้งหลายไม่รู้เลยว่า ‘ข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นพวกไหน’ อัสสลายนะ พราหมณ์ฤาษี ๗ ตนนั้น ถูกอสิตเทวลฤาษีซักไซร้ ไล่เลียง ไต่ถาม ในวาทะปรารภชาติกำเนิดของตนก็ตอบไม่ได้ บัดนี้ ท่านถูกเราซักไซร้ ไล่เลียง ไต่ถาม ในวาทะปรารภชาติกำเนิดของตน จะตอบได้อย่างไร ท่านเป็นศิษย์มีอาจารย์แต่ยังรู้ ไม่หมด เป็นแต่ถือทัพพีเท่านั้น” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อัสสลายนมาณพได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่าน พระโคดมโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจน ตลอดชีวิต” ดังนี้แล
อัสสลายนสูตรที่ ๓ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๕๐๑-๕๑๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=13&siri=43              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=9673&Z=9914                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=613              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=13&item=613&items=17              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=9&A=7387              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=13&item=613&items=17              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=9&A=7387                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu13              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/13i613-e1.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/mn/mn.093.than.html https://suttacentral.net/mn93/en/sujato https://suttacentral.net/mn93/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :