ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]

๒. ทุติยวรรค ๑. สัตตธาตุสูตร

๒. ทุติยวรรค
หมวดที่ ๒
๑. สัตตธาตุสูตร
ว่าด้วยธาตุ ๗
[๙๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ... “ภิกษุทั้งหลาย ธาตุมี ๗ ประการ ธาตุ ๗ ประการอะไรบ้าง คือ ๑. อาภาธาตุ๑- ๒. สุภธาตุ๒- ๓. อากาสานัญจายตนธาตุ๓- ๔. วิญญาณัญจายตนธาตุ๔- ๕. อากิญจัญญายตนธาตุ๕- ๖. เนวสัญญานาสัญญายตนธาตุ๖- ๗. สัญญาเวทยิตนิโรธธาตุ๗- ธาตุมี ๗ ประการนี้ @เชิงอรรถ : @ อาภาธาตุ ในที่นี้หมายถึงธาตุคือแสงสว่าง ซึ่งเป็นชื่อของอาโลกกสิณ ได้แก่ ฌานพร้อมทั้งอารมณ์ที่ทำให้ @ปีติเกิดขึ้น เพราะบริกรรมโดยเพ่งแสงสว่างเป็นอารมณ์ อาภาธาตุอาศัยความมืดจึงปรากฏได้ @(สํ.นิ.อ. ๒/๙๕/๑๕๑) @ สุภธาตุ ในที่นี้หมายถึงฌานพร้อมทั้งอารมณ์ที่เกิดขึ้น เพราะบริกรรมโดยเพ่งสุภกสิณ สุภธาตุอาศัย @ความไม่งามจึงปรากฏได้ (สํ.นิ.อ. ๒/๙๕/๑๕๑) @ อากาสานัญจายตนธาตุ ในที่นี้หมายถึงธาตุที่กำหนดอากาศ คือความว่างอันหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ @เป็นขั้นที่ ๑ ของอรูปฌาน อากาสานัญจายตนธาตุอาศัยรูปสมาบัติจึงปรากฏได้ (ขุ.ม.อ. ๗/๙๖) @ วิญญาณัญจายตนธาตุ ในที่นี้หมายถึงธาตุที่กำหนดวิญญาณเป็นอารมณ์ วิญญาณัญจายตนธาตุอาศัย @อากาสานัญจายตนสมาบัติจึงปรากฏได้ (ขุ.ม.อ. ๗/๙๗) @ อากิญจัญญายตนธาตุ ในที่นี้หมายถึงธาตุที่กำหนดความไม่มีอะไรเหลือเป็นอารมณ์ อากิญจัญญายตนธาตุ @อาศัยวิญญาณัญจายตนสมาบัติจึงปรากฏได้ (ขุ.ม.อ. ๗/๙๗) @ เนวสัญญานาสัญญายตนธาตุ ในที่นี้หมายถึงธาตุที่เข้าถึงภาวะที่มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ @เนวสัญญานาสัญญายตนธาตุอาศัยอากิญจัญญายตนสมาบัติจึงปรากฏได้ (ขุ.ม.อ. ๗/๙๗) @ สัญญาเวทยิตนิโรธธาตุ ในที่นี้หมายถึงความดับขันธ์ ๔ ขันธ์ เป็นชื่อของนิโรธสมาบัติ สัญญาเวทยิต- @นิโรธธาตุอาศัยนิโรธสมาบัติจึงปรากฏได้ (สํ.นิ.อ. ๒/๙๕/๑๕๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๑๘๐}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]

๒. ทุติยวรรค ๑. สัตตธาตุสูตร

ครั้นพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อาภาธาตุ สุภธาตุ อากาสานัญจายตนธาตุ วิญญาณัญจายตนธาตุ อากิญจัญญายตนธาตุ เนวสัญญานาสัญญายตนธาตุ และ สัญญาเวทยิตนิโรธธาตุ ธาตุเหล่านี้อาศัยอะไรจึงปรากฏได้” “ภิกษุ อาภาธาตุอาศัยความมืดจึงปรากฏได้ สุภธาตุอาศัยความไม่งามจึง ปรากฏได้ อากาสานัญจายตนธาตุอาศัยรูปสมาบัติจึงปรากฏได้ วิญญาณัญจายตน- ธาตุอาศัยอากาสานัญจายตนสมาบัติจึงปรากฏได้ อากิญจัญญายตนธาตุอาศัย วิญญาณัญจายตนสมาบัติจึงปรากฏได้ เนวสัญญานาสัญญายตนธาตุอาศัย อากิญจัญญายตนสมาบัติจึงปรากฏได้ สัญญาเวทยิตนิโรธธาตุอาศัยนิโรธสมาบัติจึง ปรากฏได้” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อาภาธาตุ สุภธาตุ อากาสานัญจายตนธาตุ วิญญาณัญจายตนธาตุ อากิญจัญญายตนธาตุ เนวสัญญานาสัญญายตนธาตุ และสัญญาเวทยิตนิโรธธาตุ บุคคลจะเข้าถึงธาตุเหล่านี้ได้อย่างไร” “ภิกษุ อาภาธาตุ สุภธาตุ อากาสานัญจายตนธาตุ วิญญาณัญจายตนธาตุ อากิญจัญญายตนธาตุ ธาตุเหล่านี้ เป็นสัญญาสมาบัติที่บุคคลจะเข้าถึงได้ เนวสัญญานาสัญญายตนธาตุ เป็นสังขาราวิเสสสมาบัติ๑- ที่บุคคลจะเข้าถึงได้ สัญญา- เวทยิตนิโรธธาตุ เป็นนิโรธสมาบัติที่บุคคลจะเข้าถึงได้”
สัตตธาตุสูตรที่ ๑ จบ
@เชิงอรรถ : @ สังขาราวิเสสสมาบัติ ในที่นี้หมายถึงสมาบัติที่มีสังขารอันละเอียดยังคงเหลืออยู่ (สํ.นิ.อ. ๒/๙๕/๑๕๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๑๘๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๑๘๐-๑๘๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=16&siri=90              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=16&A=3952&Z=3980                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=352              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=16&item=352&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=3384              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=16&item=352&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=3384                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu16              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/16i352-e.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn14/sn14.011.than.html https://suttacentral.net/sn14.11/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :