ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต]

๓. ตติยวรรค ๔. สัตตวัสสานุพันธสูตร

๔. สัตตวัสสานุพันธสูตร
ว่าด้วยมารหาโอกาสทำลายพระพุทธเจ้าตลอด ๗ ปี
[๑๖๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ต้นอชปาลนิโครธ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา สมัยนั้น มารผู้มีบาปติดตามพระผู้มีพระภาค คอยหาโอกาส ตลอด ๗ ปี ก็ยังไม่ได้โอกาส ภายหลังมารผู้มีบาปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง ที่ประทับแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า ท่านถูกความเศร้าโศกทับถมหรือ จึงมาซบเซาอยู่ในป่าอย่างนี้ ท่านเสื่อมจากทรัพย์สมบัติหรือ หรือว่ากำลังปรารถนาอะไรอยู่ ท่านได้ทำความเสียหายร้ายแรงอะไรไว้ในหมู่บ้านหรือ เพราะเหตุไรท่านจึงไม่เป็นมิตรกับชนทั้งปวงเล่า หรือว่าท่านเป็นมิตรกับใครๆ ไม่ได้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ท่านผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของบุคคลผู้ประมาท เราขุดรากของความเศร้าโศกได้หมดแล้ว ไม่มีความเสียหาย ไม่เศร้าโศก เพ่งพินิจอยู่ เราตัดความติดแน่นคือความโลภในภพทั้งปวง ไม่มีอาสวะ เพ่งพินิจอยู่ มารกราบทูลว่า ชนเหล่าใดกล่าวถึงสิ่งใดว่า ‘นี้ของเรา’ ทั้งยังกล่าวว่า ‘ของเรา’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๒๐๘}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต]

๓. ตติยวรรค ๔. สัตตวัสสานุพันธสูตร

ถ้าใจของท่านยังฝังอยู่ในสิ่งนั้น สมณะ ท่านก็จะไม่พ้นจากเราไปได้๑- พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ชนเหล่าใดกล่าวถึงสิ่งใด สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ชนเหล่าใดกล่าว ชนเหล่านั้นไม่ใช่เรา มารผู้มีบาป ท่านจงรู้อย่างนี้ ท่านย่อมไม่เห็นแม้ทางของเรา๒- มารกราบทูลว่า ถ้าท่านรู้จักทางอันปลอดภัย เป็นที่ให้ถึงอมตะ ก็จงจากไปคนเดียวเถิด จะต้องพร่ำสอนคนอื่นทำไมเล่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ชนเหล่าใดเป็นผู้มุ่งไปสู่ฝั่ง ชนเหล่านั้นย่อมถามถึงนิพพานอันมิใช่ที่อยู่ของมาร เราถูกชนเหล่านั้นถามก็จักบอกเขาว่า สิ่งใดเป็นความจริง สิ่งนั้นไม่มีอุปธิ มารกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีสระโบกขรณีในที่ไม่ไกลบ้านหรือ นิคม ในสระนั้นมีปูอยู่ ครั้งนั้น เด็กชายหรือเด็กหญิงจำนวนมากออกจากบ้านหรือ นิคมนั้นแล้ว เข้าไปยังสระโบกขรณีนั้น จับปูนั้นขึ้นจากน้ำวางไว้บนบก ปูนั้นก็ชูก้าม ทั้งสองออก เด็กชายหรือเด็กหญิงเหล่านั้นพึงริด พึงหัก พึงทำลายก้ามนั้นทุกๆ ก้ามด้วยไม้หรือก้อนหิน ก็เมื่อเป็นอย่างนั้น ปูนั้นถูกริดก้าม ถูกหักก้าม ถูกทำลาย @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบคาถาข้อ ๑๕๕ หน้า ๑๙๘ ในเล่มนี้ @ ดูเทียบคาถาข้อ ๑๕๕ หน้า ๑๙๘ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๒๐๙}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต]

๓. ตติยวรรค ๕. มารธีตุสูตร

ก้ามหมดแล้ว ย่อมไม่อาจไต่ลงไปสู่สระโบกขรณีนั้นเหมือนแต่ก่อน ฉันใด อารมณ์ แม้ทุกชนิดอันเป็นวิสัยของมาร ที่ทำให้สัตว์เสพติด ทำให้สัตว์ดิ้นรน อารมณ์นั้น ทั้งหมดอันพระผู้มีพระภาคตัดรอน หักราน ย่ำยีหมดแล้ว บัดนี้ ข้าพระองค์ผู้ คอยหาโอกาส ย่อมไม่อาจเข้าไปใกล้พระผู้มีพระภาคได้อีก ฉันนั้น” ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปได้ภาษิตคาถาอันเป็นที่ตั้งแห่งความเบื่อหน่ายเหล่านี้ ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า กาเห็นก้อนหินมีสีเหมือนมันข้น จึงบินโฉบลงด้วยคิดว่า ‘เราพึงได้อาหารโอชะในที่นี้เป็นแน่’ ความยินดีพึงเกิดขึ้นโดยแท้ กาไม่ได้ความยินดีในที่นั้น จึงโผบินไปจากที่นั้น ข้าแต่พระโคดม ข้าพระองค์ ก็เหมือนกามาพบก้อนหิน ฉะนั้น ขอจากไปก่อน
สัตตวัสสานุพันธสูตรที่ ๔ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๒๐๘-๒๑๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=15&siri=160              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=3952&Z=4009                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=496              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=496&items=9              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=4601              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=496&items=9              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=4601                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i478-e.php#sutta4 https://suttacentral.net/sn4.24/en/sujato https://suttacentral.net/sn4.24/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :