![]() |
|
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
![]() |
![]() |
๑๐. พันธนสูตร ว่าด้วยเครื่องจองจำ [๑๒๑] สมัยนั้น หมู่มหาชนถูกพระเจ้าปเสนทิโกศลให้จองจำไว้แล้ว บางพวก ถูกจองจำด้วยเชือก บางพวกถูกจองจำด้วยขื่อคา บางพวกถูกจองจำด้วยโซ่ตรวน ครั้นเวลาเช้า ภิกษุจำนวนมากครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาต ยังกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาต ภายหลังจากฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว เข้าไปเฝ้า @เชิงอรรถ : @๑ คำทั้ง ๕ คำ หมายถึงมหายัญ ๕ ประการของพราหมณ์ ได้แก่ อัสวเมธ คือการฆ่าม้าบูชายัญ @ปุริสเมธ คือการฆ่าคนบูชายัญ สัมมาปาสะ คือการทำบ่วงแล้วขว้างไม้ลอดบ่วง ไม้ตกที่ไหนทำการ @บูชายัญที่นั้น วาชเปยยะ คือการดื่มเพื่อพลังหรือเพื่อชัยชนะ นิรัคคฬะ คือยัญไม่มีลิ่มหรือกลอน คือ @ทั่วไปไม่มีขีดคั่นจำกัด การฆ่าครบทุกอย่างบูชายัญ อนึ่ง มหายัญ ๕ ประการนี้ เดิมทีเดียวเป็นหลัก @สงเคราะห์ที่ดีงาม แต่พราหมณ์สมัยหนึ่งดัดแปลงเป็นการบูชายัญเพื่อผลประโยชน์ในทางลาภสักการะ @แก่ตน (สํ.ส.อ. ๑/๑๒๐/๑๓๘-๑๓๙, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๓๙/๓๗๑-๓๗๒) @๒ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๓๙/๖๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๑๓๙}
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๑. ปฐมวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่งอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันนี้หมู่มหาชนถูกพระเจ้าปเสนทิ- โกศลให้จองจำไว้แล้ว บางพวกถูกจองจำด้วยเชือก บางพวกถูกจองจำด้วยขื่อคา บางพวกถูกจองจำด้วยโซ่ตรวน ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงได้ตรัสคาถาเหล่านี้ ในเวลานั้นว่า นักปราชญ์ทั้งหลายไม่ได้กล่าวถึงเครื่องจองจำ ที่ทำด้วยเหล็ก ทำด้วยไม้และทำด้วยหญ้า ว่าเป็นเครื่องจองจำที่มั่นคง แต่กล่าวถึงความกำหนัดยินดีนักในเครื่องประดับแก้วมณี และความอาลัยในบุตรและภรรยาทั้งหลาย ว่าเป็นเครื่องจองจำที่มั่นคง นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวถึงเครื่องจองจำ ที่มีความกำหนัดยินดีนักในเครื่องประดับแก้วมณีเป็นต้นนั้น ที่ต่ำ หย่อน แก้ได้ยาก ว่าเป็นเครื่องจองจำที่มั่นคง ธีรชนตัดเครื่องจองจำแม้เช่นนั้นได้แล้วออกบวช เป็นผู้ไม่มีความอาลัย ละกามสุขเสียได้๑-พันธนสูตรที่ ๑๐ จบ วรรคที่ ๑ จบ รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. ทหรสูตร ๒. ปุริสสูตร ๓. ชรามรณสูตร ๔. ปิยสูตร ๕. อัตตรักขิตสูตร ๖. อัปปกสูตร ๗. อัตถกรณสูตร ๘. มัลลิกาสูตร ๙. ยัญญสูตร ๑๐. พันธนสูตร @เชิงอรรถ : @๑ ดู ขุ.ธ. ๒๕/๓๔๕-๓๔๖/๗๖-๗๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๑๔๐}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๑๓๙-๑๔๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=15&siri=121 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=2486&Z=2514 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=352 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=352&items=2 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=3638 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=352&items=2 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=3638 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i322-e.php#sutta10 https://suttacentral.net/sn3.10/en/sujato
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() |
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]