ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
๑๑. ยวกลาปิสูตร
ว่าด้วยฟ่อนข้าวเหนียว
[๒๔๘] “ภิกษุทั้งหลาย ฟ่อนข้าวเหนียว บุคคลกองไว้ที่ถนนใหญ่สี่แยก ลำดับนั้น บุรุษ ๖ คนถือไม้คานเดินมา พวกเขาช่วยกันนวดฟ่อนข้าวเหนียวด้วยไม้คานทั้ง ๖ อัน ฟ่อนข้าวเหนียวนั้นถูกนวดอย่างดีด้วยไม้คาน ๖ อันอย่างนี้ ต่อมา บุรุษคน ที่ ๗ ถือไม้คานเดินมา เขาพึงนวดฟ่อนข้าวเหนียวนั้นด้วยไม้คานอันที่ ๗ ฟ่อน ข้าวเหนียวนั้นถูกนวดด้วยไม้คานอันที่ ๗ พึงถูกนวดดีกว่าอย่างนี้ แม้ฉันใด ปุถุชน ผู้ไม่ได้สดับก็ฉันนั้นเหมือนกัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๒๖๕}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๑๑. ยวกลาปิสูตร

ถูกรูปที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจกระทบตา ฯลฯ ถูกรสที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจกระทบลิ้น ฯลฯ ถูกธรรมารมณ์ที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจกระทบใจ ถ้าปุถุชนผู้ไม่ได้สดับนั้นย่อมคิดเพื่อจะเกิดอีกต่อไป เมื่อเป็นเช่นนั้น ปุถุชนนั้น ย่อมเป็นโมฆบุรุษผู้ถูกอายตนะภายนอกกระทบอย่างหนักเหมือนฟ่อนข้าวเหนียวที่ ถูกนวดด้วยไม้คานอันที่ ๗ ฉะนั้น
สงครามระหว่างเทวดากับอสูร
ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามระหว่างเทวดากับอสูรได้ประชิดกัน ครั้งนั้น ท้าวเวปจิตติจอมอสูรรับสั่งเรียกพวกอสูรมาตรัสว่า “ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ถ้าเมื่อสงครามระหว่างเทวดากับอสูรรบประชิดกัน พวกอสูรพึงชนะ พวกเทวดา พึงพ่ายแพ้ เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายพึงจองจำท้าวสักกะจอมเทพนั้นด้วยเครื่อง จองจำทั้ง ๕ รวมทั้งเครื่องผูกคอ แล้วนำมายังเมืองอสูรในสำนักของเรา ฝ่ายท้าวสักกะจอมเทพก็รับสั่งเรียกพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์มาตรัสว่า “ท่านผู้ นิรทุกข์ทั้งหลาย ถ้าเมื่อสงครามระหว่างเทวดากับอสูรประชิดกัน พวกเทวดา พึงชนะ พวกอสูรพึงพ่ายแพ้ เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายพึงจองจำท้าวเวปจิตติ จอมอสูรนั้นด้วยเครื่องจองจำทั้ง ๕ รวมทั้งเครื่องผูกคอแล้วนำมายังเทวสภาชื่อ สุธรรมาในสำนักของเรา สงครามครั้งนั้น พวกเทวดาชนะ พวกอสูรพ่ายแพ้ ต่อมา พวกเทวดาชั้น ดาวดึงส์ได้จองจำท้าวเวปจิตติจอมอสูรด้วยเครื่องจองจำทั้ง ๕ รวมทั้งเครื่องผูกคอ แล้วนำมายังเทวสภาชื่อสุธรรมาในสำนักของท้าวสักกะจอมเทพ ได้ยินว่า ท้าว เวปจิตติจอมอสูรถูกจองจำด้วยเครื่องจองจำทั้ง ๕ รวมทั้งเครื่องผูกคอ ในกาลที่ท้าวเวปจิตติจอมอสูรทรงดำริว่า “พวกเทวดาตั้งอยู่ในธรรม พวก อสูรไม่ตั้งอยู่ในธรรม บัดนี้เราจักไปยังเทพนคร” ท้าวเวปจิตติจอมอสูรย่อม พิจารณาเห็นตนพ้นจากเครื่องจองจำทั้ง ๕ รวมทั้งเครื่องผูกคอ และเป็นผู้เอิบอิ่ม พรั่งพร้อม บำเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕ อันเป็นทิพย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๒๖๖}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิาวรรค ๑๑. ยวกลาปิสูตร

ในกาลที่ท้าวเวปจิตติจอมอสูรทรงดำริว่า “พวกอสูรตั้งอยู่ในธรรม พวก เทวดาไม่ตั้งอยู่ในธรรม บัดนี้เราจักไปยังเมืองอสูร” ท้าวเวปจิตติจอมอสูรพิจารณา เห็นตนถูกจองจำด้วยเครื่องจองจำทั้ง ๕ รวมทั้งเครื่องผูกคอ และเสื่อมจากกามคุณ ๕ อันเป็นทิพย์ ภิกษุทั้งหลาย เครื่องจองจำท้าวเวปจิตติละเอียดอย่างนี้ เครื่องจองจำของ มารละเอียดยิ่งกว่านั้น บุคคลเมื่อกำหนดหมายก็ถูกมารผูกมัดไว้ เมื่อไม่กำหนด หมายก็พ้นจากมารผู้มีบาป ความกำหนดหมายเป็นต้นเป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร ภิกษุทั้งหลาย ความกำหนดหมายว่า “เรามี” ความกำหนดหมายว่า “เรา เป็นนี้” ความกำหนดหมายว่า “เราจักมี” ความกำหนดหมายว่า “เราจักไม่มี” ความกำหนดหมายว่า “เราจักเป็นผู้มีรูป” ความกำหนดหมายว่า “เราจักเป็นผู้ ไม่มีรูป” ความกำหนดหมายว่า “เราจักเป็นผู้มีสัญญา” ความกำหนดหมายว่า “เราจักเป็นผู้ไม่มีสัญญา” ความกำหนดหมายว่า “เราจักเป็นผู้มีสัญญาก็มิใช่ ไม่ มีสัญญาก็มิใช่” ความกำหนดหมายเป็นโรค ความกำหนดหมายเป็นหัวฝี ความกำหนด หมายเป็นลูกศร เพราะฉะนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราทั้งหลาย จักมีจิตไม่กำหนดหมายอยู่” ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ความหวั่นไหวว่า “เรามี” ความหวั่นไหวว่า “เราเป็นนี้” ความหวั่นไหวว่า “เราจักมี” ความหวั่นไหวว่า “เราจักไม่มี” ความหวั่นไหวว่า “เราจักเป็นผู้มีรูป” ความหวั่นไหวว่า “เราจักเป็นผู้ไม่มีรูป” ความหวั่นไหวว่า “เรา จักเป็นผู้มีสัญญา” ความหวั่นไหวว่า “เราจักเป็นผู้ไม่มีสัญญา” ความหวั่นไหวว่า “เราจักเป็นผู้มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่” ความหวั่นไหวเป็นโรค ความหวั่นไหวเป็นหัวฝี ความหวั่นไหวเป็นลูกศร เพราะ ฉะนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราทั้งหลายจักมีจิตไม่หวั่นไหวอยู่” ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๒๖๗}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิาวรรค ๑๑. ยวกลาปิสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ความดิ้นรนว่า “เรามี” ความดิ้นรนว่า “เราเป็นนี้” ความ ดิ้นรนว่า “เราจักมี” ความดิ้นรนว่า “เราจักไม่มี” ความดิ้นรนว่า “เราจักเป็น ผู้มีรูป” ความดิ้นรนว่า “เราจักเป็นผู้ไม่มีรูป” ความดิ้นรนว่า “เราจักเป็นผู้มี สัญญา” ความดิ้นรนว่า “เราจักเป็นผู้ไม่มีสัญญา” ความดิ้นรนว่า “เราจักเป็นผู้ มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่” ความดิ้นรนเป็นโรค ความดิ้นรนเป็นหัวฝี ความดิ้นรนเป็นลูกศร เพราะ ฉะนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราทั้งหลายจักมีจิตไม่ดิ้นรนอยู่” ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ความปรุงแต่งว่า “เรามี” ความปรุงแต่งว่า “เราเป็นนี้” ความปรุงแต่งว่า “เราจักมี” ความปรุงแต่งว่า “เราจักไม่มี” ความปรุงแต่งว่า “เราจักเป็นผู้มีรูป” ความปรุงแต่งว่า “เราจักเป็นผู้ไม่มีรูป” ความปรุงแต่งว่า “เราจักเป็นผู้มีสัญญา” ความปรุงแต่งว่า “เราจักเป็นผู้ไม่มีสัญญา” ความปรุงแต่ง ว่า “เราจักเป็นผู้มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่” ความปรุงแต่งเป็นโรค ความปรุงแต่งเป็นหัวฝี ความปรุงแต่งเป็นลูกศร เพราะ ฉะนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราทั้งหลายจักมีจิตไม่ปรุงแต่งอยู่” ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ความถือตัวว่า “เรามี” ความถือตัวว่า “เราเป็นนี้” ความ ถือตัวว่า “เราจักมี” ความถือตัวว่า “เราจักไม่มี” ความถือตัวว่า “เราจักเป็นผู้ มีรูป” ความถือตัวว่า “เราจักเป็นผู้ไม่มีรูป” ความถือตัวว่า “เราจักเป็นผู้มีสัญญา” ความถือตัวว่า “เราจักเป็นผู้ไม่มีสัญญา” ความถือตัวว่า “เราจักเป็นผู้มีสัญญา ก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่” ความถือตัวเป็นโรค ความถือตัวเป็นหัวฝี ความถือตัวเป็นลูกศร เพราะ ฉะนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราทั้งหลายจักมีจิตไม่ถือตัวอยู่” ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล"
ยวกลาปิสูตรที่ ๑๑ จบ
อาสีวิสวรรคที่ ๔ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๒๖๘}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๔. จตุตถปัณณาสก์ รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อาสีวิโสปมสูตร ๒. รโถปมสูตร ๓. กุมโมปมสูตร ๔. ปฐมทารุกขันโธปมสูตร ๕. ทุติยทารุกขันโธปมสูตร ๖. อวัสสุตปริยายสูตร ๗. ทุกขธัมมสูตร ๘. กิงสุโกปมสูตร ๙. วีโณปมสูตร ๑๐. ฉัปปาณโกปมสูตร ๑๑. ยวกลาปิสูตร
จตุตถปัณณาสก์ในสฬายตนวรรค จบบริบูรณ์
รวมวรรคที่มีในจตุตถปัณณาสก์นี้ คือ
๑. นันทิกขยวรรค ๒. สัฏฐิเปยยาลวรรค ๓. สมุททวรรค ๔. อาสีวิสวรรค
สฬายตนสังยุต จบบริบูรณ์
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๒๖๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๒๖๕-๒๖๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=18&siri=194              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=18&A=5392&Z=5492                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=351              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=18&item=351&items=8              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=2913              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=18&item=351&items=8              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=2913                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i309-e.php#sutta11 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn35/sn35.207.than.html https://suttacentral.net/sn35.248/en/sujato https://suttacentral.net/sn35.248/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :