ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๔. สามคามสูตร

๔. สามคามสูตร
ว่าด้วยเหตุการณ์ในหมู่บ้านสามคาม
[๔๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ หมู่บ้านสามคาม แคว้นสักกะ สมัยนั้นแล นิครนถ์ นาฏบุตรได้ถึงแก่กรรมไม่นาน ที่กรุงปาวา เพราะการถึง แก่กรรมของนิครนถ์ นาฏบุตรนั้น นิครนถ์ทั้งหลายได้แตกกันเป็น ๒ ฝ่าย ต่าง บาดหมางกัน ทะเลาะวิวาทกัน ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่ว่า “ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ แต่ผมรู้ทั่วถึง ท่านจักรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้ อย่างไร ท่านปฏิบัติผิด แต่ผมปฏิบัติถูก คำพูดของผมมีประโยชน์ แต่คำพูดของ ท่านไม่มีประโยชน์ คำที่ควรพูดก่อนท่านกลับพูดภายหลัง คำที่ควรพูดภายหลัง ท่านกลับพูดเสียก่อน เรื่องที่ท่านเคยชินได้ผันแปรไปแล้ว ผมจับผิดคำพูดของท่าน ได้แล้ว ผมข่มท่านได้แล้ว ถ้าท่านมีความสามารถก็จงหาทางแก้คำพูดหรือเปลื้อง ตนให้พ้นผิดเถิด”๑- นิครนถ์เหล่านั้นทะเลาะกันแล้ว เห็นจะมีแต่การฆ่ากันอย่างเดียวเท่านั้นที่จะ ลุกลามไปในหมู่ศิษย์ของนิครนถ์ นาฏบุตร แม้พวกสาวกของนิครนถ์ นาฏบุตรผู้ เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว ก็เป็นผู้เบื่อหน่าย คลายความรัก รู้สึกท้อถอยใน หมู่ศิษย์ของนิครนถ์ นาฏบุตร ทั้งนี้ เพราะธรรมวินัยที่นิครนถ์ นาฏบุตรกล่าวไว้ ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นธรรมวินัยที่ผู้มิใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ เป็นธรรมวินัยที่มีที่พำนัก ถูกทำลายเสียแล้ว เป็นธรรมวินัยที่ไม่มีที่พึ่งอาศัย [๔๒] ครั้งนั้น พระจุนทสมณุทเทส๒- จำพรรษาอยู่ในกรุงปาวาได้เข้าไปหา ท่านพระอานนท์ถึงหมู่บ้านสามคาม กราบแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับ ท่านพระอานนท์ว่า @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ที.สี. (แปล) ๙/๑๘/๗, ที.ปา. (แปล) ๑๑/๑๖๔-๑๖๕/๑๒๕-๑๒๖ @ พระจุนทสมณุทเทสรูปนี้เป็นภิกษุชาวเมืองราชคฤห์ บิดาของท่านชื่อวังคันตพราหมณ์ เป็นหัวหน้า @หมู่บ้านนาลกะ (บางแห่งเรียกนาลันทะ) มารดาชื่อสารีพราหมณี ท่านมีพี่น้องร่วมสายโลหิตอีก ๖ คน คือ @(๑) พระสารีบุตรเถระผู้เป็นพระอัครสาวกเบื้องขวา (๒) พระวังคันตอุปเสนเถระ (๓) พระขทิยเรวตเถระ @(๔) พระจาลาเถรี (๕) พระอุปจาลาเถรี (๖) พระสีสุปจาลาเถรี (ม.อุ.อ. ๓/๔๒/๒๓, @ขุ.เถร.อ. ๑/๑๗๙/๑๖๘, ขุ.เถร.อ. ๒/๓๗๕/๒๒๔, ขุ.เถรี.อ. ๔๖๐/๒๐๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๕๐}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๔. สามคามสูตร

“ท่านผู้เจริญ นิครนถ์ นาฏบุตรได้ถึงแก่กรรมไม่นานที่กรุงปาวา เพราะการ ถึงแก่กรรมของนิครนถ์ นาฏบุตรนั้น นิครนถ์ทั้งหลายได้แตกกันเป็น ๒ ฝ่าย ฯลฯ เป็นธรรมวินัยที่มีที่พำนักถูกทำลายเสียแล้ว เป็นธรรมวินัยที่ไม่มีที่พึ่งอาศัย” เมื่อพระจุนทสมณุทเทสกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า “คุณ จุนทะ เรื่องนี้มีเค้าพอจะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคได้ มาเถิดคุณจุนทะ เราทั้งสอง จักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ แล้วกราบทูลเรื่องนี้แด่พระผู้มีพระภาค” พระจุนทสมณุทเทสรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์และพระจุนทสมณุทเทสเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง ที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระ อานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระจุนทสมณุทเทสนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘นิครนถ์ นาฏบุตรได้ถึงแก่กรรมไม่นานที่กรุงปาวา เพราะการถึงแก่กรรมของนิครนถ์ นาฏบุตรนั้น นิครนถ์ทั้งหลายได้แตกกันเป็น ๒ ฝ่าย ต่างบาดหมางกัน ทะเลาะ วิวาทกัน ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่ว่า ‘ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ แต่ผมรู้ ทั่วถึง ฯลฯ เป็นธรรมวินัยที่มีที่พำนักถูกทำลายเสียแล้ว เป็นธรรมวินัยที่ไม่มีที่ พึ่งอาศัย’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์คิดอย่างนี้ว่า ‘สมัยเมื่อพระผู้มีพระภาค เสด็จล่วงลับไป ความวิวาทอย่าได้เกิดขึ้นในสงฆ์เลย เพราะความวิวาทนั้น เป็นไป เพื่อไม่ใช่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่ คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย” [๔๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ ธรรมทั้งหลาย คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ที่เราแสดงแล้วแก่เธอทั้งหลายด้วย ความรู้ยิ่ง เธอเห็นภิกษุของเราแม้ ๒ รูป มีวาทะต่างกันในธรรมเหล่านี้บ้างไหม” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๕๑}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๔. สามคามสูตร

ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลาย คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายด้วย ความรู้ยิ่ง ข้าพระองค์ยังไม่เห็นภิกษุแม้ ๒ รูปมีวาทะต่างกันในธรรมเหล่านี้เลย แต่มีบุคคลทั้งหลายผู้อาศัยพระผู้มีพระภาคอยู่ เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จล่วงลับไป พึงก่อการวิวาทให้เกิดขึ้นในสงฆ์ ในเพราะอาชีวะอันเคร่งครัด๑- หรือปาติโมกข์อัน เคร่งครัด๒- การวิวาทนั้นพึงเป็นไปเพื่อไม่ใช่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คน หมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและ มนุษย์ทั้งหลาย พระพุทธเจ้าข้า” “อานนท์ การวิวาทที่เกิดเพราะอาชีวะอันเคร่งครัด หรือปาติโมกข์อัน เคร่งครัดนั้นเป็นเรื่องเล็กน้อย ความจริง การวิวาทใดเมื่อเกิดในสงฆ์พึงเกิดเพราะ มรรคหรือปฏิปทา๓- การวิวาทนั้นพึงเป็นไปเพื่อไม่ใช่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ @เชิงอรรถ : @ อาชีวะอันเคร่งครัด หรือเรียกว่า อาชีวการณสิกขาบท หมายถึงสิกขาบทที่ทรงบัญญัติเพราะเหตุแห่ง @อาชีวะ มี ๖ ข้อ คือ @(๑) เพราะเหตุแห่งอาชีวะ ภิกษุถูกความปรารถนาลามกครอบงำพูดอวดอุตตริมนุสสธรรม ต้อง @อาบัติปาราชิก @(๒) เพราะเหตุแห่งอาชีวะ ภิกษุถึงความเป็นผู้ชักสื่อ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส @(๓) เพราะเหตุแห่งอาชีวะ ภิกษุกล่าวว่า ภิกษุรูปใดอยู่ในวิหารของท่าน ภิกษุรูปนั้นเป็นพระอรหันต์ @เมื่อผู้ฟังเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย @(๔) เพราะเหตุแห่งอาชีวะ ภิกษุขอโภชนะอันประณีตเพื่อประโยชน์ตนมาฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ @(๕) เพราะเหตุแห่งอาชีวะ ภิกษุณีขอโภชนะอันประณีตเพื่อประโยชน์ตนมาฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ @(๖) เพราะเหตุแห่งอาชีวะ ภิกษุไม่อาพาธขอแกงหรือข้าวสุกเพื่อประโยชน์ตนมาฉัน ต้องอาบัติ @ปาจิตตีย์ (วิ.ป. (แปล) ๘/๒๘๗/๓๘๖, ม.อุ.อ. ๓/๔๓/๒๕) @ ปาติโมกข์อันเคร่งครัด หรือเรียกว่า อธิปาติโมกข์ แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ (๑) ภิกขุปาติโมกข์กับ @ภิกขุนีปาติโมกข์ (๒) สิกขาบททั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ เว้นอาชีวการณสิกขาบท ๖ @(ม.อุ.อ. ๓/๔๓/๒๕, กงฺขา.อ. หน้า ๑๐๖) @ โยคีบุคคลทั้งหลายครั้นบรรลุอริยมรรคแล้วย่อมไม่วิวาทกันเพราะเรื่องอริยมรรคอีก ในที่นี้พระพุทธองค์ @ตรัสหมายเอาความวิวาทกันเพราะข้อวัตรปฏิบัติและปฏิปทาอันเป็นส่วนเบื้องต้นเท่านั้น @(ม.อุ.อ. ๓/๔๓/๒๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๕๒}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๔. สามคามสูตร

สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
มูลเหตุแห่งการวิวาท
[๔๔] อานนท์ มูลเหตุแห่งการวิวาท ๖ ประการนี้ มูลเหตุแห่งการวิวาท ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้มักโกรธ มีความผูกโกรธ ภิกษุใดเป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธไว้ ภิกษุนั้นไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงแม้ในพระศาสดา ไม่ มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงแม้ในพระธรรม ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงแม้ในพระสงฆ์อยู่ และไม่ทำสิกขา๑- ให้บริบูรณ์ อานนท์ ภิกษุใดไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ภิกษุนั้นย่อมก่อการวิวาทให้เกิดขึ้นในสงฆ์ ซึ่งเป็นไปเพื่อไม่ใช่ เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและ มนุษย์ทั้งหลาย ถ้าเธอทั้งหลายพิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งการ วิวาทเช่นนี้ภายในหรือภายนอก เธอทั้งหลายพึงพยายามเพื่อละ มูลเหตุแห่งการวิวาทที่เป็นบาปภายในหรือภายนอกนั้น ถ้าเธอ ทั้งหลายไม่พิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งการวิวาทเช่นนี้ภายในหรือ ภายนอก เธอทั้งหลายพึงปฏิบัติเพื่อให้มูลเหตุแห่งการวิวาทที่เป็น บาปนั้นไม่ยืดเยื้อต่อไป การละมูลเหตุแห่งการวิวาทที่เป็นบาปนั้น ย่อมมีได้ และมูลเหตุแห่งการวิวาทที่เป็นบาปนั้น ย่อมไม่ยืดเยื้อ ต่อไป ด้วยอาการอย่างนี้ @เชิงอรรถ : @ สิกขา หมายถึงข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมมี ๓ ประการ คือ (๑) อธิสีลสิกขา (การศึกษาอบรมใน @เรื่องศีล) (๒) อธิจิตตสิกขา (การศึกษาอบรมในเรื่องจิต) (๓) อธิปัญญาสิกขา (การศึกษาอบรมใน @เรื่องปัญญา) (ที.สี.อ. ๑/๔๑๓/๓๐๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๕๓}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๔. สามคามสูตร

[๔๕] ๒. เป็นผู้ลบหลู่ เป็นผู้ตีเสมอ... ๓. เป็นผู้ริษยา มีความตระหนี่... ๔. เป็นผู้โอ้อวด มีมารยา... ๕. เป็นผู้มีความปรารถนาชั่ว เป็นมิจฉาทิฏฐิ... ๖. เป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความถือรั้น สละสิ่งที่ตนยึดมั่นได้ยาก อานนท์ ภิกษุใดเป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความถือรั้น สละสิ่งที่ ตนยึดมั่นได้ยาก ภิกษุนั้นย่อมไม่มีความเคารพ ไม่มีความ ยำเกรงแม้ในพระศาสดา ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงแม้ ในพระธรรม ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงแม้ในพระสงฆ์อยู่ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ อานนท์ ภิกษุใดไม่มีความเคารพ ไม่ มีความยำเกรงในพระศาสดา... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์ และ ไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ภิกษุนั้นย่อมก่อการวิวาทให้เกิดขึ้นในสงฆ์ ซึ่งเป็นไปเพื่อไม่ใช่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย อานนท์ ถ้าเธอทั้งหลายพิจารณาเห็น มูลเหตุแห่งการวิวาทเช่นนี้ทั้งภายในหรือภายนอก เธอทั้งหลาย พึงพยายามเพื่อละมูลเหตุแห่งการวิวาทที่เป็นบาปนั้นแลทั้งภายใน หรือภายนอกนั้น ถ้าเธอทั้งหลายไม่พิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งการ วิวาทเช่นนี้ทั้งภายในหรือภายนอก เธอทั้งหลายพึงปฏิบัติเพื่อให้ มูลเหตุแห่งการวิวาทที่เป็นบาปนั้นแลไม่ยืดเยื้อต่อไป การละมูล เหตุแห่งการวิวาท ที่เป็นบาปนั้นแลย่อมมีได้ และมูลเหตุแห่งการ วิวาท ที่เป็นบาปนั้น ย่อมไม่ยืดเยื้อต่อไป ด้วยอาการอย่างนี้ อานนท์ มูลเหตุแห่งการวิวาทมี ๖ ประการนี้แล๑- @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๓๖/๔๘๔-๔๘๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๕๔}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๔. สามคามสูตร

อธิกรณ์และวิธีระงับอธิกรณ์
[๔๖] อานนท์ อธิกรณ์๑- ๔ ประการนี้ อธิกรณ์ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. วิวาทาธิกรณ์ ๒. อนุวาทาธิกรณ์ ๓. อาปัตตาธิกรณ์ ๔. กิจจาธิกรณ์ อธิกรณ์มี ๔ ประการนี้แล อธิกรณสมถะ ๗ ประการนี้ คือ ๑. สัมมุขาวินัย ๒. สติวินัย ๓. อมูฬหวินัย ๔. ปฏิญญาตกรณะ ๕. เยภุยยสิกา ๖. ตัสสปาปิยสิกา ๗. ติณวัตถารกะ อันสงฆ์พึงให้ เพื่อสงบระงับอธิกรณ์ที่เกิดขึ้นแล้วๆ [๔๗] สัมมุขาวินัย เป็นอย่างไร คือ ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ย่อมวิวาทกันว่า ‘นี่เป็นธรรมบ้าง นี่ไม่เป็น ธรรมบ้าง นี่เป็นวินัยบ้าง นี่ไม่เป็นวินัยบ้าง’ ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด พึง พร้อมเพรียงกันประชุม ครั้นประชุมแล้ว พึงพิจารณาธรรมเนติ ครั้นพิจารณา แล้ว พึงให้อธิกรณ์นั้นระงับโดยอาการที่เรื่องในธรรมเนตินั้นลงกันได้ อานนท์ สัมมุขาวินัย เป็นอย่างนี้ การระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วยสัมมุขาวินัยอย่างนี้ [๔๘] เยภุยยสิกา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุเหล่านั้นไม่อาจระงับอธิกรณ์นั้นในอาวาสนั้นได้ จึงพากันไปยังอาวาส ที่มีภิกษุมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดพึงพร้อมเพรียงกันประชุมในอาวาสนั้น @เชิงอรรถ : @ อธิกรณ์ หมายถึงเรื่องที่เกิดขึ้นแล้วซึ่งสงฆ์ต้องดำเนินการตามพระวินัยเพื่อความสงบด้วยสมถะ(วิธีระงับ) @ทั้ง ๗ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง (ม.อุ.อ. ๓/๔๖/๒๘, กงฺขา.อ. หน้า ๓๓๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๕๕}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๔. สามคามสูตร

ครั้นประชุมแล้ว พึงพิจารณาธรรมเนติ ครั้นพิจารณาแล้ว พึงให้อธิกรณ์นั้นระงับ โดยอาการที่เรื่องในธรรมเนตินั้นลงกันได้ อานนท์ เยภุยยสิกา เป็นอย่างนี้ การระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วยเยภุยยสิกาอย่างนี้ [๔๙] สติวินัย เป็นอย่างไร คือ ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมกล่าวหาภิกษุด้วยอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิกว่า ‘ท่านผู้มีอายุระลึกได้หรือว่า ‘ท่านต้อง อาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิก’ ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้เลยว่า ‘ข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิก’ เมื่อเป็นเช่นนี้ สงฆ์พึงให้สติวินัยแก่ภิกษุนั้น อานนท์ สติวินัย เป็นอย่างนี้ การระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วยสติวินัยอย่างนี้ [๕๐] อมูฬหวินัย เป็นอย่างไร คือ ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมกล่าวหาภิกษุด้วยอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิกว่า ‘ท่านผู้มีอายุระลึกได้หรือว่า ‘ท่านต้อง อาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิก’ ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้เลยว่า ข้าพเจ้า ต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิก’ ภิกษุผู้เป็นโจทก์ นั้นพึงปลอบโยนเธอผู้กล่าวแก้ตัวว่า ‘เอาเถอะ ท่านจงตรองดูให้ดี ถ้าท่านระลึก ได้ว่า ท่านต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิก’ ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าเป็นบ้า ใจฟุ้งซ่านแล้ว ข้าพเจ้าระลึกถึงกรรมอันไม่สมควรแก่สมณะเป็นอันมากที่ข้าพเจ้าผู้เป็นบ้าได้ ประพฤติล่วงละเมิด ได้พูดพล่ามไปแล้วนั้นไม่ได้เลย ข้าพเจ้าลืมสติ ได้ทำกรรมนี้ แล้ว’ เมื่อเป็นเช่นนี้ สงฆ์พึงให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๕๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๔. สามคามสูตร

อานนท์ อมูฬหวินัย เป็นอย่างนี้ การระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วยอมูฬหวินัยอย่างนี้ [๕๑] ปฏิญญาตกรณะ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ถูกกล่าวหาก็ตาม ไม่ถูกกล่าวหาก็ตาม ย่อมระลึก เปิดเผย ทำอาบัตินั้นให้ชัดเจนได้ ภิกษุนั้นจึงเข้าไปหาภิกษุผู้แก่กว่า ห่มจีวรเฉวียงบ่า กราบเท้า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลีแล้ว กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าต้องอาบัติชื่อนี้แล้ว ขอแสดงคืนอาบัตินั้น’ ภิกษุผู้แก่กว่านั้นกล่าวว่า ‘ท่านเห็นหรือ’ เธอกล่าวว่า ‘ขอรับ ข้าพเจ้าเห็น’ ภิกษุผู้แก่กว่านั้นจึงกล่าวว่า ‘ท่านพึงสำรวมต่อไป’ เธอกล่าวว่า ‘ข้าพเจ้าจักสำรวม’ อานนท์ ปฏิญญาตกรณะ เป็นอย่างนี้ การระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรม วินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วยปฏิญญาตกรณะอย่างนี้ [๕๒] ตัสสปาปิยสิกา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมกล่าวหาภิกษุด้วยอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิกว่า ‘ท่านระลึกได้หรือว่า ‘ท่านต้องอาบัติหนัก เห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิก’ ภิกษุนั้นตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้เลยว่า ‘ข้าพเจ้า ต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิก’ ภิกษุผู้กล่าวหานั้นพึงปลอบโยนเธอผู้กล่าวแก้ตัวว่า ‘เอาเถอะ ท่านจงตรอง ดูให้ดี ถ้าท่านระลึกได้ว่า ‘ท่านต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้ เคียงปาราชิก’ ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้เลยว่า ‘ข้าพเจ้า ต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิก’ แต่ข้าพเจ้าระลึก ได้ว่า ‘ข้าพเจ้าต้องอาบัติเพียงเล็กน้อยเห็นปานนี้’ ภิกษุผู้กล่าวหานั้นปลอบโยนเธอ ผู้กล่าวแก้ตัวว่า ‘เอาเถอะ ท่านจงตรองดูให้ดี ถ้าท่านระลึกได้ว่า ‘ท่านต้องอาบัติ หนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิก’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๕๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๔. สามคามสูตร

ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ความจริงข้าพเจ้าต้องอาบัติเพียงเล็ก น้อยนี้ แม้ไม่ถูกใครถามยังรับสารภาพ ทำไมต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิก ถูกถามแล้วจักไม่รับสารภาพเล่า’ ภิกษุผู้กล่าวหานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ก็ท่านต้องอาบัติเพียงเล็กน้อยนี้ ยังไม่ ถูกถามจึงไม่รับสารภาพ ต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียง ปาราชิก ไม่ถูกถามแล้ว จักรับสารภาพทำไม เอาเถอะ ท่านจงตรองดูให้ดี ถ้า ท่านระลึกได้ว่า ‘ท่านต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียง ปาราชิก’ ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้ากำลังระลึกได้ว่า ‘ข้าพเจ้า ต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว’ คำที่ว่า ข้าพเจ้าระลึกถึงอาบัตินั้นไม่ได้ว่า ‘ข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิก’ นี้ ข้าพเจ้าพูดเล่นพูดพลั้งไป’ อานนท์ ตัสสปาปิยสิกา เป็นอย่างนี้ การระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วยตัสสปาปิยสิกาอย่างนี้ [๕๓] ติณวัตถารกวินัย เป็นอย่างไร คือ กรรมอันไม่สมควรแก่สมณะเป็นอันมากที่ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ผู้เกิดการบาดหมาง เกิดการทะเลาะ ถึงการวิวาทกันอยู่ ได้ประพฤติล่วงละเมิด ได้พูดล่วงเกินแล้ว ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดพึงพร้อมเพรียงกันประชุม ภิกษุผู้ฉลาด กว่าภิกษุทั้งหลายผู้เป็นฝ่ายเดียวกันพึงลุกขึ้นจากอาสนะ ห่มจีวรเฉวียงบ่า ประคอง อัญชลีแล้วประกาศให้สงฆ์ทราบว่า ‘ข้าแต่สงฆ์ผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า กรรมอันไม่สมควรแก่สมณะเป็นอันมาก เราทั้งหลายในที่นี้ผู้เกิดการบาดหมาง เกิดการทะเลาะ ถึงการวิวาทกันอยู่ ได้ประพฤติล่วงละเมิด ได้พูดล่วงเกินแล้ว ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านเหล่านี้และ ของตน ยกเว้นอาบัติที่มีโทษหยาบและอาบัติที่มีความพัวพันกับคฤหัสถ์ ด้วย ติณวัตถารกวินัยในท่ามกลางสงฆ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านเหล่านี้ และเพื่อประโยชน์ แก่ตน’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๕๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๔. สามคามสูตร

ลำดับนั้น ภิกษุผู้ฉลาดกว่าภิกษุทั้งหลายผู้เป็นฝ่ายเดียวกันกับภิกษุอีก ฝ่ายหนึ่ง พึงลุกขึ้นจากอาสนะ ห่มจีวรเฉวียงบ่า ประคองอัญชลีแล้วประกาศให้ สงฆ์ทราบว่า ‘ข้าแต่สงฆ์ผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า กรรมอันไม่สมควรแก่ สมณะเป็นอันมาก ที่เราทั้งหลายในที่นี้ผู้เกิดการบาดหมาง เกิดการทะเลาะ ถึงการ วิวาทกันอยู่ ได้ประพฤติล่วงละเมิด ได้พูดล่วงเกินแล้ว ถ้าความพรั่งพร้อมของ สงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านเหล่านี้และของตน ยกเว้นอาบัติที่มี โทษหยาบและอาบัติที่มีความพัวพันกับคฤหัสถ์ ด้วยติณวัตถารกวินัยในท่ามกลาง สงฆ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านเหล่านี้ และเพื่อประโยชน์แก่ตน’ อานนท์ ติณวัตถารกวินัย เป็นอย่างนี้ การระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรม วินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วยติณวัตถารกวินัยอย่างนี้
ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน
[๕๔] อานนท์ สาราณียธรรม(ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน) ๖ ประการนี้ ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่ วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน๑- สาราณียธรรม ๖ ประการ๒- อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. ตั้งมั่นเมตตากายกรรม๓- ในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้า และลับหลัง สาราณียธรรมแม้นี้ ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน @เชิงอรรถ : @ ความเป็นอันเดียวกัน หมายถึงความเป็นเอกภาพ ไม่ก่อความแตกแยก (ม.มู.อ. ๒/๔๙๒/๓๐๒, @องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๒/๑๐๔) @ ดูเทียบ วิ.ป. (แปล) ๘/๒๗๔/๓๖๘-๓๖๙, ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๒๔/๓๒๑-๓๒๒, @ม.มู. (แปล) ๑๒/๔๙๒/๕๓๑-๕๓๒, องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๑๑-๑๒/๔๒๖-๔๒๘ @ เมตตากายกรรม หมายถึงกายกรรมที่พึงทำด้วยจิตประกอบด้วยเมตตา เมตตาวจีกรรม และ @เมตตามโนกรรม ก็มีอรรถาธิบายเช่นเดียวกันนี้ (ม.มู.อ. ๒/๔๙๒/๓๐๒, องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๑/๙๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๕๙}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๔. สามคามสูตร

๒. ตั้งมั่นเมตตาวจีกรรม ในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ ลับหลัง สาราณียธรรมแม้นี้ ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน ๓. ตั้งมั่นเมตตามโนกรรม ในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้า และลับหลัง สาราณียธรรมแม้นี้ ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน ๔. บริโภคโดยไม่แบ่งแยก๑- ลาภทั้งหลายที่ชอบธรรม ได้มาโดยธรรม โดยที่สุดแม้เพียงบิณฑบาต ก็บริโภคร่วมกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ผู้มีศีล ทั้งต่อหน้าและลับหลัง สาราณียธรรมแม้นี้ ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่ วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน ๕. เป็นผู้มีศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้ สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ เสมอ กันกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง สาราณีย- ธรรมแม้นี้ ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความ สงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อ ความเป็นอันเดียวกัน ๖. เป็นผู้มีทิฏฐิโดยทิฏฐิอันประเสริฐ เป็นนิยยานิกธรรม๒- เพื่อความ สิ้นทุกข์โดยเสมอกันกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ ลับหลัง สาราณียธรรมแม้นี้ ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน @เชิงอรรถ : @ ไม่แบ่งแยก หมายถึงไม่แบ่งแยกอามิสโดยคิดว่า “จะให้เท่านี้ๆ” และไม่แบ่งแยกบุคคลโดยคิดว่า @“จะให้แก่คนนั้น ไม่ให้แก่คนนี้” (ม.มู.อ. ๒/๔๙๒/๓๐๓, องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๑/๙๙) @ นิยยานิกธรรม หมายถึงธรรมที่ตัดมูลรากแห่งวัฏฏะทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ แล้วนำสัตว์ออกจากวัฏฏะ @(อภิ.สงฺ.อ. ๑/๘๓-๑๐๐/๙๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๖๐}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๕. สุนักขัตตสูตร

อานนท์ สาราณียธรรม ๖ ประการนี้ ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อ ความเป็นอันเดียวกัน ถ้าเธอทั้งหลายพึงสมาทานสาราณียธรรม ๖ ประการนี้ ประพฤติอยู่ เธอทั้งหลายจะเห็นแนวทางว่ากล่าวกันได้ น้อยบ้าง มากบ้าง ที่เธอ ทั้งหลายพึงอดกลั้นไว้ไม่ได้บ้างไหม” ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ไม่เห็น พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงสมาทาน สาราณียธรรม ๖ ประการนี้ แล้วประพฤติเถิด การประพฤตินั้นจักเป็นไปเพื่อ ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขแก่เธอทั้งหลายตลอดกาลนาน” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระ ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
สามคามสูตรที่ ๔ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๕๐-๖๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=14&siri=4              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=940&Z=1184                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=51              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=14&item=51&items=16              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=10&A=536              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=14&item=51&items=16              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=10&A=536                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu14              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/14i051-e.php# https://suttacentral.net/mn104/en/sujato https://suttacentral.net/mn104/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :